บางกอกแต่หนหลัง- ตอน ๕ เล่าเรื่องรถ, เรื่องเหล้าและรสรัก : กว่าจะมาเป็นโรงภาษีฤากรมศุลกากรแลท่าเรือคลองเตย


อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

กลับมาพร้อมกันอีกแล้วครับท่าน เรื่องราวของกำเนิดท่าเรือคลองเตยนั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าจะสร้างสำเร็จผ่านอุปสรรคนานัปการ หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ความคิดริเริ่มสร้างท่าเรือทันสมัยเพื่อค้าขายกับชาวโลกเกิดขึ้นแบบเป็นรูปเป็นร่างแนวโกอินเตอร์ว่าง้านเถอะ

การขยับขยายพาณิชย์นาวีเพื่อรองรับความเจริญในยุคแรกๆ จากเดิมที่ต้องลำเลียงสินค้าระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ-เกาะสีชังทั้งสินค้านำเข้าแลส่งออก นอกจากระยะทางไกลแล้วยังต้องเสียเวล่ำเวลาในการเดินทางหลายวัน เอาเป็นว่าไม่ทันกิน ก้าวไม่ทันโลกมาแต่ไหนแต่ไร…หรือจะว่าไปก็แต่อ้อนแต่ออก ว่าไปนั่น

เนื่องจากเรือกลไฟหรือเรือบรรทุกสินค้าหลายรูปแบบเทคโนโลยี่ยังล้าหลัง จึงหาทางร่นทั้งระยะทางด้วยการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากแม่น้ำหรือที่ชาวบ้านชาวช่องเรียกกันว่า “ปากน้ำ” ที่จังหวัดสมุทรปราการเพื่อให้เรือเดินสมุทรจากต่างประเทศแล่นเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้สะดวกรวดเร็วรวมทั้ง “บริดวก”

การดำเนินการสร้างท่าเรือทันสมัยและการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ว่ามาเจอปัญหาแลอุปสรรคเหลือล้นจนกระทั่งต้องขอความช่วยเหลือจากสำนักงานใหญ่สันนิบาตชาติ ณ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์โน่นเลยทีเดียว

กว่าจะได้รับการตอบรับและการเดินทางมาสำรวจของผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนจากองค์กรดังกล่าวกินเวลาถึง 2 ปีและกว่าจะสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อกำหนดสถานที่สร้างท่าเรือก็กินเวลานานโขพอดู

ในที่สุดได้เสนอให้รัฐบาลไทยเลือกที่ตั้ง ๒ แห่ง ระหว่างปากน้ำกับตำบลคลองเตย ท้ายที่สุดทางรัฐบาลสมัยโน้นได้เลือกตำบลคลองเตยอันเป็นจุดกำเนิดของท่าเรือคลองเตยมาจนถึงทุกวันนี้

กว่าจะผ่านขั้นตอนคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างและอีกมากมายจนกระทั่ง บริษัทคริสเตียนี แอนด์ เนลเสน จำกัดได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นเงิน 20 ล้านบาทถ้วนๆ ไม่มีเศษสตางค์ทอนเป็นแน่แท้

นอกจากนั้นยังต้องสั่งต่อเรือลอกร่องน้ำจากประเทศเนเธอร์แลนด์อีก แต่ในที่สุดยังไปไม่ถึงดวงดาวมาเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเข้าให้ การก่อสร้างเลยหยุดชะงักไปพักใหญ่ๆ

หลังจากสงครามสงบลงกิจการก่อสร้างท่าเรือคลองเตยจึงดำเนินการต่อและต้องกู้เงินจากธนาคารโลกมาขุดลอกร่องน้ำสันดอนจากปากน้ำ-คลองเตยเป็นระยะทาง ๖๖ กิโลเมตร อันนี้ว่าระยะทางกันคร่าวๆ สมัยครั้งกระโน้นยังไม่มี Google Map ดั่งสมัยนี้ อันข้าพเจ้าเองก็ยังไม่มีโอกาสไปวัดระยะด้วยตัวเอง เนื่องด้วยหาเวล่ำเวลาช่างยากเย็นแสนเข็ญเสียเต็มประดา

จนกระทั่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรูปเป็นร่างเริ่มดำเนินกิจการได้ก็ปาเข้าไปถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔

ช่วงการก่อสร้างและการดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๙๐ จากท้องทุ่งนากลายเป็นเมืองขนาดย่อมๆ แรงงานจำนวนมากเดินทางเข้ามาสู่คลองเตยส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด ในที่สุดเพิ่งที่พักคนงานถูกสร้างขึ้นเต็มพรืดในชั่วพริบตา

คนงานเหล่านี้เมื่อสร้างท่าเรือเสร็จเรียบร้อยก็ดำเนินชีวิตทำมาหากินอยู่ต่อไปไม่กลับบ้านเกิด จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสลัมคลองเตยด้วยประการละฉะนี้ เพราะมีงานรองรับมากมายหลังจากหลายหน่วยงานเข้ามารองรับท่าเรือคลองเตย

นอกจากนี้การสร้างท่าเรือขนาดใหญ่แห่งนี้ต้องใช้ที่ดินจำนวนมากด้วยการซื้อที่ดินจากพระยาสุนทรโกษาและหลวงอาจณรงค์และตระกูล ณ ระนอง จึงกลายเป็นที่มาของถนนสุนทรโกษา, ถนนอาจณรงค์และถนน ณ ระนองนั่นเอง

รวมไปถึงวัดวาดั้งเดิมที่มีอยู่ถูกเวณคืนเช่นกัน ในที่สุดจึงเกิดวัดธาตุทองเพื่อรองรับพระสงฆ์จากวัดเงิน, วัดทองและวัดไก่เตี้ย

และแล้วกลายเป็นแหล่งรวมของหน่วยงานราชการที่ขยับขยายเข้ามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วราวทอร์นาโดปานนั้น เพื่อรองรับการหารายได้เข้าประเทศแหล่งใหญ่ที่สุด เริ่มกันตั้งแต่ การท่าเรือแห่งประเทศไทยสร้างเสร็จ

เรือกำปั่นแล่นในท้องน้ำเจ้าพระยากันเกลื่อนหลายต่อหลายคุ้งน้ำ กรมศุลกากรก็ตามมา รถไฟก็ต้องมา โรงไฟฟ้าก็ต้องตามมารองรับความเจริญ การประปาก็มากับเขาด้วย

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์หรือ รสพ. ก็มาตั้งฐานบัญชาการอยู่ตรงแยกทางรถไฟซึ่งปิดกิจการไปแล้วเนื่องจากขาดทุนย่อยยับขายสินทรัพย์ไม่พอใช้หนี้สินปรับองค์กรไม่ทันยุคที่มีเอกชนเข้ามาแข่งขันให้บริการที่ดีกว่า แม้นว่า รสพ. มีสาขาอยู่ทั่วประเทศก็ตาม อำเภอหรือปัจจุบันดั้นไปเปลี่ยนใหม่ให้เรียกกันว่าเขต ไม่รู้จากความคิดของผู้ปกครองยุคไหน คำว่าเขตตามมาทีหลัง

ต่อเนื่องด้วยบริษัทค้าขายกับต่างประเทศก็ต้องมา คลังน้ำมันก็มาไม่ว่าจะเป็นเอสโซ่หรือเจ้าหอยแห่งเนเธอร์แลนด์ ก็เชลล์นั่นล่ะ ยุคนั้นดังกระหึ่มทั่วไทย โดยเฉพาะเอสโซ่สร้างตึกอลังการตรงหัวมุมถนนพระราม ๔ เลยแยกวิทยุมาหน่อย เป็นอาคารใหญ่ยุคแรกๆของไทยเช่นเดียวกับโรงแรมดุสิตธานีที่รื้อสนามเทนนิสของสมาคมอะไรจำไม่ได้เพราะชื่อยาวเกิ้น

ตามมาด้วยอาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ แบ็งค์ ตั้งตะหง่านอยู่ด้านหน้า ข้างบนเป็นออฟฟิค บริษัทญี่ปุ่นตรึมแล้วกัน ด้านล่างหน้าลิฟท์มีร้านบริดวกซื้อให้บริการอยู่ พรรคพวกรุ่นพี่กระผมเอง ฟุตฟิตฟอไฟได้หลากลีลาหลายภาษา รวมทั้งภาษาสากลของโลก ทำไม้ทำมือนั่นล่ะ

แต่ท่านนับว่าเก่งภาษาทีเดียว แถมเมียขึ้หึงเข้าไปอีก ไปกันใหญ่เลยครานี้ เนื่องเพราะพวกผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่นที่ทะยอยเข้ามาเปิดเกมส์รุกธุรกิจยุคแรกในไทยพกเมียมาด้วย บรรดาเมียๆ ของญี่ปุ่นพวกนี้มาช้อปปิ้งเล็กๆ มีอันต้องเจออาการหึงของเมียเจ้าของร้านที่หล่อเหลาเอาการ

วกกลับเข้าเรื่องละแวกคลองเตยอีกครา…อู่รถเมล์ก็ต้องมีต้นสายปลายสายที่นี่ สถานีตำรวจก็มีสองแห่ง เบ่งข่มกันไม่ลง เพราะสีเดียวกันว่าง้านเถอะ คลังสินค้าก็เพิ่มมากขึ้น สถานที่พักสินค้ากลางแจ้งหรือที่พักตู้คอนเทนเนอร์ก็ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ยันกล้วยน้ำไท

ได้ที่อีกแล้วครับท่านก่อนหลังเที่ยงคืนร้านรวงไม่กล้าขายน้ำสีอำพันด้วยผิดกฎหมายบ้านนี้เมืองนี้ ขี้เมาขี้ยาอยู่ยากเย็นเข้าไปทุกวี่ทุกวัน ต้องเร่งฝีเท้าก่อนจะเลยเที่ยงคืน บะบายกันดื้อๆ ยังงี้ละคุณท่าน…เลยอดฟังเรื่องเล่าเหล้า, เรื่องรถและรสรักอีกแล้ว

มัวแต่เล่าเรื่องเรือ ขออภัยอีกครา ไว้รวบยอดเล่าเรื่องรสรักซะทีเดียว เกริ่นซะกะหน่อย อาทิตำราโบราณกาลามสูตรของอินเดียนี่ว่ากันยาว ทั้งเรื่องของข้างขึ้นข้างแรมเกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งพิศวาสของแต่ละชะตาชีวิตนั้นแตกต่างกัน เรื่องแบบนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่เป็นอันขาด ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองเท่านั้นล่ะคุณท่านเจ้าค่ะ…!!!!

อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

กลับมาพร้อมกันอีกแล้วครับท่าน เรื่องราวของกำเนิดท่าเรือคลองเตยนั้นมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าจะสร้างสำเร็จผ่านอุปสรรคนานัปการ หลังจากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ความคิดริเริ่มสร้างท่าเรือทันสมัยเพื่อค้าขายกับชาวโลกเกิดขึ้นแบบเป็นรูปเป็นร่างแนวโกอินเตอร์ว่าง้านเถอะ

การขยับขยายพาณิชย์นาวีเพื่อรองรับความเจริญในยุคแรกๆ จากเดิมที่ต้องลำเลียงสินค้าระหว่างเส้นทางกรุงเทพฯ-เกาะสีชังทั้งสินค้านำเข้าแลส่งออก นอกจากระยะทางไกลแล้วยังต้องเสียเวล่ำเวลาในการเดินทางหลายวัน เอาเป็นว่าไม่ทันกิน ก้าวไม่ทันโลกมาแต่ไหนแต่ไร...หรือจะว่าไปก็แต่อ้อนแต่ออก ว่าไปนั่น

เนื่องจากเรือกลไฟหรือเรือบรรทุกสินค้าหลายรูปแบบเทคโนโลยี่ยังล้าหลัง จึงหาทางร่นทั้งระยะทางด้วยการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาบริเวณปากแม่น้ำหรือที่ชาวบ้านชาวช่องเรียกกันว่า "ปากน้ำ" ที่จังหวัดสมุทรปราการเพื่อให้เรือเดินสมุทรจากต่างประเทศแล่นเข้ามายังกรุงเทพฯ ได้สะดวกรวดเร็วรวมทั้ง "บริดวก"

การดำเนินการสร้างท่าเรือทันสมัยและการขุดลอกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ว่ามาเจอปัญหาแลอุปสรรคเหลือล้นจนกระทั่งต้องขอความช่วยเหลือจากสำนักงานใหญ่สันนิบาตชาติ ณ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์โน่นเลยทีเดียว

กว่าจะได้รับการตอบรับและการเดินทางมาสำรวจของผู้เชี่ยวชาญ ๓ คนจากองค์กรดังกล่าวกินเวลาถึง 2 ปีและกว่าจะสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อกำหนดสถานที่สร้างท่าเรือก็กินเวลานานโขพอดู

ในที่สุดได้เสนอให้รัฐบาลไทยเลือกที่ตั้ง ๒ แห่ง ระหว่างปากน้ำกับตำบลคลองเตย ท้ายที่สุดทางรัฐบาลสมัยโน้นได้เลือกตำบลคลองเตยอันเป็นจุดกำเนิดของท่าเรือคลองเตยมาจนถึงทุกวันนี้

กว่าจะผ่านขั้นตอนคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างและอีกมากมายจนกระทั่ง บริษัทคริสเตียนี แอนด์ เนลเสน จำกัดได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นเงิน 20 ล้านบาทถ้วนๆ ไม่มีเศษสตางค์ทอนเป็นแน่แท้

นอกจากนั้นยังต้องสั่งต่อเรือลอกร่องน้ำจากประเทศเนเธอร์แลนด์อีก แต่ในที่สุดยังไปไม่ถึงดวงดาวมาเกิดสงครามโลกครั้งที่สองเข้าให้ การก่อสร้างเลยหยุดชะงักไปพักใหญ่ๆ

หลังจากสงครามสงบลงกิจการก่อสร้างท่าเรือคลองเตยจึงดำเนินการต่อและต้องกู้เงินจากธนาคารโลกมาขุดลอกร่องน้ำสันดอนจากปากน้ำ-คลองเตยเป็นระยะทาง ๖๖ กิโลเมตร อันนี้ว่าระยะทางกันคร่าวๆ สมัยครั้งกระโน้นยังไม่มี Google Map ดั่งสมัยนี้ อันข้าพเจ้าเองก็ยังไม่มีโอกาสไปวัดระยะด้วยตัวเอง เนื่องด้วยหาเวล่ำเวลาช่างยากเย็นแสนเข็ญเสียเต็มประดา

จนกระทั่งการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรูปเป็นร่างเริ่มดำเนินกิจการได้ก็ปาเข้าไปถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๔

ช่วงการก่อสร้างและการดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๙๐ จากท้องทุ่งนากลายเป็นเมืองขนาดย่อมๆ แรงงานจำนวนมากเดินทางเข้ามาสู่คลองเตยส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด ในที่สุดเพิ่งที่พักคนงานถูกสร้างขึ้นเต็มพรืดในชั่วพริบตา

คนงานเหล่านี้เมื่อสร้างท่าเรือเสร็จเรียบร้อยก็ดำเนินชีวิตทำมาหากินอยู่ต่อไปไม่กลับบ้านเกิด จนกลายเป็นต้นกำเนิดของสลัมคลองเตยด้วยประการละฉะนี้ เพราะมีงานรองรับมากมายหลังจากหลายหน่วยงานเข้ามารองรับท่าเรือคลองเตย

นอกจากนี้การสร้างท่าเรือขนาดใหญ่แห่งนี้ต้องใช้ที่ดินจำนวนมากด้วยการซื้อที่ดินจากพระยาสุนทรโกษาและหลวงอาจณรงค์และตระกูล ณ ระนอง จึงกลายเป็นที่มาของถนนสุนทรโกษา, ถนนอาจณรงค์และถนน ณ ระนองนั่นเอง

รวมไปถึงวัดวาดั้งเดิมที่มีอยู่ถูกเวณคืนเช่นกัน ในที่สุดจึงเกิดวัดธาตุทองเพื่อรองรับพระสงฆ์จากวัดเงิน, วัดทองและวัดไก่เตี้ย

และแล้วกลายเป็นแหล่งรวมของหน่วยงานราชการที่ขยับขยายเข้ามาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วราวทอร์นาโดปานนั้น เพื่อรองรับการหารายได้เข้าประเทศแหล่งใหญ่ที่สุด เริ่มกันตั้งแต่ การท่าเรือแห่งประเทศไทยสร้างเสร็จ

เรือกำปั่นแล่นในท้องน้ำเจ้าพระยากันเกลื่อนหลายต่อหลายคุ้งน้ำ กรมศุลกากรก็ตามมา รถไฟก็ต้องมา โรงไฟฟ้าก็ต้องตามมารองรับความเจริญ การประปาก็มากับเขาด้วย

องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์หรือ รสพ. ก็มาตั้งฐานบัญชาการอยู่ตรงแยกทางรถไฟซึ่งปิดกิจการไปแล้วเนื่องจากขาดทุนย่อยยับขายสินทรัพย์ไม่พอใช้หนี้สินปรับองค์กรไม่ทันยุคที่มีเอกชนเข้ามาแข่งขันให้บริการที่ดีกว่า แม้นว่า รสพ. มีสาขาอยู่ทั่วประเทศก็ตาม อำเภอหรือปัจจุบันดั้นไปเปลี่ยนใหม่ให้เรียกกันว่าเขต ไม่รู้จากความคิดของผู้ปกครองยุคไหน คำว่าเขตตามมาทีหลัง

ต่อเนื่องด้วยบริษัทค้าขายกับต่างประเทศก็ต้องมา คลังน้ำมันก็มาไม่ว่าจะเป็นเอสโซ่หรือเจ้าหอยแห่งเนเธอร์แลนด์ ก็เชลล์นั่นล่ะ ยุคนั้นดังกระหึ่มทั่วไทย โดยเฉพาะเอสโซ่สร้างตึกอลังการตรงหัวมุมถนนพระราม ๔ เลยแยกวิทยุมาหน่อย เป็นอาคารใหญ่ยุคแรกๆของไทยเช่นเดียวกับโรงแรมดุสิตธานีที่รื้อสนามเทนนิสของสมาคมอะไรจำไม่ได้เพราะชื่อยาวเกิ้น

ตามมาด้วยอาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ แบ็งค์ ตั้งตะหง่านอยู่ด้านหน้า ข้างบนเป็นออฟฟิค บริษัทญี่ปุ่นตรึมแล้วกัน ด้านล่างหน้าลิฟท์มีร้านบริดวกซื้อให้บริการอยู่ พรรคพวกรุ่นพี่กระผมเอง ฟุตฟิตฟอไฟได้หลากลีลาหลายภาษา รวมทั้งภาษาสากลของโลก ทำไม้ทำมือนั่นล่ะ

แต่ท่านนับว่าเก่งภาษาทีเดียว แถมเมียขึ้หึงเข้าไปอีก ไปกันใหญ่เลยครานี้ เนื่องเพราะพวกผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่นที่ทะยอยเข้ามาเปิดเกมส์รุกธุรกิจยุคแรกในไทยพกเมียมาด้วย บรรดาเมียๆ ของญี่ปุ่นพวกนี้มาช้อปปิ้งเล็กๆ มีอันต้องเจออาการหึงของเมียเจ้าของร้านที่หล่อเหลาเอาการ

วกกลับเข้าเรื่องละแวกคลองเตยอีกครา...อู่รถเมล์ก็ต้องมีต้นสายปลายสายที่นี่ สถานีตำรวจก็มีสองแห่ง เบ่งข่มกันไม่ลง เพราะสีเดียวกันว่าง้านเถอะ คลังสินค้าก็เพิ่มมากขึ้น สถานที่พักสินค้ากลางแจ้งหรือที่พักตู้คอนเทนเนอร์ก็ขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ ยันกล้วยน้ำไท

ได้ที่อีกแล้วครับท่านก่อนหลังเที่ยงคืนร้านรวงไม่กล้าขายน้ำสีอำพันด้วยผิดกฎหมายบ้านนี้เมืองนี้ ขี้เมาขี้ยาอยู่ยากเย็นเข้าไปทุกวี่ทุกวัน ต้องเร่งฝีเท้าก่อนจะเลยเที่ยงคืน บะบายกันดื้อๆ ยังงี้ละคุณท่าน...เลยอดฟังเรื่องเล่าเหล้า, เรื่องรถและรสรักอีกแล้ว

มัวแต่เล่าเรื่องเรือ ขออภัยอีกครา ไว้รวบยอดเล่าเรื่องรสรักซะทีเดียว เกริ่นซะกะหน่อย อาทิตำราโบราณกาลามสูตรของอินเดียนี่ว่ากันยาว ทั้งเรื่องของข้างขึ้นข้างแรมเกี่ยวเนื่องกับตำแหน่งพิศวาสของแต่ละชะตาชีวิตนั้นแตกต่างกัน เรื่องแบบนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่เป็นอันขาด ต้องพิสูจน์ด้วยตนเองเท่านั้นล่ะคุณท่านเจ้าค่ะ...!!!!

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!