MONGOLIA-อดีต…ศูนย์กลางจักรวรรดิมองโกลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก (ตอนที่ 1)


By : C. Methas – Managing Editor

มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวน แต่มาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจ ทางมองโกเลียต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าว

มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2464 และจากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียต ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2533 ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้

มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด เรียกว่า ไอมัก แต่เดิมมองโกเลียเป็นมณฑลของจีน มีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก และยังเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช โดยมีกรุงอูลานบาตอร์เป็นเมืองหลวงของมองโกเลีย ใช้ภาษามองโกเลียเป็นภาษาราชการ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแบบทะเลทราย ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก ชนพื้นเมืองเป็นชาวมองโกล 90 % ชาวคาซัค 4 % ชาวรัสเซีย 2 % ชาวจีน 2 % อื่นๆ 2 % ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า “เยิร์ต” ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ถึง 20 ครั้ง

ประเทศมองโกเลียมีชื่อทางการ สาธารณรัฐมองโกเลีย เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,564,116 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 19 ของโลก มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่า 1%

มองโกเลียมีประชากรประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก นับถือศาสนาพุทธ นิกายวัชรญานแบบทิเบต และประชากรจำนวน 38 % อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์

ประวัติศาสตร์ของประเทศมองโกเลีย ในอดีตเคยเป็นจักรวรรดิมองโกลที่มีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ต้นกำเนิดชนเผ่ามองโกลและการรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกันของเตมูจินหรือเจ็งกิสข่านเมื่อปีพ.ศ. 1749 พื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงยุโรปตะวันออก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกในช่วงคริสตศตวรรษที่ 13-14 อย่างใหญ่หลวง

วิถีชีวิตของชนเผ่ามองโกลในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นเผ่าเล็ก ๆ มีประชากรไม่มากนัก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนทะเลทรายโกบี และบริเวณประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน ในบริเวณทะเลทรายโกบีนี้มีชนเผ่าอื่นอีกนอกจากชนเผ่ามองโกลซึ่งมีชนเผ่าอาศัยอยู่นับร้อยเผ่า ต่างภาษา ต่างศาสนา วิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารหรือล่าสัตว์เป็นอาหาร และมีกระโจมเป็นที่พักที่เรียกว่า เยิรต์

ภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบสูง อาหารสามารถหาได้เฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิ ม้าและวัวผลิตน้ำนมได้มากพอในฤดูกาลนี้เท่านั้น นักล่าสัตว์จะนำสัตว์ที่ล่าได้มานำมาปรุงเป็นอาหารในหม้อใหญ่ คนหนุ่มวัยฉกรรจ์นักรบของเผ่าจะได้กินเป็นกลุ่มแรก คนชราและสตรีเป็นกลุ่มต่อมา ส่วนเด็กต้องคอยแย่งอาหารส่วนที่เหลือมารับประทาน

ช่วงฤดูหนาว ม้าและวัวตัวเมียให้ปริมาณน้ำนมน้อย นมที่เหลือจะเก็บไว้ในรูปคูมิสส์หรือนมเปรี้ยว ถูกบรรจุไว้ในถุงหนังหรือถุงกระเพาะสัตว์ เหมาะกับเด็กในวัย3 – 4 ขวบ ทดแทนการขาดแคลนเนื้อ

ปลายฤดูหนาวเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเด็กและคนหนุ่มสาว เนื้อสัตว์มีน้อย นักรบของเผ่าจึงออกไปปล้นมาจากเผ่าอื่น เด็กต้องเรียนรู้วิธีล่าสัตว์ด้วยตนเอง เช่น ล่าสุนัขและกระต่ายด้วยกระบอง หรือลูกศรทื่อไม่คมเพื่อมิให้สัตว์ตายทันที และเรียนรู้วิธีขี่ม้า ขี่แกะ ด้วยการใช้มือดึงขนสัตว์ไว้

By : C. Methas - Managing Editor

มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวน แต่มาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจ ทางมองโกเลียต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าว

มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2464 และจากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียต ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2533 ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้

มองโกเลียแบ่งเขตออกเป็น 21 จังหวัด เรียกว่า ไอมัก แต่เดิมมองโกเลียเป็นมณฑลของจีน มีการแบ่งมองโกเลียเป็นเขตย่อยลงไปอีก และยังเป็นเช่นนี้หลังจากที่มองโกเลียเป็นเอกราช โดยมีกรุงอูลานบาตอร์เป็นเมืองหลวงของมองโกเลีย ใช้ภาษามองโกเลียเป็นภาษาราชการ

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแบบทะเลทราย ในฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนมาก ในฤดูหนาวอากาศหนาวมากและมีหิมะตก ชนพื้นเมืองเป็นชาวมองโกล 90 % ชาวคาซัค 4 % ชาวรัสเซีย 2 % ชาวจีน 2 % อื่นๆ 2 % ชาวมองโกลจะอาศัยอยู่สิ่งที่เรียกว่า "เยิร์ต" ที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย และชาวมองโกลส่วนใหญ่เป็นพวกเร่ร่อน ในปีหนึ่งชาวมองโกลจะย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ถึง 20 ครั้ง

ประเทศมองโกเลียมีชื่อทางการ สาธารณรัฐมองโกเลีย เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,564,116 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 19 ของโลก มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่า 1%

มองโกเลียมีประชากรประมาณ 2 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า 3 เท่า เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก นับถือศาสนาพุทธ นิกายวัชรญานแบบทิเบต และประชากรจำนวน 38 % อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์

ประวัติศาสตร์ของประเทศมองโกเลีย ในอดีตเคยเป็นจักรวรรดิมองโกลที่มีอาณาเขตกว้างขวางมากที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ต้นกำเนิดชนเผ่ามองโกลและการรวบรวมชนเผ่าต่าง ๆ เข้าด้วยกันของเตมูจินหรือเจ็งกิสข่านเมื่อปีพ.ศ. 1749 พื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงยุโรปตะวันออก ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออกในช่วงคริสตศตวรรษที่ 13-14 อย่างใหญ่หลวง

วิถีชีวิตของชนเผ่ามองโกลในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 11 เป็นเผ่าเล็ก ๆ มีประชากรไม่มากนัก ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนทะเลทรายโกบี และบริเวณประเทศมองโกเลียในปัจจุบัน ในบริเวณทะเลทรายโกบีนี้มีชนเผ่าอื่นอีกนอกจากชนเผ่ามองโกลซึ่งมีชนเผ่าอาศัยอยู่นับร้อยเผ่า ต่างภาษา ต่างศาสนา วิถีชีวิตแบบเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารหรือล่าสัตว์เป็นอาหาร และมีกระโจมเป็นที่พักที่เรียกว่า เยิรต์

ภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบสูง อาหารสามารถหาได้เฉพาะช่วงฤดูใบไม้ผลิ ม้าและวัวผลิตน้ำนมได้มากพอในฤดูกาลนี้เท่านั้น นักล่าสัตว์จะนำสัตว์ที่ล่าได้มานำมาปรุงเป็นอาหารในหม้อใหญ่ คนหนุ่มวัยฉกรรจ์นักรบของเผ่าจะได้กินเป็นกลุ่มแรก คนชราและสตรีเป็นกลุ่มต่อมา ส่วนเด็กต้องคอยแย่งอาหารส่วนที่เหลือมารับประทาน

ช่วงฤดูหนาว ม้าและวัวตัวเมียให้ปริมาณน้ำนมน้อย นมที่เหลือจะเก็บไว้ในรูปคูมิสส์หรือนมเปรี้ยว ถูกบรรจุไว้ในถุงหนังหรือถุงกระเพาะสัตว์ เหมาะกับเด็กในวัย3 - 4 ขวบ ทดแทนการขาดแคลนเนื้อ

ปลายฤดูหนาวเป็นช่วงที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเด็กและคนหนุ่มสาว เนื้อสัตว์มีน้อย นักรบของเผ่าจึงออกไปปล้นมาจากเผ่าอื่น เด็กต้องเรียนรู้วิธีล่าสัตว์ด้วยตนเอง เช่น ล่าสุนัขและกระต่ายด้วยกระบอง หรือลูกศรทื่อไม่คมเพื่อมิให้สัตว์ตายทันที และเรียนรู้วิธีขี่ม้า ขี่แกะ ด้วยการใช้มือดึงขนสัตว์ไว้

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!