วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist”


มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุทัต บุญประมุข รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ นายศุภชัย สินสุวรรณรักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์ โตโยต้า และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในการดำเนินโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรอบรู้ในด้านเทคโนโลยียานยนต์และแนวคิดการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า “ทุกวันนี้ เทคโนโลยียานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เช่นเดียวกับโตโยต้าที่เรายังคงผลักดันตัวเองอยู่เสมอในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่ดียิ่งขึ้นสำหรับลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 56 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้ายังได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นองค์กรต้นแบบในด้านปรัชญาการบริหารจัดการด้วย “วิถีโตโยต้า (Toyota Way)” และ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System)” ซึ่งทั้งสององค์ความรู้นี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าเพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถและทักษะด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนสามารถทำงานในโลกของเทคโนโลยีและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2541สำหรับนักศึกษาระดับ ปวส. ในสาขาเทคนิคยานยนต์ สาขาธุรกิจการบริการยานยนต์ และสาขาเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพให้กับศูนย์บริการของผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ โดยฝึกสอนให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ของโตโยต้า เสริมด้วยความรู้ด้านการบริหารจัดการแบบโตโยต้า เพื่อให้มีทักษะกระบวนความคิดและการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีนักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้ารวมทั้งสิ้นกว่า 3,700 คน สร้างบุคลากรสายอาชีพช่างเทคนิคยานยนต์จำนวนมากให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในอีกด้านหนึ่ง โตโยต้าเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “CASE” ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ โดยคำว่า “CASE” นั้น ย่อมาจาก Connected (การเชื่อมต่อ), Autonomous (อิสระ), Sharing (การแบ่งปัน) และ Electrification (พลังงานไฟฟ้า) อันจะก่อให้เกิดการปฏิวัติธุรกิจยานยนต์ควบคู่ไปกับการที่ผู้แข่งขันรายใหม่ๆ จะมีความได้เปรียบจากบรรดาเทคโนโลยีเหล่านั้น ในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายนี้ โตโยต้าจึงพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นมากกว่าบริษัทผลิตรถยนต์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทแห่งการขับเคลื่อน

ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยทักษะความชำนาญ เพื่อสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายเหล่านี้ได้ ประกอบกับการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาด้านเทคโนโลยีก้าวสู่การสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น เราจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะการทำงานที่สูงยิ่งขึ้น และเป็นเหตุผลที่นำมาสู่ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยียานยนต์ ภายใต้ชื่อโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทางวิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางเทคนิค ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เน้นการทำงานอย่างเป็นทีมเวิร์คและให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน”

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะเป็นการร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดทำภาควิชาในหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรถยนต์โตโยต้า โดยมีคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แบบ “All in one Engineer” อันได้แก่การเป็นวิศวกร ช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นผู้บริหารด้านเทคโนโลยียานยนต์

สำหรับโครงสร้างหลักสูตรภายใต้โครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” จะมีระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี (รวมทั้งสิ้น 142 หน่วยกิต) โดยระยะเวลาการเรียนในช่วง 2 ปีแรก จะดำเนินการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า (จำนวน 56 หน่วยกิต) มีเนื้อหารายวิชาสอดคล้องตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พร้อมเสริมด้วยวิชาความรู้ด้านระบบเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า

ในส่วนของระยะเวลาการเรียนในช่วง 2 ปีหลัง จะดำเนินการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (จำนวน 63 หน่วยกิต) มีเนื้อหารายวิชาสอดคล้องตามมาตรฐานหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงรายวิชาด้านระบบไฟฟ้า ระบบ AI (Artificial Intelligence) และระบบ ICT (Information Connected Technology) ควบคู่ไปกับ

การดำเนินการเรียนการสอนที่สถาบันเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า (จำนวน 23 หน่วยกิต) โดยมีเนื้อหารายวิชาด้านหลักการวิเคราะห์ปัญหาเทคนิค (Technical Problem Analysis) หลักการวิเคราะห์ปัญหาด้านเสียง การสั่นสะเทือน ความผิดปกติของรถยนต์ (Noise Vibration Harshness) เรียนรู้การทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ (Vehicle Evaluation) หลักการบริหารจัดการแบบโตโยต้า (Toyota Way, Toyota Production System, Toyota Best Practice) ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานจริงในฝ่ายบริการด้านเทคนิค (Technical Service) ฝ่ายประกันคุณภาพ (Quality Control) และ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด อีกด้วย โดยหลักสูตรภายใต้โครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” จะเริ่มดำเนินการเรียนการสอนในเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสสำคัญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ซึ่งจะมีส่วนช่วยเราในการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นบริษัทแห่งการขับเคลื่อน ทั้งนี้โตโยต้ามีความมุ่งมั่นที่จะนำความสุขมาสู่สังคมไทยโดยการสร้างสรรค์ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน (MOBILITY FOR ALL)” เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งมั่นของเรา เราเชื่อว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรภายโครงการ “Mobility Technologist” ทุกคน จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันการพัฒนาของประเทศ ตลอดจนสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน” มร.ซึงาตะ กล่าวในที่สุด

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาณุทัต บุญประมุข รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ นายศุภชัย สินสุวรรณรักษณ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ร่วมในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์ โตโยต้า และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในการดำเนินโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรอบรู้ในด้านเทคโนโลยียานยนต์และแนวคิดการบริหารการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า “ทุกวันนี้ เทคโนโลยียานยนต์มีการเปลี่ยนแปลงที่รุดหน้าอย่างรวดเร็วตลอดเวลา เช่นเดียวกับโตโยต้าที่เรายังคงผลักดันตัวเองอยู่เสมอในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่ดียิ่งขึ้นสำหรับลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลา 56 ปี ของการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โตโยต้ายังได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นองค์กรต้นแบบในด้านปรัชญาการบริหารจัดการด้วย “วิถีโตโยต้า (Toyota Way)” และ “ระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System)” ซึ่งทั้งสององค์ความรู้นี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าเพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถและทักษะด้านการบริหารจัดการ ตลอดจนสามารถทำงานในโลกของเทคโนโลยีและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า เริ่มเปิดดำเนินการเรียนการสอนมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2541สำหรับนักศึกษาระดับ ปวส. ในสาขาเทคนิคยานยนต์ สาขาธุรกิจการบริการยานยนต์ และสาขาเทคนิคซ่อมตัวถังและสีรถยนต์ เพื่อผลิตบุคลากรคุณภาพให้กับศูนย์บริการของผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าทั่วประเทศ โดยฝึกสอนให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยียานยนต์ของโตโยต้า เสริมด้วยความรู้ด้านการบริหารจัดการแบบโตโยต้า เพื่อให้มีทักษะกระบวนความคิดและการจัดการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันมีนักศึกษาที่จบจากวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้ารวมทั้งสิ้นกว่า 3,700 คน สร้างบุคลากรสายอาชีพช่างเทคนิคยานยนต์จำนวนมากให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย

มร.มิจิโนบุ ซึงาตะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในอีกด้านหนึ่ง โตโยต้าเองก็กำลังเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เรียกว่า “CASE” ซึ่งถือว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ โดยคำว่า “CASE” นั้น ย่อมาจาก Connected (การเชื่อมต่อ), Autonomous (อิสระ), Sharing (การแบ่งปัน) และ Electrification (พลังงานไฟฟ้า) อันจะก่อให้เกิดการปฏิวัติธุรกิจยานยนต์ควบคู่ไปกับการที่ผู้แข่งขันรายใหม่ๆ จะมีความได้เปรียบจากบรรดาเทคโนโลยีเหล่านั้น ในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายนี้ โตโยต้าจึงพยายามที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นมากกว่าบริษัทผลิตรถยนต์ เพื่อมุ่งสู่การเป็นบริษัทแห่งการขับเคลื่อน

ด้วยเหตุนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่เปี่ยมไปด้วยทักษะความชำนาญ เพื่อสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายเหล่านี้ได้ ประกอบกับการที่รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้นักศึกษาในสาขาด้านเทคโนโลยีก้าวสู่การสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีเพิ่มมากขึ้น เราจึงตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะการทำงานที่สูงยิ่งขึ้น และเป็นเหตุผลที่นำมาสู่ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อพัฒนาหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเทคโนโลยียานยนต์ ภายใต้ชื่อโครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ที่เพียบพร้อมไปด้วยความรู้ทางวิชาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางเทคนิค ความสามารถในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง เน้นการทำงานอย่างเป็นทีมเวิร์คและให้เกียรติเพื่อนร่วมงานทุกคน”

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้าและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะเป็นการร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดทำภาควิชาในหลักสูตรเฉพาะทางเพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านรถยนต์โตโยต้า โดยมีคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แบบ “All in one Engineer” อันได้แก่การเป็นวิศวกร ช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นผู้บริหารด้านเทคโนโลยียานยนต์

สำหรับโครงสร้างหลักสูตรภายใต้โครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” จะมีระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี (รวมทั้งสิ้น 142 หน่วยกิต) โดยระยะเวลาการเรียนในช่วง 2 ปีแรก จะดำเนินการเรียนการสอน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า (จำนวน 56 หน่วยกิต) มีเนื้อหารายวิชาสอดคล้องตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา พร้อมเสริมด้วยวิชาความรู้ด้านระบบเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า

ในส่วนของระยะเวลาการเรียนในช่วง 2 ปีหลัง จะดำเนินการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี (จำนวน 63 หน่วยกิต) มีเนื้อหารายวิชาสอดคล้องตามมาตรฐานหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมถึงรายวิชาด้านระบบไฟฟ้า ระบบ AI (Artificial Intelligence) และระบบ ICT (Information Connected Technology) ควบคู่ไปกับ

การดำเนินการเรียนการสอนที่สถาบันเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า (จำนวน 23 หน่วยกิต) โดยมีเนื้อหารายวิชาด้านหลักการวิเคราะห์ปัญหาเทคนิค (Technical Problem Analysis) หลักการวิเคราะห์ปัญหาด้านเสียง การสั่นสะเทือน ความผิดปกติของรถยนต์ (Noise Vibration Harshness) เรียนรู้การทดสอบสมรรถนะของรถยนต์ (Vehicle Evaluation) หลักการบริหารจัดการแบบโตโยต้า (Toyota Way, Toyota Production System, Toyota Best Practice) ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานจริงในฝ่ายบริการด้านเทคนิค (Technical Service) ฝ่ายประกันคุณภาพ (Quality Control) และ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด อีกด้วย โดยหลักสูตรภายใต้โครงการ “พัฒนาบุคลากรเชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ Mobility Technologist” จะเริ่มดำเนินการเรียนการสอนในเดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นไป

“เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับโอกาสสำคัญจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ซึ่งจะมีส่วนช่วยเราในการพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นบริษัทแห่งการขับเคลื่อน ทั้งนี้โตโยต้ามีความมุ่งมั่นที่จะนำความสุขมาสู่สังคมไทยโดยการสร้างสรรค์ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน (MOBILITY FOR ALL)” เพื่อให้บรรลุถึงความมุ่งมั่นของเรา เราเชื่อว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรภายโครงการ “Mobility Technologist” ทุกคน จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยผลักดันการพัฒนาของประเทศ ตลอดจนสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน” มร.ซึงาตะ กล่าวในที่สุด

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!