จีนผนึกกำลังสร้าง ‘แพลตฟอร์มเอไอ’ ปกป้องสัตว์ป่า


หน่วยงานรัฐท้องถิ่นของจีนรายงานว่าสถาบันหลายแห่งของประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งแพลตฟอร์มที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) เพื่อการตรวจตราดูแลและปกป้องสัตว์ป่า

แพลตฟอร์มเอไอดังกล่าวซึ่งสามารถตรวจตราสัตว์ป่าได้แบบเรียลไทม์ พัฒนาร่วมกันโดยศูนย์วิจัยสัตว์ตระกูลแมว แห่งสำนักงานป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน (National Forestry and Grassland Administration), สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน หรือเอชไอที (HIT) และบิ๊กดาต้ากรุ๊ปแห่งเอชไอที (HIT Big Data Group)

เป็นที่คาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยส่งเสิรมการวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ ประชากรสัตว์ป่า และการตรวจตราดูแลสัตว์ป่าแบบรายตัว ผ่านการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีเอไอ, แมชชีน เลิร์นนิง (การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง) และการประมวลผลด้วยระบบการรับรู้ทางสมอง-ภาษา (neuro-linguistic)

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) บิ๊กดาต้า และแมชชีนวิชัน (Machine Vision) จะทำให้แพลตฟอร์มนี้สามารถสร้างตัวอย่างการจดจำรายบุคคล โดยสามารถจดจำรายละเอียดที่สำคัญบางประการได้ เช่น ท่าทางของสัตว์ ท่าเดิน สีและลายบนขน

เจ้าหน้าที่จากบิ๊กดาต้ากรุ๊ปแห่งเอชไอทีกล่าวว่า ในขั้นต้นแพลตฟอร์มนี้จะถูกนำไปใช้ติดตามและจับตาดูเสือไซบีเรียที่ใกล้สูญพันธ์ รวมถึงเสือดาว และเหยื่อของพวกมัน เสือเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของมณฑลเฮยหลงเจียงและจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นบริเวณชายแดนจีน-เซีย กลุ่มบริษัทฯ จึงคาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะให้บริการการปกป้องสัตว์ป่าข้ามพรมแดนได้ด้วย

กลุ่มบริษัทฯ จะจัดทำฐานข้อมูลของเสือไซบีเรียและเสือดาวเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาและพัฒนาการของเสือ “ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้พวกเราเข้าใจสัตว์ป่ามากขึ้น และเราคาดว่าจะนำเทคโนโลยีอื่นๆ มาศึกษาและนำมาใช้ปกป้องสัตว์ป่าเพิ่มเติมอีก”

หน่วยงานรัฐท้องถิ่นของจีนรายงานว่าสถาบันหลายแห่งของประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งแพลตฟอร์มที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) เพื่อการตรวจตราดูแลและปกป้องสัตว์ป่า

แพลตฟอร์มเอไอดังกล่าวซึ่งสามารถตรวจตราสัตว์ป่าได้แบบเรียลไทม์ พัฒนาร่วมกันโดยศูนย์วิจัยสัตว์ตระกูลแมว แห่งสำนักงานป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน (National Forestry and Grassland Administration), สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน หรือเอชไอที (HIT) และบิ๊กดาต้ากรุ๊ปแห่งเอชไอที (HIT Big Data Group)

เป็นที่คาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะช่วยส่งเสิรมการวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศ ประชากรสัตว์ป่า และการตรวจตราดูแลสัตว์ป่าแบบรายตัว ผ่านการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ รวมถึงเทคโนโลยีเอไอ, แมชชีน เลิร์นนิง (การทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง) และการประมวลผลด้วยระบบการรับรู้ทางสมอง-ภาษา (neuro-linguistic)

เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) บิ๊กดาต้า และแมชชีนวิชัน (Machine Vision) จะทำให้แพลตฟอร์มนี้สามารถสร้างตัวอย่างการจดจำรายบุคคล โดยสามารถจดจำรายละเอียดที่สำคัญบางประการได้ เช่น ท่าทางของสัตว์ ท่าเดิน สีและลายบนขน

เจ้าหน้าที่จากบิ๊กดาต้ากรุ๊ปแห่งเอชไอทีกล่าวว่า ในขั้นต้นแพลตฟอร์มนี้จะถูกนำไปใช้ติดตามและจับตาดูเสือไซบีเรียที่ใกล้สูญพันธ์ รวมถึงเสือดาว และเหยื่อของพวกมัน เสือเหล่านี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าของมณฑลเฮยหลงเจียงและจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นบริเวณชายแดนจีน-เซีย กลุ่มบริษัทฯ จึงคาดว่าแพลตฟอร์มนี้จะให้บริการการปกป้องสัตว์ป่าข้ามพรมแดนได้ด้วย

กลุ่มบริษัทฯ จะจัดทำฐานข้อมูลของเสือไซบีเรียและเสือดาวเพื่อช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้เรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาและพัฒนาการของเสือ “ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้พวกเราเข้าใจสัตว์ป่ามากขึ้น และเราคาดว่าจะนำเทคโนโลยีอื่นๆ มาศึกษาและนำมาใช้ปกป้องสัตว์ป่าเพิ่มเติมอีก”

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!