ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 3.2 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ธุรกิจจริงจังของฮอนด้าตอนหลังสงครามก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในเดือนตุลาคม 1946 เขาตั้งบริษัทสถาบันการวิจัยทางวิชาการฮอนด้า (คือก่อนหน้าที่จะมีบริษัทฮอนด้า มอเตอร์) ในเมืองฮามะมัตซึ โครงการแรกของบริษัทนี้คือนำเอาเครื่องยนต์เล็ก ๆ ที่กองทัพบกญี่ปุ่นเคยใช้มาแล้วในการคมนาคมมาใช้ เครื่องยนต์พวกนี้ซื้อหามาในราคาถูก ๆ แล้วนำมาติดกับรถจักรยานและขายไปในราคาแพงได้กำไรงาม เมื่อเครื่องยนต์ชนิดนี้ไม่มีให้ซื้ออีกแล้ว ฮอนด้าจึงเริ่มผลิตขึ้นมาเอง และรถจักรยานที่ใช้เครื่องยนต์เล็กนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างมาก

ในช่วงแรก ๆ ของการถูกยึดครองนั้นญี่ปุ่นเผชิญกับการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ผู้คนในเมืองใหญ่ ๆ ต้องเดินทางกันบ่อยครั้งไปยังย่านที่เพาะปลูกพืชเพื่อซื้อของจำเป็นในการดำรงชีพ บริการรถไฟหยุดชะงักและทางรถไฟที่ใช้การได้ก็มีผู้โดยสารแน่นขนัดเกาะโหนที่หัวรถจักระหว่างการเดินทางไปชนบท ในเวลาที่แย่เช่นนั้น หลายคนตายไปเพราะความหิวโหยและเกือบจะทุกคนเป็นโรคขาดอาหาร ในภาวะเช่นนี้ รถจักรยานติดเครื่องยนต์ของฮอนด้าจึงใช้สะดวกและคนขายจักรยานหลายรายและคนค้าขายในตลาดมืดจึงเดินทางไปยังโรงงานของเขาพร้อมกับเงินสด ฮอนด้ายังสามารถขายน้ำมันผสมของเขาได้ด้วย

ปีที่ฮอนด้าตั้งบริษัทนั้นก็เป็นครั้งแรกที่มีการฉลองวันแรงงานในญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 1935 เป็นต้นมา ในวันที่ 19 พฤษภาคม คนที่หิวโหยหลายหมื่นคนไปรวมตัวกันที่หน้าพระราชวังเพื่อเรียกร้องขอข้าว คำขวัญหนึ่งที่พวกนี้นำไปด้วยก็เป็นข้อความล้อเลียนพระราชดำรัสขององค์จักรพรรดิในช่วงก่อนสงครามโลก มีความว่า “พระบรมราชโองการ-ประเทศชาติปลอดภัยแล้ว ฉันมีอะไรกินมากมาย พวกประชาชนพลเมืองจงอดอาหารแล้วก็ตายไป” ในปีต่อมามีการวางแผนนัดหยุดงานทั่วประเทศ แต่ต้องเลิกไปเพราะคำสั่งจากกองบัญชาการฝ่ายพันธมิตร

สังคมญี่ปุ่นตอนหลังสงครามใหม่ ๆ นั้นสับสนวุ่นวาย ในขณะที่รู้สึกอึดอัดกับนโยบายบางอย่างของกองกำลังยึดครองญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับความพยายามของพลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์ที่จะให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศประชาธิปไตย แม็คอาเธอร์มีความคิดของตนเองบางอย่างเกี่ยวกับญี่ปุ่น ในการให้การต่อรัฐสภาพสหรัฐในปี 1951 เขากล่าวว่า เมื่อมองจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมแล้วประชาชาติเชื้อสายแองโกลแซกซอนทั้งหลายได้ไปถึงระดับที่เติบโตเต็มที่แล้ว เทียบได้กับคนอายุ 45 ปี สำหรับคนเยอรมันก็พอจะพูดอย่างเดียวกันนี้ได้ แต่คนญี่ปุ่นนั้นยังอยู่ในวัยเด็กเทียบได้กับอายุ 12 ปี คำพูดนี้สร้างความแปลกใจและผิดหวังให้กับชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย

วัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดรูปแบบหนึ่งมา ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากวัฒนธรรมตะวันตก ศาสตราจารย์ฮายะโอะ คาวาอิแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นคือ “เยาว์ตลอดกาล” หมายความว่าญี่ปุ่นไม่ค่อยลังเลใจในการนำเข้าซึ่งวัฒนธรรมต่างชาติ ชาวญี่ปุ่นกระตือรือร้นมากในการรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ เหล่านี้มา แล้วศึกษาและทำให้เป็นวัฒนธรรมของตนไป อย่างไรก็ตามความกระตือรือร้นเช่นนั้นก็หมดไปไม่ช้าก็เร็วและต่างคนก็จะเที่ยวมองหาความตื่นเต้นจากการแนะนำวัฒนธรรมอันใหม่จากต่างประเทศ รูปแบบนี้มีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้วัฒนธรรมญี่ปุ่นสามารถรักษาคาวม “เยาว์ตลอดกาล” ไว้ได้ ลักษณะพิเศษทางจิตวิทยานี้ของคนญี่ปุ่นเรียกว่า “การพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง” โดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ. ลิฟตันแห่งมหาวิทยาลัยเยล ก็เหมือนกับเทพเจ้าโพรเตอุสแห่งทะเลในเทพนิยายทางตะวันตกที่วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความสามารถที่จะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน คือคอยเปลี่ยนวัตถุและความคิดอยู่เสมอในเรื่องที่ชาวญี่ปุ่นกระตือรือร้น

หลายศตวรรษมาแล้ว ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒนธรรมจากประเทศจีนอย่างกระตือรือร้นมากและวัฒนธรรมนี้กลายเป็น “กระดูสันหลัง” ทางวิญญาณของชาวญี่ปุ่นในสมัยเจ้าขุนมูลนายเป็นใหญ่

ระหว่างสมัยการฟื้นฟูประเทศยุคเมอิจิ ชาวญี่ปุ่นทิ้งประเพณีในอดีตบางอย่างไปรับเอาอารยธรรมตะวันตกทำการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แล้วรับนโยบายปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยไว้ ญี่ปุ่นก็ทำอย่างเดียวกันนี้ซ้ำอีกหลังจากสงครามโลกยุติลง แต่คราวนี้เป็นการละทิ้งระบบทหารเป็นใหญ่โดยถือว่าเป็นของล้าสมัย แล้วรับเอาประชาธิปไตยแบบอเมริกันไว้ด้วยความกระตือรือร้นอย่างน่าแปลกใจ ความกระตือรือร้นนี้บัดนี้ดูเหมือนจะหดหายไป เพราะญี่ปุ่นได้บรรลุเป้าหมายตนเองที่จะตามโลกตะวันตกให้ทัน

-สตรีญี่ปุ่นกำลังลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 1946

ตอนที่ 3.1 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

ธุรกิจจริงจังของฮอนด้าตอนหลังสงครามก็เกิดขึ้นอย่างกะทันหันในเดือนตุลาคม 1946 เขาตั้งบริษัทสถาบันการวิจัยทางวิชาการฮอนด้า (คือก่อนหน้าที่จะมีบริษัทฮอนด้า มอเตอร์) ในเมืองฮามะมัตซึ โครงการแรกของบริษัทนี้คือนำเอาเครื่องยนต์เล็ก ๆ ที่กองทัพบกญี่ปุ่นเคยใช้มาแล้วในการคมนาคมมาใช้ เครื่องยนต์พวกนี้ซื้อหามาในราคาถูก ๆ แล้วนำมาติดกับรถจักรยานและขายไปในราคาแพงได้กำไรงาม เมื่อเครื่องยนต์ชนิดนี้ไม่มีให้ซื้ออีกแล้ว ฮอนด้าจึงเริ่มผลิตขึ้นมาเอง และรถจักรยานที่ใช้เครื่องยนต์เล็กนี้กลายเป็นที่นิยมกันอย่างมาก

ในช่วงแรก ๆ ของการถูกยึดครองนั้นญี่ปุ่นเผชิญกับการขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ผู้คนในเมืองใหญ่ ๆ ต้องเดินทางกันบ่อยครั้งไปยังย่านที่เพาะปลูกพืชเพื่อซื้อของจำเป็นในการดำรงชีพ บริการรถไฟหยุดชะงักและทางรถไฟที่ใช้การได้ก็มีผู้โดยสารแน่นขนัดเกาะโหนที่หัวรถจักระหว่างการเดินทางไปชนบท ในเวลาที่แย่เช่นนั้น หลายคนตายไปเพราะความหิวโหยและเกือบจะทุกคนเป็นโรคขาดอาหาร ในภาวะเช่นนี้ รถจักรยานติดเครื่องยนต์ของฮอนด้าจึงใช้สะดวกและคนขายจักรยานหลายรายและคนค้าขายในตลาดมืดจึงเดินทางไปยังโรงงานของเขาพร้อมกับเงินสด ฮอนด้ายังสามารถขายน้ำมันผสมของเขาได้ด้วย

ปีที่ฮอนด้าตั้งบริษัทนั้นก็เป็นครั้งแรกที่มีการฉลองวันแรงงานในญี่ปุ่นนับตั้งแต่ปี 1935 เป็นต้นมา ในวันที่ 19 พฤษภาคม คนที่หิวโหยหลายหมื่นคนไปรวมตัวกันที่หน้าพระราชวังเพื่อเรียกร้องขอข้าว คำขวัญหนึ่งที่พวกนี้นำไปด้วยก็เป็นข้อความล้อเลียนพระราชดำรัสขององค์จักรพรรดิในช่วงก่อนสงครามโลก มีความว่า "พระบรมราชโองการ-ประเทศชาติปลอดภัยแล้ว ฉันมีอะไรกินมากมาย พวกประชาชนพลเมืองจงอดอาหารแล้วก็ตายไป" ในปีต่อมามีการวางแผนนัดหยุดงานทั่วประเทศ แต่ต้องเลิกไปเพราะคำสั่งจากกองบัญชาการฝ่ายพันธมิตร

สังคมญี่ปุ่นตอนหลังสงครามใหม่ ๆ นั้นสับสนวุ่นวาย ในขณะที่รู้สึกอึดอัดกับนโยบายบางอย่างของกองกำลังยึดครองญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับความพยายามของพลเอกดักลาส แม็คอาเธอร์ที่จะให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศประชาธิปไตย แม็คอาเธอร์มีความคิดของตนเองบางอย่างเกี่ยวกับญี่ปุ่น ในการให้การต่อรัฐสภาพสหรัฐในปี 1951 เขากล่าวว่า เมื่อมองจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมแล้วประชาชาติเชื้อสายแองโกลแซกซอนทั้งหลายได้ไปถึงระดับที่เติบโตเต็มที่แล้ว เทียบได้กับคนอายุ 45 ปี สำหรับคนเยอรมันก็พอจะพูดอย่างเดียวกันนี้ได้ แต่คนญี่ปุ่นนั้นยังอยู่ในวัยเด็กเทียบได้กับอายุ 12 ปี คำพูดนี้สร้างความแปลกใจและผิดหวังให้กับชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อย

วัฒนธรรมของญี่ปุ่นได้รับการถ่ายทอดรูปแบบหนึ่งมา ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากวัฒนธรรมตะวันตก ศาสตราจารย์ฮายะโอะ คาวาอิแห่งมหาวิทยาลัยเกียวโตชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมญี่ปุ่นนั้นคือ "เยาว์ตลอดกาล" หมายความว่าญี่ปุ่นไม่ค่อยลังเลใจในการนำเข้าซึ่งวัฒนธรรมต่างชาติ ชาวญี่ปุ่นกระตือรือร้นมากในการรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ เหล่านี้มา แล้วศึกษาและทำให้เป็นวัฒนธรรมของตนไป อย่างไรก็ตามความกระตือรือร้นเช่นนั้นก็หมดไปไม่ช้าก็เร็วและต่างคนก็จะเที่ยวมองหาความตื่นเต้นจากการแนะนำวัฒนธรรมอันใหม่จากต่างประเทศ รูปแบบนี้มีซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้วัฒนธรรมญี่ปุ่นสามารถรักษาคาวม "เยาว์ตลอดกาล" ไว้ได้ ลักษณะพิเศษทางจิตวิทยานี้ของคนญี่ปุ่นเรียกว่า "การพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง" โดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ. ลิฟตันแห่งมหาวิทยาลัยเยล ก็เหมือนกับเทพเจ้าโพรเตอุสแห่งทะเลในเทพนิยายทางตะวันตกที่วัฒนธรรมญี่ปุ่นมีความสามารถที่จะอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ กัน คือคอยเปลี่ยนวัตถุและความคิดอยู่เสมอในเรื่องที่ชาวญี่ปุ่นกระตือรือร้น

หลายศตวรรษมาแล้ว ญี่ปุ่นนำเข้าวัฒนธรรมจากประเทศจีนอย่างกระตือรือร้นมากและวัฒนธรรมนี้กลายเป็น "กระดูสันหลัง" ทางวิญญาณของชาวญี่ปุ่นในสมัยเจ้าขุนมูลนายเป็นใหญ่

ระหว่างสมัยการฟื้นฟูประเทศยุคเมอิจิ ชาวญี่ปุ่นทิ้งประเพณีในอดีตบางอย่างไปรับเอาอารยธรรมตะวันตกทำการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แล้วรับนโยบายปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยไว้ ญี่ปุ่นก็ทำอย่างเดียวกันนี้ซ้ำอีกหลังจากสงครามโลกยุติลง แต่คราวนี้เป็นการละทิ้งระบบทหารเป็นใหญ่โดยถือว่าเป็นของล้าสมัย แล้วรับเอาประชาธิปไตยแบบอเมริกันไว้ด้วยความกระตือรือร้นอย่างน่าแปลกใจ ความกระตือรือร้นนี้บัดนี้ดูเหมือนจะหดหายไป เพราะญี่ปุ่นได้บรรลุเป้าหมายตนเองที่จะตามโลกตะวันตกให้ทัน

-สตรีญี่ปุ่นกำลังลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 1946

ตอนที่ 3.1 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!