ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.4 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ฟูจิซาวะหวังที่จะเป็นพ่อค้ามากกว่าเป็นอะไรทั้งสิ้น จึงใช้เวลาหลายปีมองหาโอกาสเหมาะ ๆ ในปี 1934 เขาก็ได้งานทำกับ มิตซึวะ โชโก ผู้ค้ารายย่อยเกี่ยวกับเหล็กซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในโตเกียว พ่อของเขาดีใจน้อยกว่าเขาเพราะเงินเดือนที่ฟูจิซาวะได้รับในเดือนแรกนั้นแค่ 15 เยนคือประมาณ 1 ใน 3 ของที่เคยได้รับมาก่อน แต่ฟูจิซาวะรู้สึกว่าตนเองมาถูกทางแล้วในเมื่อ “จะต้องจบจากวิทยาลัยถึงทำงานร้านสรรพสินค้าได้ แต่การขายของต่าง ๆ ที่ร้านสรรพสินค้าไม่ได้ขายนั้น ความพยายามด้วยตัวเราเองต่างหากที่สำคัญ”

ภายในปีแรกนั้น เงินเดือนของเขาก็เพิ่มขึ้นเป็น 80 เยน ถึงตอนปลายปีที่สองเขาก็เป็นเซลล์แมนที่เก่งที่สุดของบริษัทและได้รับเงินเดือนเดือนละ 130 เยน

มีสิ่งขัดแย้งกันมากมายในสังคมญี่ปุ่นยุคหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินเพราะมีช่องว่างแตกต่างกันมากระหว่างพวก ไซบัตซึ (กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่ตระกูลใดตระกูลหนึ่งเป็นเจ้าของ) กับบรรดาคนงาน และระหว่างเจ้าของที่ดินกับชาวไร่ชาวนาผู้เช่าที่ดิน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์นั้น คิจิซาเอมอน ซูมิโตโม หัวหน้า ไซบัตซึ ซูมิโตโม มีรายได้รายปีถึง 3 ล้านเยนในปี 1936 ถึงจะยากในการถ่ายทอดเงินจำนวนนี้ออกมาเป็นค่าของเงินในปัจจุบันนี้ แต่ก็พอพูดได้ว่า เงินก้อนนี้มีค่าเกือบ 15 ล้านดอลลาร์ ไซบัตซึนี้มีกำไรมากที่สุดในญี่ปุ่น มีมากกว่าไซบัตซึ มิตซุยและมิตซูบิชิ ซูมิโตโมปกครองโดยคน ๆ เดียวโดยถือหลักทายาทผู้สืบสกุล ในขณะที่ไซบัตซึ มิตซุยนั้นมีตระกูลมิตซุย 12 ครอบครัวเป็นเจ้่าของอยู่ร่วมกัน และไซบัตซึ มิตซูบิชิเป็นตระกูลมิตซูบิชิสองครอบครัวที่เป็นหุ้นส่วนที่เสมอภาคกันและเป็นผู้สืบสกุลของพี่น้องผู้ก่อตั้ง คือยาตะโระ และ ยาโนซึเกะ อิวะซากิ

-ผู้มีเงินฝากซึ่งตระหนกตกใจเมื่อธนาคารหลายแห่งล้มในทศวรรษ 1920 พากันเข้าแถวเพื่อจะถอนเงินฝาก

เมื่อเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่่ปุ่นในปี 1937 ไซบัตซึทั้งหมดเริ่มทำกำไรมหาศาล เช่น ในปี 1938 ฮิโกยาตะ อิวะซากิ หัวหน้าไซบัตซึ มิตซูบิชิ ผู้ทำกำไรให้มากที่สุดทั้งยังเป็นหลานาของผู้ก่อตั้งด้วยนั้นมีรายได้ 10 ล้านเยน เมื่อรวมกับรายได้ของฮิซายะผู้พ่อและโคยาตะผู้เป็นอาแล้ว จะได้ประมาณ 25 ล้านเยนหรือกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน แต่สถิติทางการรัฐบาลบอกว่าในช่วงปี 1936-38 นั้นคนงานในโรงงานมีรายได้วันละ 2 เยน (คือน้อยกว่า 10 ดอลลาร์) ในเมื่อคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีรายได้ระดับนี้ ชนชั้นกลางเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นมาในช่วงนี้เอง

ความเดือดร้อนของชาวนานั้นก็น่าเวทนาพอ ๆ กัน เพราะสาเหตุเบื้องต้นของวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกที่เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1920 นั้นคือการมีสินค้าการเกษตรมากเกินความต้องการของตลาด ชาวนาในภาคอีสานของญี่ปุ่นได้รับความกระทบกระเทือนมากเพราะเก็บเกี่ยวพืชผลได้น้อย

ในปี 1934 ความอดอยากแผ่ไปทั่วชนบทและบรรดาลูกสาวของชาวนายากจนเหล่านี้ต้องทิ้งบ้านช่องออกไปหางานทำที่อื่น บางคนก็ได้งานในโรงงานทอผ้า บางคนก็ไปเป็นคนรับใช้ในบ้านคนรวย และบางคนก็ไปทำงานในซ่องโสเภณี ในปีนั้นปีเดียวผู้หญิงจำนวน 58,000 คนในภาคอีสานของญี่ปุ่นทิ้งบ้านช่องไป สำหรับพวกที่ทำงานในโรงงานทอผ้านั้น พวกนี้ต้องทำงานระหว่างสองและสามวันถึงจะได้ค่าจ้างเพียงหนึ่งเยน

ส่วนใหญ่ของบรรดาชาวญี่ปุ่นนั้นเช่าที่นา และทำกันขนาดเล็กมาก แล้วแบ่งข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ครึ่งหนึ่งให้แก่เจ้าของที่นาเป็นค่าเช่า ระบบนี้เองที่ทำให้เกิดความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่การเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล การโจมตีไซบัตซึ และเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ นั้นมีมาจากทั้งพวกเอียงซ้ายและเอียงขวา แม้แต่ก่อนที่ฟูจิซาวะจะไปเป็นทหาร การก่อตั้งรัฐบาลคอมมูนิสต์รัฐบาลแรกของโลกหลังการปฏิวัติในรัสเซีย เมื่อปี 1917 ก็เป็นแรงสนับสนุนให้กำลังใจแก่ชนชั้นคนงานของญี่ปุ่นซึ่งมีหัวหน้าที่ประกาศว่าในโอกาสข้างหน้านั้นชนชั้นคนงานจะเป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

-ย่านกินซ่าของโตเกียวหลังจากแผ่นดินไหว ปี 1923

เมื่อวิกฤตการณ์ทางการเงินในทศวรรษ 1920 ยิ่งเลวร้ายลงไป ปัญญาชนหลายคนเห็นด้วยกับพวกคอมมูนิสต์ว่าการว่างงานถูกจำกัดสิ้นไปแล้วในประเทศรัสเซียและคลื่นวัฒนธรรมผู้ใช้แรงงานกำลังเข้าแทนที่ “สังคมนายทุนที่เน่าเฟะ” อย่างไรก็ตาม ฟูจิซาวะ เองเห็นอกเห็นใจลัทธิคอมมูนิสต์เพียงเล็กน้อยและชอบที่จะอยู่เป็นอิสระมากกว่า

ขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยิ่งทรุดหนักในทศวรรษ 1920 นักการทหารนิยมขวาเริ่มได้อำนาจมากขึ้นพร้อมทั้งเร่งเร้าให้ชาวญี่ปุ่นผนึกความสามัคคีกันโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ และให้ช่วยกันพิชิตสิ่งที่พวกนี้เรียกว่า “วิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศชาติ” ขบวนการฝ่ายซ้ายถูกปราบปรามและในตอนปลายทศวรรษ 1920 พรรคคอมมูนิสต์ญี่ปุ่นก็เกือบถูกจำกัดสิ้นซาก แล้วมีพวกนิยมขวากลายเป็นกลุ่มสำคัญทางการเมืองแทนที่ในทศวรรษ 1930 พวกที่หัวรุนแรกที่สุดในบรรดาผู้นิยมขวาก็คือพวกทหารหนุ่มในกองทัพบกญี่ปุ่น

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ฟูจิซาวะหวังที่จะเป็นพ่อค้ามากกว่าเป็นอะไรทั้งสิ้น จึงใช้เวลาหลายปีมองหาโอกาสเหมาะ ๆ ในปี 1934 เขาก็ได้งานทำกับ มิตซึวะ โชโก ผู้ค้ารายย่อยเกี่ยวกับเหล็กซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในโตเกียว พ่อของเขาดีใจน้อยกว่าเขาเพราะเงินเดือนที่ฟูจิซาวะได้รับในเดือนแรกนั้นแค่ 15 เยนคือประมาณ 1 ใน 3 ของที่เคยได้รับมาก่อน แต่ฟูจิซาวะรู้สึกว่าตนเองมาถูกทางแล้วในเมื่อ "จะต้องจบจากวิทยาลัยถึงทำงานร้านสรรพสินค้าได้ แต่การขายของต่าง ๆ ที่ร้านสรรพสินค้าไม่ได้ขายนั้น ความพยายามด้วยตัวเราเองต่างหากที่สำคัญ"

ภายในปีแรกนั้น เงินเดือนของเขาก็เพิ่มขึ้นเป็น 80 เยน ถึงตอนปลายปีที่สองเขาก็เป็นเซลล์แมนที่เก่งที่สุดของบริษัทและได้รับเงินเดือนเดือนละ 130 เยน

มีสิ่งขัดแย้งกันมากมายในสังคมญี่ปุ่นยุคหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินเพราะมีช่องว่างแตกต่างกันมากระหว่างพวก ไซบัตซึ (กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมที่ตระกูลใดตระกูลหนึ่งเป็นเจ้าของ) กับบรรดาคนงาน และระหว่างเจ้าของที่ดินกับชาวไร่ชาวนาผู้เช่าที่ดิน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์นั้น คิจิซาเอมอน ซูมิโตโม หัวหน้า ไซบัตซึ ซูมิโตโม มีรายได้รายปีถึง 3 ล้านเยนในปี 1936 ถึงจะยากในการถ่ายทอดเงินจำนวนนี้ออกมาเป็นค่าของเงินในปัจจุบันนี้ แต่ก็พอพูดได้ว่า เงินก้อนนี้มีค่าเกือบ 15 ล้านดอลลาร์ ไซบัตซึนี้มีกำไรมากที่สุดในญี่ปุ่น มีมากกว่าไซบัตซึ มิตซุยและมิตซูบิชิ ซูมิโตโมปกครองโดยคน ๆ เดียวโดยถือหลักทายาทผู้สืบสกุล ในขณะที่ไซบัตซึ มิตซุยนั้นมีตระกูลมิตซุย 12 ครอบครัวเป็นเจ้่าของอยู่ร่วมกัน และไซบัตซึ มิตซูบิชิเป็นตระกูลมิตซูบิชิสองครอบครัวที่เป็นหุ้นส่วนที่เสมอภาคกันและเป็นผู้สืบสกุลของพี่น้องผู้ก่อตั้ง คือยาตะโระ และ ยาโนซึเกะ อิวะซากิ

-ผู้มีเงินฝากซึ่งตระหนกตกใจเมื่อธนาคารหลายแห่งล้มในทศวรรษ 1920 พากันเข้าแถวเพื่อจะถอนเงินฝาก

เมื่อเกิดสงครามระหว่างจีนกับญี่่ปุ่นในปี 1937 ไซบัตซึทั้งหมดเริ่มทำกำไรมหาศาล เช่น ในปี 1938 ฮิโกยาตะ อิวะซากิ หัวหน้าไซบัตซึ มิตซูบิชิ ผู้ทำกำไรให้มากที่สุดทั้งยังเป็นหลานาของผู้ก่อตั้งด้วยนั้นมีรายได้ 10 ล้านเยน เมื่อรวมกับรายได้ของฮิซายะผู้พ่อและโคยาตะผู้เป็นอาแล้ว จะได้ประมาณ 25 ล้านเยนหรือกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน แต่สถิติทางการรัฐบาลบอกว่าในช่วงปี 1936-38 นั้นคนงานในโรงงานมีรายได้วันละ 2 เยน (คือน้อยกว่า 10 ดอลลาร์) ในเมื่อคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีรายได้ระดับนี้ ชนชั้นกลางเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นมาในช่วงนี้เอง

ความเดือดร้อนของชาวนานั้นก็น่าเวทนาพอ ๆ กัน เพราะสาเหตุเบื้องต้นของวิกฤตการณ์ทางการเงินทั่วโลกที่เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1920 นั้นคือการมีสินค้าการเกษตรมากเกินความต้องการของตลาด ชาวนาในภาคอีสานของญี่ปุ่นได้รับความกระทบกระเทือนมากเพราะเก็บเกี่ยวพืชผลได้น้อย

ในปี 1934 ความอดอยากแผ่ไปทั่วชนบทและบรรดาลูกสาวของชาวนายากจนเหล่านี้ต้องทิ้งบ้านช่องออกไปหางานทำที่อื่น บางคนก็ได้งานในโรงงานทอผ้า บางคนก็ไปเป็นคนรับใช้ในบ้านคนรวย และบางคนก็ไปทำงานในซ่องโสเภณี ในปีนั้นปีเดียวผู้หญิงจำนวน 58,000 คนในภาคอีสานของญี่ปุ่นทิ้งบ้านช่องไป สำหรับพวกที่ทำงานในโรงงานทอผ้านั้น พวกนี้ต้องทำงานระหว่างสองและสามวันถึงจะได้ค่าจ้างเพียงหนึ่งเยน

ส่วนใหญ่ของบรรดาชาวญี่ปุ่นนั้นเช่าที่นา และทำกันขนาดเล็กมาก แล้วแบ่งข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ครึ่งหนึ่งให้แก่เจ้าของที่นาเป็นค่าเช่า ระบบนี้เองที่ทำให้เกิดความยากลำบากอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่การเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล การโจมตีไซบัตซึ และเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ๆ นั้นมีมาจากทั้งพวกเอียงซ้ายและเอียงขวา แม้แต่ก่อนที่ฟูจิซาวะจะไปเป็นทหาร การก่อตั้งรัฐบาลคอมมูนิสต์รัฐบาลแรกของโลกหลังการปฏิวัติในรัสเซีย เมื่อปี 1917 ก็เป็นแรงสนับสนุนให้กำลังใจแก่ชนชั้นคนงานของญี่ปุ่นซึ่งมีหัวหน้าที่ประกาศว่าในโอกาสข้างหน้านั้นชนชั้นคนงานจะเป็นผู้ปกครองประเทศญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน

-ย่านกินซ่าของโตเกียวหลังจากแผ่นดินไหว ปี 1923

เมื่อวิกฤตการณ์ทางการเงินในทศวรรษ 1920 ยิ่งเลวร้ายลงไป ปัญญาชนหลายคนเห็นด้วยกับพวกคอมมูนิสต์ว่าการว่างงานถูกจำกัดสิ้นไปแล้วในประเทศรัสเซียและคลื่นวัฒนธรรมผู้ใช้แรงงานกำลังเข้าแทนที่ "สังคมนายทุนที่เน่าเฟะ" อย่างไรก็ตาม ฟูจิซาวะ เองเห็นอกเห็นใจลัทธิคอมมูนิสต์เพียงเล็กน้อยและชอบที่จะอยู่เป็นอิสระมากกว่า

ขณะที่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยิ่งทรุดหนักในทศวรรษ 1920 นักการทหารนิยมขวาเริ่มได้อำนาจมากขึ้นพร้อมทั้งเร่งเร้าให้ชาวญี่ปุ่นผนึกความสามัคคีกันโดยมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ และให้ช่วยกันพิชิตสิ่งที่พวกนี้เรียกว่า "วิกฤตการณ์อันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศชาติ" ขบวนการฝ่ายซ้ายถูกปราบปรามและในตอนปลายทศวรรษ 1920 พรรคคอมมูนิสต์ญี่ปุ่นก็เกือบถูกจำกัดสิ้นซาก แล้วมีพวกนิยมขวากลายเป็นกลุ่มสำคัญทางการเมืองแทนที่ในทศวรรษ 1930 พวกที่หัวรุนแรกที่สุดในบรรดาผู้นิยมขวาก็คือพวกทหารหนุ่มในกองทัพบกญี่ปุ่น

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!