ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 3.7 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

วันหนึ่งมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทที่บ้านพักของฟูจิซาวะในกรุงโตเกียว หลังจากการประชุมเลิกแล้วฟูจิซาวะก็เล่นหมากโชงิ (หมากรุกญี่ปุ่น) กับฮอนด้า กรรมการคนหนึ่งเริ่มบ่นกับฟูจิซาวะ

ฟูจิซาวะรำคาญขึ้นมาเลยโวยวายเสียงดังมากจนทุกคนแปลกใจ ฮอนด้าไม่มีวี่แววหงุดหงิดปรากฏและยังเดินหมากของตัวเองต่อไป

“เขาเป็นคนดีจริง ๆ” ฟูจิซาวะคิด “เขานั่งเล่นหมากโชงิอยู่ แต่ไม่มีท่าทีรำคาญหงุดหงิดให้เห็น มันเหมือนกับว่าเขาพูดกับผมว่า อยากตะโกนก็เชิญตามสบาย นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าหมากที่กำลังเดินอยู่นั้นกำลังเสียเปรียบก็ได้”

ปี 1950 เป็นจุดเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกในเดือนมิถุนายน กองทัพเกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ด้วยการโจมตีโดยไม่ให้รู้ตัวอย่างยอดเยี่ยม รัฐบาลอเมริกันเห็นว่าการทำเช่นนี้เท่ากับว่าลัทธิคอมมูนิสต์คุกคามโลกเสรีจึงใช้ “นโยบายต้านรับ” สหภาพโซเวียต

นอกจากนี้สหรัฐยังเปลี่ยนแปลงนโยบายทั้งหมดเกี่ยวกับญี่ปุ่นด้วย คือแทนที่จะตัดรอนความสามารถต่าง ๆ ในการทำสงครามของญี่ปุ่นไปหมด บัดนี้ญี่ปุ่นก็ได้กลับสู่สงครามระหว่างประเทศและกลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของยุทธวิธีการป้องกันของสหรัฐในตะวันออกไกล ในเดือนกันยายน 1950 ประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมนออกคำสั่งให้เริ่มเตรียมการเจรจาเบื้องต้นเพื่อทำสนธิสัญญาสันติภาพและความมั่นคงกับญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีชิเงรุ โยชิดะเป็นตัวแทนญี่ปุ่น ในเดือนกันยายน 1951 สนธิสัญญานี้ได้รับการลงนามโดยญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ 48 ประเทศ สหภาพโซเวียตไม่ยอมลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแม้จะเข้าร่วมการประชุมด้วย ในขณะเดียวกันนั้นสนธิสัญญาทวิภาคีเกี่ยวกับความมั่นคงก็มีการกระทำขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ สนธิสัญญาสันติภาพมีผลบังคับในเดือนเมษายน 1952 ญี่ปุ่นได้รับเอกราชคืน เท่ากับเป็นการยุติการยึดครองประเทศ แม้ว่าบางมาตราของสนธิสัญญานี้จะยังคงให้สหรัฐตั้งฐานทัพได้

การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่แล้วมาจากการจัดส่งรถจิ๊ปและรถบรรทุกทหารให้แก่สหรัฐฯ ระหว่างสงครามเกาหลี

พลเอกแมคอาเธอร์กล่าวว่าชาวญี่ปุ่นควรเตรียมพร้อมที่จะป้องกันตัวเอง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1950 แมคอาเธอร์จึงสั่งให้ตั้งกองตำรวจหนุนขึ้นมา ซึ่งต่อมากองนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังป้องกันตนเอง

การคัดค้านของคนในประเทศญี่ปุ่นมีมากในเรื่องการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งสหภาพโซเวียตไม่ได้ลงนามด้วย ทั้งยังคัดค้านการทำสนธิสัญญารักษาความมั่นคงกับสหรัฐด้วย โดยกลัวว่าญี่ปุ่นอาจถูกบังคับให้เข้าสู่วงการแสวงหาอำนาจระหว่างประเทศด้วย มีการสำรวจความเห็นของประชาชนหลังจากที่สนธิสัญญาสันติภาพมีผลใช้บังคับเพียงเล็กน้อย โดยหนังสือพิมพ์ อาซะฮิ ชิมบุน ที่มีผู้อ่านอย่างกว้างขวางนั้น ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นเกือบจะครึ่งหนึ่งไม่คัดค้านแต่ก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับสนธิสัญญาสันติภาพนี้ ประชามติแตกแยกกันอย่างสิ้นเชิงทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและความอึดอัดทางสังคม

ราว ๆ ช่วงนี้เองที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มแสดงวี่แววชัดเจนว่าจะฟื้นตัว ประชาชนไม่อดอยากต่อไปอีกแล้ว แต่มาตรฐานการครองชีพยังคงต่ำกว่าเมื่อก่อนสงครามมาก รายได้ประชาชาติโดยเฉลี่ยนั้นเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐ สินค้าบริโภคขาดแคลน พวกรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่คนอเมริกันใช้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมที่มั่งคั่งร่ำรวย สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นทำงานหนักยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างฐานอุตสาหกรรมของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับความมั่งคั่งของประเทศจากผลของสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินของชาติ โดยไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของทหาร พูดง่าย ๆ คือทรัพย์สินทั้งหมดที่ญี่ปุ่นสะสมมาระหว่างปี 1935 ถึง 1945 นั้นสูญเสียไปหมด หลังสงครามแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่น (ที่แม้จะถูกกีดกั้นโดยกองกำลังยึดครองอยู่) ก็ให้ความสำคัญอันดับหนึ่งแก่การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตขึ้นมาใหม่โดยหวังว่าจะช่วยยกมาตรฐานการครองชีพได้

หญิงชาวญี่่ปุ่นกำลังเลือกหาอะไหล่เก่าที่ยังมีสภาพดีพอไปใช้ได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1946 รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งห้ามถอนเงินฝากออมทรัพย์ของทุกคนและออกกฏเข้มงวดเรื่องการใช้จ่ายส่วนตัวยิ่งทำให้ชีวิตแย่ลงไปอีก แต่ชาวญี่ปุ่นก็ทนได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ใช้ระบบการผลิตสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นตัวเชื่อมสำหรับเศรษฐกิจทั้งหมด (โดยการใช้ระบบนี้เศรษฐกิจทั้งหมดจึงถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและความสำคัญสุดยอดอยู่ที่การเพิ่มผลผลิตวัตถุดิบสองชนิดคือเหล็กและถ่านหิน) เพื่อจุดประสงค์นี้ ธนาคารเพื่อการบูรณะประเทศจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 1947 ญี่ปุ่นเผชิญกับความขาดแคลนเงินทุนอย่างรุนแรง และธนาคารใหม่นี้ก้ไม่มีเงินเพียงพอด้วย ดังนั้น ธนาคารนี้จึงออกพันธบัตรต่าง ๆ ซึ่งธนาคารแห่งญี่ปุ่นซื้อไว้ เพื่อจะได้มีเงินให้กู้ไปเพื่อการผลิตถ่านหินและเหล็ก ธนาคารแห่งญี่ปุ่นเพียงแต่พิมพ์ธนบัตรเพื่อให้วงการอุตสาหกรรมกู้ยืมและนี่เองก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ก็เป็นภาวะเงินเฟ้อแบบที่รายได้ของประชาชนถูกนำไปใช้ในการอุดหนุนทางการเงินแก่การผลิต นอกจากถ่านหินและเหล็กแล้วธนาคารนี้ยังจัดหาเงินให้แก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี พลังงานไฟฟ้า การเดินเรือและสิ่งทอ

ตอนที่ 3.6 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม 2532

วันหนึ่งมีการประชุมคณะกรรมการบริษัทที่บ้านพักของฟูจิซาวะในกรุงโตเกียว หลังจากการประชุมเลิกแล้วฟูจิซาวะก็เล่นหมากโชงิ (หมากรุกญี่ปุ่น) กับฮอนด้า กรรมการคนหนึ่งเริ่มบ่นกับฟูจิซาวะ

ฟูจิซาวะรำคาญขึ้นมาเลยโวยวายเสียงดังมากจนทุกคนแปลกใจ ฮอนด้าไม่มีวี่แววหงุดหงิดปรากฏและยังเดินหมากของตัวเองต่อไป

"เขาเป็นคนดีจริง ๆ" ฟูจิซาวะคิด "เขานั่งเล่นหมากโชงิอยู่ แต่ไม่มีท่าทีรำคาญหงุดหงิดให้เห็น มันเหมือนกับว่าเขาพูดกับผมว่า อยากตะโกนก็เชิญตามสบาย นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าหมากที่กำลังเดินอยู่นั้นกำลังเสียเปรียบก็ได้"

ปี 1950 เป็นจุดเปลี่ยนแปลงในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคหลังสงครามโลกในเดือนมิถุนายน กองทัพเกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ด้วยการโจมตีโดยไม่ให้รู้ตัวอย่างยอดเยี่ยม รัฐบาลอเมริกันเห็นว่าการทำเช่นนี้เท่ากับว่าลัทธิคอมมูนิสต์คุกคามโลกเสรีจึงใช้ "นโยบายต้านรับ" สหภาพโซเวียต

นอกจากนี้สหรัฐยังเปลี่ยนแปลงนโยบายทั้งหมดเกี่ยวกับญี่ปุ่นด้วย คือแทนที่จะตัดรอนความสามารถต่าง ๆ ในการทำสงครามของญี่ปุ่นไปหมด บัดนี้ญี่ปุ่นก็ได้กลับสู่สงครามระหว่างประเทศและกลายเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของยุทธวิธีการป้องกันของสหรัฐในตะวันออกไกล ในเดือนกันยายน 1950 ประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส. ทรูแมนออกคำสั่งให้เริ่มเตรียมการเจรจาเบื้องต้นเพื่อทำสนธิสัญญาสันติภาพและความมั่นคงกับญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีชิเงรุ โยชิดะเป็นตัวแทนญี่ปุ่น ในเดือนกันยายน 1951 สนธิสัญญานี้ได้รับการลงนามโดยญี่ปุ่นและประเทศต่าง ๆ 48 ประเทศ สหภาพโซเวียตไม่ยอมลงนามสนธิสัญญาสันติภาพแม้จะเข้าร่วมการประชุมด้วย ในขณะเดียวกันนั้นสนธิสัญญาทวิภาคีเกี่ยวกับความมั่นคงก็มีการกระทำขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐ สนธิสัญญาสันติภาพมีผลบังคับในเดือนเมษายน 1952 ญี่ปุ่นได้รับเอกราชคืน เท่ากับเป็นการยุติการยึดครองประเทศ แม้ว่าบางมาตราของสนธิสัญญานี้จะยังคงให้สหรัฐตั้งฐานทัพได้

การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นนั้นส่วนใหญ่แล้วมาจากการจัดส่งรถจิ๊ปและรถบรรทุกทหารให้แก่สหรัฐฯ ระหว่างสงครามเกาหลี

พลเอกแมคอาเธอร์กล่าวว่าชาวญี่ปุ่นควรเตรียมพร้อมที่จะป้องกันตัวเอง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1950 แมคอาเธอร์จึงสั่งให้ตั้งกองตำรวจหนุนขึ้นมา ซึ่งต่อมากองนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังป้องกันตนเอง

การคัดค้านของคนในประเทศญี่ปุ่นมีมากในเรื่องการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งสหภาพโซเวียตไม่ได้ลงนามด้วย ทั้งยังคัดค้านการทำสนธิสัญญารักษาความมั่นคงกับสหรัฐด้วย โดยกลัวว่าญี่ปุ่นอาจถูกบังคับให้เข้าสู่วงการแสวงหาอำนาจระหว่างประเทศด้วย มีการสำรวจความเห็นของประชาชนหลังจากที่สนธิสัญญาสันติภาพมีผลใช้บังคับเพียงเล็กน้อย โดยหนังสือพิมพ์ อาซะฮิ ชิมบุน ที่มีผู้อ่านอย่างกว้างขวางนั้น ปรากฏว่าชาวญี่ปุ่นเกือบจะครึ่งหนึ่งไม่คัดค้านแต่ก็ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับสนธิสัญญาสันติภาพนี้ ประชามติแตกแยกกันอย่างสิ้นเชิงทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางการเมืองและความอึดอัดทางสังคม

ราว ๆ ช่วงนี้เองที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มแสดงวี่แววชัดเจนว่าจะฟื้นตัว ประชาชนไม่อดอยากต่อไปอีกแล้ว แต่มาตรฐานการครองชีพยังคงต่ำกว่าเมื่อก่อนสงครามมาก รายได้ประชาชาติโดยเฉลี่ยนั้นเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐ สินค้าบริโภคขาดแคลน พวกรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและแม้แต่อุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวที่คนอเมริกันใช้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมที่มั่งคั่งร่ำรวย สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวญี่ปุ่นทำงานหนักยิ่งขึ้นเพื่อเสริมสร้างฐานอุตสาหกรรมของประเทศให้แข็งแกร่งขึ้น

ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับความมั่งคั่งของประเทศจากผลของสงครามโลกครั้งที่สองนั้นมากถึง 25 เปอร์เซ็นต์ของทรัพย์สินของชาติ โดยไม่รวมถึงความเสียหายที่เกิดกับทรัพย์สินของทหาร พูดง่าย ๆ คือทรัพย์สินทั้งหมดที่ญี่ปุ่นสะสมมาระหว่างปี 1935 ถึง 1945 นั้นสูญเสียไปหมด หลังสงครามแล้ว รัฐบาลญี่ปุ่น (ที่แม้จะถูกกีดกั้นโดยกองกำลังยึดครองอยู่) ก็ให้ความสำคัญอันดับหนึ่งแก่การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์การผลิตขึ้นมาใหม่โดยหวังว่าจะช่วยยกมาตรฐานการครองชีพได้

หญิงชาวญี่่ปุ่นกำลังเลือกหาอะไหล่เก่าที่ยังมีสภาพดีพอไปใช้ได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองยุติ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 1946 รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งห้ามถอนเงินฝากออมทรัพย์ของทุกคนและออกกฏเข้มงวดเรื่องการใช้จ่ายส่วนตัวยิ่งทำให้ชีวิตแย่ลงไปอีก แต่ชาวญี่ปุ่นก็ทนได้ ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็ใช้ระบบการผลิตสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นตัวเชื่อมสำหรับเศรษฐกิจทั้งหมด (โดยการใช้ระบบนี้เศรษฐกิจทั้งหมดจึงถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและความสำคัญสุดยอดอยู่ที่การเพิ่มผลผลิตวัตถุดิบสองชนิดคือเหล็กและถ่านหิน) เพื่อจุดประสงค์นี้ ธนาคารเพื่อการบูรณะประเทศจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 1947 ญี่ปุ่นเผชิญกับความขาดแคลนเงินทุนอย่างรุนแรง และธนาคารใหม่นี้ก้ไม่มีเงินเพียงพอด้วย ดังนั้น ธนาคารนี้จึงออกพันธบัตรต่าง ๆ ซึ่งธนาคารแห่งญี่ปุ่นซื้อไว้ เพื่อจะได้มีเงินให้กู้ไปเพื่อการผลิตถ่านหินและเหล็ก ธนาคารแห่งญี่ปุ่นเพียงแต่พิมพ์ธนบัตรเพื่อให้วงการอุตสาหกรรมกู้ยืมและนี่เองก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ก็เป็นภาวะเงินเฟ้อแบบที่รายได้ของประชาชนถูกนำไปใช้ในการอุดหนุนทางการเงินแก่การผลิต นอกจากถ่านหินและเหล็กแล้วธนาคารนี้ยังจัดหาเงินให้แก่อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ปุ๋ยเคมี พลังงานไฟฟ้า การเดินเรือและสิ่งทอ

ตอนที่ 3.6 อดีตที่น่าภาคภูมิใจ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!