ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.6 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1906 ญี่่ปุ่นอยู่ในความสงบ อนาคตอันมั่งคั่งดูเหมือนจะแน่นอน และครอบครัวฮอนด้าก็ได้ลูกชายคนแรก คือ โซอิจิโร

กิเฮอิผู้เป็นพ่อนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนที่ซื่อสัตย์มีวิญญาณนักธุรกิจ ปู่ย่าตายายของเขาเป็นชาวนามาตลอด เขาเองเคยสู้รบในสงครามญี่ปุ่นและรัสเซีย ต่อมาจึงเปิดร้านตีเหล็กของตนเองซึ่งรับซ่อมจักรยานด้วย จักรยานกำลังเป็นที่นิยมมากในเมืองใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่น และกิเฮอิไปโตเกียวบ่อย ๆ เพื่อซื้อจักรยานเก่าหรือจักรยานที่เสียหายแล้วเอามาซ่อมและขายไป

การฉลองสนธิสัญญาต่อต้านคอมมูนิสต์สากลโดยญี่ปุ่นและเยอรมันในปี 1936

ครอบครัวยากจนและโซอิจิโรก็ช่วยงานพ่อมาตั้งแต่ยังเด็ก แม้แต่ตอนยังเด็กทารกก็ดูเหมือนว่าเขาจะคลั่งไคล้ในเครื่องจักร ไกลจากบ้านไปหลายไมล์ก็มีโรงสีข้าวอยู่โรงหนึ่งที่ใช้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน นับว่าเป็นของแปลกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ปู่ให้เขาขี่หลังไปที่นั่นจนกระทั่งการเฝ้าดูเครื่องยนต์กลายเป็นการฆ่าเวลาอันโปรดของเด็กน้อยฮอนด้าไป ในปี 1914 ตอนที่อยู่ชั้นประถม 2 เขามีโอกาสได้เห็นเครื่องบินซึ่ง ไนล์สมิธเป็นนักบิน ในเดือนถัดจากนั้น หนูน้อยฮอนด้าก็พยายามแต่งตัวให้เหมือนนักบินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยสวมหน้ากากนักบินที่ทำขึ้นเองจากกระดาษกล่องและทำให้ชาวบ้านตกอกตกใจด้วยการขี่จักรยานติด “ใบพัด” ไม้ไผ่

หลังเรียนหนังสือได้แปดปี ฮอนด้าจึงไปโตเกียวในปี 1922 เมื่ออายุ 15 ปี เพื่อไปฝึกงานที่ร้าน อาร์ต โชโก (สถานีบริการรถยนต์อาร์ต) ซึ่งเป็นร้านซ่อมรถยนต์นี่เอง แม้ชื่อจะโก้หรูก็ตาม เนื่องจากเป็นเด็กจากเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัด ชิซึโอกะ หนุ่มฮอนด้า จึงงงงันไปหมดเมื่อเห็นรถยนต์วันละ 10 คันในกรุงโตเกียว ที่หมู่บ้านโคเมียวของเขานั้น ถือว่าโชคดีมากถ้าได้เห็นรถยนต์สักคันในแต่ละเดือน

นี่่เป็นช่วงที่มั่งคั่งในโตเกียว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากชัยชนะต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและก่อนหน้าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี 1923 อาคารทางตะวันตกซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรดาบริษัทที่เจริญรุ่งเรืองเร็วทั้งหลายนั้นอยู่ในใจกลางเมือง โรงแรมอิมพีเรียล ซึ่งออกแบบโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ สถาปนิกชื่อดังของสหรัฐนั้นเพิ่งจะสร้างเสร็จในปีที่ฮอนด้าไปถึงโตเกียว และในขณะที่ตามถนนซอย จินริกิชะ (หรือ “รถลาก”) นั้นยังเป็นยานรับส่งผู้โดยสารที่อยู่ในความนิยม แต่ในสายใหญ่ ๆ มีรถรางแล่นบริการอยู่

โรงแรมอิมพีเรียล ซึ่งออกแบบโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ สถาปนิกชื่อดังของสหรัฐ

แต่งานจริง ๆ ของฮอนด้าขจัดความตื่นเต้นและความหรูหราของเมืองใหญ่โตไปหลายครั้ง งานแรกของเขาคือเป็นคนเลี้ยงเด็ก วันแล้ววันเล่า ฮอนด้าต้องแบกลูกเจ้าของร้านขึ้นหลังเดินไปมา และความฝันที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเครื่องยนต์กลไกรถยนต์ยิ่งจางหายไปทุกวัน นี่ถ้าไม่เพราะเกรงจะขายหน้าพ่อแม่ละก็ เขาจะต้องเก็บข้าวของเดินทางกลับไปยังเมืองฮามะมัตซึอย่างแน่นอน

สภาพที่ฮอนด้าเผชิญอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในเวลานั้น แม้ว่าญี่ปุ่นจะอยู่ในการปกครองโดยจักรพรรดิโดยตรง พวกเสรีนิยมที่ต้องการเสรีภาพก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเน้นหนักนั้นอยู่ที่ “รัฐบาลเพื่อประชาชน” มากกว่าจะเป็น “รัฐบาลของประชาชนและโดยประชาชน”

ในเวลาเดียวกันนั้นสิ่งที่หลงเหลือมาจากระบบขุนนางตั้งแต่ยุคของบรรดาโชกุนในตระกูลโทกุงาวะยังคงอยู่ในจิตใจของคนญี่ปุ่นซึ่งก็รวมถึงความรู้สึกอันหนักแน่นมั่นคงในเรื่องหน้าที่ ด้วยเหตุผลนี้ สังคมจึงยังเต็มใจที่จะรับระบบการฝึกงานอย่างเคร่งครัดในรูปแบบของนายกับบ่าวอยู่ไม่เหมือนกับในสังคมหลายสังคมในทางตะวันตกที่สังคมของญี่ปุ่นสามารถรักษาทีท่าของความไม่แน่นอนตัดสินใจไม่ได้ไว้และการปะทะกันเปรี้ยงปร้างไม่มีระหว่างการเรียกร้องให้ได้สิทธิมากขึ้นและความสำนึกในหน้าที่ ความไม่แน่นอนตัดสินใจไม่ได้แม้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยการปฏิรูปต่าง ๆ ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยังคงมีอยู่ในญี่ปุ่นในทุกวันนี้

ชาวญี่ปุ่นขณะฟังคำประกาศของจักรพรรดิว่าญี่่ปุ่นยอมแพ้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945

เรือรบเวสท์ เวอร์จิเนีย และเรือรบเทนเนสซี ของอเมริกากำลังไหม้ไฟที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในปี 1941

ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.5 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ในปี 1906 ญี่่ปุ่นอยู่ในความสงบ อนาคตอันมั่งคั่งดูเหมือนจะแน่นอน และครอบครัวฮอนด้าก็ได้ลูกชายคนแรก คือ โซอิจิโร

กิเฮอิผู้เป็นพ่อนั้นเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นคนที่ซื่อสัตย์มีวิญญาณนักธุรกิจ ปู่ย่าตายายของเขาเป็นชาวนามาตลอด เขาเองเคยสู้รบในสงครามญี่ปุ่นและรัสเซีย ต่อมาจึงเปิดร้านตีเหล็กของตนเองซึ่งรับซ่อมจักรยานด้วย จักรยานกำลังเป็นที่นิยมมากในเมืองใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่น และกิเฮอิไปโตเกียวบ่อย ๆ เพื่อซื้อจักรยานเก่าหรือจักรยานที่เสียหายแล้วเอามาซ่อมและขายไป

การฉลองสนธิสัญญาต่อต้านคอมมูนิสต์สากลโดยญี่ปุ่นและเยอรมันในปี 1936

ครอบครัวยากจนและโซอิจิโรก็ช่วยงานพ่อมาตั้งแต่ยังเด็ก แม้แต่ตอนยังเด็กทารกก็ดูเหมือนว่าเขาจะคลั่งไคล้ในเครื่องจักร ไกลจากบ้านไปหลายไมล์ก็มีโรงสีข้าวอยู่โรงหนึ่งที่ใช้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน นับว่าเป็นของแปลกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ปู่ให้เขาขี่หลังไปที่นั่นจนกระทั่งการเฝ้าดูเครื่องยนต์กลายเป็นการฆ่าเวลาอันโปรดของเด็กน้อยฮอนด้าไป ในปี 1914 ตอนที่อยู่ชั้นประถม 2 เขามีโอกาสได้เห็นเครื่องบินซึ่ง ไนล์สมิธเป็นนักบิน ในเดือนถัดจากนั้น หนูน้อยฮอนด้าก็พยายามแต่งตัวให้เหมือนนักบินมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยสวมหน้ากากนักบินที่ทำขึ้นเองจากกระดาษกล่องและทำให้ชาวบ้านตกอกตกใจด้วยการขี่จักรยานติด "ใบพัด" ไม้ไผ่

หลังเรียนหนังสือได้แปดปี ฮอนด้าจึงไปโตเกียวในปี 1922 เมื่ออายุ 15 ปี เพื่อไปฝึกงานที่ร้าน อาร์ต โชโก (สถานีบริการรถยนต์อาร์ต) ซึ่งเป็นร้านซ่อมรถยนต์นี่เอง แม้ชื่อจะโก้หรูก็ตาม เนื่องจากเป็นเด็กจากเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัด ชิซึโอกะ หนุ่มฮอนด้า จึงงงงันไปหมดเมื่อเห็นรถยนต์วันละ 10 คันในกรุงโตเกียว ที่หมู่บ้านโคเมียวของเขานั้น ถือว่าโชคดีมากถ้าได้เห็นรถยนต์สักคันในแต่ละเดือน

นี่่เป็นช่วงที่มั่งคั่งในโตเกียว ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากชัยชนะต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและก่อนหน้าแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ปี 1923 อาคารทางตะวันตกซึ่งเป็นที่อยู่ของบรรดาบริษัทที่เจริญรุ่งเรืองเร็วทั้งหลายนั้นอยู่ในใจกลางเมือง โรงแรมอิมพีเรียล ซึ่งออกแบบโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ สถาปนิกชื่อดังของสหรัฐนั้นเพิ่งจะสร้างเสร็จในปีที่ฮอนด้าไปถึงโตเกียว และในขณะที่ตามถนนซอย จินริกิชะ (หรือ "รถลาก") นั้นยังเป็นยานรับส่งผู้โดยสารที่อยู่ในความนิยม แต่ในสายใหญ่ ๆ มีรถรางแล่นบริการอยู่

โรงแรมอิมพีเรียล ซึ่งออกแบบโดยแฟรงค์ ลอยด์ ไร้ท์ สถาปนิกชื่อดังของสหรัฐ

แต่งานจริง ๆ ของฮอนด้าขจัดความตื่นเต้นและความหรูหราของเมืองใหญ่โตไปหลายครั้ง งานแรกของเขาคือเป็นคนเลี้ยงเด็ก วันแล้ววันเล่า ฮอนด้าต้องแบกลูกเจ้าของร้านขึ้นหลังเดินไปมา และความฝันที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเครื่องยนต์กลไกรถยนต์ยิ่งจางหายไปทุกวัน นี่ถ้าไม่เพราะเกรงจะขายหน้าพ่อแม่ละก็ เขาจะต้องเก็บข้าวของเดินทางกลับไปยังเมืองฮามะมัตซึอย่างแน่นอน

สภาพที่ฮอนด้าเผชิญอยู่นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรในเวลานั้น แม้ว่าญี่ปุ่นจะอยู่ในการปกครองโดยจักรพรรดิโดยตรง พวกเสรีนิยมที่ต้องการเสรีภาพก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตามการเน้นหนักนั้นอยู่ที่ "รัฐบาลเพื่อประชาชน" มากกว่าจะเป็น "รัฐบาลของประชาชนและโดยประชาชน"

ในเวลาเดียวกันนั้นสิ่งที่หลงเหลือมาจากระบบขุนนางตั้งแต่ยุคของบรรดาโชกุนในตระกูลโทกุงาวะยังคงอยู่ในจิตใจของคนญี่ปุ่นซึ่งก็รวมถึงความรู้สึกอันหนักแน่นมั่นคงในเรื่องหน้าที่ ด้วยเหตุผลนี้ สังคมจึงยังเต็มใจที่จะรับระบบการฝึกงานอย่างเคร่งครัดในรูปแบบของนายกับบ่าวอยู่ไม่เหมือนกับในสังคมหลายสังคมในทางตะวันตกที่สังคมของญี่ปุ่นสามารถรักษาทีท่าของความไม่แน่นอนตัดสินใจไม่ได้ไว้และการปะทะกันเปรี้ยงปร้างไม่มีระหว่างการเรียกร้องให้ได้สิทธิมากขึ้นและความสำนึกในหน้าที่ ความไม่แน่นอนตัดสินใจไม่ได้แม้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยการปฏิรูปต่าง ๆ ตอนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ยังคงมีอยู่ในญี่ปุ่นในทุกวันนี้

ชาวญี่ปุ่นขณะฟังคำประกาศของจักรพรรดิว่าญี่่ปุ่นยอมแพ้เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945

เรือรบเวสท์ เวอร์จิเนีย และเรือรบเทนเนสซี ของอเมริกากำลังไหม้ไฟที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ในปี 1941

ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 2.5 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!