ปูตินส่งเครื่องบินลำเลียงแอนโตนอฟ-124 พร้อมอุปกรณ์การแพทย์เพื่อช่วยเหลือสหรัฐฯ


กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า เครื่องบินลำเลียงของรัสเซียซึ่งบรรทุกอุปกรณ์การแพทย์ ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สหรัฐฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือสหรัฐในการต่อสู้กับโรคโควิด-19

แถลงการณ์ระบุว่า เครื่องบินแอนโตนอฟ-124 พร้อมหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์การแพทย์ ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังสหรัฐฯ โดยความช่วยเหลือดังกล่าวมีขึ้นหลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ

ทั้งนี้ รัสเซียได้ส่งอุปกรณ์การแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลืออิตาลีก่อนหน้านี้ ซึ่งรัสเซียกล่าวว่า ความช่วยเหลือดังกล่าวรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสราว 100 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับอีโบลาและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และเมื่อเดือนที่แล้วรัสเซียก็ได้ส่งอุปกรณ์ตรวจโรคโควิด-19 เกือบ 1,000 ชุดไปให้แก่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและหลายประเทศ รวมทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือด้วย

รัสเซียได้เผยภาพของเครื่องบินลำเลียงขนาดยักษ์ แบบ An-124-100 ของกองทัพอากาศบินขึ้นจากฐานทัพอากาศชานกรุงมอสโก พร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่บรรทุกมาเต็มลำเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในสหรัฐฯ

รายงานระบุว่า เครื่องบินลำนี้เดือนทางออกจากฐานทัพ Chkalovsky airfield ชานกรุงมอสโกโดยมีกำหนดแวะพักเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินไอร์แลนด์และแคนาดา ก่อนมีแผนเดินทางถึงยังสหรัฐฯ

เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่แบบ An-124-100 “รุสลาน” ของกองทัพอากาศรัสเซีย บินสู่ท่าอากาศยานนานาชาติจอนห์ เอฟ เคเนดี้ ในนครนิวยอร์ค เพื่อนำส่งอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่จำเป็นจากรัฐบาลรัสเซียมายังสหรัฐอเมริกา

An-124-100 เครื่องบินลำเลียงขนาด 4 เครื่องยนต์ ที่เคยครอบครองสถิติการเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนจะมีการสร้างอากาศยานพิเศษแบบ An-225 “มีร์ย่า” ที่พัฒนาจากโครงสร้างของ An-124-100 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขนส่งกระสวยอวกาศของอดีตสหภาพโซเวียตเพียงลำเดียว

An-124-100 ยังเป็นอากาศยานลำเลียงขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพอากาศรัสเซียในขณะนี้ สามารถขนส่งสัมภาระได้หนัก 150 ตัน มีขนาดความยาวลำตัว 69 เมตร สูง 21เมตร และขนาดปีกกาง 73 เมตร แม้ในปัจจุบันหากเทียบในขนาดมิติ เครื่องบินโดยสารแบบ A380 ของแอร์บัสจะมีขนาดโดยรวมที่ใหญ่กว่า แต่ An-124 ยังมีภารกรรมบรรทุกที่มากกว่า

Cr Photo : สำนักข่าว TASS / กระทรวงกลาโหมรัสเซีย

กระทรวงกลาโหมรัสเซียแถลงว่า เครื่องบินลำเลียงของรัสเซียซึ่งบรรทุกอุปกรณ์การแพทย์ ออกเดินทางมุ่งหน้าสู่สหรัฐฯ เพื่อให้ความช่วยเหลือสหรัฐในการต่อสู้กับโรคโควิด-19

แถลงการณ์ระบุว่า เครื่องบินแอนโตนอฟ-124 พร้อมหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์การแพทย์ ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังสหรัฐฯ โดยความช่วยเหลือดังกล่าวมีขึ้นหลังประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ

ทั้งนี้ รัสเซียได้ส่งอุปกรณ์การแพทย์และผู้เชี่ยวชาญไปให้ความช่วยเหลืออิตาลีก่อนหน้านี้ ซึ่งรัสเซียกล่าวว่า ความช่วยเหลือดังกล่าวรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสราว 100 คน ที่มีประสบการณ์ในการจัดการกับอีโบลาและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และเมื่อเดือนที่แล้วรัสเซียก็ได้ส่งอุปกรณ์ตรวจโรคโควิด-19 เกือบ 1,000 ชุดไปให้แก่ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตและหลายประเทศ รวมทั้งอิหร่านและเกาหลีเหนือด้วย

รัสเซียได้เผยภาพของเครื่องบินลำเลียงขนาดยักษ์ แบบ An-124-100 ของกองทัพอากาศบินขึ้นจากฐานทัพอากาศชานกรุงมอสโก พร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ที่บรรทุกมาเต็มลำเพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดในสหรัฐฯ

รายงานระบุว่า เครื่องบินลำนี้เดือนทางออกจากฐานทัพ Chkalovsky airfield ชานกรุงมอสโกโดยมีกำหนดแวะพักเติมเชื้อเพลิงที่สนามบินไอร์แลนด์และแคนาดา ก่อนมีแผนเดินทางถึงยังสหรัฐฯ

เครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่แบบ An-124-100 “รุสลาน” ของกองทัพอากาศรัสเซีย บินสู่ท่าอากาศยานนานาชาติจอนห์ เอฟ เคเนดี้ ในนครนิวยอร์ค เพื่อนำส่งอุปกรณ์เวชภัณฑ์ที่จำเป็นจากรัฐบาลรัสเซียมายังสหรัฐอเมริกา

An-124-100 เครื่องบินลำเลียงขนาด 4 เครื่องยนต์ ที่เคยครอบครองสถิติการเป็นเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกก่อนจะมีการสร้างอากาศยานพิเศษแบบ An-225 “มีร์ย่า” ที่พัฒนาจากโครงสร้างของ An-124-100 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขนส่งกระสวยอวกาศของอดีตสหภาพโซเวียตเพียงลำเดียว

An-124-100 ยังเป็นอากาศยานลำเลียงขนาดใหญ่ที่สุดของกองทัพอากาศรัสเซียในขณะนี้ สามารถขนส่งสัมภาระได้หนัก 150 ตัน มีขนาดความยาวลำตัว 69 เมตร สูง 21เมตร และขนาดปีกกาง 73 เมตร แม้ในปัจจุบันหากเทียบในขนาดมิติ เครื่องบินโดยสารแบบ A380 ของแอร์บัสจะมีขนาดโดยรวมที่ใหญ่กว่า แต่ An-124 ยังมีภารกรรมบรรทุกที่มากกว่า

Cr Photo : สำนักข่าว TASS / กระทรวงกลาโหมรัสเซีย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!