By : C. Methas - Managing Editor
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์ เป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางเหนือของประเทศนาอูรูและประเทศคิริบาส อยู่ทางตะวันออกของประเทศไมโครนีเซียและอยู่ทางใต้ของเกาะเวกของสหรัฐอเมริกา
มาร์แชลล์เป็นหมู่เกาะที่ยังคงเต็มไปด้วยธรรมชาติทางทะเลและมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นหมู่เกาะท่องเที่ยวที่มีทิวทัศน์สวยงามที่เป็นธรรมชาติอยู่มาก เนื่องจากความเจริญทางวัตถุยังเข้าไปไม่ถึง
ในภาคเกษตรกรรม ผลผลิตทางเกษตรมยังไม่สามารถขยายใหญ่เป็นแบบอุตสาหกรรมได้ ยังเป็นการทำไร่ขนาดเล็ก มีบริเวณเพาะปลูกน้อย ดินไม่มีคุณภาพ การเกษตรยังพัฒนาไปไม่ไกล ยังเป็นแบบพื้นบ้าน พืชผลทางเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ มะพร้าว มะเขือเทศ แตง อุตสาหกรรมขนาดเล็ก คือ งานหัตถกรรม ปลาที่ผ่านกระบวนการแปรรูป และ เนื้อมะพร้าวแห้ง
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์เชลล์เป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วย 29 หมู่เกาะ และ 5 เกาะเดี่ยว หมู่เกาะและเกาะเดี่ยวที่สำคัญที่สุดแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ แนวเกาะราตัก (Ratak Chain) และ แนวเกาะราลิก (Ralik Chain) หมายถึงแนวเกาะ "ดวงอาทิตย์ขึ้น" และ "ดวงอาทิตย์ตก" 2 ใน 3 ของประชากรอาศัยบนมาจูโร (เมืองหลวง) และ เอเบเย (Ebeye) หมู่เกาะทางด้านนอกมีคนอาศัยอยู่น้อย เนื่องจากไม่มีโอกาสทางการงานและการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ
สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มีฤดูฝนช่วงพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน มีไต้ฝุ่นบางครั้ง ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไมโครนีเซีย
หมู่เกาะมาร์แชลล์ประสบปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ปี 2534 รัฐบาลได้แก้ไขโดยออกพันธบัตรเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายและชำระหนี้สินซึ่งมีสูงถึง 143 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เกิดภาวะวิกฤตขึ้นในปี 2539 รัฐบาลมีนโยบายที่จะส่งเสริมการลงทุน จึงต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน
ด้านการประมง หมู่เกาะมาร์แชลล์มีทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะปลาทูน่า เปลือกหอย และไข่มุกดำ
ตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา นักลงทุนจากต่างชาติได้เริ่มเข้าไปทำอุตสาหกรรมในหมู่เกาะมาร์แชลล์ บริษัทของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เข้าไปจับปลาทูน่าเป็นจำนวนมาก แม้จะมีวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ แต่หมู่เกาะมาร์แชลล์ก็ยังมีความต้องการที่จะนำเข้าปลากระป๋องเป็นจำนวนมากเช่นกัน เนื่องจากยังมีศักยภาพไม่มากพอที่จะทำอุตสาหกรรมการแปรรูปวัตถุดิบได้
ความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของหมู่เกาะมาร์แชลล์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรในทะเล แร่ธาตุ และแหล่งท่องเที่ยว
แต่เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีคุณภาพ หมู่เกาะมาร์แชลล์จึงยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้เต็มที่
ประเทศหมู่เกาะมาร์แชลล์สามารถกำหนดนโยบายภายในและต่างประเทศ ยกเว้นด้านการป้องกันประเทศและความมั่นคงที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของสหรัฐฯ โดยยังคงมีบทบาทให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศ หมู่เกาะมาร์แชลล์เป็นสมาชิกสหประชาชาติในปี พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์เชลล์ ในอดีตเคยเป็นเขตการปกครองของสหรัฐฯ มาก่อน ภายใต้ความตกลงร่วมกับสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2529 ทำให้สหรัฐฯ ยุติการปกครองหมู่เกาะมาร์แชลล์ในฐานะเป็นดินแดนในอารักขาของสหประชาชาติ โดยมีสถานะเป็นรัฐอิสระที่มีอธิปไตยปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2529
ในอดีตหมู่เกาะมาร์แชล์เป็นสมรภูมิรบสำคัญทางยุทธการแถบมหาสมุทรแปซิฟิกช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นสถานที่สหรัฐฯ ทดลองระเบิดนิวเคลียร์