AEITF จับมือพันธมิตรเปิดเวทีระดมความเห็น “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง?”


วันนี้ (6 ธันวาคม 2561) ที่ห้องจูปิเตอร์ 4-6 อิมแพค เมืองทองธานี มีการจัดงานเสวนาพลังงานทางเลือก 4.0 ในหัวข้อ “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง?” จัดโดยมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) บริษัทสื่อสากล จำกัด และพันธมิตรเครือข่าย และมีพิธีเปิดงานโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่ 1

นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยกล่าวว่า มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตรเครือข่ายได้แก่ บริษัท สื่อสากล จำกัด สถาบันยานยนต์ และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าได้จัดร่วมกันงานเสวนา “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง?” ขึ้น ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน และการขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” Smart City ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมูลนิธิ หน่วยงานพันธมิตรได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับทราบถึงความพร้อม แนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ จึงได้ดำเนินแผนงาน “สร้างความพร้อมคนไทย เพื่อศักยภาพการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า” โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแลกเปลี่ยนนโยบาย ความรู้ทางวิชาการของภาครัฐและเอกชน

นอกจากนั้นเพื่อเป็นเวทีกลางเชื่อมโยงความร่วมมือภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้บริโภค และเผยแพร่วิชาการที่เป็นประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและการพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความพร้อมให้คนไทยรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในบ้านและอุตสาหกรรมขนส่งโลจิสติกส์ของไทย และเพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตและบริการ ลดการเสียดุลการค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยมูลนิธิมีการจัดกิจกรรมสำคัญๆ ตามแผนงาน “สร้างความพร้อมคนไทย เพื่อศักยภาพการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า” อาทิ การจัดเสวนาเรื่อง “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง”, การจัดแสดงนิทรรศการ “นวัตกรรมพลังงานทางเลือกไทย” ในงาน “มหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 35” ณ อาคารชาลเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและพันธมิตรเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และเอกชนอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกล่าวว่า ปัจจุบันเริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้า 100 % (BEV) จำหน่ายในตลาดมากขึ้น โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนรถยนต์ PHEV เพิ่มมากขึ้นกว่า 10,000 คัน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 100% เพิ่งเริ่มจะมีบางยี่ห้อนำออกมาจำหน่ายในปีนี้ นอกจากนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการติดตั้งสถานอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ณ ปัจจุบันมีมากกว่า 200 จุดทั่วประเทศ

ด้วยเทคโนโลยีใหม่และราคาแบตเตอรี่ที่ยังสูง ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าช่วงเริ่มต้นนี้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าสูงกว่ารถยนต์เครื่องยนต์ เกือบ 1.5-2 เท่า แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายของพลังงานที่ต่ำกว่า หากเปรียบเทียบรถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายของพลังงานอยู่ที่ 0.5-1.0 บาท /กม. ต่ำกว่ารถยนต์เครื่องยนต์หรือไฮบริด ที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.5-2.5 บาท/กม. ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า คนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ และมีกำลังทรัพย์พอ และอาจจะเป็นรถยนต์คันที่สองหรือรถสำรอง และอาศัยในเมืองที่มีการเดินทางไม่เกินวันละ 100 กม.ต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ 2-3 ปี เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ดีขึ้นและราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นค่ายรถนำรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายอีกหลายรุ่น ซึ่งจะเกิดการแข่งขันระหว่างค่ายรถด้วยกันมากขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมีทางเลือกในการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม โดยทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้พยายามทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและไร้รอยต่ออีกด้วย

ด้านนายธนพัชร์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด บริษัทให้บริการด้านสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ “EA Anywhere” ของบริษัท พลังงานมหานคร จำกัดในเครือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นที่บริษัทมาทำเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตรงนี้ก็ศึกษามาแล้วว่า สิ่งที่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีความกังวลมากที่สุดคือ สถานีเติมไฟในแบตเตอรี่หรือสถานีชาร์จ ทางบริษัท พลังงานมหานครฯ จึงมีแนวทางในการวางรูปแบบของสถานีชาร์จว่า จุดที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นจุดไหนบ้าง ตามนโยบายที่เราวางแผนไว้ตอนต้นปี 2561 และตั้งเป้าว่าจะติดตั้งให้ได้ 1,000 สถานีชาร์จภายในปีนี้

“สำหรับรูปแบบในการติดตั้งสถานีชาร์จนี้ เราเริ่มจากที่พักอาศัยก่อน ซึ่งเป็นจุดแรกที่คนใช้งานสะดวกที่สุด และเชื่อมโยงไปที่ตัวออฟฟิศหรือสำนักงาน รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมไปโรงแรม ร้านอาหาร ช้อปปิ้งมอลล์ ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ และคอมมูนิตี้มอลล์ตามที่วางแผนไว้ กฌถือว่า สิ่งที่เราไปติดตั้งไว้ครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกจุดในประเทศไทย“

ตามแผนที่บริษัทวางไว้ทุกระยะ 5 กิโลเมตรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีสถานีชาร์จ ซึ่งเป็นจุด
ที่ทำให้คนใช้รถคลายกังวลในเรื่องไม่มีสถานีชาร์จ โดยในปัจจุบันบริษัท พลังงานมหานครฯ จึงติดตั้งไปแล้วกว่า 400 สถานี แต่ส่วนที่เปิดบริการแล้วประมาณ 200 สถานี ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโหลดแอพพลิเคชั่น EA Anywhere มาใช้งานได้ เพื่อค้นหาสถานีชาร์จบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยนำทางไปยังสถานีที่เปิดใช้บริการ

ในมุมมองของนักลงทุนผู้ให้บริการสถานีชาร์จ สิ่งที่เราเตรียมความพร้อมไว้เป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นใจ หลายๆ อย่าง เช่นเดียวบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็มีเตรียมพร้อมเต็มที่ อย่างในงาน Motor Expo 2018 ก็มีรถทั้งปลั๊กอินไฮบริด และ BEV ออกมาโชว์และวางจำหน่าย ซึ่งมองว่า เป็นทางเลือกของคนไทยที่มองหานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งบริษัทก็เตรียมความพร้อมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่ให้มีปัญหาเรื่องสถานีชาร์จ เพื่อคลายกังวลเรื่องไม่จุดเติมแบตเตอรี่ไปได้ ส่วนต่างจังหวัด “EA Anywhere” ก็เริ่มติดตั้งในภูมิภาคต่างๆ แล้วเช่นกัน

วันนี้ (6 ธันวาคม 2561) ที่ห้องจูปิเตอร์ 4-6 อิมแพค เมืองทองธานี มีการจัดงานเสวนาพลังงานทางเลือก 4.0 ในหัวข้อ “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง?” จัดโดยมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย (AEITF) บริษัทสื่อสากล จำกัด และพันธมิตรเครือข่าย และมีพิธีเปิดงานโดยนายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนที่ 1

นายสุเมฆ ปัณฑรานุวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทยกล่าวว่า มูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย และหน่วยงานพันธมิตรเครือข่ายได้แก่ บริษัท สื่อสากล จำกัด สถาบันยานยนต์ และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าได้จัดร่วมกันงานเสวนา “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง?” ขึ้น ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558-2579 ของกระทรวงพลังงาน และการขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” Smart City ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมูลนิธิ หน่วยงานพันธมิตรได้ตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับทราบถึงความพร้อม แนวทางการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าที่จะเป็นประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจการพาณิชย์ จึงได้ดำเนินแผนงาน “สร้างความพร้อมคนไทย เพื่อศักยภาพการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า” โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาแลกเปลี่ยนนโยบาย ความรู้ทางวิชาการของภาครัฐและเอกชน

นอกจากนั้นเพื่อเป็นเวทีกลางเชื่อมโยงความร่วมมือภาครัฐ องค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการ นักลงทุน และผู้บริโภค และเผยแพร่วิชาการที่เป็นประโยชน์สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจและการพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความพร้อมให้คนไทยรับทราบข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในบ้านและอุตสาหกรรมขนส่งโลจิสติกส์ของไทย และเพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ลดต้นทุนการผลิตและบริการ ลดการเสียดุลการค้า และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยมูลนิธิมีการจัดกิจกรรมสำคัญๆ ตามแผนงาน “สร้างความพร้อมคนไทย เพื่อศักยภาพการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้า” อาทิ การจัดเสวนาเรื่อง “คนไทย ควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้าแล้วหรือยัง”, การจัดแสดงนิทรรศการ “นวัตกรรมพลังงานทางเลือกไทย” ในงาน “มหกรรมยานยนต์ครั้งที่ 35” ณ อาคารชาลเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ตลอดจนการสร้างความร่วมมือและพันธมิตรเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงหน่วยงานภาครัฐ องค์กร และเอกชนอย่างต่อเนื่อง

ผศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยกล่าวว่า ปัจจุบันเริ่มมีรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้า 100 % (BEV) จำหน่ายในตลาดมากขึ้น โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จำนวนรถยนต์ PHEV เพิ่มมากขึ้นกว่า 10,000 คัน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 100% เพิ่งเริ่มจะมีบางยี่ห้อนำออกมาจำหน่ายในปีนี้ นอกจากนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในการติดตั้งสถานอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ณ ปัจจุบันมีมากกว่า 200 จุดทั่วประเทศ

ด้วยเทคโนโลยีใหม่และราคาแบตเตอรี่ที่ยังสูง ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าช่วงเริ่มต้นนี้ราคาของรถยนต์ไฟฟ้าสูงกว่ารถยนต์เครื่องยนต์ เกือบ 1.5-2 เท่า แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายของพลังงานที่ต่ำกว่า หากเปรียบเทียบรถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่าใช้จ่ายของพลังงานอยู่ที่ 0.5-1.0 บาท /กม. ต่ำกว่ารถยนต์เครื่องยนต์หรือไฮบริด ที่มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1.5-2.5 บาท/กม. ดังนั้นในช่วงเริ่มต้นของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า คนที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ และมีกำลังทรัพย์พอ และอาจจะเป็นรถยนต์คันที่สองหรือรถสำรอง และอาศัยในเมืองที่มีการเดินทางไม่เกินวันละ 100 กม.ต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตอันใกล้ 2-3 ปี เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ดีขึ้นและราคาที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง เราจะเห็นค่ายรถนำรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายอีกหลายรุ่น ซึ่งจะเกิดการแข่งขันระหว่างค่ายรถด้วยกันมากขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะมีทางเลือกในการเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นและสามารถซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ในราคาที่เหมาะสม โดยทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยได้พยายามทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชนในการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่จะมีมากขึ้นในอนาคตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและไร้รอยต่ออีกด้วย

ด้านนายธนพัชร์ สุขสุธรรมวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด บริษัทให้บริการด้านสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ “EA Anywhere” ของบริษัท พลังงานมหานคร จำกัดในเครือ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA กล่าวว่า จากจุดเริ่มต้นที่บริษัทมาทำเรื่องสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตรงนี้ก็ศึกษามาแล้วว่า สิ่งที่คนใช้รถยนต์ไฟฟ้ามีความกังวลมากที่สุดคือ สถานีเติมไฟในแบตเตอรี่หรือสถานีชาร์จ ทางบริษัท พลังงานมหานครฯ จึงมีแนวทางในการวางรูปแบบของสถานีชาร์จว่า จุดที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นจุดไหนบ้าง ตามนโยบายที่เราวางแผนไว้ตอนต้นปี 2561 และตั้งเป้าว่าจะติดตั้งให้ได้ 1,000 สถานีชาร์จภายในปีนี้

“สำหรับรูปแบบในการติดตั้งสถานีชาร์จนี้ เราเริ่มจากที่พักอาศัยก่อน ซึ่งเป็นจุดแรกที่คนใช้งานสะดวกที่สุด และเชื่อมโยงไปที่ตัวออฟฟิศหรือสำนักงาน รวมไปถึงห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส รวมไปโรงแรม ร้านอาหาร ช้อปปิ้งมอลล์ ช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ และคอมมูนิตี้มอลล์ตามที่วางแผนไว้ กฌถือว่า สิ่งที่เราไปติดตั้งไว้ครอบคลุมพื้นที่เกือบทุกจุดในประเทศไทย“

ตามแผนที่บริษัทวางไว้ทุกระยะ 5 กิโลเมตรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีสถานีชาร์จ ซึ่งเป็นจุด ที่ทำให้คนใช้รถคลายกังวลในเรื่องไม่มีสถานีชาร์จ โดยในปัจจุบันบริษัท พลังงานมหานครฯ จึงติดตั้งไปแล้วกว่า 400 สถานี แต่ส่วนที่เปิดบริการแล้วประมาณ 200 สถานี ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโหลดแอพพลิเคชั่น EA Anywhere มาใช้งานได้ เพื่อค้นหาสถานีชาร์จบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยนำทางไปยังสถานีที่เปิดใช้บริการ

ในมุมมองของนักลงทุนผู้ให้บริการสถานีชาร์จ สิ่งที่เราเตรียมความพร้อมไว้เป็นจุดเริ่มต้นของความมั่นใจ หลายๆ อย่าง เช่นเดียวบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าก็มีเตรียมพร้อมเต็มที่ อย่างในงาน Motor Expo 2018 ก็มีรถทั้งปลั๊กอินไฮบริด และ BEV ออกมาโชว์และวางจำหน่าย ซึ่งมองว่า เป็นทางเลือกของคนไทยที่มองหานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งบริษัทก็เตรียมความพร้อมในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่ให้มีปัญหาเรื่องสถานีชาร์จ เพื่อคลายกังวลเรื่องไม่จุดเติมแบตเตอรี่ไปได้ ส่วนต่างจังหวัด “EA Anywhere” ก็เริ่มติดตั้งในภูมิภาคต่างๆ แล้วเช่นกัน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!