ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 4.2 พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารมิตซูบิชิกำหนดที่จะต้องชำระเงินตามตั๋วสัญญากู้เงินก็ใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว บริษัทออกตั๋วสัญญากู้เงินเหล่านี้ไปเพื่อหาเงินมาช่วยค่าใช้จ่าย 1.5 พันล้านเยนเป็นส่วนใหญ่ และชำระค่าชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ซื้อจากผู้ผลิตรายย่อย ปลายเดือนพฤษภาคม ฟูจิซาวะพบกับผู้ผลิตรายย่อยประมาณ 300 ราย เพื่ออธิบายถึงปัญหาต่าง ๆ ของบริษัทและขอผัดผ่อนการชำระหนี้สิน เขาบอกกับผู้ผลิตรายย่อยว่าเนื่องจากการลดการผลิตลง การส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอนาคตจะลดลงด้วยและบริษัทจะชำระเงินให้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าชิ้นส่วนที่สั่งไปแล้วและที่จะสั่งในอนาคต รวมทั้งบริษัทจะไม่ออกตั๋วสัญญาเงินกู้อีกต่อไป ที่เขาพูดนั้นก็คือ เขาต้องการให้ส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้บริษัทเพื่อว่าการผลิตจะได้ไม่ต้องหยุดชะงัก แต่เขามองไม่เห็นทางว่าฮอนด้า มอเตอร์จะชำระหนี้ได้อย่างไร เมื่อบรรดาผู้ผลิตรายย่อยตกลงตามข้อเรียกร้องอันไม่มีเหตุผลนี้ในที่สุดฟูจิซาวะก็โล่งอกโล่งใจอย่างยิ่ง ถึงกระนั้น บริษัทก็แทบจะไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญากู้เงินตามที่ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตรายย่อยและได้เงินกู้ 200 ล้านเยนจากธนาคารมิตซูบิชิ

การทดสอบครั้งใหญ่สำหรับสหภาพก็มีขึ้นในการเจรจาเรื่องโบนัสปลายปีในปี 1954 แม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินของฮอนด้า มอเตอร์จะสิ้นสุดลงแล้ว ฝ่ายบริหารก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพได้ จึงเสนอจ่ายเงินโบนัสให้เท่ากันทุกคน ๆ ละ 5,000 เยน ผู้นำสหภาพเรียกร้องฟูจิซาวะ แต่ฟูจิซาวะตอบไปว่าเขาอยากจะพูดกับสมาชิกสหภาพทุกคน ที่โรงงานชิราโกะและโรงงานยามาโตะมากกว่าเจ้าหน้าที่สหภาพ เจ้าหน้าที่สหภาพยืนยันจะเจรจาเองโดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของสมาชิกสหภาพทั้งหมด เพราะโซอิจิโร ฮอนด้าพูดช่วยในที่สุดสหภาพก็ตกลงตามที่ฟูจิซาวะเสนอให้

ความตึงเครียดบีบคั้นฟูจิซาวะมากขึ้นขณะที่เขาปรากฏตัวต่อหน้าสมาชิก 1,600 คนของสหภาพ เพราะเขาคิดว่าความล้มเหลวคราวนี้จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับฝ่ายบริหารลงอย่างย่อยยับ ประธานสหภาพถามเขาว่า “คุณคิดว่าเงินโบนัสคนละ 5,000 เยนที่คุณเสนอให้พวกเรานั้นเป็นอะไรกัน?” ฟูจิซาวะตอบอย่างชัดเจนว่า “เงินที่เสนอให้นั้นน้อยมากจนผมคิดว่าน่าหัวร่อสิ้นดี เป็นความผิดของเราที่สถานการณ์ต้องมาเป็นเช่นนี้ ซึ่งทำให้ต้องเสนอจ่ายโบนัสน้อยไปขนาดนี้ ถ้าเราจ่ายให้คุณมากขึ้นในตอนนี้แล้วในกรณีที่บริษัทต้องล้มละลายไปในเวลาข้างหน้าเพราะการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเราก็จะถูกตำหนิว่าไม่ทำงานหนักพอ ผมหวังอยู่ว่าสินค้าของเราจะขายได้ดีขึ้นในราวเดือนมีนาคมปีหน้านี้ และผมขอเสนอให้มีการเจรจากันใหม่ในเวลานั้น”

ปรากฏว่าคนงานปรบมือเห็นชอบดังสนั่น เป็นการยุติการเจรจาเรื่องโบนัสปลายปี เมื่อฟูจิซาวะพบกับฮอนด้าในเวลาต่อมา ทั้งสองก็ตกลงกันที่จะทำดีที่สุดเพื่อให้สมกับที่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงปรบมือสนั่นนั้น

ข้อพิพาทแรงงานที่น่าเศร้าเกิดขึ้นที่บริษัทอามางะซากิ สตีล ในฤดูใบไม้ผลิปีนั้น ในขณะที่สหภาพกำลังเตรียมการเรียกร้องขอค่าแรงเพิ่ม ทางบริษัทก็เสนอไปในวันที่ 29 มีนาคมว่า เพื่อเป็นการเผชิญกับการขาดทุน จะลดการผลิตและลดค่าจ้างลง 15 เปอร์เซ็นต์ แผนการ “ปรับปรุง” นี้ทางสหภาพตีความว่านายทุนลงมือเล่นงานแล้ว ดังนั้นสหภาพจีงประกาศอย่างเป็นทางการว่าไม่เห็นชอบด้วย เมื่อวันที่ 9 เมษายน ต่อมาก็มีการนัดหยุดงานซึ่งยิ่งทำให้บริษัทยิ่งแย่ลงไปอีก ในวันที่ 16 เมษายน ทางบริษัทจึงมีข้อเสนอใหม่สำหรับการลดการผลิตและปลดคนงานออก 381 คน เมื่อได้รับการสนับสนุนจากสหภาพอื่น ๆ และชุมชนท้องถิ่นสหภาพของบริษัทนี้จึงตอบโต้โดยการนัดหยุดงานทั้งบริษัท ในวันที่ 1 มิถุนายน เช็คต่าง ๆ ของบริษัทเริ่มเด้ง และทางฝ่ายบริหารก็ติดขัดทำอะไรไม่ได้สักอย่าง จึงทำให้สหภาพต้องเลิกนัดหยุดงานในวันที่ 25 มิถุนายนและยอมรับข้อเสนอของทางบริษัท การผลิตเริ่มใหม่โดยคนงานประมาณ 1,400 คน ที่ไม่ถูกปลดออก แต่บริษัทก็ยังล้มละลายจนได้ คนงานทุกคนตกงานและสหภาพก็สลายตัวไปในวันที่ 5 กรกฎาคม ข้อพิพาทแรงงานครั้งนี้มีผลทางจิตวิทยาอย่างมากต่อสมาชิกสหภาพของฮอนด้า มอเตอร์อย่างไม่ต้องสงสัย

บริษัทฮอนด้า มอเตอร์สามารถเอาชนะวิกฤตการณ์ปี 1954 ได้ โดยการยินยอมอ่อนข้อให้โดยสหภาพและผู้ผลิตรายย่อย ภาระหนี้สินที่ผู้ผลิตรายย่อยแบกไว้นั้นมากถึง 2.1 พันล้านเยน ประมาณ 1.5 พันล้านเยนในรูปของการลดปริมาณการสั่งซื้อและเกือบ 600 ล้านเยนในรูปของหนี้ค้างชำระ เนื่องจากการเสียสละอย่างยิ่งนี้ ฝ่ายบริหารจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะ “ขึ้เหนียว” ในเรื่องของการจ่ายเงินโบนัส หลังจากปี 1955 ความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับฝ่ายบริหารก็เริ่มเลวร้ายลงในการเจรจาเรื่องเงินโบนัส ในฤดูร้อนปี 1955 ปรากฏว่าตกลงกันได้ที่โรงงานฮามะมัตซึและที่สำนักงานใหญ่ แต่ที่โรงงานชิราโกะและโรงงานยามาโตะยังเป็นปัญหา ผู้นำสหภาพออกคำสั่งแก่สมาชิกว่า “จงหยุดทุกวันหยุดที่พวกคุณมีสิทธิ” และ “จงปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะทำงานล่วงเวลา” สมาชิกสหภาพสี่คนใช้วิธีนั่งบนถังน้ำ นับตั้งแต่การก่อตั้งสหภาพ สมาชิกโดยทั่วไปค่อย ๆ หมดความสนใจในกิจกรรมของสหภาพ ผลจึงปรากฏว่า งานของสหภาพจึงตกอยู่ในมือพวกหัวรุนแรงไม่กี่คนที่คงจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มฝ่ายซ้ายหรือองค์การอื่นนอกบริษัท การเผชิญหน้ากันระหว่างสหภาพกับฝ่ายบริหารในเรื่องเงินโบนัสในฤดูร้อนปี 1955 จึงเป็นไปอย่างขมขื่นและอย่างมีอารมณ์

ฮอนด้าไม่ยุ่งกับปัญหาแรงงานเพราะเขาคิดว่า “ผมไม่มีบทบาทอะไรที่จะแสดง ถ้าผมทำอะไรลงไปก็มีแต่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างหมด” จนกระทั่งถึงช่วงนี้ ฮอนด้าทุ่มเทตัวเองในงานทางวิชาการ ในการเพิ่มพูนกำไร และในการทำให้บริษัทใหญ่โตขึ้น เขาโกรธพวกคนงานที่เล่นเบสบอลในสนามของโรงงาน แล้วก็พูดกับตัวเองว่า “เวลาเจรจากัน พวกนี้บ่นว่าทำงานหนักเกินไปแต่พอถึงตอนเล่นเบสบอลกลับพากันเล่นจนหมดแรงถึงแม้ว่าเบสบอลไม่ได้ทำเงินให้สักแดงเดียว พวกนี้เป็นคนประเภทไหนกันนะ?” แต่แล้วเขาก็คิดว่า “เราต้องยอมรับว่าคนทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุดตอนที่เล่น ถ้ามีใครมาบอกว่าตัวเองทำงานเพราะความจงรักภักดีต่อบริษัทละก้อ ไอ้คนนั้นคือคนโกหก ทุกคนต้องทำงานเพื่อตัวเอง ผมเองก็ทำงานเพราะชอบทำ ผมต้องสร้างโรงทำงานที่ทุกคนที่ทำงานในนั้นจะสนุกกับการทำงาน”

ตอนที่ 4.1 สหภาพมาแล้ว

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารมิตซูบิชิกำหนดที่จะต้องชำระเงินตามตั๋วสัญญากู้เงินก็ใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว บริษัทออกตั๋วสัญญากู้เงินเหล่านี้ไปเพื่อหาเงินมาช่วยค่าใช้จ่าย 1.5 พันล้านเยนเป็นส่วนใหญ่ และชำระค่าชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ซื้อจากผู้ผลิตรายย่อย ปลายเดือนพฤษภาคม ฟูจิซาวะพบกับผู้ผลิตรายย่อยประมาณ 300 ราย เพื่ออธิบายถึงปัญหาต่าง ๆ ของบริษัทและขอผัดผ่อนการชำระหนี้สิน เขาบอกกับผู้ผลิตรายย่อยว่าเนื่องจากการลดการผลิตลง การส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ในอนาคตจะลดลงด้วยและบริษัทจะชำระเงินให้เพียง 30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าชิ้นส่วนที่สั่งไปแล้วและที่จะสั่งในอนาคต รวมทั้งบริษัทจะไม่ออกตั๋วสัญญาเงินกู้อีกต่อไป ที่เขาพูดนั้นก็คือ เขาต้องการให้ส่งชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้บริษัทเพื่อว่าการผลิตจะได้ไม่ต้องหยุดชะงัก แต่เขามองไม่เห็นทางว่าฮอนด้า มอเตอร์จะชำระหนี้ได้อย่างไร เมื่อบรรดาผู้ผลิตรายย่อยตกลงตามข้อเรียกร้องอันไม่มีเหตุผลนี้ในที่สุดฟูจิซาวะก็โล่งอกโล่งใจอย่างยิ่ง ถึงกระนั้น บริษัทก็แทบจะไม่สามารถชำระเงินตามตั๋วสัญญากู้เงินตามที่ได้รับความร่วมมือจากผู้ผลิตรายย่อยและได้เงินกู้ 200 ล้านเยนจากธนาคารมิตซูบิชิ

การทดสอบครั้งใหญ่สำหรับสหภาพก็มีขึ้นในการเจรจาเรื่องโบนัสปลายปีในปี 1954 แม้ว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินของฮอนด้า มอเตอร์จะสิ้นสุดลงแล้ว ฝ่ายบริหารก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพได้ จึงเสนอจ่ายเงินโบนัสให้เท่ากันทุกคน ๆ ละ 5,000 เยน ผู้นำสหภาพเรียกร้องฟูจิซาวะ แต่ฟูจิซาวะตอบไปว่าเขาอยากจะพูดกับสมาชิกสหภาพทุกคน ที่โรงงานชิราโกะและโรงงานยามาโตะมากกว่าเจ้าหน้าที่สหภาพ เจ้าหน้าที่สหภาพยืนยันจะเจรจาเองโดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทนของสมาชิกสหภาพทั้งหมด เพราะโซอิจิโร ฮอนด้าพูดช่วยในที่สุดสหภาพก็ตกลงตามที่ฟูจิซาวะเสนอให้

ความตึงเครียดบีบคั้นฟูจิซาวะมากขึ้นขณะที่เขาปรากฏตัวต่อหน้าสมาชิก 1,600 คนของสหภาพ เพราะเขาคิดว่าความล้มเหลวคราวนี้จะทำลายความสัมพันธ์ระหว่างลูกจ้างกับฝ่ายบริหารลงอย่างย่อยยับ ประธานสหภาพถามเขาว่า "คุณคิดว่าเงินโบนัสคนละ 5,000 เยนที่คุณเสนอให้พวกเรานั้นเป็นอะไรกัน?" ฟูจิซาวะตอบอย่างชัดเจนว่า "เงินที่เสนอให้นั้นน้อยมากจนผมคิดว่าน่าหัวร่อสิ้นดี เป็นความผิดของเราที่สถานการณ์ต้องมาเป็นเช่นนี้ ซึ่งทำให้ต้องเสนอจ่ายโบนัสน้อยไปขนาดนี้ ถ้าเราจ่ายให้คุณมากขึ้นในตอนนี้แล้วในกรณีที่บริษัทต้องล้มละลายไปในเวลาข้างหน้าเพราะการจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเราก็จะถูกตำหนิว่าไม่ทำงานหนักพอ ผมหวังอยู่ว่าสินค้าของเราจะขายได้ดีขึ้นในราวเดือนมีนาคมปีหน้านี้ และผมขอเสนอให้มีการเจรจากันใหม่ในเวลานั้น"

ปรากฏว่าคนงานปรบมือเห็นชอบดังสนั่น เป็นการยุติการเจรจาเรื่องโบนัสปลายปี เมื่อฟูจิซาวะพบกับฮอนด้าในเวลาต่อมา ทั้งสองก็ตกลงกันที่จะทำดีที่สุดเพื่อให้สมกับที่ได้รับความเห็นชอบด้วยเสียงปรบมือสนั่นนั้น

ข้อพิพาทแรงงานที่น่าเศร้าเกิดขึ้นที่บริษัทอามางะซากิ สตีล ในฤดูใบไม้ผลิปีนั้น ในขณะที่สหภาพกำลังเตรียมการเรียกร้องขอค่าแรงเพิ่ม ทางบริษัทก็เสนอไปในวันที่ 29 มีนาคมว่า เพื่อเป็นการเผชิญกับการขาดทุน จะลดการผลิตและลดค่าจ้างลง 15 เปอร์เซ็นต์ แผนการ "ปรับปรุง" นี้ทางสหภาพตีความว่านายทุนลงมือเล่นงานแล้ว ดังนั้นสหภาพจีงประกาศอย่างเป็นทางการว่าไม่เห็นชอบด้วย เมื่อวันที่ 9 เมษายน ต่อมาก็มีการนัดหยุดงานซึ่งยิ่งทำให้บริษัทยิ่งแย่ลงไปอีก ในวันที่ 16 เมษายน ทางบริษัทจึงมีข้อเสนอใหม่สำหรับการลดการผลิตและปลดคนงานออก 381 คน เมื่อได้รับการสนับสนุนจากสหภาพอื่น ๆ และชุมชนท้องถิ่นสหภาพของบริษัทนี้จึงตอบโต้โดยการนัดหยุดงานทั้งบริษัท ในวันที่ 1 มิถุนายน เช็คต่าง ๆ ของบริษัทเริ่มเด้ง และทางฝ่ายบริหารก็ติดขัดทำอะไรไม่ได้สักอย่าง จึงทำให้สหภาพต้องเลิกนัดหยุดงานในวันที่ 25 มิถุนายนและยอมรับข้อเสนอของทางบริษัท การผลิตเริ่มใหม่โดยคนงานประมาณ 1,400 คน ที่ไม่ถูกปลดออก แต่บริษัทก็ยังล้มละลายจนได้ คนงานทุกคนตกงานและสหภาพก็สลายตัวไปในวันที่ 5 กรกฎาคม ข้อพิพาทแรงงานครั้งนี้มีผลทางจิตวิทยาอย่างมากต่อสมาชิกสหภาพของฮอนด้า มอเตอร์อย่างไม่ต้องสงสัย

บริษัทฮอนด้า มอเตอร์สามารถเอาชนะวิกฤตการณ์ปี 1954 ได้ โดยการยินยอมอ่อนข้อให้โดยสหภาพและผู้ผลิตรายย่อย ภาระหนี้สินที่ผู้ผลิตรายย่อยแบกไว้นั้นมากถึง 2.1 พันล้านเยน ประมาณ 1.5 พันล้านเยนในรูปของการลดปริมาณการสั่งซื้อและเกือบ 600 ล้านเยนในรูปของหนี้ค้างชำระ เนื่องจากการเสียสละอย่างยิ่งนี้ ฝ่ายบริหารจึงไม่มีทางเลือกนอกจากจะ "ขึ้เหนียว" ในเรื่องของการจ่ายเงินโบนัส หลังจากปี 1955 ความสัมพันธ์ระหว่างคนงานกับฝ่ายบริหารก็เริ่มเลวร้ายลงในการเจรจาเรื่องเงินโบนัส ในฤดูร้อนปี 1955 ปรากฏว่าตกลงกันได้ที่โรงงานฮามะมัตซึและที่สำนักงานใหญ่ แต่ที่โรงงานชิราโกะและโรงงานยามาโตะยังเป็นปัญหา ผู้นำสหภาพออกคำสั่งแก่สมาชิกว่า "จงหยุดทุกวันหยุดที่พวกคุณมีสิทธิ" และ "จงปฏิเสธอย่างเด็ดขาดที่จะทำงานล่วงเวลา" สมาชิกสหภาพสี่คนใช้วิธีนั่งบนถังน้ำ นับตั้งแต่การก่อตั้งสหภาพ สมาชิกโดยทั่วไปค่อย ๆ หมดความสนใจในกิจกรรมของสหภาพ ผลจึงปรากฏว่า งานของสหภาพจึงตกอยู่ในมือพวกหัวรุนแรงไม่กี่คนที่คงจะมีความสัมพันธ์กับกลุ่มฝ่ายซ้ายหรือองค์การอื่นนอกบริษัท การเผชิญหน้ากันระหว่างสหภาพกับฝ่ายบริหารในเรื่องเงินโบนัสในฤดูร้อนปี 1955 จึงเป็นไปอย่างขมขื่นและอย่างมีอารมณ์

ฮอนด้าไม่ยุ่งกับปัญหาแรงงานเพราะเขาคิดว่า "ผมไม่มีบทบาทอะไรที่จะแสดง ถ้าผมทำอะไรลงไปก็มีแต่จะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างหมด" จนกระทั่งถึงช่วงนี้ ฮอนด้าทุ่มเทตัวเองในงานทางวิชาการ ในการเพิ่มพูนกำไร และในการทำให้บริษัทใหญ่โตขึ้น เขาโกรธพวกคนงานที่เล่นเบสบอลในสนามของโรงงาน แล้วก็พูดกับตัวเองว่า "เวลาเจรจากัน พวกนี้บ่นว่าทำงานหนักเกินไปแต่พอถึงตอนเล่นเบสบอลกลับพากันเล่นจนหมดแรงถึงแม้ว่าเบสบอลไม่ได้ทำเงินให้สักแดงเดียว พวกนี้เป็นคนประเภทไหนกันนะ?" แต่แล้วเขาก็คิดว่า "เราต้องยอมรับว่าคนทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุดตอนที่เล่น ถ้ามีใครมาบอกว่าตัวเองทำงานเพราะความจงรักภักดีต่อบริษัทละก้อ ไอ้คนนั้นคือคนโกหก ทุกคนต้องทำงานเพื่อตัวเอง ผมเองก็ทำงานเพราะชอบทำ ผมต้องสร้างโรงทำงานที่ทุกคนที่ทำงานในนั้นจะสนุกกับการทำงาน"

ตอนที่ 4.1 สหภาพมาแล้ว

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!