Slothbot หุ่นยนต์สโลว์ไลฟ์ช่วยให้มนุษย์เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น


นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียคิดค้นหุ่นยนต์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพฤติกรรมและคุณสมบัติของตัวสลอธ (sloth) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆมาออกแบบหุ่นยนต์ชื่อ slothbot เพื่อทดลองใช้งานเพื่อศึกษาธรรมชาติที่ต้องใช้เวลายาวนาน

ในโลกยุคที่มิติเรื่องขนาดและความเร็ว ไม่ว่าจะเป็น super store, super size, super computer หรือ super car กลายเป็นเรื่องที่มักถูกอวดอ้างว่าจะช่วยสร้างความเป็นต่อและข้อได้เปรียบในแทบทุกด้านนั้น

นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ได้ศึกษาและนำคุณสมบัติของตัว sloth ซึ่งใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟบนต้นไม้ในคอสตาริก้ามาออกแบบหุ่นยนต์ที่เรียกว่า slothbot โดยนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันประทับใจในชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ห้อยหัวจากกิ่งไม้ในทวีปอเมริกาใต้ดังกล่าวซึ่งอาศัยความเชื่องช้าในการดำเนินชีวิตเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการสงวนพลังงานและพรางตาจากสัตว์ที่เป็นศัตรู

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำแนวคิดของการมีชีวิตและการทำงานอย่างช้าๆของตัวสลอธ (sloth) มาออกแบบหุ่นยนต์ชื่อ slothbot เพื่อทดลองใช้งานที่สวนพฤกษศาสตร์ของนครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย

หุ่นดังกล่าวถูกแขวนและเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ บนเส้นลวดสลิงระหว่างต้นไม้สองต้นเพื่อช่วยตรวจจับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ นับตั้งแต่อุณหภูมิ สภาพอากาศ ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และความชื้น เป็นต้น พร้อมทั้งมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยสร้างพลังงาน

ศาสตราจารย์แมกนัส อีเกอร์สแตท ผู้ได้แนวคิดจากการศึกษาตัว sloth ในคอสตาริกาบอกว่าข้อสังเกตจากชีวิตแบบสโลว์ไลฟที่นำมาประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์ slothbot นั้นเป็นประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับการศึกษาและเก็บข้อมูลจากธรรมชาติ เนื่องจากบ่อยครั้งที่สิ่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปนั้นใช้เวลานานมากกว่าที่ตาหรือเวลาของมนุษย์จะจับได้ และหุ่นยนต์ slothbot ในลักษณะนี้ก็ได้เปรียบเพราะสามารถปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเพื่อเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น โรคที่เกิดกับพืช ศัตรูพืชหรือแม้กระทั่งกลไกลการขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์บางชนิด นอกจากนั้นความช้าของหุ่นยนต์ยังทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานและสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้นานหลายปีด้วย

ส่วนคุณเอมมิลี คอฟฟี่ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและอนุรักษ์ของสวนพฤกษศาสตร์แอตแลนต้าบอกว่าหุ่นสโลว์ไลฟ์ slothbot นี้เป็นตัวอย่างที่น่าตื่นเต้นของการผสมผสานการเรียนรู้จากธรรมชาติเข้ากับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อประโยชน์ของการอนุรักษ์และหากการทดลองขั้นต้นที่สวนพฤกษศาสตร์นี้ได้ผลดีนักวิจัยก็มีแผนจะใช้หุ่น slothbot ในอเมริกาใต้เพื่อศึกษากลไกการผสมพันธุ์ของกล้วยไม้พันธุ์หายากบางชนิดรวมทั้งเพื่อศึกษาชีวิตของกบที่ใกล้จะสูญพันธุ์ต่อไป

นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจียคิดค้นหุ่นยนต์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพฤติกรรมและคุณสมบัติของตัวสลอธ (sloth) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคลื่อนตัวอย่างช้าๆมาออกแบบหุ่นยนต์ชื่อ slothbot เพื่อทดลองใช้งานเพื่อศึกษาธรรมชาติที่ต้องใช้เวลายาวนาน

ในโลกยุคที่มิติเรื่องขนาดและความเร็ว ไม่ว่าจะเป็น super store, super size, super computer หรือ super car กลายเป็นเรื่องที่มักถูกอวดอ้างว่าจะช่วยสร้างความเป็นต่อและข้อได้เปรียบในแทบทุกด้านนั้น

นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ได้ศึกษาและนำคุณสมบัติของตัว sloth ซึ่งใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟบนต้นไม้ในคอสตาริก้ามาออกแบบหุ่นยนต์ที่เรียกว่า slothbot โดยนักวิทยาศาสตร์ของสถาบันประทับใจในชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ห้อยหัวจากกิ่งไม้ในทวีปอเมริกาใต้ดังกล่าวซึ่งอาศัยความเชื่องช้าในการดำเนินชีวิตเป็นข้อได้เปรียบสำหรับการสงวนพลังงานและพรางตาจากสัตว์ที่เป็นศัตรู

โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำแนวคิดของการมีชีวิตและการทำงานอย่างช้าๆของตัวสลอธ (sloth) มาออกแบบหุ่นยนต์ชื่อ slothbot เพื่อทดลองใช้งานที่สวนพฤกษศาสตร์ของนครแอตแลนต้า รัฐจอร์เจีย

หุ่นดังกล่าวถูกแขวนและเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ บนเส้นลวดสลิงระหว่างต้นไม้สองต้นเพื่อช่วยตรวจจับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ นับตั้งแต่อุณหภูมิ สภาพอากาศ ระดับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และความชื้น เป็นต้น พร้อมทั้งมีแผงเซลล์แสงอาทิตย์ช่วยสร้างพลังงาน

ศาสตราจารย์แมกนัส อีเกอร์สแตท ผู้ได้แนวคิดจากการศึกษาตัว sloth ในคอสตาริกาบอกว่าข้อสังเกตจากชีวิตแบบสโลว์ไลฟที่นำมาประยุกต์ใช้กับหุ่นยนต์ slothbot นั้นเป็นประโยชน์โดยเฉพาะสำหรับการศึกษาและเก็บข้อมูลจากธรรมชาติ เนื่องจากบ่อยครั้งที่สิ่งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปนั้นใช้เวลานานมากกว่าที่ตาหรือเวลาของมนุษย์จะจับได้ และหุ่นยนต์ slothbot ในลักษณะนี้ก็ได้เปรียบเพราะสามารถปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเพื่อเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็นความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น โรคที่เกิดกับพืช ศัตรูพืชหรือแม้กระทั่งกลไกลการขยายพันธุ์ของพืชและสัตว์บางชนิด นอกจากนั้นความช้าของหุ่นยนต์ยังทำให้ไม่สิ้นเปลืองพลังงานและสามารถทำงานอย่างต่อเนื่องได้นานหลายปีด้วย

ส่วนคุณเอมมิลี คอฟฟี่ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและอนุรักษ์ของสวนพฤกษศาสตร์แอตแลนต้าบอกว่าหุ่นสโลว์ไลฟ์ slothbot นี้เป็นตัวอย่างที่น่าตื่นเต้นของการผสมผสานการเรียนรู้จากธรรมชาติเข้ากับเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อประโยชน์ของการอนุรักษ์และหากการทดลองขั้นต้นที่สวนพฤกษศาสตร์นี้ได้ผลดีนักวิจัยก็มีแผนจะใช้หุ่น slothbot ในอเมริกาใต้เพื่อศึกษากลไกการผสมพันธุ์ของกล้วยไม้พันธุ์หายากบางชนิดรวมทั้งเพื่อศึกษาชีวิตของกบที่ใกล้จะสูญพันธุ์ต่อไป

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!