ยามาฮ่า ไรเดอร์ส คลับ รับรางวัลอาคารเขียว ประจำปี 2016


นายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด รับมอบรางวัล อาคารเขียว ประจำปี 2016 ระดับ Silver และใบประกาศเกียรติคุณจาก นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ (คนที่ 3 จากขวา) ประธานสถาบันอาคารเขียวไทย

นายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด รับมอบรางวัล อาคารเขียว ประจำปี 2016 ระดับ Silver และใบประกาศเกียรติคุณจาก นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ (คนที่ 3 จากขวา) ประธานสถาบันอาคารเขียวไทย

โดยรางวัลนี้มอบให้กับโชว์รูม Yamaha Riders’ club เกษตร-นวมินทร์ ที่ผ่านการตรวจประเมินอาคาร ตามมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ซึ่งยามาฮ่าตระหนัก และใส่ใจถึงปัญหาทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงเลือกสรรวัสดุที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งออกแบบอาคาร พร้อมจัดการระบบการบริหารอาคาร และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นอย่างดี จนผ่านการประเมินตามมาตรฐานดังกล่าว

สำหรับที่มาของโครงการนี้เป็นที่ตระหนักกันดีว่า วิกฤตการณ์ทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมโลก นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น แหล่งพลังงานทั้งถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันที่มีอยู่จำกัด แต่มีความต้องการที่จะผลิตพลังงานจากทรัพยากรเหล่านี้กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่รู้จบ ส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การพัฒนาพลังงานทดแทนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางพลังงานที่เพิ่มขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ การใช้พลังงานยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีผลกระทบทางสภาพแวดล้อม การใช้ถ่านหิน และน้ำมัน ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลจนกลายเป็นวิฤตการณ์โลกร้อนซึ่งถือเป็นภัยคุกคามมนุษย์ชาติในปัจจุบัน

ดังนั้นวิกฤตการณ์พลังงานยังมีความเกี่ยวเนื่อง และส่งผลต่อวิฤตการณ์สิ่งแวดล้อมไม่อาจแยกจากกันได้ อาคารถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาคารมีการบริโภคพลังงานอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นไปเพื่อ การปรับอากาศ การระบายอากาศ แสงสว่าง และอุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออาจกล่าวได้เป็นไปเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารนั่นเอง

นอกจากปัจจัยด้านพลังงานและคุณภาพชีวิตแล้ว อาคารยังมีผลกระทบทางตรงต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วน ทั้งในเรื่อง การทำลายธรรมชาติจากการแสวงหาวัสดุก่อสร้างมลภาวะ และขยะจากการก่อสร้าง และการใช้อาคาร มลภาวะจากน้ำเสียของอาคาร สารพิษ และสารก่อมะเร็งในอาคาร เป็นต้น

โดยการออกแบบอาคารต้องสามารถแก้ปัญหาทางสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม การบริหารจัดการ และ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมซึ่งนอกจากจะเป็นการปัญหาทางสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ยังต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารควบคู่กันจากวิกฤตการณ์ทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรง และซับซ้อนดังที่กล่าวมาแล้ว

ทางสถาบันอาคารเขียวไทยจึงได้จัดทำเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทยหรือ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ขึ้น ซึ่งทางสถาบันฯมุ่งหวังให้เกณฑ์นี้สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารได้อย่างครอบคลุม ในการออกแบบ และการบริหารจัดการมากขึ้นย่อมส่งผลให้อาคารมีแนวโน้มในการใช้พลังงานทีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และก่อมลภาวะลดลง ในขณะที่คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดย่อมส่งผลที่ต่อประเทศทั้งในแง่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวม และปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอาคารลดลง แต่ในทางกลับกัน คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ด้านหลักเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทย ประกอบด้วย 1.โครงการมีการออกแบบให้พื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ์ (Ecological Open Space) และพื้นที่สีเขียวซึ่งประกอบไปด้วย พืชพันธุ์พื้นถิ่น ที่ทนทานต่อสภาพอากาศ และสภาพภูมิประเทศ ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ดูแลรักษาง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ 2.การประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารโชว์รูมฯ ได้มากกว่า 9% เมื่อเทียบกับอาคารมาตรฐานทั่วไป 3.พลังงานทดแทนภายในอาคารโชว์รูมฯ มีการติดตั้งระบบ Solar cell เพื่อเป็นการลดการใช้ไฟฟ้า 4.สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ก๊อกน้ำภายในอาคารโชว์รูมฯ เป็นแบบประหยัดน้ำมากกว่าปกติ 40 % 5.ระบบปรับอากาศภายในอาคารโชว์รูม เลือกใช้สารทำความเย็นประเภท HFC-410a ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และ 6.การออกแบบระบบไฟแสงสว่างโดยทางโครงการเลือกโคมไฟประสิทธิภาพสูง และการกระจายแสงที่เหมาะสม ในส่วนของหลอดไฟโครงการเลือกเป็นแบบ LED ทั้งหมด

นายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด รับมอบรางวัล อาคารเขียว ประจำปี 2016 ระดับ Silver และใบประกาศเกียรติคุณจาก นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ (คนที่ 3 จากขวา) ประธานสถาบันอาคารเขียวไทย

นายประพันธ์ พลธนะวสิทธิ์ (คนที่ 3 จากซ้าย) รองประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้บริหารระดับสูง บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ จำกัด รับมอบรางวัล อาคารเขียว ประจำปี 2016 ระดับ Silver และใบประกาศเกียรติคุณจาก นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ (คนที่ 3 จากขวา) ประธานสถาบันอาคารเขียวไทย

โดยรางวัลนี้มอบให้กับโชว์รูม Yamaha Riders’ club เกษตร-นวมินทร์ ที่ผ่านการตรวจประเมินอาคาร ตามมาตรฐานเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ซึ่งยามาฮ่าตระหนัก และใส่ใจถึงปัญหาทางพลังงานและสิ่งแวดล้อม จึงเลือกสรรวัสดุที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งออกแบบอาคาร พร้อมจัดการระบบการบริหารอาคาร และปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นอย่างดี จนผ่านการประเมินตามมาตรฐานดังกล่าว

สำหรับที่มาของโครงการนี้เป็นที่ตระหนักกันดีว่า วิกฤตการณ์ทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมโลก นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น แหล่งพลังงานทั้งถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมันที่มีอยู่จำกัด แต่มีความต้องการที่จะผลิตพลังงานจากทรัพยากรเหล่านี้กลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างไม่รู้จบ ส่งผลให้ราคาพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่การพัฒนาพลังงานทดแทนยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการทางพลังงานที่เพิ่มขึ้นได้ในเวลาอันใกล้ การใช้พลังงานยังคงต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีผลกระทบทางสภาพแวดล้อม การใช้ถ่านหิน และน้ำมัน ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจกปริมาณมหาศาลจนกลายเป็นวิฤตการณ์โลกร้อนซึ่งถือเป็นภัยคุกคามมนุษย์ชาติในปัจจุบัน

ดังนั้นวิกฤตการณ์พลังงานยังมีความเกี่ยวเนื่อง และส่งผลต่อวิฤตการณ์สิ่งแวดล้อมไม่อาจแยกจากกันได้ อาคารถือได้ว่าเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากอาคารมีการบริโภคพลังงานอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นไปเพื่อ การปรับอากาศ การระบายอากาศ แสงสว่าง และอุปกรณ์ไฟฟ้า หรืออาจกล่าวได้เป็นไปเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้อาคารนั่นเอง

นอกจากปัจจัยด้านพลังงานและคุณภาพชีวิตแล้ว อาคารยังมีผลกระทบทางตรงต่อสิ่งแวดล้อมที่ต้องการการแก้ไขเร่งด่วน ทั้งในเรื่อง การทำลายธรรมชาติจากการแสวงหาวัสดุก่อสร้างมลภาวะ และขยะจากการก่อสร้าง และการใช้อาคาร มลภาวะจากน้ำเสียของอาคาร สารพิษ และสารก่อมะเร็งในอาคาร เป็นต้น

โดยการออกแบบอาคารต้องสามารถแก้ปัญหาทางสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม การบริหารจัดการ และ เทคโนโลยี ที่เหมาะสมซึ่งนอกจากจะเป็นการปัญหาทางสภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้ว ยังต้องสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารควบคู่กันจากวิกฤตการณ์ทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรง และซับซ้อนดังที่กล่าวมาแล้ว

ทางสถาบันอาคารเขียวไทยจึงได้จัดทำเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทยหรือ TREES (Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability) ขึ้น ซึ่งทางสถาบันฯมุ่งหวังให้เกณฑ์นี้สามารถแก้ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับอาคารได้อย่างครอบคลุม ในการออกแบบ และการบริหารจัดการมากขึ้นย่อมส่งผลให้อาคารมีแนวโน้มในการใช้พลังงานทีมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และก่อมลภาวะลดลง ในขณะที่คุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดย่อมส่งผลที่ต่อประเทศทั้งในแง่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานรวม และปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากอาคารลดลง แต่ในทางกลับกัน คุณภาพชีวิต และประสิทธิภาพการทำงานของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ด้านหลักเกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานทางสิ่งแวดล้อมไทย ประกอบด้วย 1.โครงการมีการออกแบบให้พื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ์ (Ecological Open Space) และพื้นที่สีเขียวซึ่งประกอบไปด้วย พืชพันธุ์พื้นถิ่น ที่ทนทานต่อสภาพอากาศ และสภาพภูมิประเทศ ทนทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ดูแลรักษาง่าย ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ 2.การประหยัดพลังงานที่ใช้ในอาคารโชว์รูมฯ ได้มากกว่า 9% เมื่อเทียบกับอาคารมาตรฐานทั่วไป 3.พลังงานทดแทนภายในอาคารโชว์รูมฯ มีการติดตั้งระบบ Solar cell เพื่อเป็นการลดการใช้ไฟฟ้า 4.สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ก๊อกน้ำภายในอาคารโชว์รูมฯ เป็นแบบประหยัดน้ำมากกว่าปกติ 40 % 5.ระบบปรับอากาศภายในอาคารโชว์รูม เลือกใช้สารทำความเย็นประเภท HFC-410a ไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และ 6.การออกแบบระบบไฟแสงสว่างโดยทางโครงการเลือกโคมไฟประสิทธิภาพสูง และการกระจายแสงที่เหมาะสม ในส่วนของหลอดไฟโครงการเลือกเป็นแบบ LED ทั้งหมด

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!