อโกด้า เผยผลสำรวจความคิดเห็นนักท่องเที่ยวทั่วโลกเกี่ยวกับมุมมองด้านการท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อม ผ่านรายงาน เทรนด์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2021


กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 4 มิถุนายน 2564 – ผลสำรวจในหัวข้อ เทรนด์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2021 ซึ่งจัดทำโดยอโกด้า รายงานว่า 1.) ระบุตัวเลือกการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่าย 2.) จำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 3.) เสนอสิ่งจูงใจทางการเงินแก่ผู้ให้บริการที่พักที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือสามมาตรการเสริมที่นักท่องเที่ยวลงความเห็นว่าน่าจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีมาตรการอย่าง 4.) สร้างพื้นที่คุ้มครองให้มากขึ้นเพื่อจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และ 5.) เลิกใช้ผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกในห้องพัก และห้องน้ำแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นมาตรการที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุดตามลำดับ

การสำรวจถูกจัดทำขึ้นเพื่อฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี โดยผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อมที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ 1.) การท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ 2.) มลพิษและสิ่งปฏิกูลตามชายหาดและแหล่งน้ำ และ 3.) การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้น้ำ และไฟเกินความจำเป็น

ภาครัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนมากขึ้น

นักท่องเที่ยวผู้ตอบแบบสำรวจลงความเห็นตรงกันทั่วโลกว่า เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ (#1) ในการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวย่างยั่งยืน ต่อมาคือหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (#2) และตัวนักท่องเที่ยวเอง (#3) โดยผู้ตอบแบบสำรวจในอินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร (36%) จีน (33%) ออสเตรเลีย (28%) และมาเลเซีย (27%) ลงความเห็นว่าภาครัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวชาวไทย (30%) ญี่ปุ่น (29%) และสหรัฐอเมริกา (28%) มองว่าความรับผิดชอบนั้นควรเริ่มต้นจากตัวนักท่องเที่ยวเองในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวชาวจีน (11%) สหราชอาณาจักร (13%) และเวียดนาม (14%)

และเมื่อถามนักท่องเที่ยวว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น นักท่องเที่ยวจะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้นอย่างไร คำตอบของนักท่องเที่ยว โดยเรียงตามลำดับตามความนิยม มีดังนี้ 1.) จะจัดการขยะของตนเอง รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการใช้ถพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 2.) จะปิดแอร์ และไฟเมื่อออกจากห้องพัก และ 3.) จะเลือกใช้บริการที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า แม้การท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ จะเป็นเรื่องที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ แต่การไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม กลับอยู่ในอันดับที่ 7 จาก 10 ในสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะทำ

ไม่มีความหมายตายตัวในด้านความยั่งยืน

แนวทางปฏิบัติที่นักท่องเที่ยวมองว่าสัมพันธ์กับการเดินทางอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือยั่งยืนมากที่สุด คือ 1.) พลังงาน และทรัพยากรหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และน้ำ 2.) ไม่ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และ 3.) การอนุรักษ์สัตว์ และการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้น้อยลง

วิธีอื่น ๆ ในการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้คีย์การ์ด หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ ก็เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ แต่น่าสังเกตว่าการซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การใช้ผ้าปูที่นอน หรือผ้าเช็ดตัวซ้ำระหว่างท่องเที่ยว และการไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เป็นแนวทางปฏิบัติที่อยู่ใน 3 อันดับสุดท้าย จาก 10 แนวทางปฏิบัติยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางอย่างยั่งยืนมากที่สุด

คุณจอห์น บราวน์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, อโกด้า กล่าวว่า

“เราสามารถเห็นได้จากผลการสำรวจเทรนด์การเดินทางอย่างยั่งยืนของอโกด้าว่า ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการทำตามวิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมง่าย ๆ อย่างการปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศเมื่อออกจากห้องพัก และการลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง อีกสิ่งหนึ่งเราเห็นได้อย่างชัดเจนคือทั่วโลกมองว่ารัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการบริหารจัดการการเดินทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ตระหนักว่าความรับผิดชอบบางอย่างในเรื่องนี้นั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของตนเองเช่นกัน”

“ถึงแม้การตีความแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือยั่งยืนแตกต่างกันออกไป กระนั้นคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็กระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่ตัวเอง โดยสัญญาว่าจะเลือกที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้รอบคอบมากขึ้นเมื่อเดินทาง หนึ่งในวิธีรับมือความกังวลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ที่ง่ายที่สุด คือการลองไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการเดินทางของผู้คน พวกเขาไปท่องเที่ยวที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากถูกจำกัดให้เดินทางได้แค่ภายในประเทศ ซึ่งเรามองว่า หากได้รับการบริหารจัดการที่ดี จะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการโรงแรมอิสระ และผู้ให้บริการที่พักที่ต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นการลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้อีกด้วย”

“ในฐานะที่อโกด้าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เราจำเป็นต้องหาวิธีอย่างต่อเนื่องที่จะช่วยให้ผู้คนทำตามเป้าหมายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำให้คนค้นหาที่พักที่ยั่งยืนบนอโกด้าได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ใช้คีย์การ์ดจ่ายไฟในห้องพักมากขึ้น การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน หรือนำการชดเชยคาร์บอนมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้คนเวลาซื้อผลิตภัณฑ์/บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว” คุณจอห์น กล่าวเสริม

โควิดส่งผลกระทบเชิงลบต่อทัศนคติต่อการเดินทางอย่างยั่งยืน

ความปรารถนาที่จะการเดินทางอย่างยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น แพร่หลายมากที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจากเกาหลีใต้ (35%) อินเดีย (31%) และไต้หวัน (31%) อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตัวเลขสำหรับทั่วโลก ขณะที่ผู้คน 25% ปรารถนาจะเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น ผู้คนอีก 35% กลับมีความปรารถนาเดียวกันลดลง โดยประเทศที่มีสัดส่วนความปรารถนานี้ลดลงมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย (56%) ไทย (51%) และฟิลิปปินส์ (50%)

“เป็นที่น่ากังวลว่าตอนนี้หลาย ๆ คนมองการเดินทางอย่างยั่งยืนสำคัญน้อยลงกว่าที่พวกเขาเคยในตอนก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น แต่ผมหวังว่านี่จะเป็นเพียงผลกระทบเชิงลบในระยะสั้น ซึ่งขับเคลื่อนโดยความกระหายที่จะท่องเที่ยว และเดินทางอย่างไรก็ได้ที่พวกเขาทำได้” คุณจอห์น สรุป

ประเทศไทย:

• คนไทยส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

• 30% ของคนไทยเชื่อว่า ตัวเองมีความรับผิดชอบมากที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามมาด้วยหน่วยงานการท่องเที่ยว (25%) และภาครัฐ (24%)

• คนไทยส่วนใหญ่สัญญาว่า เมื่อไปท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น พวกเขาจะจัดการขยะของตนเองระหว่างการท่องเที่ยว โดยใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งให้น้อยลง (53%) มองหาที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ (37%) และปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงไฟเวลาออกจากห้องพัก (31%)

• แนวทางปฏิบัติที่คนไทยถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางอย่างยั่งยืนมากที่สุด ได้แก่ การที่ที่พักใช้พลังงาน หรือแหล่งน้ำหมุนเวียน (31%) การใช้ผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (20%) และการใช้คีย์การ์ดจ่ายไฟในห้องพัก (15%)

• เมื่อถูกถามว่า มีแนวทางปฏิบัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนบ้าง คนไทย 47% ตอบการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน 41% ตอบการอนุรักษ์สัตว์ และ 35% ตอบการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ

• มาตรการเพิ่มเติมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากขึ้น คือระบุตัวเลือกการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน/เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่าย เสนอสิ่งจูงใจทางการเงินแก่ผู้ให้บริการที่พักที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานถึงขีดสุด และจำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งของสายการบินหรือในที่พัก

เกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง

ตัวเลขทั้งหมดมาจาก YouGov Singapore PTE Limited เว้นแต่จะระบุไว้ว่ามาจากที่อื่น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือผู้ใหญ่ 18,327 คน จาก 14 ประเทศ/เขตปกครองตนเอง งานภาคสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 10–28 พฤษภาคม 2564 การสำรวจดำเนินการทางออนไลน์ ตัวเลขดังกล่าวได้รับการถ่วงน้ำหนัก และเป็นตัวแทนของผู้ใหญ่ในแต่ละประเทศ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) สามารถดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละประเทศ/เขตปกครองตนเองได้ที่ Agoda Press Room

เกี่ยวกับ อโกด้า

อโกด้า เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 และเติบโตกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการเดินทาง ที่ขยายธุรกิจไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว อโกด้าให้บริการที่พักกว่า 2.5 ล้านแห่ง ในกว่า 200 ประเทศ โดยนำเสนอที่พักหลากหลาย เหมาะต่อการเดินทางทุกรูปแบบ และทุกงบประมาณ เช่น โรงแรมหรูหรา โรงแรมราคาประหยัด อพาร์ตเมนต์ บ้านพักส่วนตัว และวิลลา ในปี 2562 อโกด้าได้เพิ่มบริการจองเที่ยวบิน และแพ็กเกจเที่ยวบินพร้อมที่พัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้มากยิ่งขึ้น

อโกด้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Booking Holdings (Nasdaq: BKNG) มีพนักงานกว่า 4,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลก เว็บไซต์ agoda.com และแอปพลิเคชันอโกด้า มีให้บริการในภาษาต่าง ๆ 39 ภาษา

กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 4 มิถุนายน 2564 – ผลสำรวจในหัวข้อ เทรนด์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 2021 ซึ่งจัดทำโดยอโกด้า รายงานว่า 1.) ระบุตัวเลือกการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่าย 2.) จำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 3.) เสนอสิ่งจูงใจทางการเงินแก่ผู้ให้บริการที่พักที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือสามมาตรการเสริมที่นักท่องเที่ยวลงความเห็นว่าน่าจะส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีมาตรการอย่าง 4.) สร้างพื้นที่คุ้มครองให้มากขึ้นเพื่อจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว และ 5.) เลิกใช้ผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกในห้องพัก และห้องน้ำแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นมาตรการที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุดตามลำดับ

การสำรวจถูกจัดทำขึ้นเพื่อฉลองวันสิ่งแวดล้อมโลก หรือ World Environment Day ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี โดยผลสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสิ่งแวดล้อมที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญมากที่สุดสามอันดับแรก ได้แก่ 1.) การท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ 2.) มลพิษและสิ่งปฏิกูลตามชายหาดและแหล่งน้ำ และ 3.) การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้น้ำ และไฟเกินความจำเป็น

ภาครัฐควรเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนมากขึ้น

นักท่องเที่ยวผู้ตอบแบบสำรวจลงความเห็นตรงกันทั่วโลกว่า เป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ (#1) ในการจะสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวย่างยั่งยืน ต่อมาคือหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (#2) และตัวนักท่องเที่ยวเอง (#3) โดยผู้ตอบแบบสำรวจในอินโดนีเซีย และสหราชอาณาจักร (36%) จีน (33%) ออสเตรเลีย (28%) และมาเลเซีย (27%) ลงความเห็นว่าภาครัฐต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการสร้างการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวชาวไทย (30%) ญี่ปุ่น (29%) และสหรัฐอเมริกา (28%) มองว่าความรับผิดชอบนั้นควรเริ่มต้นจากตัวนักท่องเที่ยวเองในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ตรงข้ามกับนักท่องเที่ยวชาวจีน (11%) สหราชอาณาจักร (13%) และเวียดนาม (14%)

และเมื่อถามนักท่องเที่ยวว่า หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น นักท่องเที่ยวจะท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนขึ้นอย่างไร คำตอบของนักท่องเที่ยว โดยเรียงตามลำดับตามความนิยม มีดังนี้ 1.) จะจัดการขยะของตนเอง รวมถึงจะหลีกเลี่ยงการใช้ถพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง 2.) จะปิดแอร์ และไฟเมื่อออกจากห้องพัก และ 3.) จะเลือกใช้บริการที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า แม้การท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ จะเป็นเรื่องที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ แต่การไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม กลับอยู่ในอันดับที่ 7 จาก 10 ในสิ่งที่นักท่องเที่ยวจะทำ

ไม่มีความหมายตายตัวในด้านความยั่งยืน

แนวทางปฏิบัติที่นักท่องเที่ยวมองว่าสัมพันธ์กับการเดินทางอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือยั่งยืนมากที่สุด คือ 1.) พลังงาน และทรัพยากรหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม ไฟฟ้าพลังน้ำ และน้ำ 2.) ไม่ใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง และ 3.) การอนุรักษ์สัตว์ และการสร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้น้อยลง

วิธีอื่น ๆ ในการประหยัดพลังงาน เช่น การใช้คีย์การ์ด หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ ก็เป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ แต่น่าสังเกตว่าการซื้อผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การใช้ผ้าปูที่นอน หรือผ้าเช็ดตัวซ้ำระหว่างท่องเที่ยว และการไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เป็นแนวทางปฏิบัติที่อยู่ใน 3 อันดับสุดท้าย จาก 10 แนวทางปฏิบัติยอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางอย่างยั่งยืนมากที่สุด

คุณจอห์น บราวน์, ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, อโกด้า กล่าวว่า

“เราสามารถเห็นได้จากผลการสำรวจเทรนด์การเดินทางอย่างยั่งยืนของอโกด้าว่า ตอนนี้ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญกับการทำตามวิธีดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมง่าย ๆ อย่างการปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศเมื่อออกจากห้องพัก และการลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง อีกสิ่งหนึ่งเราเห็นได้อย่างชัดเจนคือทั่วโลกมองว่ารัฐบาลต้องเป็นผู้นำในการบริหารจัดการการเดินทางท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวกันหลายคนก็ตระหนักว่าความรับผิดชอบบางอย่างในเรื่องนี้นั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของตนเองเช่นกัน”

“ถึงแม้การตีความแนวทางปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือยั่งยืนแตกต่างกันออกไป กระนั้นคนทั่วไปส่วนใหญ่ก็กระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่ตัวเอง โดยสัญญาว่าจะเลือกที่พักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือตัดสินใจเลือกตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้รอบคอบมากขึ้นเมื่อเดินทาง หนึ่งในวิธีรับมือความกังวลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ที่ง่ายที่สุด คือการลองไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยม เมื่อปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการเดินทางของผู้คน พวกเขาไปท่องเที่ยวที่ที่ยังไม่ค่อยได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากถูกจำกัดให้เดินทางได้แค่ภายในประเทศ ซึ่งเรามองว่า หากได้รับการบริหารจัดการที่ดี จะเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการโรงแรมอิสระ และผู้ให้บริการที่พักที่ต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว อีกทั้งเป็นการลดภาระด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากได้อีกด้วย”

“ในฐานะที่อโกด้าเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เราจำเป็นต้องหาวิธีอย่างต่อเนื่องที่จะช่วยให้ผู้คนทำตามเป้าหมายในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการทำให้คนค้นหาที่พักที่ยั่งยืนบนอโกด้าได้ง่ายขึ้น การส่งเสริมสนับสนุนพาร์ทเนอร์ให้ใช้คีย์การ์ดจ่ายไฟในห้องพักมากขึ้น การใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน หรือนำการชดเชยคาร์บอนมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้คนเวลาซื้อผลิตภัณฑ์/บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว” คุณจอห์น กล่าวเสริม

โควิดส่งผลกระทบเชิงลบต่อทัศนคติต่อการเดินทางอย่างยั่งยืน

ความปรารถนาที่จะการเดินทางอย่างยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น แพร่หลายมากที่สุดในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามจากเกาหลีใต้ (35%) อินเดีย (31%) และไต้หวัน (31%) อย่างไรก็ตาม เมื่อดูตัวเลขสำหรับทั่วโลก ขณะที่ผู้คน 25% ปรารถนาจะเดินทางอย่างยั่งยืนมากขึ้น ผู้คนอีก 35% กลับมีความปรารถนาเดียวกันลดลง โดยประเทศที่มีสัดส่วนความปรารถนานี้ลดลงมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย (56%) ไทย (51%) และฟิลิปปินส์ (50%)

“เป็นที่น่ากังวลว่าตอนนี้หลาย ๆ คนมองการเดินทางอย่างยั่งยืนสำคัญน้อยลงกว่าที่พวกเขาเคยในตอนก่อนการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เกิดขึ้น แต่ผมหวังว่านี่จะเป็นเพียงผลกระทบเชิงลบในระยะสั้น ซึ่งขับเคลื่อนโดยความกระหายที่จะท่องเที่ยว และเดินทางอย่างไรก็ได้ที่พวกเขาทำได้” คุณจอห์น สรุป

ประเทศไทย:

• คนไทยส่วนใหญ่กังวลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากเกินที่แหล่งท่องเที่ยวจะรับได้ การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ

• 30% ของคนไทยเชื่อว่า ตัวเองมีความรับผิดชอบมากที่สุดในการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตามมาด้วยหน่วยงานการท่องเที่ยว (25%) และภาครัฐ (24%)

• คนไทยส่วนใหญ่สัญญาว่า เมื่อไปท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ดีขึ้น พวกเขาจะจัดการขยะของตนเองระหว่างการท่องเที่ยว โดยใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งให้น้อยลง (53%) มองหาที่พักที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ (37%) และปิดเครื่องปรับอากาศ รวมถึงไฟเวลาออกจากห้องพัก (31%)

• แนวทางปฏิบัติที่คนไทยถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางอย่างยั่งยืนมากที่สุด ได้แก่ การที่ที่พักใช้พลังงาน หรือแหล่งน้ำหมุนเวียน (31%) การใช้ผลิตภัณฑ์อำนวยความสะดวกที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ (20%) และการใช้คีย์การ์ดจ่ายไฟในห้องพัก (15%)

• เมื่อถูกถามว่า มีแนวทางปฏิบัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนบ้าง คนไทย 47% ตอบการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน 41% ตอบการอนุรักษ์สัตว์ และ 35% ตอบการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจากธรรมชาติ

• มาตรการเพิ่มเติมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมากขึ้น คือระบุตัวเลือกการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน/เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ง่าย เสนอสิ่งจูงใจทางการเงินแก่ผู้ให้บริการที่พักที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานถึงขีดสุด และจำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งของสายการบินหรือในที่พัก

เกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง

ตัวเลขทั้งหมดมาจาก YouGov Singapore PTE Limited เว้นแต่จะระบุไว้ว่ามาจากที่อื่น กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด คือผู้ใหญ่ 18,327 คน จาก 14 ประเทศ/เขตปกครองตนเอง งานภาคสนามดำเนินการระหว่างวันที่ 10–28 พฤษภาคม 2564 การสำรวจดำเนินการทางออนไลน์ ตัวเลขดังกล่าวได้รับการถ่วงน้ำหนัก และเป็นตัวแทนของผู้ใหญ่ในแต่ละประเทศ (อายุ 18 ปีขึ้นไป) สามารถดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละประเทศ/เขตปกครองตนเองได้ที่ Agoda Press Room

เกี่ยวกับ อโกด้า

อโกด้า เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2548 และเติบโตกลายเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการเดินทาง ที่ขยายธุรกิจไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว อโกด้าให้บริการที่พักกว่า 2.5 ล้านแห่ง ในกว่า 200 ประเทศ โดยนำเสนอที่พักหลากหลาย เหมาะต่อการเดินทางทุกรูปแบบ และทุกงบประมาณ เช่น โรงแรมหรูหรา โรงแรมราคาประหยัด อพาร์ตเมนต์ บ้านพักส่วนตัว และวิลลา ในปี 2562 อโกด้าได้เพิ่มบริการจองเที่ยวบิน และแพ็กเกจเที่ยวบินพร้อมที่พัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้มากยิ่งขึ้น

อโกด้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Booking Holdings (Nasdaq: BKNG) มีพนักงานกว่า 4,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลก เว็บไซต์ agoda.com และแอปพลิเคชันอโกด้า มีให้บริการในภาษาต่าง ๆ 39 ภาษา

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!