ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 3.6 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึ

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

เช้าวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ปี 1951 ฮอนด้าไปรับฟูจิซาวะที่บ้านแล้วตรงไปยังโรงงาน ฮอนด้าที่ชอบพูดคุยกลับนิ่งเงียบขณะขับรถ เมื่อไปถึงโรงงานที่โตเกียวก็พากันตรงไปยังห้องออกแบบบนโต๊ะเก่า ๆ ตัวหนึ่งมีรูปวาดด้วยดินสอเป็นรูปเครื่องยนต์ ท่าทางของฮอนด้าเหมือนคนอยู่ในภวังค์ขณะที่อธิบายอยู่นั้นแก่ฟูจิซาวะซึ่งไม่เคยลืมภาพสีหน้าของหุ้นส่วนของเขาในตอนนั้นเลย ที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ก็คือ คิโยชิ คาวะชิมะ คนวาดรูปนั้น นั่นคือรูปเครื่องยนต์ไทพ์อี สี่สูบ โอเวอร์เฮด วาล์ว ขนาด 146 ซีซี. ให้กำลังถึง 5.5 แรงม้า เป็นการบุกเบิกอย่างหนึ่งเพราะอีก 10 ปีให้หลังเครื่องยนต์โอเวอร์เฮด วาล์วจึงเป็นที่นิยมในบรรดาผู้ผลิตรถจักรยานยนต์

การทดสอบรถรุ่นดรีมไทพ์อี ทำกันเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ระหว่างที่มีพายุฝนอย่างหนัก คาวะชิมะเป็นคนขี่ทดสอบโดยขี่จากเมืองฮามะมัตซึไปยังยอดเขาฮาโกเนะ ฮอนด้ากับฟูจิซาวะนั่งรถบิวอิคที่ฮอนด้าเป็นคนขับตามหลังไป รถไทพ์อีทิ้งรถยนต์ห่างและสามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้โดยใช้เกียร์สูงสุด “เป็นครั้งแรกเลยที่ผมรู้สึกเป็นสุขที่ต้องตามหลังคนอื่น”

ฮอนด้าว่าเมื่อทั้งสองไปถึงยอดเขาที่อยู่เหนือทะเลสาบอาชิ ปรากฏว่าคาวะชิมะกำลังพักอยู่ในเวลานั้นมีรถจักรยานยนต์ไม่กี่คันที่สามารถแล่นขึ้นเขาได้โดยไม่มีปัญหายุ่งยาก รถไทพ์อีแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ย 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่มีปัญหาทางเครื่องยนต์

โรงงานในโตเกียว จึงผลิตรถไทพ์อีแทนรถไทพ์ดี เมื่อรถรุ่นใหม่นี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โรงงานจึงทำงานกันเกือบจะวุ่นวายโกลาหล เมื่่อยื่นขออนุญาตกับรัฐบาลสร้างโรงงานที่โตเกียวเพื่อการผลิตรถเดือนละ 300 คัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างชาติมีความข้องใจและกล่าวว่า “นี่คุณคิดเอาจริงหรือเรื่องการผลิตกันขนาดใหญ่โตอย่างนี้ ?” บางคนก็คิดไปว่าฮอนด้าทำแผนการผลิตใหญ่โตเพื่อจะได้รับส่วนแบ่งน้ำมันเบนซินมากขึ้น พวกช่างวิพากษ์วิจารณ์จะว่าอย่างไรก็ตามการผลิตที่โรงงานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งถึงระดับเดือนละ 900 คัน

ในตอนนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ไม่มีโครงสร้างทางองค์กร ทั้งคนงานก็ไม่พอ บริษัทต้องลงโฆษณารับสมัครคนงานเพิ่มในหนังสือต่าง ๆ เกือบจะทุกวันและจ้างเกือบจะทุกคนที่สมัค คนงานพวกนี้ถูกส่งเข้าทำงานประกอบรถตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน คนงานที่เข้าทำงานก่อนหน้านี้สองวันอาจจะสอนคนงานใหม่ได้ด้วย เมื่อจำนวนคนงานเกิน 100 คนเล็กน้อย ฮอนด้าและฟูจิซาวะก็รู้ถึงความสามารถและนิสัยใจคอของทุกคน ในสมัยนั้น ทั้งสองสามารถออกคำสั่งโดยตรงและรู้ว่า “ชุมชน” ของคนงานของตนจะปฏิบัติตาม

ฮอนด้าเองก้ไปที่โรงงานบ่อย ๆ โดยมีประแจในมือเพื่อช่วยขันน้อต น้อตที่คนงานหนุ่มขันนั้นสามารถขันได้อีกสองรอบ “ไอ้ชุ่ย ! ขันน้อตมันต้องอย่างนี้” ฮอนด้าตะโกนใส่ขณะที่เอาประแจตีหัวคนงานคนนั้น การตะโกนใส่ทันทีแบบนี้เป็นการสั่งสอน และทุกคนจะงุ่นง่านกันหมดเพียงแต่เห็นฮอนด้าถือประแจ แต่วิธีสั่งสอนของเขาดูเหมือนจะได้ผลตามที่ปรารถนาแล้ว “วิธีการฟ้าผ่า” นี่เองที่คนงานของฮอนด้าหลายคนเรียนรู้วิธีสร้างรถจักรยานยนต์

ฮอนด้า มอเตอร์ยังไม่มีเครื่องมือเพียงพอและต้องซื้อส่วนประกอบและอะไหล่ต่าง ๆ จากบริษัทอื่น เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การจัดซื้อจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ในสมองของฮอนด้านั้นมีรูปวาดชิ้นส่วนต่าง ๆ ทุกชนิด เขาจะวาดภาพลงบนกระดาษแล้วส่งคนงานไปสั่งให้อีกบริษัทจัดทำให้ ก่อนที่่คนงานคนแรกจะไปถึงผู้รับจ้าง ฮอนด้าจะส่งคนงานอีกคนตามไปพร้อมกับบอกว่า “รูปวาดรูปแรกไม่ดี เอารูปใหม่ไป ให้ทำตามรูปใหม่นี่” คนที่รับทำก็อารมณ์เสียเมื่อพวกนี้ถามคนงานที่เอางานไปให้ว่าฮอนด้าจะจ่ายเงินให้เมื่อไร ก็จะได้คำตอบว่า “เงินมันเป็นคนละเรื่องกัน จะมีอีกคนมาพูดเรื่องเงินกับคุณเอง”

รถจักรยานยนต์พ้นจากฝ่ายประกอบแล้วจะถูกทดสอบในถนนที่หน้าโรงงาน “ถ้าเราขืนทำอย่างนั้นในทุกวันนี้ คงโดนข้อหาทำมลพิษทางเสียง” ฮอนด้าว่า การพัฒนารถไทพ์อีช่วยให้ฮอนด้า มอเตอร์ก้าวไปได้ไกลในตอนเริ่มต้นครึ่งหลังของปี 1951 ขณะนั้นฟูจิซาวะทำงานด้านการจัดจำหน่ายต่อไป ระหว่างที่ไปเยี่ยมผู้จัดจำหน่ายต่าง ๆ ก็มีรายหนึ่งพูดกับเขาว่า “ผมต้องการรถใหม่ นี่ครับเงินรับไปเลย” ฟูจิซาวะตอบไปว่า “ค่อยส่งเงินให้ผมทีหลังก็แล้วกัน”

หลังจากที่กลับไปโตเกียวแล้ว ฟูจิซาวะก็ไม่ได้รับเงินนั้น เขาจึงหยุดส่งจักรยานยนต์ให้แก่ผู้จัดจำหน่ายรายนั้น ผู้จัดจำหน่ายรายนั้นประท้วง ฟูจิซาวะก็ตอบไปแต่เพียงว่ายังไม่ได้รับเงิน ดังนั้นจึงไม่มีการส่งจักรยานยนต์ให้ ผู้จัดจำหน่ายนั้นรีบวิ่งแจ้นไปโตเกียวด้วยตัวเองพร้อมกับเงินสด

ฟูจิซาวะจึงบอกไปว่า “คุณน่ะเก็บเงินของลูกค้าที่วางมัดจำไว้เอง คุณคิดว่าคุณเป็นใคร ? ถ้าคุณต้องการซื้อจักรยานยนต์ของเราคุณต้องส่งเงินที่คุณเก็บจากลูกค้าแล้วมาให้ผมซิ” ไม่นานเรื่องนี้ก็กระจายไปถึงหูของผู้จัดจำหน่ายรายอื่น หลังจากนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ก็สามารถได้เงินล่วงหน้าจากการสั่งซื้อจักรยานยนต์

ที่สำนักงานขายที่โตเกียว ฟูจิซาวะเป็นเซลล์แมนเพียงคนเดียวและมีเวลาไปเก็บเงินน้อยมาก แต่เพราะความสำเร็จของรถไทพ์วอี เงินจึงเริ่มหลั่งไหลอย่างอัตโนมัติจากผู้จัดจำหน่าย ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาผู้จัดจำหน่ายที่เลือกทำธุรกิจกับคิตะงาวะก็พากันคิดได้ว่ามาขายรถไทพ์อีจะดีกว่า เมื่อข่ายผู้จัดจำหน่ายขยายตัวมากขึ้น สำนักงานขายโตเกียวก็เริ่มควบคุมได้เต็มที่และเริ่มทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เป็นธรรมดาที่เมื่อบริษัทเล็กเจริญเติบโตมากมายขนาดนี้ฝ่ายบริหารจะเริ่มเลียนแบบบริษัทใหญ่ ๆ โดยตั้งโครงสร้างองค์กรและวางแผนการขายอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม นี่มีแนวโน้มทำให้บริษัทสูญเสียพลังงานสำหรับความเจริญก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น บริษัทเช่นนั้นจะแต่งตั้งหัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนกเพิ่มขึ้นมากกว่าความจำเป็นในการดำเนินงาน เพราะผู้ก่อตั้งพออกพอใจในความสำเร็จของตนจึงออกคำสั่งแต่งตั้งพนักงานให้ดำรงตำแหน่งหรู ๆ เพื่อส่งเสริมฐานะทางสังคมของพนักงานเหล่านี้

บริษัทเล็ก ๆ หลายบริษัทจะพบกับวิกฤตการณ์เช่นนี้ในช่วงนี้ของความเจริญก้าวหน้า สำหรับฟูจิซาวะนั้นเห็นว่าฮอนด้าเป็นคนที่ไม่ต้องการอยากได้ผลที่รวดเร็ว “คนอย่างฮอนด้าไม่เคยพูดอะไรอย่างนั้น ความอยากทำงานทางเทคโนโลยีของเขาไม่มีสิ้นสุด และเขาเป็นคนมีความฝันอันมโหฬาร เป็นธรรมดาที่เราไปไม่ถึงตามความฝันนั้นเพราะเราสองคนเริ่มต้นด้วยสิ่งที่เหมือนความฝัน ถ้าเขาเริ่มพูดอะไรสักอย่างเช่นปีหน้าจะได้กำไรเท่าไรละก้อ ผมก็ต้องรู้สึกผิดหวัง เพราะการพูดอย่างนั้นมีความหมายว่าเขาห่วงรายได้ส่วนตัวของเขา เขาเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่เล่นบทนำในเรื่องนี้ ดังนั้นพวกเราที่เล่นบทตัวประกอบจึงต้องสร้างโรงละครให้ใหญ่-คือสร้่างบริษัทให้ใหญ่โต-ให้เหมาะสมกับดาราแสดงนำจึงจะถูกต้อง”

ตอนที่ 3.5 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึ

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

เช้าวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ปี 1951 ฮอนด้าไปรับฟูจิซาวะที่บ้านแล้วตรงไปยังโรงงาน ฮอนด้าที่ชอบพูดคุยกลับนิ่งเงียบขณะขับรถ เมื่อไปถึงโรงงานที่โตเกียวก็พากันตรงไปยังห้องออกแบบบนโต๊ะเก่า ๆ ตัวหนึ่งมีรูปวาดด้วยดินสอเป็นรูปเครื่องยนต์ ท่าทางของฮอนด้าเหมือนคนอยู่ในภวังค์ขณะที่อธิบายอยู่นั้นแก่ฟูจิซาวะซึ่งไม่เคยลืมภาพสีหน้าของหุ้นส่วนของเขาในตอนนั้นเลย ที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ ก็คือ คิโยชิ คาวะชิมะ คนวาดรูปนั้น นั่นคือรูปเครื่องยนต์ไทพ์อี สี่สูบ โอเวอร์เฮด วาล์ว ขนาด 146 ซีซี. ให้กำลังถึง 5.5 แรงม้า เป็นการบุกเบิกอย่างหนึ่งเพราะอีก 10 ปีให้หลังเครื่องยนต์โอเวอร์เฮด วาล์วจึงเป็นที่นิยมในบรรดาผู้ผลิตรถจักรยานยนต์

การทดสอบรถรุ่นดรีมไทพ์อี ทำกันเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ระหว่างที่มีพายุฝนอย่างหนัก คาวะชิมะเป็นคนขี่ทดสอบโดยขี่จากเมืองฮามะมัตซึไปยังยอดเขาฮาโกเนะ ฮอนด้ากับฟูจิซาวะนั่งรถบิวอิคที่ฮอนด้าเป็นคนขับตามหลังไป รถไทพ์อีทิ้งรถยนต์ห่างและสามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้โดยใช้เกียร์สูงสุด "เป็นครั้งแรกเลยที่ผมรู้สึกเป็นสุขที่ต้องตามหลังคนอื่น"

ฮอนด้าว่าเมื่อทั้งสองไปถึงยอดเขาที่อยู่เหนือทะเลสาบอาชิ ปรากฏว่าคาวะชิมะกำลังพักอยู่ในเวลานั้นมีรถจักรยานยนต์ไม่กี่คันที่สามารถแล่นขึ้นเขาได้โดยไม่มีปัญหายุ่งยาก รถไทพ์อีแล่นด้วยความเร็วเฉลี่ย 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงโดยไม่มีปัญหาทางเครื่องยนต์

โรงงานในโตเกียว จึงผลิตรถไทพ์อีแทนรถไทพ์ดี เมื่อรถรุ่นใหม่นี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โรงงานจึงทำงานกันเกือบจะวุ่นวายโกลาหล เมื่่อยื่นขออนุญาตกับรัฐบาลสร้างโรงงานที่โตเกียวเพื่อการผลิตรถเดือนละ 300 คัน เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างชาติมีความข้องใจและกล่าวว่า "นี่คุณคิดเอาจริงหรือเรื่องการผลิตกันขนาดใหญ่โตอย่างนี้ ?" บางคนก็คิดไปว่าฮอนด้าทำแผนการผลิตใหญ่โตเพื่อจะได้รับส่วนแบ่งน้ำมันเบนซินมากขึ้น พวกช่างวิพากษ์วิจารณ์จะว่าอย่างไรก็ตามการผลิตที่โรงงานก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งถึงระดับเดือนละ 900 คัน

ในตอนนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ไม่มีโครงสร้างทางองค์กร ทั้งคนงานก็ไม่พอ บริษัทต้องลงโฆษณารับสมัครคนงานเพิ่มในหนังสือต่าง ๆ เกือบจะทุกวันและจ้างเกือบจะทุกคนที่สมัค คนงานพวกนี้ถูกส่งเข้าทำงานประกอบรถตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน คนงานที่เข้าทำงานก่อนหน้านี้สองวันอาจจะสอนคนงานใหม่ได้ด้วย เมื่อจำนวนคนงานเกิน 100 คนเล็กน้อย ฮอนด้าและฟูจิซาวะก็รู้ถึงความสามารถและนิสัยใจคอของทุกคน ในสมัยนั้น ทั้งสองสามารถออกคำสั่งโดยตรงและรู้ว่า "ชุมชน" ของคนงานของตนจะปฏิบัติตาม

ฮอนด้าเองก้ไปที่โรงงานบ่อย ๆ โดยมีประแจในมือเพื่อช่วยขันน้อต น้อตที่คนงานหนุ่มขันนั้นสามารถขันได้อีกสองรอบ "ไอ้ชุ่ย ! ขันน้อตมันต้องอย่างนี้" ฮอนด้าตะโกนใส่ขณะที่เอาประแจตีหัวคนงานคนนั้น การตะโกนใส่ทันทีแบบนี้เป็นการสั่งสอน และทุกคนจะงุ่นง่านกันหมดเพียงแต่เห็นฮอนด้าถือประแจ แต่วิธีสั่งสอนของเขาดูเหมือนจะได้ผลตามที่ปรารถนาแล้ว "วิธีการฟ้าผ่า" นี่เองที่คนงานของฮอนด้าหลายคนเรียนรู้วิธีสร้างรถจักรยานยนต์

ฮอนด้า มอเตอร์ยังไม่มีเครื่องมือเพียงพอและต้องซื้อส่วนประกอบและอะไหล่ต่าง ๆ จากบริษัทอื่น เมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การจัดซื้อจึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ในสมองของฮอนด้านั้นมีรูปวาดชิ้นส่วนต่าง ๆ ทุกชนิด เขาจะวาดภาพลงบนกระดาษแล้วส่งคนงานไปสั่งให้อีกบริษัทจัดทำให้ ก่อนที่่คนงานคนแรกจะไปถึงผู้รับจ้าง ฮอนด้าจะส่งคนงานอีกคนตามไปพร้อมกับบอกว่า "รูปวาดรูปแรกไม่ดี เอารูปใหม่ไป ให้ทำตามรูปใหม่นี่" คนที่รับทำก็อารมณ์เสียเมื่อพวกนี้ถามคนงานที่เอางานไปให้ว่าฮอนด้าจะจ่ายเงินให้เมื่อไร ก็จะได้คำตอบว่า "เงินมันเป็นคนละเรื่องกัน จะมีอีกคนมาพูดเรื่องเงินกับคุณเอง"

รถจักรยานยนต์พ้นจากฝ่ายประกอบแล้วจะถูกทดสอบในถนนที่หน้าโรงงาน "ถ้าเราขืนทำอย่างนั้นในทุกวันนี้ คงโดนข้อหาทำมลพิษทางเสียง" ฮอนด้าว่า การพัฒนารถไทพ์อีช่วยให้ฮอนด้า มอเตอร์ก้าวไปได้ไกลในตอนเริ่มต้นครึ่งหลังของปี 1951 ขณะนั้นฟูจิซาวะทำงานด้านการจัดจำหน่ายต่อไป ระหว่างที่ไปเยี่ยมผู้จัดจำหน่ายต่าง ๆ ก็มีรายหนึ่งพูดกับเขาว่า "ผมต้องการรถใหม่ นี่ครับเงินรับไปเลย" ฟูจิซาวะตอบไปว่า "ค่อยส่งเงินให้ผมทีหลังก็แล้วกัน"

หลังจากที่กลับไปโตเกียวแล้ว ฟูจิซาวะก็ไม่ได้รับเงินนั้น เขาจึงหยุดส่งจักรยานยนต์ให้แก่ผู้จัดจำหน่ายรายนั้น ผู้จัดจำหน่ายรายนั้นประท้วง ฟูจิซาวะก็ตอบไปแต่เพียงว่ายังไม่ได้รับเงิน ดังนั้นจึงไม่มีการส่งจักรยานยนต์ให้ ผู้จัดจำหน่ายนั้นรีบวิ่งแจ้นไปโตเกียวด้วยตัวเองพร้อมกับเงินสด

ฟูจิซาวะจึงบอกไปว่า "คุณน่ะเก็บเงินของลูกค้าที่วางมัดจำไว้เอง คุณคิดว่าคุณเป็นใคร ? ถ้าคุณต้องการซื้อจักรยานยนต์ของเราคุณต้องส่งเงินที่คุณเก็บจากลูกค้าแล้วมาให้ผมซิ" ไม่นานเรื่องนี้ก็กระจายไปถึงหูของผู้จัดจำหน่ายรายอื่น หลังจากนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ก็สามารถได้เงินล่วงหน้าจากการสั่งซื้อจักรยานยนต์

ที่สำนักงานขายที่โตเกียว ฟูจิซาวะเป็นเซลล์แมนเพียงคนเดียวและมีเวลาไปเก็บเงินน้อยมาก แต่เพราะความสำเร็จของรถไทพ์วอี เงินจึงเริ่มหลั่งไหลอย่างอัตโนมัติจากผู้จัดจำหน่าย ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาผู้จัดจำหน่ายที่เลือกทำธุรกิจกับคิตะงาวะก็พากันคิดได้ว่ามาขายรถไทพ์อีจะดีกว่า เมื่อข่ายผู้จัดจำหน่ายขยายตัวมากขึ้น สำนักงานขายโตเกียวก็เริ่มควบคุมได้เต็มที่และเริ่มทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท เป็นธรรมดาที่เมื่อบริษัทเล็กเจริญเติบโตมากมายขนาดนี้ฝ่ายบริหารจะเริ่มเลียนแบบบริษัทใหญ่ ๆ โดยตั้งโครงสร้างองค์กรและวางแผนการขายอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม นี่มีแนวโน้มทำให้บริษัทสูญเสียพลังงานสำหรับความเจริญก้าวหน้า ตัวอย่างเช่น บริษัทเช่นนั้นจะแต่งตั้งหัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนกเพิ่มขึ้นมากกว่าความจำเป็นในการดำเนินงาน เพราะผู้ก่อตั้งพออกพอใจในความสำเร็จของตนจึงออกคำสั่งแต่งตั้งพนักงานให้ดำรงตำแหน่งหรู ๆ เพื่อส่งเสริมฐานะทางสังคมของพนักงานเหล่านี้

บริษัทเล็ก ๆ หลายบริษัทจะพบกับวิกฤตการณ์เช่นนี้ในช่วงนี้ของความเจริญก้าวหน้า สำหรับฟูจิซาวะนั้นเห็นว่าฮอนด้าเป็นคนที่ไม่ต้องการอยากได้ผลที่รวดเร็ว "คนอย่างฮอนด้าไม่เคยพูดอะไรอย่างนั้น ความอยากทำงานทางเทคโนโลยีของเขาไม่มีสิ้นสุด และเขาเป็นคนมีความฝันอันมโหฬาร เป็นธรรมดาที่เราไปไม่ถึงตามความฝันนั้นเพราะเราสองคนเริ่มต้นด้วยสิ่งที่เหมือนความฝัน ถ้าเขาเริ่มพูดอะไรสักอย่างเช่นปีหน้าจะได้กำไรเท่าไรละก้อ ผมก็ต้องรู้สึกผิดหวัง เพราะการพูดอย่างนั้นมีความหมายว่าเขาห่วงรายได้ส่วนตัวของเขา เขาเป็นบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ที่เล่นบทนำในเรื่องนี้ ดังนั้นพวกเราที่เล่นบทตัวประกอบจึงต้องสร้างโรงละครให้ใหญ่-คือสร้่างบริษัทให้ใหญ่โต-ให้เหมาะสมกับดาราแสดงนำจึงจะถูกต้อง"

ตอนที่ 3.5 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!