ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 1.4 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ฟอร์ดและไครสเลอร์ยังตระเตรียมการสำหรับการผลิตรถ “ลดขนาด” อย่างเต็มที่ แต่ก็มีปัญหาการเงินหนักมาก อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกันทั้งหมดกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เป็นที่คาดกันว่าเยเนอรัล มอเตอร์จะเสริมสร้างฐานะเด่นของตนขึ้นไปอีก

สำหรับเยเนอรัล มอเตอร์นั้น โครงการลงทุนในขณะนั้นหมายความถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรทันสมัยแทนที่เครื่องจักรที่ล้าสมัย ในปี 1980 อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ซึ่งผิดกับในญี่ปุ่นซึ่งมีอายุประมาณ 15 ปี “ความแตกต่างในอายุการใช้งาน” นี้เองที่เป็นตัวตัดสินในการแข่งขันกัน ถ้าผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นไม่ลงทุนในเครื่องมือการผลิตใหม่ ๆ เมื่อเทียบกับเยเนอรัล มอเตอร์แล้วจะตกอยู่ในฐานะตรงข้ามจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

เยเนอรัล มอเตอร์กำลังใช้ระบบการบริหารที่คล้ายคลึงกับที่ใช้อยู่ในญี่ปุ่น และความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ เหล่านี้เกือบจะกำจัดข้อได้เปรียบที่บริษัทญี่ปุ่นมีอยู่ไปเกือบหมด ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรายเป็นห่วงอยู่ที่ว่าระบบการผลิตของตนจะนำหน้าของต่างประเทศได้มากเพียงไรในกลางทศวรรษ 1980 และหลังจากนั้นเมื่อเยเนอรัล มอเตอร์เริ่มการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กอย่างเต็มที่

“หลักการบริษัท” ของฮอนด้า มอเตอร์ มีข้อความว่า “เพื่อจะคงไว้ซึ่งความเห็นระดับนานาชาติ เราต้องอุทิศตนให้กับการจัดหาสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในราคาที่สมเหตุผล สำหรับความพอใจของลูกค้าทั่วโลก” น่าสนใจทีเดียว ที่นี่ไม่ใช่เพียงคำขวัญเลื่อนลอยซึ่งบอกถึงเป้าหมายอันไม่เป็นจริงของบริษัท

หลักการนี้เริ่มใช้ในปี 1956 เมื่อบริษัทยังเล็กมาก นโยบายของฮอนด้า มอเตอร์ไม่เคยมีว่าจะพยายามส่งออกสินค้าของตนเพราะตลาดในประเทศอิ่มตัว ทั้งไม่มีนโยบายจะลงทุนหรือสร้างโรงงานในต่างประเทศเพราะต่างประเทศเรียกร้องมา ตัวอย่างเช่น ในปี 1959 บริษัทได้กลายเป็นบริษัทแรกของญี่ปุ่นที่ไปตั้งสาขาในต่างประเทศ คือตั้งบริษัทอเมริกัน ฮอนด้า มอเตอร์ ในเมืองลอสแอนเจลีส สาขาแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการสำรวจตลาดรถจักรยานยนต์ในสหรัฐ และในปี 1962 ก็ตั้งบริษัทฮอนด้า เบเนลักซ์ ขึ้นที่เบลเยี่ยมเพื่อประกอบรถจักรยานยนต์แบบโมเพ็ด

ดังนั้นฮอนด้า มอเตอร์จึงเป็นบริษัทแรกในวงการอุตสาหกรรมทั้งหมดของญี่ปุ่นที่ลงทุนโดยตรงและตั้งโรงงานในประเทศที่ก้าวหน้าแล้วทางตะวันตก

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ฟอร์ดและไครสเลอร์ยังตระเตรียมการสำหรับการผลิตรถ "ลดขนาด" อย่างเต็มที่ แต่ก็มีปัญหาการเงินหนักมาก อุตสาหกรรมรถยนต์อเมริกันทั้งหมดกำลังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เป็นที่คาดกันว่าเยเนอรัล มอเตอร์จะเสริมสร้างฐานะเด่นของตนขึ้นไปอีก

สำหรับเยเนอรัล มอเตอร์นั้น โครงการลงทุนในขณะนั้นหมายความถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรทันสมัยแทนที่เครื่องจักรที่ล้าสมัย ในปี 1980 อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงานมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ซึ่งผิดกับในญี่ปุ่นซึ่งมีอายุประมาณ 15 ปี "ความแตกต่างในอายุการใช้งาน" นี้เองที่เป็นตัวตัดสินในการแข่งขันกัน ถ้าผู้ผลิตชาวญี่ปุ่นไม่ลงทุนในเครื่องมือการผลิตใหม่ ๆ เมื่อเทียบกับเยเนอรัล มอเตอร์แล้วจะตกอยู่ในฐานะตรงข้ามจากที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

เยเนอรัล มอเตอร์กำลังใช้ระบบการบริหารที่คล้ายคลึงกับที่ใช้อยู่ในญี่ปุ่น และความสำเร็จของโครงการต่าง ๆ เหล่านี้เกือบจะกำจัดข้อได้เปรียบที่บริษัทญี่ปุ่นมีอยู่ไปเกือบหมด ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นหลายรายเป็นห่วงอยู่ที่ว่าระบบการผลิตของตนจะนำหน้าของต่างประเทศได้มากเพียงไรในกลางทศวรรษ 1980 และหลังจากนั้นเมื่อเยเนอรัล มอเตอร์เริ่มการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กอย่างเต็มที่

"หลักการบริษัท" ของฮอนด้า มอเตอร์ มีข้อความว่า "เพื่อจะคงไว้ซึ่งความเห็นระดับนานาชาติ เราต้องอุทิศตนให้กับการจัดหาสินค้าที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในราคาที่สมเหตุผล สำหรับความพอใจของลูกค้าทั่วโลก" น่าสนใจทีเดียว ที่นี่ไม่ใช่เพียงคำขวัญเลื่อนลอยซึ่งบอกถึงเป้าหมายอันไม่เป็นจริงของบริษัท

หลักการนี้เริ่มใช้ในปี 1956 เมื่อบริษัทยังเล็กมาก นโยบายของฮอนด้า มอเตอร์ไม่เคยมีว่าจะพยายามส่งออกสินค้าของตนเพราะตลาดในประเทศอิ่มตัว ทั้งไม่มีนโยบายจะลงทุนหรือสร้างโรงงานในต่างประเทศเพราะต่างประเทศเรียกร้องมา ตัวอย่างเช่น ในปี 1959 บริษัทได้กลายเป็นบริษัทแรกของญี่ปุ่นที่ไปตั้งสาขาในต่างประเทศ คือตั้งบริษัทอเมริกัน ฮอนด้า มอเตอร์ ในเมืองลอสแอนเจลีส สาขาแห่งนี้มีบทบาทสำคัญในการสำรวจตลาดรถจักรยานยนต์ในสหรัฐ และในปี 1962 ก็ตั้งบริษัทฮอนด้า เบเนลักซ์ ขึ้นที่เบลเยี่ยมเพื่อประกอบรถจักรยานยนต์แบบโมเพ็ด

ดังนั้นฮอนด้า มอเตอร์จึงเป็นบริษัทแรกในวงการอุตสาหกรรมทั้งหมดของญี่ปุ่นที่ลงทุนโดยตรงและตั้งโรงงานในประเทศที่ก้าวหน้าแล้วทางตะวันตก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!