ปั๊มปตท. เดินหน้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซลาร์บนหลังคา…หวังลดต้นทุนค่าไฟและเป็นต้นแบบนำร่องสำหรับองค์กรต่าง ๆ และประชาชนทั่วไป


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด ปตท. วันที่ 21 ก.ค.นี้ จะมีการพิจารณาให้ ปตท.ไปดำเนินการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และอาคารอื่นๆ ในปั๊มน้ำมัน ปตท. เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า เนื่องจากขณะนี้แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ รูฟท็อปกำลังมาแรง เพราะต้นทุนการติดตั้ง 1 กิโลวัตต์ไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาทเท่านั้น ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน และไม่จำเป็นต้องจำหน่ายให้กับ 3 การไฟฟ้าแต่อย่างใด

ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวอาจจะเป็นต้นแบบให้กับบริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนประชาชนทั่วๆ ไป เพราะราคาต้นทุนการติดตั้งมีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับ 3-5 ปีที่ผ่านมา กรณีดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นโจทย์อีกข้อหนึ่งสำหรับในอนาคตไม่เกิน 10-15 ปีข้างหน้า หากประชาชนทยอยติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป อาจทำให้ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ต้องหาวิธีดำเนินกิจการในระยะยาว เพราะประเทศไทยจะมีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง

สำหรับกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีนโยบายจัดเก็บค่าสำรองไฟฟ้า (แบล็กอัพ เรต) กับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าประเภทโซลาร์ รูฟท็อป แต่ยังไม่มีความเสถียรเรื่องพลังงานไฟฟ้า จึงยังจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหลักอยู่นั้น เห็นว่า กกพ.ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศไทยใหม่ทั้งหมด หลังจากไม่ได้ปรับโครงสร้างมานานกว่า 10 ปี โดยอาจเปลี่ยนช่วงความต้องการการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) จากช่วงกลางวันมาเป็นกลางคืนแทน เป็นต้น เพื่อเฉลี่ยต้นทุนสำรองไฟฟ้า เนื่องจากคนที่ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐอีกทางหนึ่งเช่นกัน.

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด ปตท. วันที่ 21 ก.ค.นี้ จะมีการพิจารณาให้ ปตท.ไปดำเนินการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) ในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และอาคารอื่นๆ ในปั๊มน้ำมัน ปตท. เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า เนื่องจากขณะนี้แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ รูฟท็อปกำลังมาแรง เพราะต้นทุนการติดตั้ง 1 กิโลวัตต์ไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาทเท่านั้น ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน และไม่จำเป็นต้องจำหน่ายให้กับ 3 การไฟฟ้าแต่อย่างใด

ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวอาจจะเป็นต้นแบบให้กับบริษัทเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนประชาชนทั่วๆ ไป เพราะราคาต้นทุนการติดตั้งมีราคาถูกลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับ 3-5 ปีที่ผ่านมา กรณีดังกล่าวเชื่อว่าจะเป็นโจทย์อีกข้อหนึ่งสำหรับในอนาคตไม่เกิน 10-15 ปีข้างหน้า หากประชาชนทยอยติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป อาจทำให้ 3 การไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ต้องหาวิธีดำเนินกิจการในระยะยาว เพราะประเทศไทยจะมีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เอง

สำหรับกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีนโยบายจัดเก็บค่าสำรองไฟฟ้า (แบล็กอัพ เรต) กับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าประเภทโซลาร์ รูฟท็อป แต่ยังไม่มีความเสถียรเรื่องพลังงานไฟฟ้า จึงยังจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหลักอยู่นั้น เห็นว่า กกพ.ควรปรับเปลี่ยนโครงสร้างค่าไฟฟ้าของประเทศไทยใหม่ทั้งหมด หลังจากไม่ได้ปรับโครงสร้างมานานกว่า 10 ปี โดยอาจเปลี่ยนช่วงความต้องการการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีก) จากช่วงกลางวันมาเป็นกลางคืนแทน เป็นต้น เพื่อเฉลี่ยต้นทุนสำรองไฟฟ้า เนื่องจากคนที่ติดตั้งโซลาร์ รูฟท็อป ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของภาครัฐอีกทางหนึ่งเช่นกัน.

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!