NEPAL-ประเทศขนาดเล็กบนเทือกเขาหิมาลัยหลากหลายวัฒนธรรม (ตอนที่ 1)


By : C. Methas – Managing Editor

ประเทศเนปาลเป็นประเทศขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศจีน คือแคว้นทิเบตทางตอนเหนือ และประเทศอินเดียทางตอนใต้ เมือง กาฐมัณฑุเป็นเมืองหลวง เนปาลมีพื้นที่ทั้งหมด 145,391 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 23 ล้านคน

ประชากรนับถือศาสนาฮินดู 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธ 8 เปอร์เซ็นต์และนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์และอิสลาม 2 เปอร์เซ็นต์

ภาษาเนปาลีเป็นภาษาประจำชาติ มีรากฐานมาจากชาวอินเดียทางภาคเหนือ แต่โดยทั่วไปชาวเนปาลีจะพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี เนื่องจากเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และอังกฤษได้ตั้งกองทหารที่มีชนเผ่ากุรข่า ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีความชำนาญในการรบอย่างมากและมีระเบียบวินัยสูง

ธงชาติของประเทศเนปาลประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1962 จะมีลักษณะที่แตกต่างจากธงประจำชาติของประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากมีรูปร่างของธงจะมีลักษณะสามเหลี่ยม 2 ชิ้นประกบกัน ขอบของธงชาติจะเดินด้วยสีน้ำเงิน พื้นเป็นสีแดง มีสัญลักษณ์สีขาวอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม ชิ้นบน เป็นรูปพระจันทร์สิ้ว อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ และชิ้นล่างเป็นรูปพระอาทิตย์ อันหมายถึง อำนาจแห่งตระกูลรานา

ประชากร ประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่สำคัญ ได้แก่พวกมองโกลอยด์ มาจากธิเบต สิกขิม และบริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล ส่วนอีกพวกหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากอินโดอารยัน ที่อพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย

ประชาชนในประเทศเนปาลมีหลากหลายเผ่าพันธุ์ด้วยกันและมีการจัดแบ่งชั้นวรรณะ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ได้รับการยกย่องและมีอำนาจมากที่สุดในสังคม ได้แก่ วรรณะพรามณ์,กษัตริย์ และแพทย์

กลุ่มที่สำคัญรองลงมา เป็นชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในประเทศเนปาล ได้แก่ เผ่ากุรุง และเผ่ามาการ์ อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกและทางตอนใต้ของที่ราบแนว เทือกเขาอันนาปูรณา,หิมาชูริ และ กาเนสหิมัล เผ่าไร, เผ่าลิมบู และเผ่าซูนูวาร์ อาศัยตามแนวที่ลาดและหมู่บ้านทางทิศตะวันออก เผ่าเชอร์ปาร์, เผ่ากุรข่า อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยบนความสูงระดับ 4,570 เมตร

เผ่าเนวาร์ เผ่านี้มีความสำคัญ อาศัยอยู่ในแถบเมืองหลวงกาฐมัณฑุ เผ่าทาไร, เผ่ายาดาวาส, เผ่าชาร์, เผ่าราชวาสิ และเผ่าดิมัล อาศัยตามที่ลุ่ม พวกชนเผ่าบามัล, เผ่าเชติ, เผ่าตาคูริ กระจายอยู่ทั่วไป

การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของประเทศ อันได้แก่ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี, ภาษา และวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการแบ่งแยก ได้แก่ ทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณะ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

By : C. Methas - Managing Editor

ประเทศเนปาลเป็นประเทศขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกทะเล ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงของเทือกเขาหิมาลัย มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศจีน คือแคว้นทิเบตทางตอนเหนือ และประเทศอินเดียทางตอนใต้ เมือง กาฐมัณฑุเป็นเมืองหลวง เนปาลมีพื้นที่ทั้งหมด 145,391 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 23 ล้านคน

ประชากรนับถือศาสนาฮินดู 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธ 8 เปอร์เซ็นต์และนับถือศาสนาอื่นๆ เช่น คริสต์และอิสลาม 2 เปอร์เซ็นต์

ภาษาเนปาลีเป็นภาษาประจำชาติ มีรากฐานมาจากชาวอินเดียทางภาคเหนือ แต่โดยทั่วไปชาวเนปาลีจะพูดและเข้าใจภาษาอังกฤษได้ดี เนื่องจากเคยเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และอังกฤษได้ตั้งกองทหารที่มีชนเผ่ากุรข่า ซึ่งเป็นชนเผ่าที่มีความชำนาญในการรบอย่างมากและมีระเบียบวินัยสูง

ธงชาติของประเทศเนปาลประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1962 จะมีลักษณะที่แตกต่างจากธงประจำชาติของประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากมีรูปร่างของธงจะมีลักษณะสามเหลี่ยม 2 ชิ้นประกบกัน ขอบของธงชาติจะเดินด้วยสีน้ำเงิน พื้นเป็นสีแดง มีสัญลักษณ์สีขาวอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยม ชิ้นบน เป็นรูปพระจันทร์สิ้ว อันหมายถึง พระมหากษัตริย์ และชิ้นล่างเป็นรูปพระอาทิตย์ อันหมายถึง อำนาจแห่งตระกูลรานา

ประชากร ประกอบด้วยชาติพันธุ์ที่สำคัญ ได้แก่พวกมองโกลอยด์ มาจากธิเบต สิกขิม และบริเวณภูเขาในแคว้นอัสสัมและเบงกอล ส่วนอีกพวกหนึ่งสืบเชื้อสายมาจากอินโดอารยัน ที่อพยพมาจากที่ราบลุ่มทางตอนเหนือของอินเดีย

ประชาชนในประเทศเนปาลมีหลากหลายเผ่าพันธุ์ด้วยกันและมีการจัดแบ่งชั้นวรรณะ โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ กลุ่มที่ได้รับการยกย่องและมีอำนาจมากที่สุดในสังคม ได้แก่ วรรณะพรามณ์,กษัตริย์ และแพทย์

กลุ่มที่สำคัญรองลงมา เป็นชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่ทั่วไปในประเทศเนปาล ได้แก่ เผ่ากุรุง และเผ่ามาการ์ อาศัยอยู่ทางทิศตะวันตกและทางตอนใต้ของที่ราบแนว เทือกเขาอันนาปูรณา,หิมาชูริ และ กาเนสหิมัล เผ่าไร, เผ่าลิมบู และเผ่าซูนูวาร์ อาศัยตามแนวที่ลาดและหมู่บ้านทางทิศตะวันออก เผ่าเชอร์ปาร์, เผ่ากุรข่า อาศัยอยู่ในบริเวณเทือกเขาหิมาลัยบนความสูงระดับ 4,570 เมตร

เผ่าเนวาร์ เผ่านี้มีความสำคัญ อาศัยอยู่ในแถบเมืองหลวงกาฐมัณฑุ เผ่าทาไร, เผ่ายาดาวาส, เผ่าชาร์, เผ่าราชวาสิ และเผ่าดิมัล อาศัยตามที่ลุ่ม พวกชนเผ่าบามัล, เผ่าเชติ, เผ่าตาคูริ กระจายอยู่ทั่วไป

การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของประเทศ อันได้แก่ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี, ภาษา และวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดการแบ่งแยก ได้แก่ ทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณะ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!