3 นักวิทย์ผู้คิดค้น “แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน” คว้าโนเบลสาขาเคมี


3 นักวิทยาศาสตร์ จากสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปีนี้ จากการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ขุมพลังพกพาได้ที่พลิกโฉมวงการแบตเตอรี่ของมวลมนุษยชาติ ตามรายงานของ Associated Press

คณะกรรมการโนเบลประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีให้กับนายจอห์น บี. ดูเดอนัฟ จากมหาวิทยาลัย University of Texas นายเอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม จาก State University of New York ใน Binghamton และนายอากิระ โยชิโนะ จากบริษัทอาซาฮี คาเซอิ คอร์เปอเรชัน และมหาวิทยาลัยเมย์โจ ในญี่ปุ่น จากคุณูปการในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่สามารถชาร์จไฟได้หลายครั้ง

ในแถลงการณ์ของคณะกรรมการโนเบล ระบุว่า การคิดค้นแบตเตอรีลิเธียมไอออนได้ปฏิวัติวิถีชีวิตของมวลมนุษยชาติ และนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ได้วางรากฐานของโลกไร้สายและสังคมที่ปราศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีต้นกำเนิดในช่วงวิกฤตน้ำมันในคริสตทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่นายวิตติงแฮมได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีที่ปราศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลขึ้นมา ส่วนนายกูเดอนัฟพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น กักเก็บพลังงานได้มากขึ้นถึงเท่าตัว และทนทานขึ้นกว่าเดิม 23 เท่า ส่วนนายโยชิโนะ เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ปลอดภัยขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เหรียญทองคำเชิดชูเกียรติ และแบ่งรางวัลเงินสด 9 ล้านโครนสวีเดน หรือราว 27.5 ล้านบาทเท่าๆกัน

ส่วนรางวัลโนเบลสาขาที่เหลือของปีนี้ ได้แก่ สาขาวรรณกรรมในวันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งปีก่อนยกเลิกการประกาศรางวัลในสาขาดังกล่าว หลังจากตกเป็นประเด็นอื้อฉาวว่าหนึ่งในผู้มีอิทธิพลต่อการพิจารณารางวัลโนเบล พัวพันในประเด็นการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม เป็นการประกาศรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม จะเป็นการประกาศรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เป็นรางวัลสุดท้าย

3 นักวิทยาศาสตร์ จากสหรัฐฯ อังกฤษ และญี่ปุ่น คว้ารางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปีนี้ จากการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ขุมพลังพกพาได้ที่พลิกโฉมวงการแบตเตอรี่ของมวลมนุษยชาติ ตามรายงานของ Associated Press

คณะกรรมการโนเบลประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีให้กับนายจอห์น บี. ดูเดอนัฟ จากมหาวิทยาลัย University of Texas นายเอ็ม. สแตนลีย์ วิตติงแฮม จาก State University of New York ใน Binghamton และนายอากิระ โยชิโนะ จากบริษัทอาซาฮี คาเซอิ คอร์เปอเรชัน และมหาวิทยาลัยเมย์โจ ในญี่ปุ่น จากคุณูปการในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ที่สามารถชาร์จไฟได้หลายครั้ง

ในแถลงการณ์ของคณะกรรมการโนเบล ระบุว่า การคิดค้นแบตเตอรีลิเธียมไอออนได้ปฏิวัติวิถีชีวิตของมวลมนุษยชาติ และนักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ได้วางรากฐานของโลกไร้สายและสังคมที่ปราศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในอนาคต

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีต้นกำเนิดในช่วงวิกฤตน้ำมันในคริสตทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเป็นช่วงที่นายวิตติงแฮมได้เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีที่ปราศจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลขึ้นมา ส่วนนายกูเดอนัฟพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ชาร์จไฟได้เร็วขึ้น กักเก็บพลังงานได้มากขึ้นถึงเท่าตัว และทนทานขึ้นกว่าเดิม 23 เท่า ส่วนนายโยชิโนะ เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ปลอดภัยขึ้น

นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 จะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ เหรียญทองคำเชิดชูเกียรติ และแบ่งรางวัลเงินสด 9 ล้านโครนสวีเดน หรือราว 27.5 ล้านบาทเท่าๆกัน

ส่วนรางวัลโนเบลสาขาที่เหลือของปีนี้ ได้แก่ สาขาวรรณกรรมในวันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งปีก่อนยกเลิกการประกาศรางวัลในสาขาดังกล่าว หลังจากตกเป็นประเด็นอื้อฉาวว่าหนึ่งในผู้มีอิทธิพลต่อการพิจารณารางวัลโนเบล พัวพันในประเด็นการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ในวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม เป็นการประกาศรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และในวันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม จะเป็นการประกาศรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เป็นรางวัลสุดท้าย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!