แบรนด์ไทยยกระดับ สร้าง DNA และอัตลักษณ์ที่ชัดเจนขึ้น มุ่งสู่เวทีการค้าโลกไปกับ IDEA LAB


 

ด้วยความพร้อมของประเทศไทยที่มีทั้งวัตถุดิบทางการเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธรรมชาติ และแรงงานฝืมือชั้นดี ทำให้มีสินค้าแบรนด์ไทยหลายต่อหลายแบรนด์ปรากฎอยู่ในตลาด แต่ภายใต้ธรรมชาติของการแข่งขันนั้น ทำให้แบรนด์ที่ต้องการอยู่รอดได้ในระยะยาวหรือต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศต้องสร้าง DNA และอัตลักษณ์ที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นจุดต่างและจุดเด่นมากพอที่จะดึงความสนใจจากเวทีการค้าโลก

นายสรกิจ มั่นบุปผชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เศรษฐ์อินเตอร์เทรด จำกัด เจ้าของแบรนด์ PASHA

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP ได้ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะแบรนด์ไทย หรือ IDEA LAB ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 5 ภายใต้แนวคิด “Local Brand Building for Global Market” จากผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเชิงลึกกว่า 146 ราย มีผู้ผ่านการคัดเลือกและได้รับการบ่มเพาะกลยุทธ์แบรนด์ของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 15 แบรนด์ ใน 3 กลุ่มสินค้า ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร 7 แบรนด์ กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 2 แบรนด์ และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และหัตถกรรม 6 แบรนด์ ตลอดระยะเวลาของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมมีการพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์เฉพาะรายซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาจุดแข็งและการสร้างความแตกต่าง รวมไปถึงแนวทางการสื่อสารแบรนด์ เพื่อออกมาเป็น Brand Bible นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์กรธุรกิจค้าปลีก และผู้นำในด้าน Retail Business ชั้นนำของประเทศ ร่วมให้คำแนะนำถึงโอกาสทางการค้าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการสร้างคุณค่าของแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและให้สามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศต่อไปเพื่อการดำเนินธุรกิจและการสร้างแบรนด์ในอนาคตต่อไป

 

สูตรลับดั้งเดิมกลายเป็นสินค้าส่งออก

นางภัทรภร  ศุภศรี กรรมการผู้จัดการ  บริษัท  ภัทรภร  โฮมเมด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์คาราเมลภายใต้แบรนด์ “Pattaraporn” เล่าว่า “จุดเด่นของสินค้าคือการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ คือเม็ดมะม่วงจากหิมพานต์จากจ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูก ทำให้ได้เม็ดมะม่วงฯที่หวานตามธรรมชาติ นำมาคั่วตามสูตรลับไทยคาราเมลที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นด้วยกระทะทองเหลืองที่จะช่วยทั้งดูดและคลายความร้อนได้ดี ที่สำคัญคือเป็นการคั่วที่ไม่ใช้น้ำมันเลย ทำให้ปราศจากคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ ด้วยกรรมวิธีทั้งหมดนี้จึงนิยามผลิตภัณฑ์ว่า Authentic Thai Homemade และใช้สื่อสารกับลูกค้ามาโดยตลอด แต่การเป็นผู้ประกอบการรายเล็กทำให้ต้องพยายามต่อยอดความรู้อยู่เสมอ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ IDEA LAB ซึ่งวันนั้นเราไม่อาจรู้ได้ว่าจะได้รับอะไรกลับไปหรือไม่ แต่หากไม่เริ่มต้นก่อนก็จะไม่ได้รับอะไรเลย และสิ่งที่ได้รับนั้นคุ้มค่ามาก DNA ของแบรนด์ชัดเจนขึ้นมาก ช่วยสร้างความมั่นใจว่าแบรนด์กำลังเดินมาถูกทาง ที่ปรึกษาของโครงการวิเคราะห์แบรนด์แล้วบอกว่า Pattaraporn คือ ส่วนสำคัญในการเติมเต็มความประทับใจในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ในการเป็นของขวัญ ของฝากเช่นเดียวกับที่ได้วาง Positioning นี้มาโดยตลอด ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อยกระดับแบรนด์ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น สะท้อนความเป็นไทยที่มีระดับ โดยจะผลิตออกมาจำหน่ายในปลายปีนี้”

 

นางภัทรภร  ศุภศรี กรรมการผู้จัดการ  บริษัท  ภัทรภร  โฮมเมด จำกัด เจ้าของแบรนด์ “Pattaraporn”

เมื่อถึงเวลาที่ PASHA ต้องเป็นที่รู้จัก

นายสรกิจ มั่นบุปผชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เศรษฐ์อินเตอร์เทรด จำกัด ในฐานะผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เซรามิกสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เจ้าของแบรนด์ PASHA (ปาศะ) เล่าในฐานะธุรกิจที่ส่งออกมาอย่างยาวนาน มีประสบการณ์สูงในตลาดโลกแต่ยังมาเข้าร่วมโครงการ IDEA LAB ว่า “ที่ผ่านมามุ่งมั่นกับการขยายตลาด ออกแบบและผลิตให้กับลูกค้ามากมาย และต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจที่สุด แต่สินค้าที่ผลิตให้ลูกค้านั้นไม่สมควรระบุแบรนด์ของเราเข้าไป แบรนด์จึงเป็นที่รู้จักในวงจำกัดแค่เพียงเครือข่ายธุรกิจโรงแรมทั่วโลก จึงมาถึงจุดที่ต้องเริ่มสร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์ PASHA มากขึ้น

“จริงๆ แล้ว บริษัทเราเป็นรายแรกๆ ที่คิดวิธีการ refill ทดแทนขวดที่ใช้แล้วทิ้ง โดยเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับห้องน้ำในโรงแรมเป็นรูปแบบขวดเซรามิก ที่สามารถเติมสบู่ แชมพูได้โดยไม่ต้องทิ้งบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันแนวคิดของเราได้รับการยอมรับจากโรงแรมหรูระดับโลกและเครื่องสำอางระดับโลก ทุกวันนี้กระบวนการเผาเซรามิกของบริษัทสามารถทำให้เหลือเพียง 2 ขั้นตอนจากปกติต้องทำ 3 ขั้นตอน ช่วยลดการการใช้พลังงานในการเผาให้กับสิ่งแวดล้อม สามารถออกแบบให้เพิ่มปริมาณการขนส่งต่อตู้คอนเทนเนอร์เพื่อลดต้นทุนขนส่งต่อหน่วยลง และให้ความสำคัญกับการคัดสรรดินวัตถุดิบที่มีโลหะหนักน้อยที่สุดตามมาตรฐานสูงสุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าและกระบวนการผลิตเป็นไปในแนวทางของ BCG (Bio-Circular-Green) แทบทั้งสิ้น เพราะต้องการเป็นแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ของดี คุณภาพดี ในราคาที่เหมาะสม จากการผลิตที่เข้มงวดและมีนวัตกรรม

เชอรี่ – เข็มอัปสร สิริสุขะ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งแบรนด์ SIRITHAI (สิริไท)

สำหรับเนื้อหาที่ชอบที่สุดของ IDEA LAB คือเรื่อง Brand Identity / Corporate Identity แม้ว่าเรามีมานานแล้ว แต่ก็รู้เอง เข้าใจเอง ไม่เคยส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้ออกไปให้สาธารณชนได้รับทราบ แต่ขณะนี้โควิด-19 ที่ทำให้โลกเปลี่ยนไป จากการได้พบปะคู่ค้า ลูกค้าผ่านการไปออกงานแสดงสินค้า ก็ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่ผ่านการพบกันในรูปแบบออนไลน์ จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมและสร้างให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าแบรนด์มีจุดยืนอย่างไร การวิเคราะห์แบรนด์ของที่ปรึกษาทำให้เข้าใจตัวเองได้มากกว่าในอดีต รู้แนวทางที่จะพัฒนาต่อ มองเห็นแนวทางที่จะนำเสนอลูกค้าด้วยวิธีการใหม่ ๆ มีวิธีวัดผลที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนไอเดียของการสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-Branding) กับพันธมิตรรายอื่นๆ การได้มาของความรู้เหล่านี้คือการที่เราทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว แม้ประสบการณ์จะมากแต่ไม่เคยหยุดเรียนรู้”

ก้าวต่อไปของ “สิริไท” ที่ยังคงยึดมั่นการดูแลป่า

การเป็น Social Enterprise ขนาดเล็กอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับการนำพาแบรนด์ให้เติบโต โดยที่ยังสามารถดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน เชอรี่ – เข็มอัปสร สิริสุขะ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งแบรนด์ SIRITHAI (สิริไท) เล่าถึงก้าวต่อไปของแบรนด์ว่า “ขณะนี้ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ 2 กลุ่มสินค้า คือ ข้าวอินทรีย์อยู่ภายใต้แบรนด์ SIRITHAI ส่วนผลิตภัณฑ์กลุ่มไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไฮไลต์อย่างสบู่น้ำมันรำข้าว ชา เทียน และอนาคตที่กำลังจะมีขนมวีแกนนั้นอยู่ภายใต้ Forest for Love by SIRITHAI โดยหลังจากสร้างแบรนด์มาปีกว่า เริ่มมองถึงอนาคตที่ต้องการขยายตลาดและผลักดันให้แบรนด์เดินหน้าต่อไปได้ ด้วยการแปรรูปข้าวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านอื่น ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ภายใต้แกนหลักคือการดูแลผืนป่าและชุมชน ซึ่งทั่วโลกประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นที่ได้รับความสนใจมาก ผู้คนหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้แบรนด์เติบโตได้ โดยจะเน้นกลุ่มเป้าหมายสำคัญอย่าง ยุโรป จีน และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีศักยภาพ

โครงการ IDEA LAB นั้น วางกระบวนการทั้งหมดเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการเกิดเป็น Brand Bible ไว้ดีมาก ช่วยตกผลึกอัตลักษณ์และตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจน ทำให้แบรนด์มั่นใจในทิศทางการสื่อสารหลังจากนี้ว่าจะโฟกัสเรื่องการดูแลป่าที่เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ขณะเดียวกันยังเน้นการใช้ทุกอย่างให้เกิดคุณค่า ลดการสร้างคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เพราะหากสิ่งแวดล้อมดี สังคมดี แบรนด์ก็จะอยู่ได้

โดยช่วงที่เข้าร่วมโครงการเป็นช่วงที่กำลังพัฒนาสินค้าใหม่พอดี คือขนมวีแกน (Vegan) เพราะส่วนตัวใส่ใจเรื่องสุขภาพและเห็นความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ นอกจากองค์ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาและอบรมเชิงลึกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้ช่วยพัฒนาโลโก้และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้ใหม่ ซึ่งตรงกับความต้องการของแบรนด์มาก สามารถสื่อถึงแกนสำคัญหลักของแบรนด์ สะท้อนตัวตนออกมาได้เป็นอย่างดี ทำให้เราไม่ต้องปรับอะไรใหม่เลย หลังจากนี้จะเร่งกระบวนการ OEM ของขนมวีแกนให้ออกสู่ตลาดได้โดยเร็ว”

สำหรับผู้ประกอบการทั้ง 15 แบรนด์ที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ แบรนด์ PAHKAHMAH THAILAND จ.นครปฐม,    แบรนด์ MORA จ.สงขลา, แบรนด์ PATTARAPORN กรุงเทพฯ, แบรนด์ LEAFIA จ.ตรัง, แบรนด์ MAKA จ.นนทบุรี, แบรนด์ COSMOS & HARMONY จ.สมุทรปราการ, แบรนด์ THE REMAKER กรุงเทพฯ, แบรนด์ SIRITHAI กรุงเทพฯ, แบรนด์ PASHA กรุงเทพฯ, แบรนด์ ORGANEH จ.พัทลุง, แบรนด์ JUN เชียงใหม่,  แบรนด์ ARIS GELATO จ.สมุทรปราการ,      แบรนด์ UPCYDE จ.สุพรรณบุรี, แบรนด์ MC JABRIAL, MEDISILK จ.พะเยา และแบรนด์ BIOBLACK กรุงเทพฯ

บรรยากาศพิธีปิดโครงการบ่มเพาะแบรนด์ไทยรุ่นที่ 5 หรือ IDEA LAB 5

 

ด้วยความพร้อมของประเทศไทยที่มีทั้งวัตถุดิบทางการเกษตร ความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธรรมชาติ และแรงงานฝืมือชั้นดี ทำให้มีสินค้าแบรนด์ไทยหลายต่อหลายแบรนด์ปรากฎอยู่ในตลาด แต่ภายใต้ธรรมชาติของการแข่งขันนั้น ทำให้แบรนด์ที่ต้องการอยู่รอดได้ในระยะยาวหรือต้องการขยายตลาดไปต่างประเทศต้องสร้าง DNA และอัตลักษณ์ที่ชัดเจน เพื่อให้เป็นจุดต่างและจุดเด่นมากพอที่จะดึงความสนใจจากเวทีการค้าโลก

นายสรกิจ มั่นบุปผชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เศรษฐ์อินเตอร์เทรด จำกัด เจ้าของแบรนด์ PASHA

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP ได้ดำเนินกิจกรรมบ่มเพาะแบรนด์ไทย หรือ IDEA LAB ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 5 ภายใต้แนวคิด “Local Brand Building for Global Market” จากผู้ประกอบการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเชิงลึกกว่า 146 ราย มีผู้ผ่านการคัดเลือกและได้รับการบ่มเพาะกลยุทธ์แบรนด์ของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 15 แบรนด์ ใน 3 กลุ่มสินค้า ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร 7 แบรนด์ กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม 2 แบรนด์ และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์และหัตถกรรม 6 แบรนด์ ตลอดระยะเวลาของกิจกรรม ผู้เข้าร่วมมีการพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์เฉพาะรายซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาจุดแข็งและการสร้างความแตกต่าง รวมไปถึงแนวทางการสื่อสารแบรนด์ เพื่อออกมาเป็น Brand Bible นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์กรธุรกิจค้าปลีก และผู้นำในด้าน Retail Business ชั้นนำของประเทศ ร่วมให้คำแนะนำถึงโอกาสทางการค้าซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการสร้างคุณค่าของแบรนด์สินค้าให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลและให้สามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศต่อไปเพื่อการดำเนินธุรกิจและการสร้างแบรนด์ในอนาคตต่อไป

 

สูตรลับดั้งเดิมกลายเป็นสินค้าส่งออก

นางภัทรภร  ศุภศรี กรรมการผู้จัดการ  บริษัท  ภัทรภร  โฮมเมด จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์คาราเมลภายใต้แบรนด์ “Pattaraporn” เล่าว่า “จุดเด่นของสินค้าคือการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ คือเม็ดมะม่วงจากหิมพานต์จากจ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูก ทำให้ได้เม็ดมะม่วงฯที่หวานตามธรรมชาติ นำมาคั่วตามสูตรลับไทยคาราเมลที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นด้วยกระทะทองเหลืองที่จะช่วยทั้งดูดและคลายความร้อนได้ดี ที่สำคัญคือเป็นการคั่วที่ไม่ใช้น้ำมันเลย ทำให้ปราศจากคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ ด้วยกรรมวิธีทั้งหมดนี้จึงนิยามผลิตภัณฑ์ว่า Authentic Thai Homemade และใช้สื่อสารกับลูกค้ามาโดยตลอด แต่การเป็นผู้ประกอบการรายเล็กทำให้ต้องพยายามต่อยอดความรู้อยู่เสมอ จึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ IDEA LAB ซึ่งวันนั้นเราไม่อาจรู้ได้ว่าจะได้รับอะไรกลับไปหรือไม่ แต่หากไม่เริ่มต้นก่อนก็จะไม่ได้รับอะไรเลย และสิ่งที่ได้รับนั้นคุ้มค่ามาก DNA ของแบรนด์ชัดเจนขึ้นมาก ช่วยสร้างความมั่นใจว่าแบรนด์กำลังเดินมาถูกทาง ที่ปรึกษาของโครงการวิเคราะห์แบรนด์แล้วบอกว่า Pattaraporn คือ ส่วนสำคัญในการเติมเต็มความประทับใจในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต ในการเป็นของขวัญ ของฝากเช่นเดียวกับที่ได้วาง Positioning นี้มาโดยตลอด ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่เพื่อยกระดับแบรนด์ให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น สะท้อนความเป็นไทยที่มีระดับ โดยจะผลิตออกมาจำหน่ายในปลายปีนี้”

 

นางภัทรภร  ศุภศรี กรรมการผู้จัดการ  บริษัท  ภัทรภร  โฮมเมด จำกัด เจ้าของแบรนด์ “Pattaraporn”

เมื่อถึงเวลาที่ PASHA ต้องเป็นที่รู้จัก

นายสรกิจ มั่นบุปผชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เศรษฐ์อินเตอร์เทรด จำกัด ในฐานะผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เซรามิกสำหรับกลุ่มธุรกิจโรงแรมอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เจ้าของแบรนด์ PASHA (ปาศะ) เล่าในฐานะธุรกิจที่ส่งออกมาอย่างยาวนาน มีประสบการณ์สูงในตลาดโลกแต่ยังมาเข้าร่วมโครงการ IDEA LAB ว่า “ที่ผ่านมามุ่งมั่นกับการขยายตลาด ออกแบบและผลิตให้กับลูกค้ามากมาย และต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจที่สุด แต่สินค้าที่ผลิตให้ลูกค้านั้นไม่สมควรระบุแบรนด์ของเราเข้าไป แบรนด์จึงเป็นที่รู้จักในวงจำกัดแค่เพียงเครือข่ายธุรกิจโรงแรมทั่วโลก จึงมาถึงจุดที่ต้องเริ่มสร้างความเข้มแข็งให้กับแบรนด์ PASHA มากขึ้น

"จริงๆ แล้ว บริษัทเราเป็นรายแรกๆ ที่คิดวิธีการ refill ทดแทนขวดที่ใช้แล้วทิ้ง โดยเริ่มใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับห้องน้ำในโรงแรมเป็นรูปแบบขวดเซรามิก ที่สามารถเติมสบู่ แชมพูได้โดยไม่ต้องทิ้งบรรจุภัณฑ์ ปัจจุบันแนวคิดของเราได้รับการยอมรับจากโรงแรมหรูระดับโลกและเครื่องสำอางระดับโลก ทุกวันนี้กระบวนการเผาเซรามิกของบริษัทสามารถทำให้เหลือเพียง 2 ขั้นตอนจากปกติต้องทำ 3 ขั้นตอน ช่วยลดการการใช้พลังงานในการเผาให้กับสิ่งแวดล้อม สามารถออกแบบให้เพิ่มปริมาณการขนส่งต่อตู้คอนเทนเนอร์เพื่อลดต้นทุนขนส่งต่อหน่วยลง และให้ความสำคัญกับการคัดสรรดินวัตถุดิบที่มีโลหะหนักน้อยที่สุดตามมาตรฐานสูงสุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าสินค้าและกระบวนการผลิตเป็นไปในแนวทางของ BCG (Bio-Circular-Green) แทบทั้งสิ้น เพราะต้องการเป็นแบรนด์ที่ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ของดี คุณภาพดี ในราคาที่เหมาะสม จากการผลิตที่เข้มงวดและมีนวัตกรรม

เชอรี่ - เข็มอัปสร สิริสุขะ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งแบรนด์ SIRITHAI (สิริไท)

สำหรับเนื้อหาที่ชอบที่สุดของ IDEA LAB คือเรื่อง Brand Identity / Corporate Identity แม้ว่าเรามีมานานแล้ว แต่ก็รู้เอง เข้าใจเอง ไม่เคยส่งต่อเรื่องราวเหล่านี้ออกไปให้สาธารณชนได้รับทราบ แต่ขณะนี้โควิด-19 ที่ทำให้โลกเปลี่ยนไป จากการได้พบปะคู่ค้า ลูกค้าผ่านการไปออกงานแสดงสินค้า ก็ต้องปรับเปลี่ยนกันใหม่ผ่านการพบกันในรูปแบบออนไลน์ จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมและสร้างให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าแบรนด์มีจุดยืนอย่างไร การวิเคราะห์แบรนด์ของที่ปรึกษาทำให้เข้าใจตัวเองได้มากกว่าในอดีต รู้แนวทางที่จะพัฒนาต่อ มองเห็นแนวทางที่จะนำเสนอลูกค้าด้วยวิธีการใหม่ ๆ มีวิธีวัดผลที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนไอเดียของการสร้างแบรนด์ร่วมกัน (Co-Branding) กับพันธมิตรรายอื่นๆ การได้มาของความรู้เหล่านี้คือการที่เราทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว แม้ประสบการณ์จะมากแต่ไม่เคยหยุดเรียนรู้"

ก้าวต่อไปของ “สิริไท” ที่ยังคงยึดมั่นการดูแลป่า

การเป็น Social Enterprise ขนาดเล็กอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับการนำพาแบรนด์ให้เติบโต โดยที่ยังสามารถดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ด้วยกันได้อย่างยั่งยืน เชอรี่ - เข็มอัปสร สิริสุขะ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งแบรนด์ SIRITHAI (สิริไท) เล่าถึงก้าวต่อไปของแบรนด์ว่า “ขณะนี้ได้แบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ภายใต้ 2 กลุ่มสินค้า คือ ข้าวอินทรีย์อยู่ภายใต้แบรนด์ SIRITHAI ส่วนผลิตภัณฑ์กลุ่มไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าไฮไลต์อย่างสบู่น้ำมันรำข้าว ชา เทียน และอนาคตที่กำลังจะมีขนมวีแกนนั้นอยู่ภายใต้ Forest for Love by SIRITHAI โดยหลังจากสร้างแบรนด์มาปีกว่า เริ่มมองถึงอนาคตที่ต้องการขยายตลาดและผลักดันให้แบรนด์เดินหน้าต่อไปได้ ด้วยการแปรรูปข้าวเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในด้านอื่น ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ภายใต้แกนหลักคือการดูแลผืนป่าและชุมชน ซึ่งทั่วโลกประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นที่ได้รับความสนใจมาก ผู้คนหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้แบรนด์เติบโตได้ โดยจะเน้นกลุ่มเป้าหมายสำคัญอย่าง ยุโรป จีน และตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นเป้าหมายที่มีศักยภาพ

โครงการ IDEA LAB นั้น วางกระบวนการทั้งหมดเพื่อให้ผู้ประกอบการได้รับความรู้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงการเกิดเป็น Brand Bible ไว้ดีมาก ช่วยตกผลึกอัตลักษณ์และตัวตนของแบรนด์อย่างชัดเจน ทำให้แบรนด์มั่นใจในทิศทางการสื่อสารหลังจากนี้ว่าจะโฟกัสเรื่องการดูแลป่าที่เป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ ขณะเดียวกันยังเน้นการใช้ทุกอย่างให้เกิดคุณค่า ลดการสร้างคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) เพราะหากสิ่งแวดล้อมดี สังคมดี แบรนด์ก็จะอยู่ได้

โดยช่วงที่เข้าร่วมโครงการเป็นช่วงที่กำลังพัฒนาสินค้าใหม่พอดี คือขนมวีแกน (Vegan) เพราะส่วนตัวใส่ใจเรื่องสุขภาพและเห็นความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ค่อนข้างใหญ่ นอกจากองค์ความรู้ที่ได้จากการสัมมนาและอบรมเชิงลึกแล้ว ผู้เชี่ยวชาญได้ช่วยพัฒนาโลโก้และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าให้ใหม่ ซึ่งตรงกับความต้องการของแบรนด์มาก สามารถสื่อถึงแกนสำคัญหลักของแบรนด์ สะท้อนตัวตนออกมาได้เป็นอย่างดี ทำให้เราไม่ต้องปรับอะไรใหม่เลย หลังจากนี้จะเร่งกระบวนการ OEM ของขนมวีแกนให้ออกสู่ตลาดได้โดยเร็ว”

สำหรับผู้ประกอบการทั้ง 15 แบรนด์ที่ผ่านการคัดเลือก ได้แก่ แบรนด์ PAHKAHMAH THAILAND จ.นครปฐม,    แบรนด์ MORA จ.สงขลา, แบรนด์ PATTARAPORN กรุงเทพฯ, แบรนด์ LEAFIA จ.ตรัง, แบรนด์ MAKA จ.นนทบุรี, แบรนด์ COSMOS & HARMONY จ.สมุทรปราการ, แบรนด์ THE REMAKER กรุงเทพฯ, แบรนด์ SIRITHAI กรุงเทพฯ, แบรนด์ PASHA กรุงเทพฯ, แบรนด์ ORGANEH จ.พัทลุง, แบรนด์ JUN เชียงใหม่,  แบรนด์ ARIS GELATO จ.สมุทรปราการ,      แบรนด์ UPCYDE จ.สุพรรณบุรี, แบรนด์ MC JABRIAL, MEDISILK จ.พะเยา และแบรนด์ BIOBLACK กรุงเทพฯ

บรรยากาศพิธีปิดโครงการบ่มเพาะแบรนด์ไทยรุ่นที่ 5 หรือ IDEA LAB 5

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!