มาฝึกพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ ลับคมความคิดเพื่อรับมือกับอนาคต


เราจะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างไร ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่บริษัทต่างๆ รวมทั้งภาครัฐก็ได้เริ่มนำ Scenario planning เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือวางแผนกลยุทธ์กันมากขึ้น เพื่อนำทางและรับมือกับอนาคต

 

การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์หรือ Scenario Planning เป็นกระบวนการเชิงโครงสร้างที่ช่วยคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น สำหรับเชลล์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ โดยได้ริเริ่มนำแบบจำลองสถานการณ์มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเป็นระยะเวลากว่า 45 ปี ด้วยการพิจารณาความเป็นไปได้ของอนาคตในทุกมิติ จากปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ เชลล์ยังคงทำงานอย่างหนักในการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

 

เราจะพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ได้อย่างไรนั้น มาเรียนรู้ไปด้วยกันจากนายดัค แมคเคย์ รองประธานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ของเชลล์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอดีตสมาชิกทีมพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์

 

การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์นั้น ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจที่ว่าอนาคตจะมีความซับซ้อนมาก และมีโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ได้หลากหลายรูปแบบ เราจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนมุมมองของเราจากคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้น” เป็น “เราจะทำอย่างไรเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง”

เชลล์คาดการณ์ว่าใน ค.ศ. 2050 (หรือ พ.ศ. 2593) จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคนเป็น 9,500 ล้านคน โดย 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง และจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะเดียวกันโลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น

 

“หลักการทำแบบจำลองสถานการณ์คือ การพิจารณาถึงแนวทางพื้นฐานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น” นายแมคเคย์กล่าวและเสริมว่า “การทำ Scenario planning ไม่ใช่แค่เพียงคาดการณ์อนาคตเท่านั้น แต่ต้องมีการนำข้อมูลและสถิติที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อประเมินถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งต้องมีกรอบโครงสร้างการพิจารณามุมมองต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งด้านเทคโนโลยี พลังงาน การเมือง รูปแบบของสังคม และด้านอื่นๆ กระบวนการคิดดังกล่าวทำให้เรามั่นใจว่าได้นำองค์ประกอบและมุมมองในมิติต่างๆ มาพิจารณาอย่างรอบด้าน”

 

สำหรับแผนจำลองสถานการณ์ล่าสุดของเชลล์คือ “แบบจำลองเทือกเขา” (Mountains) และ “แบบจำลองมหาสมุทร” (Oceans) นั้น เรามีส่วนร่วมในการจำลองเหตุการณ์โลกอนาคตในสองรูปแบบ

 

• แบบจำลองเทือกเขา คาดการณ์ว่าโลกจะมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง แต่มีเสถียรภาพ โดยนโยบายรัฐบาลจะมีบทบาทหลักในการวางโครงสร้างระบบนิเวศพลังงานโลกและแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดเมืองมีขนาดกระชับมากขึ้น (compact city) รวมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง การใช้ก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานสะอาดจะกลายเป็นพลังงานหลักของระบบนิเวศพลังงานโลก

 

• แบบจำลองมหาสมุทร คาดการณ์ถึงโลกที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น แต่ก็ผันผวนมากขึ้นด้วย รูปแบบแหล่งพลังงานของโลกจะพัฒนาไปตามปัจจัยตลาดและภาคประชาสังคม มากกว่านโยบายจากภาครัฐ การขยายตัวของพลังงานนิวเคลียร์และก๊าซธรรมชาตินอกทวีปอเมริกาเหนือเป็นไปอย่างจำกัด และภายในช่วงค.ศ. 2060 – 2069 (หรือพ.ศ. 2603 – 2612) พลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใหญ่ที่สุด

 

คุณมองอนาคตไว้อย่างไร มาร่วมแบ่งปันไอเดียกับเรา และค้นหาว่านักศึกษาไทยจะมองอนาคตของพวกเขาอย่างไรได้จากงานนิทรรศการ Make The Future Thailand ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 24 – 26 พฤศจิกายน 2560 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่ และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.shell.co.th

เราจะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างไร ไม่มีใครสามารถให้คำตอบได้ แต่บริษัทต่างๆ รวมทั้งภาครัฐก็ได้เริ่มนำ Scenario planning เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือวางแผนกลยุทธ์กันมากขึ้น เพื่อนำทางและรับมือกับอนาคต   การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์หรือ Scenario Planning เป็นกระบวนการเชิงโครงสร้างที่ช่วยคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต และสามารถพัฒนากลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น สำหรับเชลล์ซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ โดยได้ริเริ่มนำแบบจำลองสถานการณ์มาประยุกต์ใช้กับการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเป็นระยะเวลากว่า 45 ปี ด้วยการพิจารณาความเป็นไปได้ของอนาคตในทุกมิติ จากปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทุกวันนี้ เชลล์ยังคงทำงานอย่างหนักในการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ เพื่อให้สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้   เราจะพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ได้อย่างไรนั้น มาเรียนรู้ไปด้วยกันจากนายดัค แมคเคย์ รองประธานฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ของเชลล์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และอดีตสมาชิกทีมพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์   การพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์นั้น ต้องเริ่มด้วยความเข้าใจที่ว่าอนาคตจะมีความซับซ้อนมาก และมีโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์ได้หลากหลายรูปแบบ เราจึงจำเป็นต้องเตรียมรับมือกับอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนมุมมองของเราจากคำถามที่ว่า “จะเกิดอะไรขึ้น” เป็น “เราจะทำอย่างไรเมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นจริง” เชลล์คาดการณ์ว่าใน ค.ศ. 2050 (หรือ พ.ศ. 2593) จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคนเป็น 9,500 ล้านคน โดย 3 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดจะอาศัยอยู่ในเขตเมือง และจะใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ขณะเดียวกันโลกก็จะเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น   “หลักการทำแบบจำลองสถานการณ์คือ การพิจารณาถึงแนวทางพื้นฐานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้น” นายแมคเคย์กล่าวและเสริมว่า “การทำ Scenario planning ไม่ใช่แค่เพียงคาดการณ์อนาคตเท่านั้น แต่ต้องมีการนำข้อมูลและสถิติที่เกิดขึ้นจริงมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ เพื่อประเมินถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ ซึ่งต้องมีกรอบโครงสร้างการพิจารณามุมมองต่างๆ ที่หลากหลาย ทั้งด้านเทคโนโลยี พลังงาน การเมือง รูปแบบของสังคม และด้านอื่นๆ กระบวนการคิดดังกล่าวทำให้เรามั่นใจว่าได้นำองค์ประกอบและมุมมองในมิติต่างๆ มาพิจารณาอย่างรอบด้าน”   สำหรับแผนจำลองสถานการณ์ล่าสุดของเชลล์คือ “แบบจำลองเทือกเขา” (Mountains) และ “แบบจำลองมหาสมุทร” (Oceans) นั้น เรามีส่วนร่วมในการจำลองเหตุการณ์โลกอนาคตในสองรูปแบบ   • แบบจำลองเทือกเขา คาดการณ์ว่าโลกจะมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับปานกลาง แต่มีเสถียรภาพ โดยนโยบายรัฐบาลจะมีบทบาทหลักในการวางโครงสร้างระบบนิเวศพลังงานโลกและแนวทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดเมืองมีขนาดกระชับมากขึ้น (compact city) รวมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบเครือข่ายการคมนาคมขนส่ง การใช้ก๊าซธรรมชาติที่เป็นพลังงานสะอาดจะกลายเป็นพลังงานหลักของระบบนิเวศพลังงานโลก   • แบบจำลองมหาสมุทร คาดการณ์ถึงโลกที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น แต่ก็ผันผวนมากขึ้นด้วย รูปแบบแหล่งพลังงานของโลกจะพัฒนาไปตามปัจจัยตลาดและภาคประชาสังคม มากกว่านโยบายจากภาครัฐ การขยายตัวของพลังงานนิวเคลียร์และก๊าซธรรมชาตินอกทวีปอเมริกาเหนือเป็นไปอย่างจำกัด และภายในช่วงค.ศ. 2060 – 2069 (หรือพ.ศ. 2603 – 2612) พลังงานแสงอาทิตย์จะกลายเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ใหญ่ที่สุด   คุณมองอนาคตไว้อย่างไร มาร่วมแบ่งปันไอเดียกับเรา และค้นหาว่านักศึกษาไทยจะมองอนาคตของพวกเขาอย่างไรได้จากงานนิทรรศการ Make The Future Thailand ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 24 – 26 พฤศจิกายน 2560 ณ สยามดิสคัฟเวอรี่ และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.shell.co.th

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!