บางกอกแต่หนหลัง- (ตอนปฐมฤกษ์) เล่าเรื่องรถและเรื่องเหล้าเมื่อวันวาน


อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

เรื่องราวของเมืองบางกอกในอดีตตราบถึงปัจจุบันมีความเป็นมาอย่างมากมายโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความเจริญทางวัตถุที่ย่างกรายรุกเข้ามาอย่างพรวดพราดจนบางกอกเกอร์ปรับตัวแทบไม่ทันจากวิถีชีวิตที่อบอุ่นเต็มไปด้วยความโอบอ้อบอารีกลับกลายเป็นการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านจนวัฒนธรรมมลายไปสิ้น ดั่งภาพจั่วหัวเรื่องที่เต็มไปด้วยท้องทุ่งท้องนาและควายที่เปลี่ยนแปรไปอย่างสิ้นเชิง เบื้องหลังภาพคือท่าเรือคลองเตยเต็มไปด้วยเครนโยกย้ายสินค้าทั้งนำเข้าแลส่งออก

ในอดีตของเมืองบางกอกสมัยก่อนราว 70 ปีขึ้นไปเป็นเมืองที่น่าอยู่น่าอาศัยโดยได้สดับรับฟังจากคุณปู่, คุณย่า, คุณตา,คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้าและคุณอา รวมทั้งอากง, อาม่า, อากู๋, อาแปะ, อาซ้อและอาเฮียต่างเล่าขานยามหาเชี่ยนหมากหรือบ้องสูบฝิ่นไม่เจอเลยสูดยานัตถ์ไปพลาง ๆ

ส่วนแถบใจกลางเมืองละแวกสีลม, สาทร, สี่พระยา, บางรัก, เยาวราชจนถึงวังบูรพาเป็นความผสมผสานของวัฒนธรรมหลากหลายของผู้คนหลายเชื้อชาติที่เข้ามาทำมาหากิน อาทิ ชาวจีน, ฝรั่งหลายชาติ, แขกก็หลายเชื้อชาติอีกนั่นล่ะคร๊าบบบ…และอีกหลายเผ่าพันธ์ สะท้อนให้เห็นจากร้านรวงต่าง ๆ หลากอาหารหลายประเภทและสนามกีฬาบ้าน ๆ สำหรับเล่นเทนนิสคอร์ทดินหรือฟุตบอลหลากประเภทที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมต่างถิ่นหลากเข้าสู่เมืองบางกอกแตกต่างกับตะกร้อ, หมากเก็บ, เป่ากบ, ล้อต๊อก, วิ่งเปรี้ยว, รีๆ ข้าวสารและขี่ม้าชมเมือง ฯลฯ อันเป็นการละเล่นแบบพื้นบ้านไทยๆ

ส่วนผู้บรรเลงมีแถบถิ่นตระเวณทอดน่องท่องปฐพีวกวนเตร็ดเตร่อยู่แถบใจกลางเมืองในอดีต ตั้งแต่ฐานที่พักอาศัยละแวกกรมศุลกากรใหม่ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2497 แถวคลองเตยโดยนำชื่อมาจากสภาพท้องถิ่นที่ถนนพระราม 4 เลียบคู่ขนานไปกับคลองที่มีต้นใบเตยขึ้นริมตลิ่งเป็นจำนวนมากนั่นเอง ส่วนกรมศุลกากรอันสืบเนื่องมาจาก “โรงภาษี” หลังซอย “ตรอกโรงภาษี” ตรงถนนเจริญกรุงช่วงระหว่างสุรวงศ์กับสีลม จากปากซอยเข้าไปหน่อยเป็นสถานฑูตฝรั่งเศส ลึกเข้าไปสุดซอยติดชิดริมแม่น้ำเจ้าพระยาคือโรงภาษี

อาคารเก่าแก่ซึ่งกลายเป็นอมตะอดีตแต่ยังคงสไตล์คลาสสิคของอาคารทรงยุโรปที่ปล่อยปละละเลยกันมายาวนานกว่า 50-60 ปี ทิ้งร้างจนผุพังไปมากตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดายสถาปัตยกรรมในอดีตที่สร้างด้วยจิตใจและน้ำใจในแบบ “ทำมือ” แทบล้วน ๆ แตกต่างกับยุคสมัย “หลุยส์กำมะลอ” เฉกเช่นปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ในวัยเยาว์มีโอกาสได้พานพบและยังผูกพันรถรางมีให้นั่งท่องใจกลางกรุง

เริ่มต้นจากสถานีใกล้ที่สุดตรง “วงเวียนวิทยุ” ชายขอบสวนลุมพินี สำหรับผู้คนที่จะเดินทางด้วยรถรางต้องไปรอที่ป้ายซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปธงสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวสีขาวติดไว้ตามระเบียงตึก

อาลิ้ม ณ โรงภาษี-บรรเลง

เรื่องราวของเมืองบางกอกในอดีตตราบถึงปัจจุบันมีความเป็นมาอย่างมากมายโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความเจริญทางวัตถุที่ย่างกรายรุกเข้ามาอย่างพรวดพราดจนบางกอกเกอร์ปรับตัวแทบไม่ทันจากวิถีชีวิตที่อบอุ่นเต็มไปด้วยความโอบอ้อบอารีกลับกลายเป็นการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดพล่านจนวัฒนธรรมมลายไปสิ้น ดั่งภาพจั่วหัวเรื่องที่เต็มไปด้วยท้องทุ่งท้องนาและควายที่เปลี่ยนแปรไปอย่างสิ้นเชิง เบื้องหลังภาพคือท่าเรือคลองเตยเต็มไปด้วยเครนโยกย้ายสินค้าทั้งนำเข้าแลส่งออก

ในอดีตของเมืองบางกอกสมัยก่อนราว 70 ปีขึ้นไปเป็นเมืองที่น่าอยู่น่าอาศัยโดยได้สดับรับฟังจากคุณปู่, คุณย่า, คุณตา,คุณยาย, คุณลุง, คุณป้า, คุณน้าและคุณอา รวมทั้งอากง, อาม่า, อากู๋, อาแปะ, อาซ้อและอาเฮียต่างเล่าขานยามหาเชี่ยนหมากหรือบ้องสูบฝิ่นไม่เจอเลยสูดยานัตถ์ไปพลาง ๆ

ส่วนแถบใจกลางเมืองละแวกสีลม, สาทร, สี่พระยา, บางรัก, เยาวราชจนถึงวังบูรพาเป็นความผสมผสานของวัฒนธรรมหลากหลายของผู้คนหลายเชื้อชาติที่เข้ามาทำมาหากิน อาทิ ชาวจีน, ฝรั่งหลายชาติ, แขกก็หลายเชื้อชาติอีกนั่นล่ะคร๊าบบบ...และอีกหลายเผ่าพันธ์ สะท้อนให้เห็นจากร้านรวงต่าง ๆ หลากอาหารหลายประเภทและสนามกีฬาบ้าน ๆ สำหรับเล่นเทนนิสคอร์ทดินหรือฟุตบอลหลากประเภทที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมต่างถิ่นหลากเข้าสู่เมืองบางกอกแตกต่างกับตะกร้อ, หมากเก็บ, เป่ากบ, ล้อต๊อก, วิ่งเปรี้ยว, รีๆ ข้าวสารและขี่ม้าชมเมือง ฯลฯ อันเป็นการละเล่นแบบพื้นบ้านไทยๆ

ส่วนผู้บรรเลงมีแถบถิ่นตระเวณทอดน่องท่องปฐพีวกวนเตร็ดเตร่อยู่แถบใจกลางเมืองในอดีต ตั้งแต่ฐานที่พักอาศัยละแวกกรมศุลกากรใหม่ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อปี 2497 แถวคลองเตยโดยนำชื่อมาจากสภาพท้องถิ่นที่ถนนพระราม 4 เลียบคู่ขนานไปกับคลองที่มีต้นใบเตยขึ้นริมตลิ่งเป็นจำนวนมากนั่นเอง ส่วนกรมศุลกากรอันสืบเนื่องมาจาก "โรงภาษี" หลังซอย "ตรอกโรงภาษี" ตรงถนนเจริญกรุงช่วงระหว่างสุรวงศ์กับสีลม จากปากซอยเข้าไปหน่อยเป็นสถานฑูตฝรั่งเศส ลึกเข้าไปสุดซอยติดชิดริมแม่น้ำเจ้าพระยาคือโรงภาษี

อาคารเก่าแก่ซึ่งกลายเป็นอมตะอดีตแต่ยังคงสไตล์คลาสสิคของอาคารทรงยุโรปที่ปล่อยปละละเลยกันมายาวนานกว่า 50-60 ปี ทิ้งร้างจนผุพังไปมากตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดายสถาปัตยกรรมในอดีตที่สร้างด้วยจิตใจและน้ำใจในแบบ "ทำมือ" แทบล้วน ๆ แตกต่างกับยุคสมัย "หลุยส์กำมะลอ" เฉกเช่นปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ในวัยเยาว์มีโอกาสได้พานพบและยังผูกพันรถรางมีให้นั่งท่องใจกลางกรุง

เริ่มต้นจากสถานีใกล้ที่สุดตรง "วงเวียนวิทยุ" ชายขอบสวนลุมพินี สำหรับผู้คนที่จะเดินทางด้วยรถรางต้องไปรอที่ป้ายซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปธงสามเหลี่ยมสีแดงมีดาวสีขาวติดไว้ตามระเบียงตึก

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!