KUWAIT-ประเทศขนาดเล็ก ๆ ในตะวันออกกลางแต่มีบ่อน้ำมันจำนวนมาก…เจริญอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด


By : C. Methas – Managing Editor

ประเทศคูเวตเป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบตะวันออกกลาง มีพื้นที่ประมาณ 17,818 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 153 ของประเทศในโลก นับว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยแต่มีน้ำมันมาก เมืองหลวงชื่อ คูเวตซิตี้

คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยประเทศคูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 10% ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก

คูเวตยุคใหม่ได้เริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์

ช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศคูเวตได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ เพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย

ในปีพ.ศ. 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษก่อน ส่วนอังกฤษได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต

ประเทศคูเวตตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน แบ่งออกเป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% และอิหร่าน 4%
ประเทศคูเวตได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2504 โดยช่วงต้นปี อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเอง ยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์

คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์ ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือกับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปีพ.ศ. 2535 หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางตอนใต้ของประเทศคูเวต

ประเทศคูเวตและประเทศซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง เรียกว่า Divided Zone และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone เท่าเทียมกัน

เนื่องจากประเทศคูเวตเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันมากแห่งหนึ่งของโลก เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีพ.ศ. 2533 กองกำลังทหารของอิรักจำนวน 122,000 นาย พร้อมด้วยรถถังประมาณ 900 คัน ได้รับคำสั่งจากซัดดัม ฮุสเซน บุกเข้ายึดคูเวต เนื่องจากมีแหล่งน้ำมันจำนวนมาก โดยอ้างว่าในประวัติศาสตร์ ประเทศคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิรัก และก่อนหน้านี้สองประเทศนี้มีความขัดแย้งในเรื่องของเขตแบ่งดินแดนมาเป็นเวลายาวนาน

สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเข้ายึดครองประเทศคูเวตโดยอิรักครั้งนี้ ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก และได้ขีดเส้นตายให้กองกำลังทหารของอิรักถอนทหารออกจากคูเวตภายในวันที่ 15 มกราคม ปีพ.ศ. 2534

จนกระทั่งถึงวันที่ 17 มกราคม ปีพ.ศ. 2534 กองกำลังผสมจาก 34 ประเทศได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศเป็นครั้งแรก ภายใต้ยุทธการ “พายุทะเลทราย” ตามมาด้วยการเปิดฉากโจมตีทางภาคพื้นดิน จนสามารถเข้าบุกยึดอิรักได้เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีพ.ศ. 2534 แต่สงครามในอิรักยังไม่สงบ แม้ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ โดยยังมีการก่อการร้ายต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้ยิ่งกลายเป็นสงครามบานปลายแบ่งแยกออกเป็นหลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น

By : C. Methas - Managing Editor

ประเทศคูเวตเป็นประเทศที่ตั้งอยู่แถบตะวันออกกลาง มีพื้นที่ประมาณ 17,818 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นอันดับที่ 153 ของประเทศในโลก นับว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่น้อยแต่มีน้ำมันมาก เมืองหลวงชื่อ คูเวตซิตี้

คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก โดยประเทศคูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 10% ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก

คูเวตยุคใหม่ได้เริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์

ช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศคูเวตได้ขอความช่วยเหลือจากอังกฤษ เพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย

ในปีพ.ศ. 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษก่อน ส่วนอังกฤษได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต

ประเทศคูเวตตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก มีประชากรประมาณ 3 ล้านคน แบ่งออกเป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% และอิหร่าน 4% ประเทศคูเวตได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2504 โดยช่วงต้นปี อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเอง ยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์

คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์ ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือกับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปีพ.ศ. 2535 หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางตอนใต้ของประเทศคูเวต

ประเทศคูเวตและประเทศซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง เรียกว่า Divided Zone และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone เท่าเทียมกัน

เนื่องจากประเทศคูเวตเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำมันมากแห่งหนึ่งของโลก เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีพ.ศ. 2533 กองกำลังทหารของอิรักจำนวน 122,000 นาย พร้อมด้วยรถถังประมาณ 900 คัน ได้รับคำสั่งจากซัดดัม ฮุสเซน บุกเข้ายึดคูเวต เนื่องจากมีแหล่งน้ำมันจำนวนมาก โดยอ้างว่าในประวัติศาสตร์ ประเทศคูเวตเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอิรัก และก่อนหน้านี้สองประเทศนี้มีความขัดแย้งในเรื่องของเขตแบ่งดินแดนมาเป็นเวลายาวนาน

สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทในการเข้ายึดครองประเทศคูเวตโดยอิรักครั้งนี้ ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิรัก และได้ขีดเส้นตายให้กองกำลังทหารของอิรักถอนทหารออกจากคูเวตภายในวันที่ 15 มกราคม ปีพ.ศ. 2534

จนกระทั่งถึงวันที่ 17 มกราคม ปีพ.ศ. 2534 กองกำลังผสมจาก 34 ประเทศได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศเป็นครั้งแรก ภายใต้ยุทธการ “พายุทะเลทราย” ตามมาด้วยการเปิดฉากโจมตีทางภาคพื้นดิน จนสามารถเข้าบุกยึดอิรักได้เมื่อวันที่ 12 เมษายน ปีพ.ศ. 2534 แต่สงครามในอิรักยังไม่สงบ แม้ว่าจะมีการจัดการเลือกตั้งรัฐบาลขึ้นมาใหม่ โดยยังมีการก่อการร้ายต่อเนื่องมาถึงทุกวันนี้ยิ่งกลายเป็นสงครามบานปลายแบ่งแยกออกเป็นหลากหลายกลุ่มมากยิ่งขึ้น

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!