จารึกตำนานดักการ์ แรลลี่ : 2011 DAKAR RALLY (Part 1) – เริ่มแล้วสำหรับศึกหฤโหดสมัยที่ 3 ในทวีปอเมริกาใต้


By : C. Methas – Managing Editor

ศึกดักการ์ แรลลี่ประจำฤดูกาล 2011 ยังคงทาการแข่งขันบนเส้นทางในทวีปอเมริกาใต้ โดยออกสตาร์ที่กรุงบัวโนสแอร์เรส ประเทศอาร์เจนติน่า มุ่งขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศชิลีและวกกลับมาสิ้นสุดการแข่งขันที่อาร์เจนติน่า

ดักการ์ แรลลี่ได้เริ่มออกสตาร์ทไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาและสิ้นสุดการแข่งขันในวันที่ 16 มกราคมนี้ โดยหยุดพักการแข่งขันในวันที่ 8 มกราคมที่เมือง Iquique ประเทศชิลี โดยปีนี้ได้จัดแข่งขันที่ทวีปอเมริกาใต้เป็นสมัยที่ 3 ทีมโฟล์คสวาเก้นสามารถคว้าแชมป์ได้สองสมัยติดต่อกัน ทีมโฟล์คสวาเก้นแบ่งออกเป็นสองทีม จากเยอรมนีและจากอเมริกา

ในปีนี้จัดการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ประเภทมอเตอร์ไซค์มีนักแข่งลงแข่งขันทั้งหมดรวม 186 ราย ประเภทรถยนต์ 157 ราย ประเภทรถอเนกประสงค์ Quad จำนวน 39 รายและประเภทรถบรรทุก 573 ราย

ศึกดักการ์ แรลลี่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1979 โดยออกสตาร์ทจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปี 1978 จัดการแข่งขันขึ้นโดยเธียร์รี่ ซาบีนและได้จัดต่อเนื่องมาเกือบทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ปี เป็นรายการแข่งขันหฤโหดที่มีนักแข่งสังเวยชีวิตไปแล้วถึง 23 คน จนได้ชื่อว่า “แรลลี่แห่งความตาย” ต่อมาเส้นทางการแข่งขันได้มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง ระยะหลังเริ่มต้นออกสตาร์ททางตอนใต้ของยุโรปที่ประเทศสเปนและปอร์ตุเกส ก่อนที่จะลงเรือข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนไปขึ้นฝั่งแอฟริกาทางตอนเหนือ อันเป็นประตูสู่ทะเลทรายอย่างแท้จริง

สำหรับเส้นทางการแข่งขันในปีนี้ที่อเมริกาใต้ได้มีการปรับเปลี่ยนในบางเส้นทาง แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเส้นทางหฤโหดที่มีความแตกต่างหลากหลายรูปแบบ โดยปีที่แล้วคาร์ลอส แซงส์มาคว้าแชมป์ออกไปจากรายการนี้ให้กับทีมโฟล์คสวาเก้น คาร์ลอส แซงส์ชาวสเปน อดีตเจ้าของแชมป์แรลลี่โลกสองสมัย

การแข่งขันในปีนี้ได้ย้ายไปจัดในทวีปอเมริกาใต้แทนเช่นเดียวกับสองปีที่แล้ว เนื่องจากความปลอดภัยและสภาพเส้นทางมีความหฤโหดไม่แพ้ในทวีปแอฟริกา โดยมีเส้นทางหลากหลายรูปแบบเช่นกัน ทั้งท้องทะเลทราย Atacama ทุ่งหญ้าแบบสะวันน่า เส้นทางที่ลัดเลาะไปตามเชิงเขา Andes และสภาพเส้นทางที่มีเนินทรายสูงแบบที่เรียกว่า Dunes เส้นทางที่ผ่านธารน้ำและเส้นทางลูกรัง

การแข่งขันในปีนี้แบ่งออกเป็น 15 สเตจ ระยะทางการแข่งขันมากกว่า 9,500 กิโลเมตร และเส้นทางจับเวลาพิเศษประมาณ 5,000 กิโลเมตร โดยมีทีมแข่งประเภทรถยนต์ที่ส่งทีมร่วมแข่งขันจากค่ายรถยนต์เพียง 3 ทีมเท่านั้น ได้แก่ทีมโฟล์คสวาเก้น แชมป์เก่าและทีมบีเอ็มดับลิว ส่วนทีมนิสสันได้ส่งทีมลงแข่งขันในประเภทรถกระบะ

สำหรับประเภทรถบรรทุก ทีม Kamaz จากรัสเซียเจ้าของแชมป์เก่ายังคงครองอันดับหัวแถว ส่วนประเภทมอเตอร์ไซค์ ทีม KTM เจ้าของแชมป์เก่าเช่นกันครองอันดับนำหลังสิ้นสุดสเตจที่ 7 โดย มาร์ค โคม่า นำอยู่หัวแถว ตามมาด้วยเพื่อนร่วมทีม ไซรีล เดสเปรส

หลังจากออกสตาร์ทที่กรุงบัวโนสแอร์โรส มุ่งสู่เมืองคอร์โดบา ที่เป็นฐานบัญชาการในการแข่งขันศึกอาร์เจนติน่า แรลลี่และไปข้ามพรมแดนระหว่างประเทศอาร์เจนติน่ากับชิลีที่เมืองซาน ซัลวาดอร์ เดอ จูจุย กับเมืองคาลาม่าของประเทศชิลี หลังจากนั้นหยุดพักการแข่งขัน 1 วันที่เมืองอาริก้า ก่อนที่มุ่งลงทางใต้เลียบชายฝั่งทางแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนที่วกเข้าไปยังเมืองคอร์โดบาและไปสิ้นสุดการแข่งขันที่กรุงบัวโนสแอร์เรส

สำหรับนักแข่งตัวเต็งในปีนี้ยังคงเป็น คาร์ลอส แซงส์ อดีตแชมป็แรลลี่โลก 2 สมัยจากสเปนและเป็นเจ้าของแชมป์ศึกดักการ์ แรลลี่สองสมัยติดต่อกันสังกัดทีมโฟล์คสวาเก้น ยังคงลงแข่งขันสังกัดทีมเดิม โดยมีคู่ปรับสำคัญ สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น เจ้าของแชมป์ประเภทมอเตอร์ไซค์หลายสมัยและเคยคว้าแชมป์ในประเภทรถยนต์ในศึกดักการ์ แรลลี่ รวม 3 สมัย เมื่อปี 2004, 2005 และคว้าแชมป์ครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นที่แอฟริกา เมื่อปี 2007 โดยปี 2008 ได้ยุติการแข่งขันไปก่อนออกสตาร์ทเพียงวันเดียวเท่านั้น เนื่องจากความปลอดภัย ปีนี้ย้ายสังกัดจากทีมมิตซูบิชิ มาลงขับให้กับทีมบีเอ็มดับลิวเป็นสมัยที่สอง

ผลการแข่งขันสเตจที่ 7

อันดับ          ผู้ขับ         ทีม            เวลารวม

1 อัล อัททิยาห์ โฟล์คสวาเก้น 2 ชั่วโมง 40 นาที 57 วินาที

2 คาร์ลอส แซงส์ โฟล์คสวาเก้น + 1 นาที 20 วินาที

3 จิเนียล เดอ วิลิเยร์ โฟล์คสวาเก้น + 2 นาที 56 วินาที

4 สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น บีเอ็มดับลิว + 7 นาที 40 วินาที

5 ไครซ์ตอฟ สปิเนลลี่ บีเอ็มดับลิว + 17 นาที 00 วินาที

6 คริสเตียง ลาเวลลี่ นิสสัน + 20 นาที 07 วินาที

7 ริคาร์โด ดอส ซานโตส บีเอ็มดับลิว + 20 นาที 48 วินาที

8 กุยเฮิร์ม สปิเนลลี่ มิตซูบิชิ + 22 นาที 14 วินาที

อันดับโอเวอร์ออลรวม 7 สเตจ

อันดับ           ผู้ขับ        ทีม      เวลารวม

1 คาร์ลอส แซงส์ โฟล์คสวาเก้น 23 ชั่วโมง 21 นาที 58 วินาที

2 อัล อัททิยาห์ โฟล์คสวาเก้น + 1 นาที 22 วินาที

3 สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น บีเอ็มดับลิว + 21 นาที 11 วินาที

4 จิเนียล เดอ วิลิเยร์ โฟล์คสวาเก้น + 32 นาที 45 วินาที

5 ไครซ์ตอฟ สปิเนลลี่ บีเอ็มดับลิว + 1 ชั่วโมง 28 นาที 59 วินาที

6 มาร์ค มิลเลอร์ โฟล์คสวาเก้น + 2 ชั่วโมง 13 นาที 44 วินาที

7 กุยเฮิร์ม สปิเนลลี่ มิตซูบิชิ + 2 ชั่วโมง 38 นาที 50 วินาที

8 คริสเตียง ลาเวลลี่ นิสสัน + 3 ชั่วโมง 26 นาที 41 วินาที

By : C. Methas - Managing Editor

ศึกดักการ์ แรลลี่ประจำฤดูกาล 2011 ยังคงทาการแข่งขันบนเส้นทางในทวีปอเมริกาใต้ โดยออกสตาร์ที่กรุงบัวโนสแอร์เรส ประเทศอาร์เจนติน่า มุ่งขึ้นไปทางเหนือสู่ประเทศชิลีและวกกลับมาสิ้นสุดการแข่งขันที่อาร์เจนติน่า

ดักการ์ แรลลี่ได้เริ่มออกสตาร์ทไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมาและสิ้นสุดการแข่งขันในวันที่ 16 มกราคมนี้ โดยหยุดพักการแข่งขันในวันที่ 8 มกราคมที่เมือง Iquique ประเทศชิลี โดยปีนี้ได้จัดแข่งขันที่ทวีปอเมริกาใต้เป็นสมัยที่ 3 ทีมโฟล์คสวาเก้นสามารถคว้าแชมป์ได้สองสมัยติดต่อกัน ทีมโฟล์คสวาเก้นแบ่งออกเป็นสองทีม จากเยอรมนีและจากอเมริกา

ในปีนี้จัดการแข่งขันแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ประเภทมอเตอร์ไซค์มีนักแข่งลงแข่งขันทั้งหมดรวม 186 ราย ประเภทรถยนต์ 157 ราย ประเภทรถอเนกประสงค์ Quad จำนวน 39 รายและประเภทรถบรรทุก 573 ราย

ศึกดักการ์ แรลลี่ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1979 โดยออกสตาร์ทจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ปี 1978 จัดการแข่งขันขึ้นโดยเธียร์รี่ ซาบีนและได้จัดต่อเนื่องมาเกือบทุกปี โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ปี เป็นรายการแข่งขันหฤโหดที่มีนักแข่งสังเวยชีวิตไปแล้วถึง 23 คน จนได้ชื่อว่า “แรลลี่แห่งความตาย” ต่อมาเส้นทางการแข่งขันได้มีการปรับเปลี่ยนหลายครั้ง ระยะหลังเริ่มต้นออกสตาร์ททางตอนใต้ของยุโรปที่ประเทศสเปนและปอร์ตุเกส ก่อนที่จะลงเรือข้ามทะเลเมดิเตอเรเนียนไปขึ้นฝั่งแอฟริกาทางตอนเหนือ อันเป็นประตูสู่ทะเลทรายอย่างแท้จริง

สำหรับเส้นทางการแข่งขันในปีนี้ที่อเมริกาใต้ได้มีการปรับเปลี่ยนในบางเส้นทาง แต่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเส้นทางหฤโหดที่มีความแตกต่างหลากหลายรูปแบบ โดยปีที่แล้วคาร์ลอส แซงส์มาคว้าแชมป์ออกไปจากรายการนี้ให้กับทีมโฟล์คสวาเก้น คาร์ลอส แซงส์ชาวสเปน อดีตเจ้าของแชมป์แรลลี่โลกสองสมัย

การแข่งขันในปีนี้ได้ย้ายไปจัดในทวีปอเมริกาใต้แทนเช่นเดียวกับสองปีที่แล้ว เนื่องจากความปลอดภัยและสภาพเส้นทางมีความหฤโหดไม่แพ้ในทวีปแอฟริกา โดยมีเส้นทางหลากหลายรูปแบบเช่นกัน ทั้งท้องทะเลทราย Atacama ทุ่งหญ้าแบบสะวันน่า เส้นทางที่ลัดเลาะไปตามเชิงเขา Andes และสภาพเส้นทางที่มีเนินทรายสูงแบบที่เรียกว่า Dunes เส้นทางที่ผ่านธารน้ำและเส้นทางลูกรัง

การแข่งขันในปีนี้แบ่งออกเป็น 15 สเตจ ระยะทางการแข่งขันมากกว่า 9,500 กิโลเมตร และเส้นทางจับเวลาพิเศษประมาณ 5,000 กิโลเมตร โดยมีทีมแข่งประเภทรถยนต์ที่ส่งทีมร่วมแข่งขันจากค่ายรถยนต์เพียง 3 ทีมเท่านั้น ได้แก่ทีมโฟล์คสวาเก้น แชมป์เก่าและทีมบีเอ็มดับลิว ส่วนทีมนิสสันได้ส่งทีมลงแข่งขันในประเภทรถกระบะ

สำหรับประเภทรถบรรทุก ทีม Kamaz จากรัสเซียเจ้าของแชมป์เก่ายังคงครองอันดับหัวแถว ส่วนประเภทมอเตอร์ไซค์ ทีม KTM เจ้าของแชมป์เก่าเช่นกันครองอันดับนำหลังสิ้นสุดสเตจที่ 7 โดย มาร์ค โคม่า นำอยู่หัวแถว ตามมาด้วยเพื่อนร่วมทีม ไซรีล เดสเปรส

หลังจากออกสตาร์ทที่กรุงบัวโนสแอร์โรส มุ่งสู่เมืองคอร์โดบา ที่เป็นฐานบัญชาการในการแข่งขันศึกอาร์เจนติน่า แรลลี่และไปข้ามพรมแดนระหว่างประเทศอาร์เจนติน่ากับชิลีที่เมืองซาน ซัลวาดอร์ เดอ จูจุย กับเมืองคาลาม่าของประเทศชิลี หลังจากนั้นหยุดพักการแข่งขัน 1 วันที่เมืองอาริก้า ก่อนที่มุ่งลงทางใต้เลียบชายฝั่งทางแถบมหาสมุทรแปซิฟิก ก่อนที่วกเข้าไปยังเมืองคอร์โดบาและไปสิ้นสุดการแข่งขันที่กรุงบัวโนสแอร์เรส

สำหรับนักแข่งตัวเต็งในปีนี้ยังคงเป็น คาร์ลอส แซงส์ อดีตแชมป็แรลลี่โลก 2 สมัยจากสเปนและเป็นเจ้าของแชมป์ศึกดักการ์ แรลลี่สองสมัยติดต่อกันสังกัดทีมโฟล์คสวาเก้น ยังคงลงแข่งขันสังกัดทีมเดิม โดยมีคู่ปรับสำคัญ สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น เจ้าของแชมป์ประเภทมอเตอร์ไซค์หลายสมัยและเคยคว้าแชมป์ในประเภทรถยนต์ในศึกดักการ์ แรลลี่ รวม 3 สมัย เมื่อปี 2004, 2005 และคว้าแชมป์ครั้งสุดท้ายที่จัดขึ้นที่แอฟริกา เมื่อปี 2007 โดยปี 2008 ได้ยุติการแข่งขันไปก่อนออกสตาร์ทเพียงวันเดียวเท่านั้น เนื่องจากความปลอดภัย ปีนี้ย้ายสังกัดจากทีมมิตซูบิชิ มาลงขับให้กับทีมบีเอ็มดับลิวเป็นสมัยที่สอง

ผลการแข่งขันสเตจที่ 7

อันดับ          ผู้ขับ         ทีม            เวลารวม

1 อัล อัททิยาห์ โฟล์คสวาเก้น 2 ชั่วโมง 40 นาที 57 วินาที

2 คาร์ลอส แซงส์ โฟล์คสวาเก้น + 1 นาที 20 วินาที

3 จิเนียล เดอ วิลิเยร์ โฟล์คสวาเก้น + 2 นาที 56 วินาที

4 สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น บีเอ็มดับลิว + 7 นาที 40 วินาที

5 ไครซ์ตอฟ สปิเนลลี่ บีเอ็มดับลิว + 17 นาที 00 วินาที

6 คริสเตียง ลาเวลลี่ นิสสัน + 20 นาที 07 วินาที

7 ริคาร์โด ดอส ซานโตส บีเอ็มดับลิว + 20 นาที 48 วินาที

8 กุยเฮิร์ม สปิเนลลี่ มิตซูบิชิ + 22 นาที 14 วินาที

อันดับโอเวอร์ออลรวม 7 สเตจ

อันดับ           ผู้ขับ        ทีม      เวลารวม

1 คาร์ลอส แซงส์ โฟล์คสวาเก้น 23 ชั่วโมง 21 นาที 58 วินาที

2 อัล อัททิยาห์ โฟล์คสวาเก้น + 1 นาที 22 วินาที

3 สเตฟาน ปีเตอร์ฮันเซ่น บีเอ็มดับลิว + 21 นาที 11 วินาที

4 จิเนียล เดอ วิลิเยร์ โฟล์คสวาเก้น + 32 นาที 45 วินาที

5 ไครซ์ตอฟ สปิเนลลี่ บีเอ็มดับลิว + 1 ชั่วโมง 28 นาที 59 วินาที

6 มาร์ค มิลเลอร์ โฟล์คสวาเก้น + 2 ชั่วโมง 13 นาที 44 วินาที

7 กุยเฮิร์ม สปิเนลลี่ มิตซูบิชิ + 2 ชั่วโมง 38 นาที 50 วินาที

8 คริสเตียง ลาเวลลี่ นิสสัน + 3 ชั่วโมง 26 นาที 41 วินาที

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!