Greenpeace ไม่ต้านนโยบายไบเดนใช้พลังนิวเคลียร์ผลิตไฟฟ้าแต่ขอให้เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและสนใจพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น


รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีไบเดนตั้งเป้าหมายว่าระบบเศรษฐกิจของอเมริกาจะสร้างก๊าซคาร์บอนสุทธิได้เป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2050 และกำลังพิจารณานโยบายเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่องค์การ Green Peace แม้จะไม่ต่อต้านเรื่องนี้อย่างที่เคยแต่ก็ขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ ค่อยๆ เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนซึ่งนำมาใช้ใหม่ได้แทน

ขณะนี้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดในโลกคือมีทั้งสิ้นรวม 94 เครื่องและสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสนองความต้องการใช้ในประเทศได้ราว 20% ซึ่งคุณจีน่า แมคคาธี ที่ปรึกษาด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเป้าหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่จะเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งผลิตก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2050 หรือในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้

ส่วนนางเจนนิเฟอร์ แกรนด์โฮล์ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ก็แถลงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมต่อคณะอนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เช่นกันว่าสหรัฐฯ จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสภาพภูมิอากาศได้หากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เหล่านี้ต้องถูกปิดตัวลง

คำกล่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านพลังงานและด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ ทั้งสองนี้ได้รับการตอบรับจากผู้บริหารของอุตสาหกรรมด้านพลังงาน เพราะคุณแดน สต๊อดดาท ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านนิวเคลียร์ของ Dominion Energy บริษัทเอกชนรายสำคัญผู้ผลิตพลังงานในสหรัฐฯ ก็แสดงความเห็นด้วยกับเรื่องนี้ว่าหากสหรัฐฯ ต้องการจะผลิตไฟฟ้าโดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนและต้องการจะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผลิตก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์แล้วการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตพลังไฟฟ้าก็จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบอยู่ด้วย

ตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ นั้นการใช้พลังนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะพลังงานที่ได้จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูขนาดหนึ่ง gigawatt นั้นจะต้องอาศัยแผงไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ถึง 3 ล้านแผงหรือใช้กังหันลมกว่า 400 ตัวเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจะต้องใช้เงินลงทุนสูง คืออาจถึงหลายพันดอลลาร์นั้นแต่ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือได้ รวมทั้งการไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานอื่นทำให้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นทางเลือกด้านพลังงานที่ค่อนข้างน่าไว้วางใจ นอกจากนั้นความต้องการพื้นที่เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังนิวเคลียร์ก็ยังน้อยกว่าทางเลือกอื่นด้วยเมื่อเทียบกัน เพราะผลผลิตไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์ 1 เมกะวัตต์นั้นจะใช้เนื้อที่เพียงราวห้าเฮคแตร์แต่หรือประมาณ 50,000 ตารางเมตรเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามกลุ่มด้านสิ่งแวดล้อมมักต่อต้านการใช้พลังนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพราะเคยมีตัวอย่างจากอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าปรมาณู Three Mile Island ของสหรัฐฯ โรงไฟฟ้า Chernobyl ที่ยูเครนและโรงไฟฟ้า Fukushima ในญี่ปุ่นมาแล้ว แต่มาในครั้งนี้องค์การ Greenpeace ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญที่แสดงจุดยืนคัดค้านเรื่องดังกล่าวมาก่อนกลับไม่ออกโรงคัดค้าน

โดย Greenpeace มีคำแถลงแต่เพียงว่าวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศในขณะนี้ต้องการวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง อย่างรวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังนิวเคลียร์นั้นไม่เข้าเกณฑ์ใดทั้งสิ้นในสามเรื่องนี้เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สิ้นเปลืองและเป็นอันตราย

นอกจากนั้นมลภาวะจากนิวเคลียร์ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็ไม่ได้หมายถึงว่าพลังงานดังกล่าวจะเป็นพลังงานสะอาดเสมอไป โดย Greenpeace ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประธานาธิบดีไบเดนมุ่งเน้นที่การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและหันมาสนใจลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากแหล่งความร้อนใต้โลก และพลังจากคลื่นในทะเลแทน

รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีไบเดนตั้งเป้าหมายว่าระบบเศรษฐกิจของอเมริกาจะสร้างก๊าซคาร์บอนสุทธิได้เป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2050 และกำลังพิจารณานโยบายเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่องค์การ Green Peace แม้จะไม่ต่อต้านเรื่องนี้อย่างที่เคยแต่ก็ขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ ค่อยๆ เลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนซึ่งนำมาใช้ใหม่ได้แทน

ขณะนี้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานนิวเคลียร์มากที่สุดในโลกคือมีทั้งสิ้นรวม 94 เครื่องและสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าสนองความต้องการใช้ในประเทศได้ราว 20% ซึ่งคุณจีน่า แมคคาธี ที่ปรึกษาด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของประธานาธิบดีไบเดนกล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เหล่านี้จะมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเป้าหมายของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบันที่จะเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งผลิตก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปีค.ศ. 2050 หรือในอีกราว 30 ปีต่อจากนี้

ส่วนนางเจนนิเฟอร์ แกรนด์โฮล์ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ก็แถลงเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมต่อคณะอนุกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เช่นกันว่าสหรัฐฯ จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของสภาพภูมิอากาศได้หากโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เหล่านี้ต้องถูกปิดตัวลง

คำกล่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านพลังงานและด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ ทั้งสองนี้ได้รับการตอบรับจากผู้บริหารของอุตสาหกรรมด้านพลังงาน เพราะคุณแดน สต๊อดดาท ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่และหัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านนิวเคลียร์ของ Dominion Energy บริษัทเอกชนรายสำคัญผู้ผลิตพลังงานในสหรัฐฯ ก็แสดงความเห็นด้วยกับเรื่องนี้ว่าหากสหรัฐฯ ต้องการจะผลิตไฟฟ้าโดยไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนและต้องการจะเป็นระบบเศรษฐกิจที่ผลิตก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์แล้วการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตพลังไฟฟ้าก็จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของคำตอบอยู่ด้วย

ตามข้อมูลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ นั้นการใช้พลังนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะพลังงานที่ได้จากเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูขนาดหนึ่ง gigawatt นั้นจะต้องอาศัยแผงไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ถึง 3 ล้านแผงหรือใช้กังหันลมกว่า 400 ตัวเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าการสร้างเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจะต้องใช้เงินลงทุนสูง คืออาจถึงหลายพันดอลลาร์นั้นแต่ประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือได้ รวมทั้งการไม่ต้องพึ่งพาแหล่งพลังงานอื่นทำให้โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นทางเลือกด้านพลังงานที่ค่อนข้างน่าไว้วางใจ นอกจากนั้นความต้องการพื้นที่เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังนิวเคลียร์ก็ยังน้อยกว่าทางเลือกอื่นด้วยเมื่อเทียบกัน เพราะผลผลิตไฟฟ้าจากเครื่องปฏิกรณ์ 1 เมกะวัตต์นั้นจะใช้เนื้อที่เพียงราวห้าเฮคแตร์แต่หรือประมาณ 50,000 ตารางเมตรเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตามกลุ่มด้านสิ่งแวดล้อมมักต่อต้านการใช้พลังนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพราะเคยมีตัวอย่างจากอุบัติเหตุที่โรงไฟฟ้าปรมาณู Three Mile Island ของสหรัฐฯ โรงไฟฟ้า Chernobyl ที่ยูเครนและโรงไฟฟ้า Fukushima ในญี่ปุ่นมาแล้ว แต่มาในครั้งนี้องค์การ Greenpeace ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญที่แสดงจุดยืนคัดค้านเรื่องดังกล่าวมาก่อนกลับไม่ออกโรงคัดค้าน

โดย Greenpeace มีคำแถลงแต่เพียงว่าวิกฤติด้านสภาพภูมิอากาศในขณะนี้ต้องการวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง อย่างรวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังนิวเคลียร์นั้นไม่เข้าเกณฑ์ใดทั้งสิ้นในสามเรื่องนี้เพราะเป็นเทคโนโลยีที่สิ้นเปลืองและเป็นอันตราย

นอกจากนั้นมลภาวะจากนิวเคลียร์ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นก็ไม่ได้หมายถึงว่าพลังงานดังกล่าวจะเป็นพลังงานสะอาดเสมอไป โดย Greenpeace ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประธานาธิบดีไบเดนมุ่งเน้นที่การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลและหันมาสนใจลงทุนเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่นพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานจากแหล่งความร้อนใต้โลก และพลังจากคลื่นในทะเลแทน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!