By : C. Methas – Managing Editor
หากไม่มี “ถนน” ในโลกนี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จะไปได้ไม่กว้างขวางจนครบทุก 5 ทวีปอย่างเช่นทุกวันนี้ ถนนจึงกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของทุกประเทศด้านสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศที่ไม่แตกต่างไปจากการไฟฟ้า, การประปา, ระบบขนส่งมวลชน, ท่าเรือและการบิน
ถนนหนทางที่มีการสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้พัฒนาจนเป็นระบบการจราจร อาทิ สัญญาณไฟจราจร, ทางม้าลาย, สัญลักษณ์การจราจร, สะพานข้ามแยก, สะพานข้ามแม่น้ำ, อุโมงค์ลอดแม่น้ำและช่องแคบและแม้แต่ไฟส่องสว่างตามท้องถนนซึ่งได้มีการวิวัฒนาการไปตามแต่ละยุคสมัยจนกระทั่งมาถึงยุคสื่อสารข้อมูล
ถนนหนทางซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกเวลานาทีจนขยายโยงใยออกไปอย่างยาวไกลครอบคลุมไปทั้ง 5 ทวีปไม่ว่าจะเป็นทางด่วน, ทางยกระดับ, วงเวียนและแยกต่างๆ รวมไปถึงตรอกซอกซอยและการวางผังเมือง
นอกจากนี้ยังมีถนนตามถิ่นทุรกันดารที่ยังเป็นถนนแบบลูกรังและถนนที่พาดผ่านข้ามเทือกเขาเต็มไปด้วยหุบเหวที่อันตรายที่มักจะเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ
นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของระบบการจราจรของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันทำให้การสร้างถนนจึงมีทั้งแบบการขับรถทางด้านซ้ายและการขับทางด้านขวาสำหรับรถที่ใช้พวงมาลัยขวาและรถพวงมาลัยซ้ายโดยแบ่งออกเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ของถนนทั่วโลกที่เป็นแบบการขับด้วยพวงมาลัยขวา อาทิ ญี่ปุ่น, ไทยและอังกฤษ อีก 74 เปอร์เซ็นต์ของถนนทั่วโลกเป็นแบบขับพวงมาลัยซ้าย อาทิสหรัฐอเมริกาและยุโรปโดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากยุคล่าอาณานิคม เช่นเมียนม่า, ลาวและเขมร ส่วนจีนขับแบบพวงมาลัยซ้ายและอินเดียขับแบบพวงมาลัยขวา
“ถนน” ได้มีการวิวัฒนาการจากพื้นฐานมาตั้งแต่ยุคโบราณเป็นเส้นทางสัญจรทางบกสำหรับการเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ ในยุคโบราณได้สร้างขึ้นสำหรับม้าและเกวียนซึ่งในอดีตทางฝากฝั่งอังกฤษเรียกว่าทางเกวียน Carriageways เป็นแบบ 1 เลนก่อนจะพัฒนามาเป็นแบบ 2 เลนสวนทางกันได้และได้พัฒนาต่อมามีทางเดินเท้าสำหรับผู้คนทั่วไปเป็นทางเดินเลียบคู่ขนานกับทางเกวียน
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสร้างถนนหนทางมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถนนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นถนนแห่งแรกของโลกอยู่ที่ Porta Rosa ในประเทศกรีก ก่อสร้างราวศตวรรษที่ 3-4 ก่อนคริสตกาล ในหมู่บ้าน Velia ด้วยการปูพื้นผิวดินและมีการฝังท่อระบายน้ำ ถนนในยุคแรกอีกแห่งเป็นถนนในเมืองปอมเปอี เชื่อว่าเส้นทางยุคแรกได้สร้างขึ้นสำหรับเป็นทางเดินของสัตว์เลี้ยงในยุคที่เลี้ยงสัตว์ตามท้องทุ่งเป็นเส้นทางธรรมชาติในยุคราว 10,000 ปีก่อนคริสตกาลและเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางของมนุษย์
เส้นทางอย่างเป็นทางการที่ถือว่าเก่าแก่มาที่สุดในโลกคาดว่าอยู่ในอียิปต์คาดว่าเป็นเส้นทางสร้างขึ้นระหว่างปี 2,600-2,200 ก่อนคริสต์กาล ส่วนเส้นทางที่ปูด้วยหินค้นพบในเมือง Ur ในตะวันออกกลางย้อนไปถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล
ส่วนถนนปูทางแบบลูกฟูกเป็น Log Road ค้นพบในเมือง Glastonbury ประเทศอังกฤษช่วง 4,000 ปีก่อนคริสตกาลและถนนปูด้วยไม้พบในอังกฤษเช่นกันซึ่งกลายเป็นงานวิศวกรรมการสร้างถนนที่เก่าแก่ที่สุดในแถบยุโรปเหนือ สร้างขึ้นช่วงฤดูหนาว ปี 3,807 ก่อนคริสตกาลหรือช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 3,806 ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งมาค้นพบถนนในเมือง Plumstead กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 2009 ที่มีอายุกว่า 6,000 ปี
ในประเทศอินเดียได้มีการก่อสร้างถนนแบบหินมาตั้งแต่ยุคต้น 3,000 ปีก่อนคริสตกาลและช่วงก่อน 500 ปีก่อนคริสตกาล Darius I the Great ดาไรอัส มหาราชได้เริ่มก่อสร้างระบบถนนขยายไปอย่างกว้างขวางสำหรับแถบเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) รวมทั้งถนนหลวงซึ่งกลายเป็นถนนสายที่ดีที่สุดในยุคนั้นและยังคงใช้งานมาจนถึงยุคหลังสมัยโรมัน
By : C. Methas - Managing Editor

หากไม่มี “ถนน” ในโลกนี้การขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์จะไปได้ไม่กว้างขวางจนครบทุก 5 ทวีปอย่างเช่นทุกวันนี้ ถนนจึงกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของทุกประเทศด้านสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศที่ไม่แตกต่างไปจากการไฟฟ้า, การประปา, ระบบขนส่งมวลชน, ท่าเรือและการบิน
ถนนหนทางที่มีการสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนของรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและได้พัฒนาจนเป็นระบบการจราจร อาทิ สัญญาณไฟจราจร, ทางม้าลาย, สัญลักษณ์การจราจร, สะพานข้ามแยก, สะพานข้ามแม่น้ำ, อุโมงค์ลอดแม่น้ำและช่องแคบและแม้แต่ไฟส่องสว่างตามท้องถนนซึ่งได้มีการวิวัฒนาการไปตามแต่ละยุคสมัยจนกระทั่งมาถึงยุคสื่อสารข้อมูล
ถนนหนทางซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นใหม่ทุกเวลานาทีจนขยายโยงใยออกไปอย่างยาวไกลครอบคลุมไปทั้ง 5 ทวีปไม่ว่าจะเป็นทางด่วน, ทางยกระดับ, วงเวียนและแยกต่างๆ รวมไปถึงตรอกซอกซอยและการวางผังเมือง
นอกจากนี้ยังมีถนนตามถิ่นทุรกันดารที่ยังเป็นถนนแบบลูกรังและถนนที่พาดผ่านข้ามเทือกเขาเต็มไปด้วยหุบเหวที่อันตรายที่มักจะเกิดอุบัติเหตุอยู่เสมอ
นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ของระบบการจราจรของแต่ละประเทศที่แตกต่างกันทำให้การสร้างถนนจึงมีทั้งแบบการขับรถทางด้านซ้ายและการขับทางด้านขวาสำหรับรถที่ใช้พวงมาลัยขวาและรถพวงมาลัยซ้ายโดยแบ่งออกเป็น 26 เปอร์เซ็นต์ของถนนทั่วโลกที่เป็นแบบการขับด้วยพวงมาลัยขวา อาทิ ญี่ปุ่น, ไทยและอังกฤษ อีก 74 เปอร์เซ็นต์ของถนนทั่วโลกเป็นแบบขับพวงมาลัยซ้าย อาทิสหรัฐอเมริกาและยุโรปโดยส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากยุคล่าอาณานิคม เช่นเมียนม่า, ลาวและเขมร ส่วนจีนขับแบบพวงมาลัยซ้ายและอินเดียขับแบบพวงมาลัยขวา
“ถนน” ได้มีการวิวัฒนาการจากพื้นฐานมาตั้งแต่ยุคโบราณเป็นเส้นทางสัญจรทางบกสำหรับการเดินทางในรูปแบบต่าง ๆ ในยุคโบราณได้สร้างขึ้นสำหรับม้าและเกวียนซึ่งในอดีตทางฝากฝั่งอังกฤษเรียกว่าทางเกวียน Carriageways เป็นแบบ 1 เลนก่อนจะพัฒนามาเป็นแบบ 2 เลนสวนทางกันได้และได้พัฒนาต่อมามีทางเดินเท้าสำหรับผู้คนทั่วไปเป็นทางเดินเลียบคู่ขนานกับทางเกวียน
ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการสร้างถนนหนทางมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ถนนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นถนนแห่งแรกของโลกอยู่ที่ Porta Rosa ในประเทศกรีก ก่อสร้างราวศตวรรษที่ 3-4 ก่อนคริสตกาล ในหมู่บ้าน Velia ด้วยการปูพื้นผิวดินและมีการฝังท่อระบายน้ำ ถนนในยุคแรกอีกแห่งเป็นถนนในเมืองปอมเปอี เชื่อว่าเส้นทางยุคแรกได้สร้างขึ้นสำหรับเป็นทางเดินของสัตว์เลี้ยงในยุคที่เลี้ยงสัตว์ตามท้องทุ่งเป็นเส้นทางธรรมชาติในยุคราว 10,000 ปีก่อนคริสตกาลและเป็นเส้นทางสำหรับการเดินทางของมนุษย์
เส้นทางอย่างเป็นทางการที่ถือว่าเก่าแก่มาที่สุดในโลกคาดว่าอยู่ในอียิปต์คาดว่าเป็นเส้นทางสร้างขึ้นระหว่างปี 2,600-2,200 ก่อนคริสต์กาล ส่วนเส้นทางที่ปูด้วยหินค้นพบในเมือง Ur ในตะวันออกกลางย้อนไปถึง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล
ส่วนถนนปูทางแบบลูกฟูกเป็น Log Road ค้นพบในเมือง Glastonbury ประเทศอังกฤษช่วง 4,000 ปีก่อนคริสตกาลและถนนปูด้วยไม้พบในอังกฤษเช่นกันซึ่งกลายเป็นงานวิศวกรรมการสร้างถนนที่เก่าแก่ที่สุดในแถบยุโรปเหนือ สร้างขึ้นช่วงฤดูหนาว ปี 3,807 ก่อนคริสตกาลหรือช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี 3,806 ก่อนคริสตกาล จนกระทั่งมาค้นพบถนนในเมือง Plumstead กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 2009 ที่มีอายุกว่า 6,000 ปี
ในประเทศอินเดียได้มีการก่อสร้างถนนแบบหินมาตั้งแต่ยุคต้น 3,000 ปีก่อนคริสตกาลและช่วงก่อน 500 ปีก่อนคริสตกาล Darius I the Great ดาไรอัส มหาราชได้เริ่มก่อสร้างระบบถนนขยายไปอย่างกว้างขวางสำหรับแถบเปอร์เซีย (อิหร่านในปัจจุบัน) รวมทั้งถนนหลวงซึ่งกลายเป็นถนนสายที่ดีที่สุดในยุคนั้นและยังคงใช้งานมาจนถึงยุคหลังสมัยโรมัน