สถาบันยานยนต์ จัดทำสรุปข้อมูลปริมาณการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563


“ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่” โดย สถาบันยานยนต์ จัดทำสรุปข้อมูลปริมาณการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และปริมาณการผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์สะสม ปี 2563 สรุปปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าของอุตสาหกรรมยานยานยนต์ รวมถึงยอดปริมาณการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์­­ 2563

Auto Key Insight ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จัดทำโดย ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ปริมาณการผลิตรถยนต์ ลดลง 18% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก และมีปริมาณการผลิตลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นรถ PPV โดยตลาดรถยนต์ในประเทศลดลง 17% จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลกับสถานการณ์แพร่ระบาดที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไว้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยมีปริมาณรถยนต์จดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ที่เป็นรถ BEV 194 คัน เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 184 คัน และรถแท็กซี่ 10 คัน เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีปริมาณการจดทะเบียนเพียง 4 คัน ในขณะที่รถ HEV และ PHEV มีปริมาณจดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) 2,858 คัน เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการเปิดตัวรถ xEV รุ่นใหม่ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา

ตลาดส่งออก ลดลง 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว โดยปริมาณการส่งออกลดลงในทุกตลาดยกเว้น ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา คิดเป็นสัดส่วนรวม 35% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ซึ่งหากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่า รถ PPV มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกที่เพิ่มขั้นในทุกตลาดยกเว้น ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ส่งผลให้การส่งออกมีมูลค่า 1,375 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7% สอดคล้องกับปริมาณการส่งออกที่ลดลง

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยผลิตรถจักรยานยนต์ ค่อนข้างใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยลดลง 0.04% หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์พบว่า การผลิตรถจักรยานยนต์ Commuter และ รถจักรยานยนต์ Sport ขนาดมากกว่า 400 ซีซี เพิ่มขึ้น 1% และ 14% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ Sport ขนาดต่ำกว่า 150 ซีซี และรถจักรยานยนต์ Sport ขนาด 150 – 399 ซีซี ลดลง 28% และ 18% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ

ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศ ลดลง 4% เป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สภาวะเศรษฐกิจถดถอย และภัยแล้ง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้ซื้อจักรยานยนต์เพื่อใช้งานในกลุ่มรถจักรยานยนต์ขนาดต่ำกว่า 125 ซีซี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดของตลาด (75% ของปริมาณการจำหน่าย) ลดลง 8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่ารถกลุ่มอื่นๆ จะมีอัตราเติบโตเป็นบวกก็ตาม โดยปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 125-250 ซีซี ขนาด 251 – 399 ซีซี และ ขนาดมากกว่า 400 ซีซี เติบโต 4% 30% และ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ประเภท xEV จำนวน 309 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ BEV 83 คัน เพิ่มขึ้นกว่า 30% จากปีก่อนหน้า เป็นผลต่อเนื่องจาก การขยายตลาดของผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายหนึ่งไปยังหลายจังหวัดของประเทศไทย ในขณะที่รถ HEV มีปริมาณการจดทะเบียน 226 คัน ลดลงกว่า 32% เนื่องจากยังเป็นการจำหน่ายรถรุ่นเดิมตั้งแต่ต้นปี 2562

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ลดลง 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน ทำให้ความต้องการรถจักรยานยนต์ในตลาดโลกลดลง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 31% จากการส่งออกจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 500 ซีซี ขึ้นไป ไปยัง เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร และจีน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง

ระบบสัญญาณเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Early Warning System)

อุปสงค์ต่างประเทศ ส่งสัญญาณเตือนจากดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลีย ในขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคอเมริกายังคงส่งสัญญาณปกติ แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีความรุนแรงมากจนสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในโลก

อุปสงค์ในประเทศ ส่งสัญญาณเตือนจากดัชนีราคาสินค้าเกษตร และดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจไทยที่ส่งสัญญาณเตือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19

อุปทาน มูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยกลับมาส่งสัญญาณเตือนภัยเนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนลดลง สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มที่จะลดลง

“ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่” โดย สถาบันยานยนต์ จัดทำสรุปข้อมูลปริมาณการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และปริมาณการผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์สะสม ปี 2563 สรุปปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต ระบบการเตือนภัยล่วงหน้าของอุตสาหกรรมยานยานยนต์ รวมถึงยอดปริมาณการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าประจำเดือนกุมภาพันธ์­­ 2563

Auto Key Insight ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563 จัดทำโดย ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

การผลิตรถยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ปริมาณการผลิตรถยนต์ ลดลง 18% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก และมีปริมาณการผลิตลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นรถ PPV โดยตลาดรถยนต์ในประเทศลดลง 17% จากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคเกิดความกังวลกับสถานการณ์แพร่ระบาดที่อาจรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นไว้

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยมีปริมาณรถยนต์จดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) ที่เป็นรถ BEV 194 คัน เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 184 คัน และรถแท็กซี่ 10 คัน เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ที่มีปริมาณการจดทะเบียนเพียง 4 คัน ในขณะที่รถ HEV และ PHEV มีปริมาณจดทะเบียนใหม่ (ป้ายแดง) 2,858 คัน เพิ่มขึ้น 27% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการเปิดตัวรถ xEV รุ่นใหม่ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา

ตลาดส่งออก ลดลง 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว โดยปริมาณการส่งออกลดลงในทุกตลาดยกเว้น ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา คิดเป็นสัดส่วนรวม 35% ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ซึ่งหากพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่า รถ PPV มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกที่เพิ่มขั้นในทุกตลาดยกเว้น ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ส่งผลให้การส่งออกมีมูลค่า 1,375 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7% สอดคล้องกับปริมาณการส่งออกที่ลดลง

การผลิตรถจักรยานยนต์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศไทยผลิตรถจักรยานยนต์ ค่อนข้างใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยลดลง 0.04% หากพิจารณารายผลิตภัณฑ์พบว่า การผลิตรถจักรยานยนต์ Commuter และ รถจักรยานยนต์ Sport ขนาดมากกว่า 400 ซีซี เพิ่มขึ้น 1% และ 14% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ ในขณะที่ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ Sport ขนาดต่ำกว่า 150 ซีซี และรถจักรยานยนต์ Sport ขนาด 150 – 399 ซีซี ลดลง 28% และ 18% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ

ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศ ลดลง 4% เป็นผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สภาวะเศรษฐกิจถดถอย และภัยแล้ง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้ซื้อจักรยานยนต์เพื่อใช้งานในกลุ่มรถจักรยานยนต์ขนาดต่ำกว่า 125 ซีซี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนมากที่สุดของตลาด (75% ของปริมาณการจำหน่าย) ลดลง 8% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ถึงแม้ว่ารถกลุ่มอื่นๆ จะมีอัตราเติบโตเป็นบวกก็ตาม โดยปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ขนาด 125-250 ซีซี ขนาด 251 – 399 ซีซี และ ขนาดมากกว่า 400 ซีซี เติบโต 4% 30% และ 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าตามลำดับ

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีปริมาณจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ใหม่ (ป้ายแดง) ประเภท xEV จำนวน 309 คัน เป็นรถจักรยานยนต์ BEV 83 คัน เพิ่มขึ้นกว่า 30% จากปีก่อนหน้า เป็นผลต่อเนื่องจาก การขยายตลาดของผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ารายหนึ่งไปยังหลายจังหวัดของประเทศไทย ในขณะที่รถ HEV มีปริมาณการจดทะเบียน 226 คัน ลดลงกว่า 32% เนื่องจากยังเป็นการจำหน่ายรถรุ่นเดิมตั้งแต่ต้นปี 2562

การส่งออกรถจักรยานยนต์ ลดลง 5% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะงักงัน ทำให้ความต้องการรถจักรยานยนต์ในตลาดโลกลดลง ในขณะที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 31% จากการส่งออกจักรยานยนต์ขนาดมากกว่า 500 ซีซี ขึ้นไป ไปยัง เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร และจีน เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง

ระบบสัญญาณเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Early Warning System)

อุปสงค์ต่างประเทศ ส่งสัญญาณเตือนจากดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลีย ในขณะที่ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคอเมริกายังคงส่งสัญญาณปกติ แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องเฝ้าระวังเนื่องจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีความรุนแรงมากจนสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงที่สุดในโลก

อุปสงค์ในประเทศ ส่งสัญญาณเตือนจากดัชนีราคาสินค้าเกษตร และดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจไทยที่ส่งสัญญาณเตือนติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 จากสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากสถานการณ์ไวรัส COVID-19

อุปทาน มูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ในไทยกลับมาส่งสัญญาณเตือนภัยเนื่องจากการนำเข้าชิ้นส่วนลดลง สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่มีแนวโน้มที่จะลดลง

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!