ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 7.2 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ทาดะชิ คุเมะ มีบทบาทสำคัญในโครงการนี้ แม้ว่าจะยังชอบระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำอยู่ คุเมะที่พยายามปิดบังความไม่พอใจไว้แล้วร่วมมือกับฮอนด้าในการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ

ผลของความพยายามนี้ออกมาเป็นรถยนต์ฮอนด้า 1300 ซึ่งนำออกสู่ตลาดเมื่อเดือนพฤษภาคม 1969 เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของฮอนด้าที่ว่า “เพิ่มรอบให้จัดเพื่อจะได้กำลังจากเครื่องยนต์มากขึ้น”

ฮอนด้า 1300 ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ขนาด 1,300 ซีซี. ระบายความร้อนด้วยอากาศมีกำลังถึง 100 แรงม้า และมีความเร็วสูงสุด 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเร่งรอบได้ถึง 7,200 รอบต่อนาที ซึ่งมีสมรรถนะเท่ากับเครื่องยนต์ขนาด 2,000 ซีซี. ในเวลานั้น

นอกจากนี้รถคันนี้ยังมีห้ามล้อแบบดิสค์เบรคล้อหน้าและระบบขับเคลื่อนล้อหน้าด้วย เครื่องยนต์รถรุ่นนี้ยังใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DDAC ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนเกินไปแต่ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงที่มักจะเกิดกับเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศในอดีต

ฮอนด้าต้องการเครื่องยนต์ใหม่ระบายความร้อนด้วยอากาศที่มีสมรรถนะสูงขึ้นอีกในขณะที่ทาเกโอะ ฟูจิซาวะชื่นชมรถฮอนด้า 1300 ว่าเป็นรถที่มีอะไรใหม่ ๆ ต้นทุนในการผลิตที่สูงจึงเป็นภาระใหญ่หลวงทางการเงิน เครื่องยนต์มีอะไรดี ๆ หลายอย่าง ตามความคิดของฮอนด้า แต่ก็ต้องใช้ชิ้นส่วนทำด้วยอะลูมิเนียมที่มีราคาแพงหลายชิ้น

เนื่องจากเครื่องยนต์มีสมรรถนะสูงตัวถังจึงต้องแข็งแรงมาก ผลก็คือรถมีน้ำหนักเกินที่คาดไว้ที่ 800 กิโลกรัมถึง 130 กิโลกรัม แม้ว่ารถรุ่นนี้จะเป็นที่สนใจของคนชอบรถ แต่บริษัทก็ขาดทุนกับรถทุกคันที่ขายได้

รัฐสภาสหรัฐได้แก้ไขพระราชบัญญัติอากาศสะอาดกำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียของรถยนต์ไว้อย่างเข้มงวด กฏหมายใหม่บังคับให้ลดการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนโมนอกไซด์ลง 90 เปอร์เซ็นต์ในปี 1976

ในญี่ปุ่นเองก็มีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์แล้วแม้ว่าจะยังไม่เข้มงวดถึงระดับของสหรัฐ การควบคุมไอเสียรถยนต์กำลังจะกลายเป็นงานใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งหมด

นี่เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลอย่างใหญ่หลวงให้แก่คิโยชิ คาวะชิมะ ผู้จัดการอาวุโสของฮอนด้า มอเตอร์ เขาไม่ได้ขอร้องฮอนด้าแต่ขอร้องฟูจิซาวะให้พบกับวิศวกรของบริษัท จนกระทั่งถึงเวลานั้นฟูจิซาวะพยายามอยู่ห่างจากเรื่องทางเทคนิค แต่เขาก็พร้อมที่จะรับฟัง การประชุมกันจึงมีขึ้นในฤดูร้อนปี 1969 ที่เมืองอาตะมิที่ชายทะเล

“เพื่อจะลดไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนโมนอกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ซึ่งมีอยู่ในไอเสียรถยนต์ เครื่องยนต์จะต้องหมุนรอบช้าลง และเชื้อเพลิงจะต้องเผาผลาญอย่างช้า ๆ ในอุณหภูมิที่ต่ำ” วิศวกรคนหนึ่งรายงาน

อีกคนกล่าวว่า “นี่มันตรงกันข้ามกับความพยายามของเราในอดีตที่จะให้ได้แรงม้าที่สูงจากการให้เครื่องยนต์วิ่งรอบจัด แต่ถ้าปราศจากความรู้อย่างทะลุปรุโปร่งเรื่องการเผาไหม้เมื่อเครื่องวิ่งรอบจัดแล้ว เราจะไม่สามารถตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมไอเสียได้เลย”

“เจ้านายบอกว่านี่สามารถทำได้โดยเครื่องยนต์ทื่ระบายความร้อนด้วยอากาศแต่มันเป็นไปไม่ได้ เราอาจสามารถทำได้โดยเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ถ้าเราไม่หยุดยุ่งกับเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศในตอนนี้เลย มันก็จะสายเกินการณ์ ถ้าเรายังมัวยุ่งอยู่กับเครื่องที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ เราก็จะไม่สามารถขายรถของเราได้สักคันเพราะกฏหมายควบคุมการปล่อยไปเสีย” อีกคนให้ความเห็น

นี่เองทำให้ฟูจิซาวะคิด “จะต้องให้ความนับถือในผลงานของพวกวิศวกร และความตั้งใจเด็ดเดี่ยวและความกระตือรือร้น”

แต่เมื่อพิจารณาถึงตำแหน่งของฮอนด้าแล้ว ฟูจิซาวะจึงได้แต่พูดว่า “ผมเข้าใจแล้วตอนนี้ว่าเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำน่ะก็มีความดี”

หลังจากที่พบกับพวกวิศวกรไม่นานฟูจิซาวะก็ไปกินอาหารค่ำกับฮอนด้า ทั้งสองไม่ได้เห็นหน้ากันมานาน และฟูจิซาวะก็ตัดสินใจแล้วว่า “ถ้าฮอนด้าปฏิเสธเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ นั่นก็จะหมายความว่าเดินกันคนละเส้นทางกับข้า ถ้าเราส่งคนไม่สามารถไปในทิศทางเดียวกันได้ ทิมเวิร์คของเราก็ใช้ไม่ได้”

ในตอนกินอาหารค่ำ ฮอนด้าก็พูดกับฟูจิซาวะว่า “เครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศก็ทำอย่างนั้นได้ แต่ข้าคิดว่ามันคงจะยากสำหรับคนอย่างเอ็งที่จะเข้าใจ”

ฟูจิซาวะจึงตอบไปว่า “เอ็งต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง เอ็งสามารถเป็นประธานบริษัทต่อไปหรือไม่ก็ไปเป็นวิศวกรในฮอนด้า มอเตอร์ ข้าว่าเอ็งต้องเลือกเอาในตอนนี้เลย”

ฮอนด้าท่าทางไม่เป็นสุขที่จะต้องตัดสินใจ แต่ก็ตอบไปว่า “ข้าแน่ใจว่าข้าควรจะเป็นประธานบริษัทต่อไป”

ฟูจิซาวะจึงว่า “งั้นเอ็งจะยอมให้วิศวกรลงไม้ลงมือกับเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำได้ไหมล่ะ ?”

“ได้” ฮอนด้าตอบ

การสนทนาของทั้งสองกินเวลาไม่กี่นาที หลังจากนั้นทั้งสองก็หันกลับไปกินเหล้าสาเกและร้องเพลงพื้นเมืองเก่า ๆ ด้วยกัน วันรุ่งขึ้นฮอนด้าก็ตรงไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาแล้วบอกกับวิศวกรว่า

“ตกลง ทีนี้พวกลื้อลงมือกับเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำได้แล้ว”

ความรู้สึกที่แท้จริงของฮอนด้าในตอนนั้นกลับตรงข้ามกับที่พูด เป็นที่รู้กันว่าฮอนด้าไม่เคยยิ้มเมื่อใครพูดถึงเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำขึ้นมา พวกวิศวกรจึงต้องระวังตัวเป็นพิเศษที่จะหลีกเลี่ยงการพูดกับฮอนด้าเรื่องการควบคุมไอเสียรถยนต์ ซึ่งจะต้องเลือกเอาระหว่างเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำกับที่ระบายความร้อนด้วยอากาศเพราะนั่นอาจจะทำให้มีการโต้เถียงเผ็ดร้อนทางทฤษฎีขึ้นมา

ดังนั้นพวกวิศวกรจึงอธิบายแต่ว่าตนเองชอบเครื่องที่ระบายความร้อนด้วยน้ำเพราะทำให้เสียงเบา มีการสั่นสะเทือนน้อย และเครื่องไม่ร้อนมาก

รถต้นแบบที่ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำพร้อมที่จะรับการทดสอบในวันหนึ่งที่อากาศหนาวเย็นและมีฝนตกตอนปลายเดือนพฤศจิกายน ฮอนด้าเป็นคนทดสอบรถคันนี้ด้วยตัวเองและหลังจากที่นำรถกลับมาจอด แล้วนั่งอยู่ในรถสักพักหนึ่งเมื่อปิดสวิทช์เครื่องเรียบร้อย พอออกมาจากรถเขาก็พูดว่า “ในรถร้อน”

แม้แต่ฮอนด้าเองยังต้องยอมรับว่ารถคันนี้แตกต่างจากคันที่ใช้เครื่องระบบระบายความร้อนด้วยอากาศซึ่งข้างในรถจะเย็นทันทีที่เครื่องยนต์ดับ

ตั้งแต่นั้นมา รถยนต์ทุกคันของฮอนด้า มอเตอร์ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

เมื่อนึกย้อนหลังไปถึงเรื่องนี้ รอยยิ้มเศร้า ๆ จะปรากฏบนใบหน้าของฮอนด้าขณะที่พูดว่า “การระบายความร้อนด้วยอากาศคือขีดสุดของเทคโนโลยีของผม”

ความขัดแย้งเรื่องระบบระบายความร้อนแสดงให้เห็นว่าแม้แต่สัญชาตญาณทางเทคโนโลยีอันเก่งกาจของฮอนด้าก็ไม่สามารถเอาชนะโครงสร้างทางองค์กรของพวกวิศวกรที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาได้ เขาดีใจที่พวกวิศวกรที่เขาปั้นมานั้นบัดนี้เติบโตแล้ว นี่ก็เป็นเหตุผลที่เขาไม่มีมาตรการลงโทษทางวินัยแก่การต่อต้านโดยคุเมะและพวกเลย

“ก็ธรรมดาที่ผมเสียใจอยู่หลายครั้ง” ฮอนด้ากล่าวหลังจากเกษียณแล้ว “แต่การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ดีวิเศษนัก ในเมื่อผมชอบเครื่องยนต์กลไกมากกว่าอะไรทั้งนั้น ทุกครั้งที่ผมรู้สึกห่อเหี่ยวผมจะเล่นกับเครื่องยนต์กลไก นั่นเป็นสิ่งที่ช่วยผมได้มาก”

ที่ฮอนด้า มอเตอร์ มีการมอบหมายงานรับผิดชอบมากมายให้แก่พนักงานในระดับต่ำแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของบริษัทในความกระตือรือร้นและความสามารถของพนักงานและความปรารถนาของบริษัทที่จะเร่งเร้าให้พวกนี้มีความหวังในอนาคต ตัวอย่างเช่นเมื่อผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาสอบเข้าเพื่อบรรจุเป็นพนักงานของฮอนด้า มอเตอร์ พวกนี้จะถูกสัมภาษณ์โดยผู้บริหารระดับกลาง ตั้งแต่การเกษียณของสองผู้ก่อตั้งในปี 1973 คณะกรรมการบริหารไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ที่มาสมัครงานเลย

ปรัชญาของบริษัทมีว่า กลุ่มผู้บริหารระดับกลางเป็นคนที่หนุ่มกว่า มีความอ่อนไหวมากกว่าและมองการณ์ไกลกว่าในการพิจารณาผู้สมัคร ยิ่งกว่านั้น ยังคิดกันว่าผู้สมัครจะรู้สึกสบายใจกว่าเมื่ออยู่กับกลุ่มผู้บริหารระดับกลางของบริษัท

ฮอนด้าพูดกับพนักงานของเขาบ่อย ๆ ว่า “ถ้าคุณจ้างแต่คนที่คุณเข้าใจ บริษัทจะไม่มีวันได้คนที่ดีกว่าพวกคุณเลย จงอย่าพยายามจ้างคนเพียงเพราะว่าคุณชอบคน ๆ นั้น จงจำไว้เสมอว่าคุณจะพบคนเก่งในหมู่คนที่คุณไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ”

ที่บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ การว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่จะตัดสินอนาคตขององค์การ เพราะฉะนั้นผู้สมัครจะถูกสัมภาษณ์โดยกรรมการบริหาร บางครั้งประธานบริษัทจะร่วมสัมภาษณ์ด้วย และได้รับการพิจารณาไม่แต่ในเรื่องความสามารถทุกอย่างเท่านั้นแต่ยังจะพิจารณาถึงความสามารถที่จะร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานด้วย

ผู้สมัครที่มีบุคลิกภาพแกร่งไม่ค่อยจะได้รับการว่าจ้างโดยปราศจากการเห็นชอบเป็นพิเศษจากประธานบริษัท ยกเว้นสมัยต้น ๆ ของบริษัทแล้ว ฮอนด้าและฟูจิซาวะไม่เคยสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน แม้แต่ตอนที่กรรมการบริหารคนอื่นจะร่วมในการสัมภาษณ์ด้วยก็ตาม

ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่ฮอนด้าจะอ้างความเป็นเจ้าของบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง เขามักจะคิดเสมอว่าการใช้อำนาจและสิทธิขาดของเขาเพื่อบังคับให้พนักงานเห็นดีเห็นชอบความคิดของเขานั้นจะมีผลในทางทำลายความรู้สึกของการทำงานเป็นหมู่คณะอย่างเสอมภาคกัน

ฮอนด้าเชื่อว่านี่ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้บริษัทจีรังยั่งยืนและฟูจิซาวะก็เห็นด้วยกับเขาทุกประการ ปรัชญานี้แสดงออกได้ดีที่สุดโดยโซอิจิโร

ฮอนด้าเองเมื่อเขาพูดหลังการก่อตั้งบริษัทเล็กน้อยว่า “ฮอนด้า มอเตอร์ไม่ใช่ของตระกูลฮอนด้า”

คำประกาศนี้ไม่ใช่การพูดเอาอกเอาใจพนักงานดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงสองอย่าง

เมื่อฮอนด้าลาออกจากกรรการบริหารและประธานบริษัท เขาก็รับตำแหน่ง “ที่ปรึกษาสูงสุด” โดยไม่มีอำนาจที่จะเป็นตัวแทนของบริษัท

ฟูจิซาวะที่ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารและรองประธานบริษัท ก็รับตำแหน่งกิตติมศักดิ์คล้ายคลึงกัน

ในบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ กรรมการบริหาร/ประธานคณะกรรมการบริหาร และยังคงมีอำนาจในการบริหารบริษัท นี่เป็นความจริงอย่างยิ่งในบริษัทที่ผู้ก่อตั้งเป็นประธานบริษัท ซึ่งไม่ค่อยจะยอมสูญเสียสิทธิของ “กรรมการบริหาร” เว้นแต่จะทำอะไรผิดพลาดร้ายแรงไว้ ในแง่นี้กรณีของฮอนด้า มอเตอร์จึงเป็นกรณีที่หาได้ยากยิ่ง

นับว่าสำคัญมากด้วยที่ผู้ก่อตั้งทั้งสองของฮอนด้า มอเตอร์ปฏิเสธที่จะให้ลูกชายตนเองบริหารบริษัท ทั้งยังห้ามไม่ให้ลูกของตนเข้าทำงานเป็นพนักงานระดับต่ำของบริษัทด้วย ขณะนี้กฏนี้ห้ามไปถึงลูก ๆ ของกรรมการบริหารของบริษัทด้วย ที่ฮอนด้า มอเตอร์มีปรัชญาขั้นพื้นฐานอยู่ว่า สมาชิกทุกคนของบริษัทเสมอภาคกัน

ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างประธานบริษัทและพนักงานธรรมดาก็คือบทบาทที่แต่ละคนมีในบริษัท

ตอนที่ 7.1 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ทาดะชิ คุเมะ มีบทบาทสำคัญในโครงการนี้ แม้ว่าจะยังชอบระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำอยู่ คุเมะที่พยายามปิดบังความไม่พอใจไว้แล้วร่วมมือกับฮอนด้าในการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ

ผลของความพยายามนี้ออกมาเป็นรถยนต์ฮอนด้า 1300 ซึ่งนำออกสู่ตลาดเมื่อเดือนพฤษภาคม 1969 เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของฮอนด้าที่ว่า "เพิ่มรอบให้จัดเพื่อจะได้กำลังจากเครื่องยนต์มากขึ้น"

ฮอนด้า 1300 ติดตั้งด้วยเครื่องยนต์ขนาด 1,300 ซีซี. ระบายความร้อนด้วยอากาศมีกำลังถึง 100 แรงม้า และมีความเร็วสูงสุด 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและเร่งรอบได้ถึง 7,200 รอบต่อนาที ซึ่งมีสมรรถนะเท่ากับเครื่องยนต์ขนาด 2,000 ซีซี. ในเวลานั้น

นอกจากนี้รถคันนี้ยังมีห้ามล้อแบบดิสค์เบรคล้อหน้าและระบบขับเคลื่อนล้อหน้าด้วย เครื่องยนต์รถรุ่นนี้ยังใช้เครื่องมือที่เรียกว่า DDAC ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ร้อนเกินไปแต่ยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสียงที่มักจะเกิดกับเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศในอดีต

ฮอนด้าต้องการเครื่องยนต์ใหม่ระบายความร้อนด้วยอากาศที่มีสมรรถนะสูงขึ้นอีกในขณะที่ทาเกโอะ ฟูจิซาวะชื่นชมรถฮอนด้า 1300 ว่าเป็นรถที่มีอะไรใหม่ ๆ ต้นทุนในการผลิตที่สูงจึงเป็นภาระใหญ่หลวงทางการเงิน เครื่องยนต์มีอะไรดี ๆ หลายอย่าง ตามความคิดของฮอนด้า แต่ก็ต้องใช้ชิ้นส่วนทำด้วยอะลูมิเนียมที่มีราคาแพงหลายชิ้น

เนื่องจากเครื่องยนต์มีสมรรถนะสูงตัวถังจึงต้องแข็งแรงมาก ผลก็คือรถมีน้ำหนักเกินที่คาดไว้ที่ 800 กิโลกรัมถึง 130 กิโลกรัม แม้ว่ารถรุ่นนี้จะเป็นที่สนใจของคนชอบรถ แต่บริษัทก็ขาดทุนกับรถทุกคันที่ขายได้

รัฐสภาสหรัฐได้แก้ไขพระราชบัญญัติอากาศสะอาดกำหนดมาตรฐานการปล่อยไอเสียของรถยนต์ไว้อย่างเข้มงวด กฏหมายใหม่บังคับให้ลดการปล่อยก๊าซไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนโมนอกไซด์ลง 90 เปอร์เซ็นต์ในปี 1976

ในญี่ปุ่นเองก็มีการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์แล้วแม้ว่าจะยังไม่เข้มงวดถึงระดับของสหรัฐ การควบคุมไอเสียรถยนต์กำลังจะกลายเป็นงานใหญ่สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งหมด

นี่เป็นสิ่งที่สร้างความกังวลอย่างใหญ่หลวงให้แก่คิโยชิ คาวะชิมะ ผู้จัดการอาวุโสของฮอนด้า มอเตอร์ เขาไม่ได้ขอร้องฮอนด้าแต่ขอร้องฟูจิซาวะให้พบกับวิศวกรของบริษัท จนกระทั่งถึงเวลานั้นฟูจิซาวะพยายามอยู่ห่างจากเรื่องทางเทคนิค แต่เขาก็พร้อมที่จะรับฟัง การประชุมกันจึงมีขึ้นในฤดูร้อนปี 1969 ที่เมืองอาตะมิที่ชายทะเล

"เพื่อจะลดไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนโมนอกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ซึ่งมีอยู่ในไอเสียรถยนต์ เครื่องยนต์จะต้องหมุนรอบช้าลง และเชื้อเพลิงจะต้องเผาผลาญอย่างช้า ๆ ในอุณหภูมิที่ต่ำ" วิศวกรคนหนึ่งรายงาน

อีกคนกล่าวว่า "นี่มันตรงกันข้ามกับความพยายามของเราในอดีตที่จะให้ได้แรงม้าที่สูงจากการให้เครื่องยนต์วิ่งรอบจัด แต่ถ้าปราศจากความรู้อย่างทะลุปรุโปร่งเรื่องการเผาไหม้เมื่อเครื่องวิ่งรอบจัดแล้ว เราจะไม่สามารถตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมไอเสียได้เลย"

"เจ้านายบอกว่านี่สามารถทำได้โดยเครื่องยนต์ทื่ระบายความร้อนด้วยอากาศแต่มันเป็นไปไม่ได้ เราอาจสามารถทำได้โดยเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ ถ้าเราไม่หยุดยุ่งกับเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศในตอนนี้เลย มันก็จะสายเกินการณ์ ถ้าเรายังมัวยุ่งอยู่กับเครื่องที่ระบายความร้อนด้วยอากาศ เราก็จะไม่สามารถขายรถของเราได้สักคันเพราะกฏหมายควบคุมการปล่อยไปเสีย" อีกคนให้ความเห็น

นี่เองทำให้ฟูจิซาวะคิด "จะต้องให้ความนับถือในผลงานของพวกวิศวกร และความตั้งใจเด็ดเดี่ยวและความกระตือรือร้น"

แต่เมื่อพิจารณาถึงตำแหน่งของฮอนด้าแล้ว ฟูจิซาวะจึงได้แต่พูดว่า "ผมเข้าใจแล้วตอนนี้ว่าเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำน่ะก็มีความดี"

หลังจากที่พบกับพวกวิศวกรไม่นานฟูจิซาวะก็ไปกินอาหารค่ำกับฮอนด้า ทั้งสองไม่ได้เห็นหน้ากันมานาน และฟูจิซาวะก็ตัดสินใจแล้วว่า "ถ้าฮอนด้าปฏิเสธเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำ นั่นก็จะหมายความว่าเดินกันคนละเส้นทางกับข้า ถ้าเราส่งคนไม่สามารถไปในทิศทางเดียวกันได้ ทิมเวิร์คของเราก็ใช้ไม่ได้"

ในตอนกินอาหารค่ำ ฮอนด้าก็พูดกับฟูจิซาวะว่า "เครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยอากาศก็ทำอย่างนั้นได้ แต่ข้าคิดว่ามันคงจะยากสำหรับคนอย่างเอ็งที่จะเข้าใจ"

ฟูจิซาวะจึงตอบไปว่า "เอ็งต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งในสองอย่าง เอ็งสามารถเป็นประธานบริษัทต่อไปหรือไม่ก็ไปเป็นวิศวกรในฮอนด้า มอเตอร์ ข้าว่าเอ็งต้องเลือกเอาในตอนนี้เลย"

ฮอนด้าท่าทางไม่เป็นสุขที่จะต้องตัดสินใจ แต่ก็ตอบไปว่า "ข้าแน่ใจว่าข้าควรจะเป็นประธานบริษัทต่อไป"

ฟูจิซาวะจึงว่า "งั้นเอ็งจะยอมให้วิศวกรลงไม้ลงมือกับเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำได้ไหมล่ะ ?"

"ได้" ฮอนด้าตอบ

การสนทนาของทั้งสองกินเวลาไม่กี่นาที หลังจากนั้นทั้งสองก็หันกลับไปกินเหล้าสาเกและร้องเพลงพื้นเมืองเก่า ๆ ด้วยกัน วันรุ่งขึ้นฮอนด้าก็ตรงไปที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาแล้วบอกกับวิศวกรว่า

"ตกลง ทีนี้พวกลื้อลงมือกับเครื่องยนต์ระบายความร้อนด้วยน้ำได้แล้ว"

ความรู้สึกที่แท้จริงของฮอนด้าในตอนนั้นกลับตรงข้ามกับที่พูด เป็นที่รู้กันว่าฮอนด้าไม่เคยยิ้มเมื่อใครพูดถึงเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำขึ้นมา พวกวิศวกรจึงต้องระวังตัวเป็นพิเศษที่จะหลีกเลี่ยงการพูดกับฮอนด้าเรื่องการควบคุมไอเสียรถยนต์ ซึ่งจะต้องเลือกเอาระหว่างเครื่องยนต์ที่ระบายความร้อนด้วยน้ำกับที่ระบายความร้อนด้วยอากาศเพราะนั่นอาจจะทำให้มีการโต้เถียงเผ็ดร้อนทางทฤษฎีขึ้นมา

ดังนั้นพวกวิศวกรจึงอธิบายแต่ว่าตนเองชอบเครื่องที่ระบายความร้อนด้วยน้ำเพราะทำให้เสียงเบา มีการสั่นสะเทือนน้อย และเครื่องไม่ร้อนมาก

รถต้นแบบที่ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำพร้อมที่จะรับการทดสอบในวันหนึ่งที่อากาศหนาวเย็นและมีฝนตกตอนปลายเดือนพฤศจิกายน ฮอนด้าเป็นคนทดสอบรถคันนี้ด้วยตัวเองและหลังจากที่นำรถกลับมาจอด แล้วนั่งอยู่ในรถสักพักหนึ่งเมื่อปิดสวิทช์เครื่องเรียบร้อย พอออกมาจากรถเขาก็พูดว่า "ในรถร้อน"

แม้แต่ฮอนด้าเองยังต้องยอมรับว่ารถคันนี้แตกต่างจากคันที่ใช้เครื่องระบบระบายความร้อนด้วยอากาศซึ่งข้างในรถจะเย็นทันทีที่เครื่องยนต์ดับ

ตั้งแต่นั้นมา รถยนต์ทุกคันของฮอนด้า มอเตอร์ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

เมื่อนึกย้อนหลังไปถึงเรื่องนี้ รอยยิ้มเศร้า ๆ จะปรากฏบนใบหน้าของฮอนด้าขณะที่พูดว่า "การระบายความร้อนด้วยอากาศคือขีดสุดของเทคโนโลยีของผม"

ความขัดแย้งเรื่องระบบระบายความร้อนแสดงให้เห็นว่าแม้แต่สัญชาตญาณทางเทคโนโลยีอันเก่งกาจของฮอนด้าก็ไม่สามารถเอาชนะโครงสร้างทางองค์กรของพวกวิศวกรที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาได้ เขาดีใจที่พวกวิศวกรที่เขาปั้นมานั้นบัดนี้เติบโตแล้ว นี่ก็เป็นเหตุผลที่เขาไม่มีมาตรการลงโทษทางวินัยแก่การต่อต้านโดยคุเมะและพวกเลย

"ก็ธรรมดาที่ผมเสียใจอยู่หลายครั้ง" ฮอนด้ากล่าวหลังจากเกษียณแล้ว "แต่การทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ดีวิเศษนัก ในเมื่อผมชอบเครื่องยนต์กลไกมากกว่าอะไรทั้งนั้น ทุกครั้งที่ผมรู้สึกห่อเหี่ยวผมจะเล่นกับเครื่องยนต์กลไก นั่นเป็นสิ่งที่ช่วยผมได้มาก"

ที่ฮอนด้า มอเตอร์ มีการมอบหมายงานรับผิดชอบมากมายให้แก่พนักงานในระดับต่ำแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจของบริษัทในความกระตือรือร้นและความสามารถของพนักงานและความปรารถนาของบริษัทที่จะเร่งเร้าให้พวกนี้มีความหวังในอนาคต ตัวอย่างเช่นเมื่อผู้ที่เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมาสอบเข้าเพื่อบรรจุเป็นพนักงานของฮอนด้า มอเตอร์ พวกนี้จะถูกสัมภาษณ์โดยผู้บริหารระดับกลาง ตั้งแต่การเกษียณของสองผู้ก่อตั้งในปี 1973 คณะกรรมการบริหารไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ที่มาสมัครงานเลย

ปรัชญาของบริษัทมีว่า กลุ่มผู้บริหารระดับกลางเป็นคนที่หนุ่มกว่า มีความอ่อนไหวมากกว่าและมองการณ์ไกลกว่าในการพิจารณาผู้สมัคร ยิ่งกว่านั้น ยังคิดกันว่าผู้สมัครจะรู้สึกสบายใจกว่าเมื่ออยู่กับกลุ่มผู้บริหารระดับกลางของบริษัท

ฮอนด้าพูดกับพนักงานของเขาบ่อย ๆ ว่า "ถ้าคุณจ้างแต่คนที่คุณเข้าใจ บริษัทจะไม่มีวันได้คนที่ดีกว่าพวกคุณเลย จงอย่าพยายามจ้างคนเพียงเพราะว่าคุณชอบคน ๆ นั้น จงจำไว้เสมอว่าคุณจะพบคนเก่งในหมู่คนที่คุณไม่ชอบอะไรเป็นพิเศษ"

ที่บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ การว่าจ้างผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ๆ ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งที่จะตัดสินอนาคตขององค์การ เพราะฉะนั้นผู้สมัครจะถูกสัมภาษณ์โดยกรรมการบริหาร บางครั้งประธานบริษัทจะร่วมสัมภาษณ์ด้วย และได้รับการพิจารณาไม่แต่ในเรื่องความสามารถทุกอย่างเท่านั้นแต่ยังจะพิจารณาถึงความสามารถที่จะร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานด้วย

ผู้สมัครที่มีบุคลิกภาพแกร่งไม่ค่อยจะได้รับการว่าจ้างโดยปราศจากการเห็นชอบเป็นพิเศษจากประธานบริษัท ยกเว้นสมัยต้น ๆ ของบริษัทแล้ว ฮอนด้าและฟูจิซาวะไม่เคยสัมภาษณ์ผู้สมัครงาน แม้แต่ตอนที่กรรมการบริหารคนอื่นจะร่วมในการสัมภาษณ์ด้วยก็ตาม

ไม่เคยเลยแม้แต่ครั้งเดียวที่ฮอนด้าจะอ้างความเป็นเจ้าของบริษัทที่เขาเป็นผู้ก่อตั้ง เขามักจะคิดเสมอว่าการใช้อำนาจและสิทธิขาดของเขาเพื่อบังคับให้พนักงานเห็นดีเห็นชอบความคิดของเขานั้นจะมีผลในทางทำลายความรู้สึกของการทำงานเป็นหมู่คณะอย่างเสอมภาคกัน

ฮอนด้าเชื่อว่านี่ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้บริษัทจีรังยั่งยืนและฟูจิซาวะก็เห็นด้วยกับเขาทุกประการ ปรัชญานี้แสดงออกได้ดีที่สุดโดยโซอิจิโร

ฮอนด้าเองเมื่อเขาพูดหลังการก่อตั้งบริษัทเล็กน้อยว่า "ฮอนด้า มอเตอร์ไม่ใช่ของตระกูลฮอนด้า"

คำประกาศนี้ไม่ใช่การพูดเอาอกเอาใจพนักงานดังจะเห็นได้จากข้อเท็จจริงสองอย่าง

เมื่อฮอนด้าลาออกจากกรรการบริหารและประธานบริษัท เขาก็รับตำแหน่ง "ที่ปรึกษาสูงสุด" โดยไม่มีอำนาจที่จะเป็นตัวแทนของบริษัท

ฟูจิซาวะที่ลาออกจากตำแหน่งกรรมการบริหารและรองประธานบริษัท ก็รับตำแหน่งกิตติมศักดิ์คล้ายคลึงกัน

ในบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ กรรมการบริหาร/ประธานคณะกรรมการบริหาร และยังคงมีอำนาจในการบริหารบริษัท นี่เป็นความจริงอย่างยิ่งในบริษัทที่ผู้ก่อตั้งเป็นประธานบริษัท ซึ่งไม่ค่อยจะยอมสูญเสียสิทธิของ "กรรมการบริหาร" เว้นแต่จะทำอะไรผิดพลาดร้ายแรงไว้ ในแง่นี้กรณีของฮอนด้า มอเตอร์จึงเป็นกรณีที่หาได้ยากยิ่ง

นับว่าสำคัญมากด้วยที่ผู้ก่อตั้งทั้งสองของฮอนด้า มอเตอร์ปฏิเสธที่จะให้ลูกชายตนเองบริหารบริษัท ทั้งยังห้ามไม่ให้ลูกของตนเข้าทำงานเป็นพนักงานระดับต่ำของบริษัทด้วย ขณะนี้กฏนี้ห้ามไปถึงลูก ๆ ของกรรมการบริหารของบริษัทด้วย ที่ฮอนด้า มอเตอร์มีปรัชญาขั้นพื้นฐานอยู่ว่า สมาชิกทุกคนของบริษัทเสมอภาคกัน

ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างประธานบริษัทและพนักงานธรรมดาก็คือบทบาทที่แต่ละคนมีในบริษัท

ตอนที่ 7.1 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!