The Legends of Automobile : ตอนที่ 136-เกียรติยศปูชนียบุคคลยานยนต์แห่งแดนอาทิตย์อุทัย [Suzuki] (ภาค 7)


By : C. Methas – Managing Editor

โอซะมุ ซูซูกิผู้บริหารบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ซูซูกิเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ได้รับเกียรติสู่หอเกียรติยศปูชนียบุคคลด้านยานยนต์แห่งญี่ปุ่นจากการประกาศในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการประกาศรางวัลดังกล่าว

เขาเกิดเมี่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1930 ที่เมืองเกะโระ, จังหวัดกิฟุ, ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1930 จบการศึกษาทางด้านเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยชูโอในปี ค.ศ. 1953 เริ่มงานครั้งแรกกับธนาคารในท้องถิ่น มีความสนใจเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยการทำวิจัยและนำไปพัฒนาต่อโดยได้เขียนหนังสือวิชาการเกี่ยวกับเครื่องยนต์ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานของหนังสือที่นำไปอ้างอิงทางวิชาการในประเทศญี่ปุ่น

Michio Suzuki

หลังจากเข้าร่วมงานกับซูซูกิ มอเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1958 ซึ่งก่อตั้งโดย Michio Suzuki ผ่านงานหลายตำแหน่งก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการในปี ค.ศ. 1963 สร้างผลงานครั้งแรกด้วยรถรุ่น Maruti 800 AC โดยร่วมงานกับซูซูกิ มอเตอร์ยาวนานกว่า 30 ปีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ยาวนานจนสามารถผลักดันรถยนต์ซูซูกิสู่ตลาดโลกได้สำเร็จด้วยรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกที่ทำยอดขายได้ติดอันดับต้นๆ ของโลก

ซูซูกิ มอเตอร์ได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1967 ก่อนจะไปสร้างโรงงานที่อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินด์, ออสเตรเลียและปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับเจเนอรัล มอเตอร์สสำหรับการรุกตลาดยุโรป

สำหรับในประเทศอินเดียได้ร่วมกับรัฐบาลผลิตรถยนต์ Maruti Udyog Limited และสร้างโรงงานในยุโรปตะวันออกมีกำลังการผลิตราว 200,000 คันต่อปี

ซูซูกิรุกตลาดนิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1984 หลังจากนั้นอีก 5 ปีได้รุกตลาดในแคนาดา, เนปาลและบังคลาเทศ ในส่วนของโรงงานผลิตที่อินเดียสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 10 ล้านคัน นอกจากนี้ยังรุกตลาดในเวียตนาม, เกาหลี, อียิปต์และฮังการี

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของโตโยต้าและได้ลาออกช่วงต้นทศวรรษที่ 50 เพื่อทำงานวิจัยกับสถาบันวิจัย Kumabe Research เขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1974

ซูซูกิ มอเตอร์บริษัทผลิตรถยนต์อันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่นถูกตรวจพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่เป็นไปตามความเป็นจริงย้อนไปถึงปี พ.ศ. 2553 โดยรถยนต์ของซูซูกิได้รับผลกระทบมากถึง 2.1 ล้านคัน

โอซามุ ซูซูกิ ซีอีโอ และประธานคณะกรรมการบริหารและประธานบริษัทซูซูกิ มอเตอร์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ซีอีโอ ของซูซูกิโดยเป็นความรับผิดชอบต่อเรื่องอื้อฉาวครั้งใหญ่ ดำเนินการไม่ถูกต้องในการทดสอบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์รุ่นต่างๆ ของซูซูกิเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2559

ซูซูกิ มอเตอร์เผชิญกับปัญหาที่ถูกเปิดโปงเกี่ยวกับอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงของรถยนต์หลายรุ่นที่ผลิตโดยซูซูกิ ส่วนทางนายโอซามุ ฮอนด้าซึ่งเป็นรองประธานบริหารของซูซูกิได้ประกาศลาออกด้วย

By : C. Methas - Managing Editor

โอซะมุ ซูซูกิผู้บริหารบริษัทผลิตมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ซูซูกิเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ได้รับเกียรติสู่หอเกียรติยศปูชนียบุคคลด้านยานยนต์แห่งญี่ปุ่นจากการประกาศในปี ค.ศ. 2002 ซึ่งเป็นปีที่ 2 ของการประกาศรางวัลดังกล่าว

เขาเกิดเมี่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1930 ที่เมืองเกะโระ, จังหวัดกิฟุ, ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1930 จบการศึกษาทางด้านเครื่องกลจากมหาวิทยาลัยชูโอในปี ค.ศ. 1953 เริ่มงานครั้งแรกกับธนาคารในท้องถิ่น มีความสนใจเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยการทำวิจัยและนำไปพัฒนาต่อโดยได้เขียนหนังสือวิชาการเกี่ยวกับเครื่องยนต์ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานของหนังสือที่นำไปอ้างอิงทางวิชาการในประเทศญี่ปุ่น

Michio Suzuki

หลังจากเข้าร่วมงานกับซูซูกิ มอเตอร์เมื่อปี ค.ศ. 1958 ซึ่งก่อตั้งโดย Michio Suzuki ผ่านงานหลายตำแหน่งก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการในปี ค.ศ. 1963 สร้างผลงานครั้งแรกด้วยรถรุ่น Maruti 800 AC โดยร่วมงานกับซูซูกิ มอเตอร์ยาวนานกว่า 30 ปีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ยาวนานจนสามารถผลักดันรถยนต์ซูซูกิสู่ตลาดโลกได้สำเร็จด้วยรถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกที่ทำยอดขายได้ติดอันดับต้นๆ ของโลก

ซูซูกิ มอเตอร์ได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทยเมื่อปี ค.ศ. 1967 ก่อนจะไปสร้างโรงงานที่อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินด์, ออสเตรเลียและปากีสถาน นอกจากนี้ยังเป็นพันธมิตรกับเจเนอรัล มอเตอร์สสำหรับการรุกตลาดยุโรป

สำหรับในประเทศอินเดียได้ร่วมกับรัฐบาลผลิตรถยนต์ Maruti Udyog Limited และสร้างโรงงานในยุโรปตะวันออกมีกำลังการผลิตราว 200,000 คันต่อปี

ซูซูกิรุกตลาดนิวซีแลนด์ในปี ค.ศ. 1984 หลังจากนั้นอีก 5 ปีได้รุกตลาดในแคนาดา, เนปาลและบังคลาเทศ ในส่วนของโรงงานผลิตที่อินเดียสามารถผลิตรถยนต์ได้ถึง 10 ล้านคัน นอกจากนี้ยังรุกตลาดในเวียตนาม, เกาหลี, อียิปต์และฮังการี

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเขาได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารของโตโยต้าและได้ลาออกช่วงต้นทศวรรษที่ 50 เพื่อทำงานวิจัยกับสถาบันวิจัย Kumabe Research เขาเสียชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1974

ซูซูกิ มอเตอร์บริษัทผลิตรถยนต์อันดับ 4 ของประเทศญี่ปุ่นถูกตรวจพบว่าอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงไม่เป็นไปตามความเป็นจริงย้อนไปถึงปี พ.ศ. 2553 โดยรถยนต์ของซูซูกิได้รับผลกระทบมากถึง 2.1 ล้านคัน

โอซามุ ซูซูกิ ซีอีโอ และประธานคณะกรรมการบริหารและประธานบริษัทซูซูกิ มอเตอร์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง ซีอีโอ ของซูซูกิโดยเป็นความรับผิดชอบต่อเรื่องอื้อฉาวครั้งใหญ่ ดำเนินการไม่ถูกต้องในการทดสอบอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถยนต์รุ่นต่างๆ ของซูซูกิเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ปี พ.ศ. 2559

ซูซูกิ มอเตอร์เผชิญกับปัญหาที่ถูกเปิดโปงเกี่ยวกับอัตราการประหยัดเชื้อเพลิงของรถยนต์หลายรุ่นที่ผลิตโดยซูซูกิ ส่วนทางนายโอซามุ ฮอนด้าซึ่งเป็นรองประธานบริหารของซูซูกิได้ประกาศลาออกด้วย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!