กทม.รณรงค์เดินชิดขวา สร้างวินัยจราจร


กทม.ขอความร่วมมือปชช. ‘เดินชิดขวา’ สร้างวินัยบนสกายวอร์ค-สะพานลอย เพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้บ้านเมือง

พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงโครงการจัดระเบียบการเดินขึ้นลงสะพานคนเดินข้ามถนน ทางเดินยกระดับ (Skywalk) และสถานีระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ มีสะพานคนเดินข้ามถนน จำนวน 915 แห่ง เป็นสะพานของกทม. 723 แห่ง กรมทางหลวง 192 แห่ง นอกจากนี้มีทางเดินยกระดับหรือสกายวอร์คจำนวน 9 แห่ง เป็นทางเดินของ กทม. 3 แห่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) 2 แห่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 1 แห่ง และเอกชน 3 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้ใช้สะพานลอย และเป็นการสร้างวินัยด้านการจราจร กทม.ได้จัดทำโครงการจัดระเบียบการเดินขึ้นลงสะพานคนเดินข้ามถนน ทางเดินยกระดับ และสถานีระบบขนส่งมวลชน โดยสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ได้ดำเนินการขีดสีตีเส้นกำหนดทางเดินบนสะพานลอย รวมทั้งภายในศาลาว่าการกทม. ให้เดินขึ้น-ลง ทางขวาเท่านั้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวา หากเกิดอุบัติเหตุหรือก้าวพลาดก็จะสามารถใช้มือขวาซึ่งเป็นมือที่ถนัดจับราวบันไดซึ่งอยู่ทางด้านขวามือได้ทันที ซึ่งกทม.จะดำเนินการรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

กทม.ขอความร่วมมือปชช. 'เดินชิดขวา' สร้างวินัยบนสกายวอร์ค-สะพานลอย เพิ่มความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้บ้านเมือง

พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) กล่าวถึงโครงการจัดระเบียบการเดินขึ้นลงสะพานคนเดินข้ามถนน ทางเดินยกระดับ (Skywalk) และสถานีระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ มีสะพานคนเดินข้ามถนน จำนวน 915 แห่ง เป็นสะพานของกทม. 723 แห่ง กรมทางหลวง 192 แห่ง นอกจากนี้มีทางเดินยกระดับหรือสกายวอร์คจำนวน 9 แห่ง เป็นทางเดินของ กทม. 3 แห่ง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) 2 แห่ง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 1 แห่ง และเอกชน 3 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของผู้ใช้สะพานลอย และเป็นการสร้างวินัยด้านการจราจร กทม.ได้จัดทำโครงการจัดระเบียบการเดินขึ้นลงสะพานคนเดินข้ามถนน ทางเดินยกระดับ และสถานีระบบขนส่งมวลชน โดยสำนักการจราจรและขนส่ง กทม. ได้ดำเนินการขีดสีตีเส้นกำหนดทางเดินบนสะพานลอย รวมทั้งภายในศาลาว่าการกทม. ให้เดินขึ้น-ลง ทางขวาเท่านั้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ถนัดมือขวา หากเกิดอุบัติเหตุหรือก้าวพลาดก็จะสามารถใช้มือขวาซึ่งเป็นมือที่ถนัดจับราวบันไดซึ่งอยู่ทางด้านขวามือได้ทันที ซึ่งกทม.จะดำเนินการรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!