5 เรื่องที่หลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ “แกร็บ”


นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “แกร็บ” (Grab) แอปพลิเคชันเรียกรถสุดฮอตที่เปิดให้บริการในเมืองไทยมาแล้วกว่า 6 ปี โดยปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปในบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrabFood บริการส่งพัสดุหรือสิ่งของผ่าน GrabExpress ฟีเจอร์สั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Groceries รวมไปถึงบริการทางการเงินต่างๆ ผ่าน GrabPay และถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับซูเปอร์แอปอย่างแกร็บมาเกินกว่าครึ่งทศวรรษ แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับแอปนี้ มาดูกันว่า 5 ประเด็นหลักที่หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับแกร็บ ประเทศไทย มีอะไรบ้าง

“แกร็บ” เป็นบริษัทต่างชาติ ไม่เสียภาษี? แม้ว่าแอปพลิเคชันแกร็บจะริเริ่มและก่อตั้งโดยสองนักธุรกิจชาวมาเลเซียอย่าง แอนโทนี ตัน และฮุย หลิง ตัน แต่เมื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2556 แกร็บได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทสัญชาติไทยอย่างถูกต้องกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 2,880 ล้านบาท ปัจจุบัน แกร็บ ประเทศไทยมีบริษัทไทยถือหุ้นอยู่ถึง 75% โดยหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มเซ็นทรัล

นั่ง “แกร็บ” มีความเสี่ยง ไร้ความคุ้มครอง? แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาทิ เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยการเซลฟีของทั้งคนขับและผู้โดยสาร เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย ฟีเจอร์ Share My Ride ซึ่งผู้โดยสารสามารถแชร์รายละเอียดการเดินทางให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้รับทราบ ทั้งตำแหน่งของรถ เส้นทางการเดินทาง รายละเอียดของคนขับทั้งชื่อ-นามสกุลและภาพถ่าย รวมถึงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้โดยสารจะไปถึงจุดหมาย หรือปุ่มขอความช่วยเหลือเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน

ใครๆ ก็ขับ “แกร็บ” ได้ เปิดช่องให้เกิดอาชญากรรม? คนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองที่เข้มงวด โดยมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมย้อนหลังถึง 7 ปี หากพบประวัติเคยกระทำความผิดทางกฎหมายใดๆ ก็จะไม่สามารถให้บริการได้ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วคนขับจะต้องผ่านการอบรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคในการรับงาน มารยาทในการให้บริการ มาตรความปลอดภัยด้วย รวมทั้งมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้กับคนขับทุกคน

“แกร็บ” เอาเปรียบคนขับ ทำนาบนหลังคน? นอกจากค่าโดยสารแล้ว คนขับแกร็บยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น โบนัส อินเซนทีฟ หรือส่วนลดค่าคอมมิชชัน นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ การผ่อนชำระสินค้ารายวัน การให้สินเชื่อ ส่วนลดจากพันธมิตร ทั้งบริการที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถ น้ำมัน อาหาร ท่องเที่ยว รวมถึงการจัดกิจกรรมพิเศษและคอร์สอบรมต่างๆ ทุกเดือนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะให้กับคนขับ

คนขับแกร็บแย่งงานแท็กซี่? ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจความคิดเห็นของคนขับแท็กซี่เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 99% ของคนขับแท็กซี่บอกว่าแอปพลิเคชันเรียกรถช่วยให้เข้าถึงผู้โดยสารและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีของแกร็บทำให้คนขับทราบจุดหมายปลายทางของผู้โดยสารล่วงหน้าทำให้แมตช์กับเส้นทางที่คนขับสะดวกเดินทาง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร มีระบบ GPS ที่ช่วยแนะนำเส้นทาง ทั้งยังมีฟีเจอร์แปลภาษาที่ช่วยให้คนขับสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้

นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก “แกร็บ” (Grab) แอปพลิเคชันเรียกรถสุดฮอตที่เปิดให้บริการในเมืองไทยมาแล้วกว่า 6 ปี โดยปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปในบริการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrabFood บริการส่งพัสดุหรือสิ่งของผ่าน GrabExpress ฟีเจอร์สั่งซื้อของสดหรือสินค้าจากซุปเปอร์มาร์เก็ตอย่าง Groceries รวมไปถึงบริการทางการเงินต่างๆ ผ่าน GrabPay และถึงแม้ว่าคนไทยจะคุ้นชินกับซูเปอร์แอปอย่างแกร็บมาเกินกว่าครึ่งทศวรรษ แต่ก็ยังมีบางเรื่องที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับแอปนี้ มาดูกันว่า 5 ประเด็นหลักที่หลายคนยังสับสนเกี่ยวกับแกร็บ ประเทศไทย มีอะไรบ้าง

“แกร็บ” เป็นบริษัทต่างชาติ ไม่เสียภาษี? แม้ว่าแอปพลิเคชันแกร็บจะริเริ่มและก่อตั้งโดยสองนักธุรกิจชาวมาเลเซียอย่าง แอนโทนี ตัน และฮุย หลิง ตัน แต่เมื่อเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2556 แกร็บได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทสัญชาติไทยอย่างถูกต้องกับกระทรวงพาณิชย์ภายใต้ชื่อ บริษัท แกร็บแท็กซี่ (ประเทศไทย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 2,880 ล้านบาท ปัจจุบัน แกร็บ ประเทศไทยมีบริษัทไทยถือหุ้นอยู่ถึง 75% โดยหนึ่งในนั้นคือ กลุ่มเซ็นทรัล

นั่ง “แกร็บ” มีความเสี่ยง ไร้ความคุ้มครอง? แกร็บให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาทิ เทคโนโลยียืนยันตัวตนด้วยการเซลฟีของทั้งคนขับและผู้โดยสาร เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งสองฝ่าย ฟีเจอร์ Share My Ride ซึ่งผู้โดยสารสามารถแชร์รายละเอียดการเดินทางให้ครอบครัวหรือเพื่อนได้รับทราบ ทั้งตำแหน่งของรถ เส้นทางการเดินทาง รายละเอียดของคนขับทั้งชื่อ-นามสกุลและภาพถ่าย รวมถึงระยะเวลาโดยประมาณที่ผู้โดยสารจะไปถึงจุดหมาย หรือปุ่มขอความช่วยเหลือเพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน

ใครๆ ก็ขับ “แกร็บ” ได้ เปิดช่องให้เกิดอาชญากรรม? คนที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์ของแกร็บจะต้องผ่านกระบวนการคัดกรองที่เข้มงวด โดยมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมย้อนหลังถึง 7 ปี หากพบประวัติเคยกระทำความผิดทางกฎหมายใดๆ ก็จะไม่สามารถให้บริการได้ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วคนขับจะต้องผ่านการอบรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิคในการรับงาน มารยาทในการให้บริการ มาตรความปลอดภัยด้วย รวมทั้งมีการกำหนดหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานให้กับคนขับทุกคน

“แกร็บ” เอาเปรียบคนขับ ทำนาบนหลังคน? นอกจากค่าโดยสารแล้ว คนขับแกร็บยังได้รับผลตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น โบนัส อินเซนทีฟ หรือส่วนลดค่าคอมมิชชัน นอกจากนี้ ยังมีสิทธิประโยชน์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ การผ่อนชำระสินค้ารายวัน การให้สินเชื่อ ส่วนลดจากพันธมิตร ทั้งบริการที่เกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถ น้ำมัน อาหาร ท่องเที่ยว รวมถึงการจัดกิจกรรมพิเศษและคอร์สอบรมต่างๆ ทุกเดือนเพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะให้กับคนขับ

คนขับแกร็บแย่งงานแท็กซี่? ศูนย์ให้คำปรึกษาและพัฒนาผู้บริหารทางธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สำรวจความคิดเห็นของคนขับแท็กซี่เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า 99% ของคนขับแท็กซี่บอกว่าแอปพลิเคชันเรียกรถช่วยให้เข้าถึงผู้โดยสารและทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีของแกร็บทำให้คนขับทราบจุดหมายปลายทางของผู้โดยสารล่วงหน้าทำให้แมตช์กับเส้นทางที่คนขับสะดวกเดินทาง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการปฏิเสธผู้โดยสาร มีระบบ GPS ที่ช่วยแนะนำเส้นทาง ทั้งยังมีฟีเจอร์แปลภาษาที่ช่วยให้คนขับสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!