PERU-ประเทศขอบชายฝั่งตะวันตกในอเมริกาใต้ แหล่งอารยะธรรม “อินคา”


By : C. Methas – Managing Editor

สาธารณรัฐเปรู ประเทศติดขอบฝั่งตะวันตกในทวีปอเมริกาใต้ ด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อีกหนึ่งแหล่งอารยธรรมโบราณของชาว “อินคา” ปัจจุบันยังมีสิ่งปลูกสร้างโบราณต่าง ๆ มากมายและมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาไอย์มารา

เปรูเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นอาณานิคมของสเปน มีเมืองหลวงชื่อ ลิมา ได้รับเอกราชจากสเปน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ปีคศ. 1821 ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและใช้ภาษาไอย์มาราเป็นภาษาท้องถิ่น

กรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีฐานะเป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับแคว้นใด เป็นที่รู้จักกันในนามของมหานครลิมาหรือลิมาเมโตรโปลีตานา

โบราณสถานที่เป็นแหล่งอารยธรรมของชนเผ่า “อินคา” ที่ Machu Picchu, Cuzco เมืองโบราณบนเทือกเขาสูง ชนเผ่าอินคา ได้ชื่อว่า เป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูง เป็นอาณาจักรของจักรวรรดิอินคาที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ 20,000 ปี ที่มีการค้นพบถ้ำที่ Piquimachay และมีการค้นพบผลงานด้านเครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะและเสื้อผ้าถักทอก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรอินคาที่ยิ่งใหญ่ มีศูนย์กลางการบริหาร, การทหารและการเมืองอยู่ที่ Cuzco ก่อนที่สเปนเข้ามาครอบครอง ซึ่งเปรูเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดของสเปนในอเมริกา

อินคา มีความหมายว่า “พระเจ้าบนพื้นโลก” เป็นสังคมที่รักสันติภาพและความสงบสุบ แตกต่างกันชนเผ่า แอสแทค ที่ได้ชื่อว่าเป็นชนเผ่านักรบ ปัจจุบันยังมีบทเพลงของชาวอินคาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน และมีนักร้องที่มีเชื้อสายของชาวอินคาในอดีตที่ได้รับการบันทึกเสียงตามบทเพลงในอดีต ซึ่งเปรูมีเอกลักษณ์ของดนตรีเฉพาะตัว ที่เรียกว่า Andean Peruvian Music และมีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์หลายชนิดด้วยกัน เช่นกีต้าร์ Cajon เพลงที่โด่งดังได้แก่บทเพลง El Cóndor Pasa

El Cóndor Pasa หมายถึงเส้นทางของแร้ง อันแสดงถึงอิสระและพลัง ทำนองเพลงจากแถบเทือกเขาอินดีส ปัจจุบันถือเป็น เพลงประจำชาติที่ 2 ของเปรู แต่งและเรียบเรียงเป็นภาษาสเปน โดย Daniel Alomia Robles ปี พ.ศ. 2456 เพลงนี้ถูกนำไปร้องมากกว่า 4,000 เวอร์ชั่น

Paul Simon นำมาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ โดยได้รับการเห็นชอบของ Daniel Alomia Robles ชื่อเพลง El Cóndor Pasa (If I Could) ใช้ El Cóndor Pasa ขึ้นไว้เสมอเพื่อเป็นเกียรติให้ แก่ El Cóndor Pasa ร้องโดย Simon & Garfunkel ในปี พ.ศ. 2513  อัลบัมชุด Bridge Over Troubled Water

อาณาจักรอินคาเปรียบเสมือนสังคม “ยูโทเปียน” ของยุโรป ซึ่งเป็นสังคมในจินตนาการ Francisco Pizarro และน้องชายของเขาได้มาถึงอาณาจักรที่เต็มไปด้วยอารยธรรมแห่งนี้ เมื่อปีคศ. 1531 ที่เขาเรียกว่า เปรู ซึ่งไม่ใช่เป็นภาษา Quechuan หรือ Caribbean แต่เป็นภาษา Indo-Hispanic หรือ Hybrid ปัจจุบันอาคารรัฐสภาของเปรู ชื่อว่า Casa de Pizarro

อาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในเมืองใหญ่ ๆ ของเปรู ยังคงมีเอกลักษณ์ของอิทธิพลจากสเปนจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เปรูเป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่ประกาศเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา เพื่อต่อต้านเยอรมนีและญี่ปุ่น

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นเรื่องของการผจญภัยในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ที่เต็มไปด้วยพืชและสัตว์นานาชนิดที่มีแห่งเดียวในโลก ซึ่งป่าที่เปรูได้รับการอนุรักษ์ที่ยังเต็มไปด้วยธรรมชาติ ที่เมือง Lomas de Lachay และแถบเมืองท่องเที่ยวริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นที่เมือง Punta Sal

เปรูเป็นประเทศที่สองในอเมริกาใต้ ที่ได้เซ็นสัญญากับสหรัฐฯ ในสนธิสัญญาการค้าเสรี เมื่อเดือนเมษายน ปีนี้ และอีกหนึ่งจุดเด่นของเปรู เป็นเรื่องของกีฬาเรือใบ ที่เปรูเป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 6 สมัยในประเภท Sunfish Class และในประเภท Optimist Class คว้าแชมป์โลกได้ 3 สมัยในปี 1997-1999

ประเทศเปรูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 1,285,220 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 20 ของโลก มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณสองเท่า มีประชากรประมาณ 27 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 39 ได้แบ่งดินแดนการปกครองออกเป็น 25 แคว้นและแบ่งย่อยออกเป็นจังหวัด รวมทั้งหมดมี 194 จังหวัดและ 1,821 อำเภอ

อีกหนึ่งจุดเด่นของชาวอินคา นอกจากเรือทำด้วยเชือกแล้วยังมีสะพานเชือกชาวอินคาที่ทำจากหญ้า

ด้านหนึ่งของที่ราบสูงจอร์จ ในเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรู มีสะพานเชือกชาวอินคาอันเก่าแก่ ทอดตัวเหนือแม่น้ำอาปูริแมก

ทุกๆ ฤดูใบไม้ผลิ บรรดาชนพื้นเมืองจะร่วมมือร่วมใจกันจากคนละฝั่งของแม่น้ำ เพื่อฟั่นเชือกความยาวมากกว่าร้อยฟุต ความหนาพอๆ กับต้นขามนุษย์ สำหรับซ่อมแซมสะพานเก่า โครงสร้างเก่าๆ จะถูกตัดและทิ้งลงไปยังเบื้องล่าง และตลอดสามวันของการการทำงาน, สวดภานา และเฉลิมฉลอง สะพานใหม่จะปรากฏให้ได้ยลโฉมกัน นี่คือเรื่องราวของสะพานเกสวาชากา (Q’eswachaka) ที่ถูกสร้างและสร้างซ้ำขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องมานานกว่าห้าศตวรรษ

เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ที่สะพานแห่งนี้ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านที่ตั้งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำ ในจังหวัด Canas ประเทศเปรู ย้อนกลับไปในอดีตสะพานเชือกลักษณะนี้ถูกสร้างขึ้นมากมายในยุคสมัยของอารยธรรมอินคา เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางในฐานะ “Great Inca Road” สะพานเหล่านี้รวมกันมีความยาวราว 40,000 กิโลเมตร เชื่อมต่อชุมชนห่างไกล และช่วยให้ทหาร, ผู้ส่งสาร ไปจนถึงประชาชนทั่วไปเดินทางมายังอาณาจักรของจักรพรรดิ

เครือข่ายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ชาวอินคามองว่าจะใช้เชื่อมต่อไปทั่วโลก รายงานจาก José Barreiro ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกละตินอเมริกา จากศูนย์วิจัยและพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน โดย Barreiro เองทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ร่วมนิทรรศการ Inca Road ทั้งยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับสะพานเกสวาชาก้า

“สะพานคือการขยายอาณาจักรของแคว้นกุสโก (เมืองหลวงของชาวอินคา) ออกไปทั้งสี่ทิศ และข้ามเทือกเขาแอนดีสที่มีภูมิประเทศอันโหดร้าย” เขากล่าว ในศตวรรษที่ 16 จักรวรรดิสเปนโค่นล้มราชวงศ์อินคา ในระหว่างการล่าอาณานิคม ชาวตะวันตกรู้สึกทึ่งกับเทคโนโลยีการสร้างสะพานของพวกเขา ที่ชนพื้นเมืองสามารถสร้างสะพานขึ้นได้เหนือแม่น้ำที่มีความกว้างมากเกินกว่าที่จะสร้างสะพานไม้แบบปกติ ทว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา สะพานหลายแห่งถูกทำลายไปมาก บางแห่งเสื่อมสภาพ หรือถูกเลิกใช้อย่างถาวร เมื่อเริ่มมีถนนตัดผ่านในศตวรรษที่ยี่สิบ

ในปี 2013 สะพานเกสวาชาก้าได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกเป็นมรดกโลกที่ไม่มีตัวตน “มองไปที่สะพานคุณจะเห็นวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ตรงหน้า ย้อนหลังไปไกลได้ตั้ง 500 ปี” Barreiro กล่าว “เมื่อราชวงศ์อินคาถูกทำลายไปแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียงวัฒนธรรมในระดับรากหญ้า”

การทำงานร่วมกัน คือหัวใจหลักของวัฒนธรรมนี้ เขากล่าว ผู้คนจากหลายชุมชนจะร่วมกันลงแรงสร้างสะพาน แม้ไม่ได้ค่าตอบแทน แต่ทุกคนทราบดีว่าสุดท้ายแล้วทุกหมู่บ้านล้วนได้ประโยชน์จากสะพานนี้ กระบวนการสร้างสะพานถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่ใช่กระบวนการสร้างสะพานที่สืบมาแต่โบราณ แต่คือความถี่ รายงานจาก Barreiro ก่อนหน้านี้ชุมชนบนเทือกเขาแอนดีสเปลี่ยนสะพานเพียงครั้งเดียวทุกๆ สามปี แต่เมื่อเรื่องราวของพวกเขากลายเป็นที่สนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม ทุกวันนี้พวกเขาเพิ่มความถี่เป็นปีละครั้ง ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านความปลอดภัยแก่ผู้คนในหมู่บ้านเอง เมื่อสะพานได้รับการดูแลบ่อยขึ้น และเมื่อสะพานได้รับการสร้างขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อย พวกเขาก็จะร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยดนตรี อาหาร และการสวดภาวนา ก่อนที่วาระใหม่จะเวียนมาบรรจบในปีหน้า

By : C. Methas - Managing Editor

สาธารณรัฐเปรู ประเทศติดขอบฝั่งตะวันตกในทวีปอเมริกาใต้ ด้านชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก อีกหนึ่งแหล่งอารยธรรมโบราณของชาว “อินคา” ปัจจุบันยังมีสิ่งปลูกสร้างโบราณต่าง ๆ มากมายและมีภาษาท้องถิ่นเป็นของตนเองเรียกว่า ภาษาไอย์มารา

เปรูเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เป็นอาณานิคมของสเปน มีเมืองหลวงชื่อ ลิมา ได้รับเอกราชจากสเปน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ปีคศ. 1821 ใช้ภาษาสเปนเป็นภาษาราชการและใช้ภาษาไอย์มาราเป็นภาษาท้องถิ่น

กรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางตอนกลางของประเทศ เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีฐานะเป็นเอกเทศไม่ขึ้นกับแคว้นใด เป็นที่รู้จักกันในนามของมหานครลิมาหรือลิมาเมโตรโปลีตานา

โบราณสถานที่เป็นแหล่งอารยธรรมของชนเผ่า “อินคา” ที่ Machu Picchu, Cuzco เมืองโบราณบนเทือกเขาสูง ชนเผ่าอินคา ได้ชื่อว่า เป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูง เป็นอาณาจักรของจักรวรรดิอินคาที่มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่ 20,000 ปี ที่มีการค้นพบถ้ำที่ Piquimachay และมีการค้นพบผลงานด้านเครื่องปั้นดินเผา เครื่องโลหะและเสื้อผ้าถักทอก่อนที่จะมาเป็นอาณาจักรอินคาที่ยิ่งใหญ่ มีศูนย์กลางการบริหาร, การทหารและการเมืองอยู่ที่ Cuzco ก่อนที่สเปนเข้ามาครอบครอง ซึ่งเปรูเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดของสเปนในอเมริกา

อินคา มีความหมายว่า “พระเจ้าบนพื้นโลก” เป็นสังคมที่รักสันติภาพและความสงบสุบ แตกต่างกันชนเผ่า แอสแทค ที่ได้ชื่อว่าเป็นชนเผ่านักรบ ปัจจุบันยังมีบทเพลงของชาวอินคาที่ได้รับการถ่ายทอดมาจนถึงปัจจุบัน และมีนักร้องที่มีเชื้อสายของชาวอินคาในอดีตที่ได้รับการบันทึกเสียงตามบทเพลงในอดีต ซึ่งเปรูมีเอกลักษณ์ของดนตรีเฉพาะตัว ที่เรียกว่า Andean Peruvian Music และมีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์หลายชนิดด้วยกัน เช่นกีต้าร์ Cajon เพลงที่โด่งดังได้แก่บทเพลง El Cóndor Pasa

El Cóndor Pasa หมายถึงเส้นทางของแร้ง อันแสดงถึงอิสระและพลัง ทำนองเพลงจากแถบเทือกเขาอินดีส ปัจจุบันถือเป็น เพลงประจำชาติที่ 2 ของเปรู แต่งและเรียบเรียงเป็นภาษาสเปน โดย Daniel Alomia Robles ปี พ.ศ. 2456 เพลงนี้ถูกนำไปร้องมากกว่า 4,000 เวอร์ชั่น

Paul Simon นำมาแต่งเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษ โดยได้รับการเห็นชอบของ Daniel Alomia Robles ชื่อเพลง El Cóndor Pasa (If I Could) ใช้ El Cóndor Pasa ขึ้นไว้เสมอเพื่อเป็นเกียรติให้ แก่ El Cóndor Pasa ร้องโดย Simon & Garfunkel ในปี พ.ศ. 2513  อัลบัมชุด Bridge Over Troubled Water

อาณาจักรอินคาเปรียบเสมือนสังคม “ยูโทเปียน” ของยุโรป ซึ่งเป็นสังคมในจินตนาการ Francisco Pizarro และน้องชายของเขาได้มาถึงอาณาจักรที่เต็มไปด้วยอารยธรรมแห่งนี้ เมื่อปีคศ. 1531 ที่เขาเรียกว่า เปรู ซึ่งไม่ใช่เป็นภาษา Quechuan หรือ Caribbean แต่เป็นภาษา Indo-Hispanic หรือ Hybrid ปัจจุบันอาคารรัฐสภาของเปรู ชื่อว่า Casa de Pizarro

อาคารสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ในเมืองใหญ่ ๆ ของเปรู ยังคงมีเอกลักษณ์ของอิทธิพลจากสเปนจำนวนมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เปรูเป็นประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่ประกาศเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกา เพื่อต่อต้านเยอรมนีและญี่ปุ่น

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นเรื่องของการผจญภัยในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ที่เต็มไปด้วยพืชและสัตว์นานาชนิดที่มีแห่งเดียวในโลก ซึ่งป่าที่เปรูได้รับการอนุรักษ์ที่ยังเต็มไปด้วยธรรมชาติ ที่เมือง Lomas de Lachay และแถบเมืองท่องเที่ยวริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นที่เมือง Punta Sal

เปรูเป็นประเทศที่สองในอเมริกาใต้ ที่ได้เซ็นสัญญากับสหรัฐฯ ในสนธิสัญญาการค้าเสรี เมื่อเดือนเมษายน ปีนี้ และอีกหนึ่งจุดเด่นของเปรู เป็นเรื่องของกีฬาเรือใบ ที่เปรูเป็นเพียงประเทศเดียวที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 6 สมัยในประเภท Sunfish Class และในประเภท Optimist Class คว้าแชมป์โลกได้ 3 สมัยในปี 1997-1999

ประเทศเปรูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 1,285,220 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 20 ของโลก มีขนาดใหญ่กว่าประเทศไทยประมาณสองเท่า มีประชากรประมาณ 27 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ 39 ได้แบ่งดินแดนการปกครองออกเป็น 25 แคว้นและแบ่งย่อยออกเป็นจังหวัด รวมทั้งหมดมี 194 จังหวัดและ 1,821 อำเภอ

อีกหนึ่งจุดเด่นของชาวอินคา นอกจากเรือทำด้วยเชือกแล้วยังมีสะพานเชือกชาวอินคาที่ทำจากหญ้า

ด้านหนึ่งของที่ราบสูงจอร์จ ในเทือกเขาแอนดีส ประเทศเปรู มีสะพานเชือกชาวอินคาอันเก่าแก่ ทอดตัวเหนือแม่น้ำอาปูริแมก

ทุกๆ ฤดูใบไม้ผลิ บรรดาชนพื้นเมืองจะร่วมมือร่วมใจกันจากคนละฝั่งของแม่น้ำ เพื่อฟั่นเชือกความยาวมากกว่าร้อยฟุต ความหนาพอๆ กับต้นขามนุษย์ สำหรับซ่อมแซมสะพานเก่า โครงสร้างเก่าๆ จะถูกตัดและทิ้งลงไปยังเบื้องล่าง และตลอดสามวันของการการทำงาน, สวดภานา และเฉลิมฉลอง สะพานใหม่จะปรากฏให้ได้ยลโฉมกัน นี่คือเรื่องราวของสะพานเกสวาชากา (Q’eswachaka) ที่ถูกสร้างและสร้างซ้ำขึ้นใหม่อย่างต่อเนื่องมานานกว่าห้าศตวรรษ

เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ที่สะพานแห่งนี้ทำหน้าที่เชื่อมระหว่างหมู่บ้านที่ตั้งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำ ในจังหวัด Canas ประเทศเปรู ย้อนกลับไปในอดีตสะพานเชือกลักษณะนี้ถูกสร้างขึ้นมากมายในยุคสมัยของอารยธรรมอินคา เพื่อเชื่อมต่อเส้นทางในฐานะ “Great Inca Road” สะพานเหล่านี้รวมกันมีความยาวราว 40,000 กิโลเมตร เชื่อมต่อชุมชนห่างไกล และช่วยให้ทหาร, ผู้ส่งสาร ไปจนถึงประชาชนทั่วไปเดินทางมายังอาณาจักรของจักรพรรดิ

เครือข่ายเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ชาวอินคามองว่าจะใช้เชื่อมต่อไปทั่วโลก รายงานจาก José Barreiro ผู้ช่วยผู้อำนวยการแผนกละตินอเมริกา จากศูนย์วิจัยและพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน โดย Barreiro เองทำหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ร่วมนิทรรศการ Inca Road ทั้งยังทำงานวิจัยเกี่ยวกับสะพานเกสวาชาก้า

“สะพานคือการขยายอาณาจักรของแคว้นกุสโก (เมืองหลวงของชาวอินคา) ออกไปทั้งสี่ทิศ และข้ามเทือกเขาแอนดีสที่มีภูมิประเทศอันโหดร้าย” เขากล่าว ในศตวรรษที่ 16 จักรวรรดิสเปนโค่นล้มราชวงศ์อินคา ในระหว่างการล่าอาณานิคม ชาวตะวันตกรู้สึกทึ่งกับเทคโนโลยีการสร้างสะพานของพวกเขา ที่ชนพื้นเมืองสามารถสร้างสะพานขึ้นได้เหนือแม่น้ำที่มีความกว้างมากเกินกว่าที่จะสร้างสะพานไม้แบบปกติ ทว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมา สะพานหลายแห่งถูกทำลายไปมาก บางแห่งเสื่อมสภาพ หรือถูกเลิกใช้อย่างถาวร เมื่อเริ่มมีถนนตัดผ่านในศตวรรษที่ยี่สิบ

ในปี 2013 สะพานเกสวาชาก้าได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกเป็นมรดกโลกที่ไม่มีตัวตน “มองไปที่สะพานคุณจะเห็นวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ตรงหน้า ย้อนหลังไปไกลได้ตั้ง 500 ปี” Barreiro กล่าว “เมื่อราชวงศ์อินคาถูกทำลายไปแล้ว สิ่งที่เหลืออยู่มีเพียงวัฒนธรรมในระดับรากหญ้า”

การทำงานร่วมกัน คือหัวใจหลักของวัฒนธรรมนี้ เขากล่าว ผู้คนจากหลายชุมชนจะร่วมกันลงแรงสร้างสะพาน แม้ไม่ได้ค่าตอบแทน แต่ทุกคนทราบดีว่าสุดท้ายแล้วทุกหมู่บ้านล้วนได้ประโยชน์จากสะพานนี้ กระบวนการสร้างสะพานถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น และเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา

หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่ใช่กระบวนการสร้างสะพานที่สืบมาแต่โบราณ แต่คือความถี่ รายงานจาก Barreiro ก่อนหน้านี้ชุมชนบนเทือกเขาแอนดีสเปลี่ยนสะพานเพียงครั้งเดียวทุกๆ สามปี แต่เมื่อเรื่องราวของพวกเขากลายเป็นที่สนใจ และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม ทุกวันนี้พวกเขาเพิ่มความถี่เป็นปีละครั้ง ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านความปลอดภัยแก่ผู้คนในหมู่บ้านเอง เมื่อสะพานได้รับการดูแลบ่อยขึ้น และเมื่อสะพานได้รับการสร้างขึ้นใหม่เสร็จเรียบร้อย พวกเขาก็จะร่วมกันเฉลิมฉลองด้วยดนตรี อาหาร และการสวดภาวนา ก่อนที่วาระใหม่จะเวียนมาบรรจบในปีหน้า

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!