วิศวฯ จุฬาฯ กับ HITACHI ENERGY ลงนาม MOU สนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน


วันที่ 21 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ Country Managing Director บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนาม “ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี ” ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย เตชัสอนันต์ รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและศิษย์เก่า รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านวิจัยและการสร้างผลกระทบต่อสังคม และ ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมในพิธี

ซึ่งการลงนามในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในการที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การวิจัยพัฒนา และการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ให้กับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับพลังงานในปัจจุบันและอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางพลังงาน (Energy Transition) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ไมโครกริด (Microgrid) ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่(BESS) การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (e-Mobility) ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) และอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Energy Future) ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถด้านพลังงานของประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรผู้มีความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้ในระยะยาว

พร้อมกันนี้ทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนใจเข้าฝึกงานที่บริษัทประจำปี 2565 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 280 ชั่วโมง เข้าร่วมในโครงการ Supporting Apprentice Students Program กับทางบริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย ซึ่งทางบริษัทพร้อมเปิดโอกาสให้นิสิตทุกคน ร่วมแสดงความคิดเห็นและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวทางการประสานความหลากหลาย ผสานการทำงานร่วมกัน เพื่อนำมาซึ่งนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม โดยตลอดการฝึกงานนิสิตทุกคนจะมีผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้คำแนะนำในแต่ละขอบเขตงานที่เลือก เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะอย่างสูงสุดจากผู้เชี่ยวชาญ และเพิ่มประสิทธิผลระหว่างการฝึกงานอย่างเต็มที่ ก่อนสิ้นสุดโครงการทางบริษัทมีระบบประเมินผล รวมถึงระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม เพื่อวัดทัศนคติ ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกงานของโครงการ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีกลุ่มเทคโนโลยีให้นิสิตได้เลือกฝึกงานตามความสนใจ 14 กลุ่ม ประกอบด้วย

1) Grid Edge Solutions with e-mesh™

2) Grid-eMotion™ Charging solutions for E-mobility

3) Hydrogen Energy

4) Power Quality

5) Digitalization & Cybersecurity

6) Asset & Work Management with Lumada

7) Energy Planning & Trading

8) EconiQ™ eco-efficient portfolio for sustainability

9) FACTS (Flexible Alternating Current Transmission Systems) technologies

10) HVDC (high-voltage direct current)

11) Smart Grid & Digital Substations & Electrification

12) Power Transformers with TXpert™ Ecosystem

13) Substation Automation, Protection & Control and SCADA

14) High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer, Surge Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยและทางบริษัท จะได้มีโอกาสร่วมกันกำหนดรูปแบบ ลักษณะของการให้การสนับสนุนทางการศึกษา การทำโครงงาน และการฝึกงานให้แก่นิสิตนักศึกษา เช่น การฝึกงานในโครงการ Supporting Apprentice Students Program การอบรมสัมมนา การวิจัย การสนับสนุนอุปกรณ์ Hardware และสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนของโครงงานของนักศึกษาทั้งในระดับระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย สำหรับบันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในข้อตกลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันขยายระยะเวลาความร่วมมือออกไปได้ตามความเห็นชอบร่วมกันในอนาคต

วันที่ 21 มีนาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดร.วรวุฒิ วรุตตมพรสุ Country Managing Director บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ลงนาม “ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี ” ณ ห้องประชุมสวนรวมใจ 2 ตึก 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย เตชัสอนันต์ รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและศิษย์เก่า รองศาสตราจารย์ ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล รองหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ด้านวิจัยและการสร้างผลกระทบต่อสังคม และ ดร.ประดิษฐพงษ์ สุขสิริถาวรกุล Director & Vice President บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมในพิธี

ซึ่งการลงนามในครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ในการที่จะสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การวิจัยพัฒนา และการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี ให้กับนิสิต นักศึกษา และคณาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ในประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับพลังงานในปัจจุบันและอนาคต อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางพลังงาน (Energy Transition) ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ไมโครกริด (Microgrid) ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่(BESS) การขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า (e-Mobility) ไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen) และอนาคตทางพลังงานที่ยั่งยืน (Sustainable Energy Future) ทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสและยกระดับมาตรฐานการศึกษา พัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถด้านพลังงานของประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรผู้มีความรู้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับประเทศได้ในระยะยาว

พร้อมกันนี้ทางภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ส่งนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สนใจเข้าฝึกงานที่บริษัทประจำปี 2565 เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 280 ชั่วโมง เข้าร่วมในโครงการ Supporting Apprentice Students Program กับทางบริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด อีกด้วย ซึ่งทางบริษัทพร้อมเปิดโอกาสให้นิสิตทุกคน ร่วมแสดงความคิดเห็นและพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยแนวทางการประสานความหลากหลาย ผสานการทำงานร่วมกัน เพื่อนำมาซึ่งนวัตกรรมที่ยอดเยี่ยม โดยตลอดการฝึกงานนิสิตทุกคนจะมีผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้คำแนะนำในแต่ละขอบเขตงานที่เลือก เพื่อให้ได้รับความรู้ทักษะอย่างสูงสุดจากผู้เชี่ยวชาญ และเพิ่มประสิทธิผลระหว่างการฝึกงานอย่างเต็มที่ ก่อนสิ้นสุดโครงการทางบริษัทมีระบบประเมินผล รวมถึงระบบการสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม เพื่อวัดทัศนคติ ความรู้ ทักษะที่ได้รับจากการฝึกงานของโครงการ บริษัท ฮิตาชิ เอนเนอร์ยี่ (ประเทศไทย) จำกัด มีกลุ่มเทคโนโลยีให้นิสิตได้เลือกฝึกงานตามความสนใจ 14 กลุ่ม ประกอบด้วย

1) Grid Edge Solutions with e-mesh™

2) Grid-eMotion™ Charging solutions for E-mobility

3) Hydrogen Energy

4) Power Quality

5) Digitalization & Cybersecurity

6) Asset & Work Management with Lumada

7) Energy Planning & Trading

8) EconiQ™ eco-efficient portfolio for sustainability

9) FACTS (Flexible Alternating Current Transmission Systems) technologies

10) HVDC (high-voltage direct current)

11) Smart Grid & Digital Substations & Electrification

12) Power Transformers with TXpert™ Ecosystem

13) Substation Automation, Protection & Control and SCADA

14) High Voltage Switchgear & Breakers, Instrument Transformer, Surge Arrester, Capacitor & Filters and Generator Circuit Breakers

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการสนับสนุนการศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีในครั้งนี้ทางมหาวิทยาลัยและทางบริษัท จะได้มีโอกาสร่วมกันกำหนดรูปแบบ ลักษณะของการให้การสนับสนุนทางการศึกษา การทำโครงงาน และการฝึกงานให้แก่นิสิตนักศึกษา เช่น การฝึกงานในโครงการ Supporting Apprentice Students Program การอบรมสัมมนา การวิจัย การสนับสนุนอุปกรณ์ Hardware และสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางส่วนของโครงงานของนักศึกษาทั้งในระดับระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย สำหรับบันทึกข้อตกลงนี้มีระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามในข้อตกลง ซึ่งทั้งสองฝ่ายอาจตกลงกันขยายระยะเวลาความร่วมมือออกไปได้ตามความเห็นชอบร่วมกันในอนาคต

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!