BHUTAN-ประเทศภูฏานหรือชื่อทางการว่า “ราชอาณาจักรภูฏาน” (Kingdom of Bhutan)


By : C. Methas – Managing Editor

ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้มีขนาดเล็ก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา อยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul มีความหมายถึง “ดินแดนของมังกรสายฟ้า”

นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏานมีเสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน ความหมายว่า “แผ่นดินบนที่สูง”

ประวัติความเป็นมาของประเทศภูฏาน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453

สัญลักษณ์ประจำชาติ วัดป่าทักชัง หรือ “รังเสือ (Tiger Nest) เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวพุทธในประเทศภูฏาน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร ชายเขตเมืองปาโร ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก พื้นที่โดยรอบเป็นภูเขาสูงที่มีความสวยงามตามธรรมชาติและมีความสงบเงียบ

สัตว์ประจำชาติ ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ มีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ อาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร ต้นไม้มีต้นสนไซปรัส เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ประจำชาติ

ประเทศภูฏานตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศหนาวแบบเทือกเขา

ลักษณะภูมิอากาศ ในเวลากลางวันอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25 – 15 องศาเซลเซียส เวลากลางคืนอุณหภูมิระหว่าง 10 – 5 องศาเซลเซียส ฤดูต่าง ๆ ในประเทศภูฏานมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนเล็กน้อย

ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน – สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

ประเทศภูฏานมีจำนวนประชากรประมาณ 753,000คน ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่Sharchops ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก Ngalops ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก และ Lhotshams ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ

การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานและการขี่ม้าเป็นเสมือนสิ่งที่ควบคู่มากับสายเลือดของชายชาวภูฏาน ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือที่เรียกว่า วัชรยาน) 74% ศาสนาฮินดู 25% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3%

ประเทศภูฏานได้ประกาศว่าไม่ยึดถือในเรื่องของรายได้ประชากรทางด้านเศรษฐกิจ แต่ยึดถือในเรื่องของอัตราความสุขของประชากรในประเทศ

By : C. Methas - Managing Editor

ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้มีขนาดเล็ก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา อยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul มีความหมายถึง "ดินแดนของมังกรสายฟ้า"

นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏานมีเสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน ความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"

ประวัติความเป็นมาของประเทศภูฏาน เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้ง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453

สัญลักษณ์ประจำชาติ วัดป่าทักชัง หรือ "รังเสือ (Tiger Nest) เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาวพุทธในประเทศภูฏาน วัดแห่งนี้ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตร ชายเขตเมืองปาโร ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เป็นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่งดงามมาก พื้นที่โดยรอบเป็นภูเขาสูงที่มีความสวยงามตามธรรมชาติและมีความสงบเงียบ

สัตว์ประจำชาติ ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ มีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียวในโลกเท่านั้น ลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ อาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร ต้นไม้มีต้นสนไซปรัส เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ประจำชาติ

ประเทศภูฏานตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศหนาวแบบเทือกเขา

ลักษณะภูมิอากาศ ในเวลากลางวันอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25 - 15 องศาเซลเซียส เวลากลางคืนอุณหภูมิระหว่าง 10 - 5 องศาเซลเซียส ฤดูต่าง ๆ ในประเทศภูฏานมี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนเล็กน้อย

ฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

ประเทศภูฏานมีจำนวนประชากรประมาณ 753,000คน ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่Sharchops ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก Ngalops ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก และ Lhotshams ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศ

การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานและการขี่ม้าเป็นเสมือนสิ่งที่ควบคู่มากับสายเลือดของชายชาวภูฏาน ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือที่เรียกว่า วัชรยาน) 74% ศาสนาฮินดู 25% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3%

ประเทศภูฏานได้ประกาศว่าไม่ยึดถือในเรื่องของรายได้ประชากรทางด้านเศรษฐกิจ แต่ยึดถือในเรื่องของอัตราความสุขของประชากรในประเทศ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!