USS GERALD R. FORD CLASS (CVN78)-เรือบรรทุกเครื่องบินของกองทัพเรือสหรัฐฯ เต็มพิกัดเทคโนโลยี่ยุโธปกรณ์


By : C. Methas – Managing Editor

โครงการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ จะผลิตออกมาจำนวน 10 ลำซึ่งลำแรกได้สร้างเสร็จเรียบร้อยเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระดับชั้นฟอร์ดที่ชื่อว่า USS Gerald R. Ford Class ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ เจอรัลด์ อาร์.ฟอร์ด ประธานาธิบดีคนที่ 38 ของสหรัฐฯ ที่เคยเป็นลูกเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Monterey(CVL-26) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิก รหัสลำตัวเรือ CVN78 เรือลำนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยี่ระดับสูงที่พัฒนาใหม่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดล้ำสมัยที่สุด

USS Gerald R. Ford Class วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2009 จะเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ปี 2015 แต่มีความล่าช้าในหลายส่วนได้เข้าประจำการเมื่อปี 2017 โดยเข้าประจำการแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise(CVN.65) ที่จะปลดระวางในปี 2015

เรือบรรทุกเครื่องบินระดับ Supercarrier เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีระวางขับน้ำ 70,000 ตันขึ้นไปซึ่งมีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีเรือระดับนี้

เรือลำนี้มีระวางขับน้ำ 100,000 ตันต่อที่อู่ต่อเรือ Northrop Grumman Shipbuilding Newport News มลรัฐเวอร์จิเนียโดยใช้เหล็กในการก่อสร้างมีน้ำหนัก 47,000 ตัน ส่วนงบประมาณในการสร้างเป็นเงิน 12.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าวิจัยและพัฒนาอีก 4.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

การออกแบบใช้โปรแกรม 3 มิติ 3D Collaborative Visualization Tool ชื่อว่า CATIA(Computer Aided Three-Dimensional Interactive Application) ซึ่งช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างทั้งหมดสามารถเห็นภาพงานของแต่ละฝ่ายได้ชัดเจนในรูปแบบของภาพ 3 มิติทั้งในส่วนของฝ่ายอู่ต่อเรือและทีมงานช่างทุกแผนกโดยสามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ

นอกจากนี้ยังช่วยลดการทำงานลงได้กว่า 2 ล้านชั่วโมง การออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ลำแรกรุ่นนี้จะช่วยลดการบำรุงรักษา, กำลังพลจำนวนน้อยลงแต่การปฏิบัติการบินเพิ่มขึ้นและให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

ส่วนการออกแบบตัวเรือยังคงเป็นแบบเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบินระดับชั้น Nimitz แต่มีการจัดการออกแบบใหม่ในส่วนต่าง ๆ จำนวนลิฟท์ยกเครื่องบินมีจำนวนลดลงเหลือ 3 ชุดแต่ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า ห้องเก็บเครื่องบินจากเดิมมี 3 ห้องลดลงเหลือ 2 ห้องและมีการลดน้ำหนักในส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่นเตาปฏิกรณ์ปรมาณูรุ่น A1B จำนวน 2 ชุด

ในส่วนของหอบังคับการบินมีขนาดเล็กลงโดยตำแหน่งย้ายไปทางด้านท้ายเพื่อเพิ่มเนื้อที่บนดาดฟ้าเรือมากขึ้นและที่สำคัญตัวเรือออกแบบให้ช่วยลดการสะท้อนของเรดาร์และอุปกรณ์ตรวจจับอื่น ๆ

ในส่วนเครื่องดีดอากาศยานใช้ระบบใหม่เป็นแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic Aircraft Launch System จำนวน 4 ชุดมีความแม่นยำมากขึ้นและสามารถปรับความแรงและความเร็วได้เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักของเครื่องบินซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินได้หลายประเภทมากกว่า

ระบบการขนย้ายและติดตั้งอาวุธกับเครื่องบินมีความรวดเร็วมากขึ้นโดยออกแบบลิฟท์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดาดฟ้ามากขึ้นและบริเวณการจัดเตรียมเครื่องบินมีเพิ่มขึ้นเป็น 18 จุดและพื้นที่จัดเตรียมอาวุธอยู่ใต้ดาดฟ้าบินและการขนย้ายใช้หุ่นยนต์ในการขนย้าย

ระบบการบริการเครื่องบินสามารถเพิ่มการปฏิบัติการบินได้มากขึ้นเป็น 160 เที่ยวต่อวันและสามารถเพิ่มเป็น 220 เที่ยวบินต่อวัน ส่วนระบบเก่าของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz สามารถทำได้ 140 เที่ยวต่อวันสามารถรองรับเครื่องบินรูปแบบต่าง ๆ ได้ 90 ลำ

เครื่องบินที่บรรจุเข้าประจำการประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ F-35C Lightning II, F/A-18E/F Super Hornet ,เครื่องบินเตือนภัย Airboune Early Warning Aircraft E-2D Advance Hawkeye เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิคส์รุ่น EA-18G Growler, อากาศยานไร้คนขับรุ่น X-47B Pegasus, เฮลิคอปเตอร์รุ่น MH-60S Knighthawk และรุ่น MH-60R Seahawk

SPECIFICATIONS

GERALD R FORD CLASS(CVN78)

ระดับชั้น- ฟอร์ด คลาส

ขนาด- 100,000 ตัน

ความยาว- 1,106 ฟุต

ความกว้างบนดาดฟ้า- 256 ฟุต

ความกว้างระวางขับน้ำ- 134 ฟุต

ความสูง- 250 ฟุต

ความลึก- 39 ฟุต

เครื่องยนต์- 4 เครื่อง

พลังงาน- เตาปฏิกรณ์ปรมาณูรุ่น A1B 2 ชุด

ความเร็วสูงสุด- 30 น๊อต(56 กม./ชม.)

นายทหารชั้นสัญญาบัตร- 508 คน

เจ้าหน้าที่ประจำการ- 3,789 คน

อาวุธประจำเรือ- จรวดนำวิถี RIM-162 ESSM จำนวน 2 ชุด

RIM-116 RAM จำนวน 2 ชุด

ปืนใหญ่ป้องกันการโจมตี PHALANX CIWS จำนวน 2 ชุด

ปืนป้องกันการโจมตี M2 ขนาด 12.7 มม. จำนวน 4 กระบอกเครื่องบินประจำเรือ-75 ลำ

ราคา- 11,338.4 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

By : C. Methas - Managing Editor

โครงการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ จะผลิตออกมาจำนวน 10 ลำซึ่งลำแรกได้สร้างเสร็จเรียบร้อยเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินระดับชั้นฟอร์ดที่ชื่อว่า USS Gerald R. Ford Class ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับ เจอรัลด์ อาร์.ฟอร์ด ประธานาธิบดีคนที่ 38 ของสหรัฐฯ ที่เคยเป็นลูกเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Monterey(CVL-26) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ออกปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิก รหัสลำตัวเรือ CVN78 เรือลำนี้ได้ติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยี่ระดับสูงที่พัฒนาใหม่ให้ประสิทธิภาพสูงสุดล้ำสมัยที่สุด

USS Gerald R. Ford Class วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2009 จะเข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐฯ ปี 2015 แต่มีความล่าช้าในหลายส่วนได้เข้าประจำการเมื่อปี 2017 โดยเข้าประจำการแทนเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Enterprise(CVN.65) ที่จะปลดระวางในปี 2015

เรือบรรทุกเครื่องบินระดับ Supercarrier เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีระวางขับน้ำ 70,000 ตันขึ้นไปซึ่งมีเพียงประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่มีเรือระดับนี้

เรือลำนี้มีระวางขับน้ำ 100,000 ตันต่อที่อู่ต่อเรือ Northrop Grumman Shipbuilding Newport News มลรัฐเวอร์จิเนียโดยใช้เหล็กในการก่อสร้างมีน้ำหนัก 47,000 ตัน ส่วนงบประมาณในการสร้างเป็นเงิน 12.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าวิจัยและพัฒนาอีก 4.7 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ

การออกแบบใช้โปรแกรม 3 มิติ 3D Collaborative Visualization Tool ชื่อว่า CATIA(Computer Aided Three-Dimensional Interactive Application) ซึ่งช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องในการก่อสร้างทั้งหมดสามารถเห็นภาพงานของแต่ละฝ่ายได้ชัดเจนในรูปแบบของภาพ 3 มิติทั้งในส่วนของฝ่ายอู่ต่อเรือและทีมงานช่างทุกแผนกโดยสามารถแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ

นอกจากนี้ยังช่วยลดการทำงานลงได้กว่า 2 ล้านชั่วโมง การออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นใหม่ลำแรกรุ่นนี้จะช่วยลดการบำรุงรักษา, กำลังพลจำนวนน้อยลงแต่การปฏิบัติการบินเพิ่มขึ้นและให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

ส่วนการออกแบบตัวเรือยังคงเป็นแบบเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบินระดับชั้น Nimitz แต่มีการจัดการออกแบบใหม่ในส่วนต่าง ๆ จำนวนลิฟท์ยกเครื่องบินมีจำนวนลดลงเหลือ 3 ชุดแต่ให้ประสิทธิภาพสูงกว่า ห้องเก็บเครื่องบินจากเดิมมี 3 ห้องลดลงเหลือ 2 ห้องและมีการลดน้ำหนักในส่วนต่าง ๆ เพื่อรองรับอุปกรณ์ใหม่ ๆ เช่นเตาปฏิกรณ์ปรมาณูรุ่น A1B จำนวน 2 ชุด

ในส่วนของหอบังคับการบินมีขนาดเล็กลงโดยตำแหน่งย้ายไปทางด้านท้ายเพื่อเพิ่มเนื้อที่บนดาดฟ้าเรือมากขึ้นและที่สำคัญตัวเรือออกแบบให้ช่วยลดการสะท้อนของเรดาร์และอุปกรณ์ตรวจจับอื่น ๆ

ในส่วนเครื่องดีดอากาศยานใช้ระบบใหม่เป็นแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic Aircraft Launch System จำนวน 4 ชุดมีความแม่นยำมากขึ้นและสามารถปรับความแรงและความเร็วได้เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักของเครื่องบินซึ่งสามารถรองรับเครื่องบินได้หลายประเภทมากกว่า

ระบบการขนย้ายและติดตั้งอาวุธกับเครื่องบินมีความรวดเร็วมากขึ้นโดยออกแบบลิฟท์ให้อยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดาดฟ้ามากขึ้นและบริเวณการจัดเตรียมเครื่องบินมีเพิ่มขึ้นเป็น 18 จุดและพื้นที่จัดเตรียมอาวุธอยู่ใต้ดาดฟ้าบินและการขนย้ายใช้หุ่นยนต์ในการขนย้าย

ระบบการบริการเครื่องบินสามารถเพิ่มการปฏิบัติการบินได้มากขึ้นเป็น 160 เที่ยวต่อวันและสามารถเพิ่มเป็น 220 เที่ยวบินต่อวัน ส่วนระบบเก่าของเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz สามารถทำได้ 140 เที่ยวต่อวันสามารถรองรับเครื่องบินรูปแบบต่าง ๆ ได้ 90 ลำ

เครื่องบินที่บรรจุเข้าประจำการประกอบด้วย เครื่องบินขับไล่ F-35C Lightning II, F/A-18E/F Super Hornet ,เครื่องบินเตือนภัย Airboune Early Warning Aircraft E-2D Advance Hawkeye เครื่องบินสงครามอิเล็กทรอนิคส์รุ่น EA-18G Growler, อากาศยานไร้คนขับรุ่น X-47B Pegasus, เฮลิคอปเตอร์รุ่น MH-60S Knighthawk และรุ่น MH-60R Seahawk

SPECIFICATIONS

GERALD R FORD CLASS(CVN78)

ระดับชั้น- ฟอร์ด คลาส

ขนาด- 100,000 ตัน

ความยาว- 1,106 ฟุต

ความกว้างบนดาดฟ้า- 256 ฟุต

ความกว้างระวางขับน้ำ- 134 ฟุต

ความสูง- 250 ฟุต

ความลึก- 39 ฟุต

เครื่องยนต์- 4 เครื่อง

พลังงาน- เตาปฏิกรณ์ปรมาณูรุ่น A1B 2 ชุด

ความเร็วสูงสุด- 30 น๊อต(56 กม./ชม.)

นายทหารชั้นสัญญาบัตร- 508 คน

เจ้าหน้าที่ประจำการ- 3,789 คน

อาวุธประจำเรือ- จรวดนำวิถี RIM-162 ESSM จำนวน 2 ชุด

RIM-116 RAM จำนวน 2 ชุด

ปืนใหญ่ป้องกันการโจมตี PHALANX CIWS จำนวน 2 ชุด

ปืนป้องกันการโจมตี M2 ขนาด 12.7 มม. จำนวน 4 กระบอกเครื่องบินประจำเรือ-75 ลำ

ราคา- 11,338.4 ร้อยล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!