USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ ระดับชั้นนิมิตซ์ลำที่ 5 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ


By : C. Methas – Managing Editor

หลังจากการเดินทางรอบโลกเป็นเวลา 295 วันและระยะทาง 64,000 ไมล์ทะเล เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ USS Abraham Lincoln (CVN 72) วันที่ 20 มกราคม 2020 ได้เดินกลับสู่บ้านเกิดที่ซาน ดิเอโกเพื่อทำการบำรุงรักษา, ยกระดับยุโธปกรณ์และเติมเชื้อเพลิงโดยเรือลำนี้เดินทางเป็นเวลายาวนานมากที่สุดตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามเย็นเป็นเวลารวม 295 วัน

“จะไม่มีวันสิ้นสูญ” คำขวัญประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) เป็นเรือลำที่ 5 ของเรือระดับชั้นนิมิตซ์ในกองทัพเรือสหรัฐฯ ฐานบินลอยน้ำรุ่นนี้มีฝูงบินรบ แบบ F/A 18 C/E/F จำนวน 4 ฝูงบินด้วยกันและฝูงบินอื่น ๆ อีกจำนวน 6 ฝูง มีศักยภาพสามารถปฏิบัติการรบได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก ราคาประมาณ 4.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) กำลังพล 5,500 นาย (ลูกเรือ 3,200 นาย เจ้าหน้าที่กองบิน 2,400 นาย) ลิฟท์ยกเครื่องบิน 4 ตัว, เครื่องดีดส่งเครื่องบิน 4 ตัว

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2527 เข้าประจำการ 11 พฤศจิกายน 2532 ออกเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคมาประจำการในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเดือนกันยายน 2533 และ 28 พฤษภาคม 2534 ได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามอ่าวเปอร์เซีย Desert Shield/Desert Storm

ในระหว่างการเดินทางได้เข้าร่วมปฏิบัติการช่วยเหลืออพยพคนจากเหตุการณ์ภูเขาไฟปินาตุโบในฟิลิปปินด์ระเบิด ปฏิบัติการ Fiery Vigil เป็นปฏิบัติการอพยพทหารประจำการและครอบครัวในช่วงเวลาสันติที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) เป็นเรือบัญชาการกองเรือ 23 ลำ ช่วยอพยพคนราว 45,000 คนจากฐานทัพเรืออ่าวซูบิค

หลังจากปฏิบัติการ Desert Storm กองบิน CVW-11 บินลาดตระเวนและสนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าคูเวตและอิรักและได้กลับมาปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ Souther Watch ของสหประชาชาติที่กำหนดเขตห้ามบินทางใต้อิรัก

ต่อมาได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการแถบชายฝั่งโซมาเลีย เพื่อสนับสนุนกำลังรบภาคพื้นดินของสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินลาดตระเวนเหนือเมืองโมกาดิซู ก่อนเดินทางกลับไปยังอู่เรือในวอชิงตันเพื่อทำการปรับปรุงเป็นเวลา 1 ปี และได้กลับร่วมปฏิบัติการที่สงครามอ่าวฯ อีกครั้ง

หลังจากได้เดินทางไปฮาวายเพื่อร่วมการฝึก Inter-deployment เป็นเวลา 9 เดือน ก่อนร่วมฝึก RIMPAC 2000 เป็นการฝึกระหว่างประเทศนอกชายฝั่งฮาวายและกลับไปปรับปรุงเรืออีกครั้ง ต่อมาได้เข้าร่วมปฏิบัติการ Enduring Freedom จนกระทั่งปฏิบัติการ Operation Eraq Freedom เพื่อโจมตีทางอากาศปลดปล่อยอิรัก ก่อนจะกลับมายังเพิร์ล ฮาร์เบอร์ได้มีโอกาสต้อนรับประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่ได้เดินทางมาแสดงความยินดี

USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) ติดตั้งเครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์ Westinghouse A4 W เตาปฏิกรณ์ปรมาณูจำนวน 2 เครื่องจ่ายพลังงาน เครื่องไอน้ำเทอร์ไบ 4 เครื่อง รวมแรงม้าสูงสุด 260,000 แรงม้า สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุดเกินกว่า 30 น๊อตหรือ 56+ กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือ 35+ ไมล์ต่อชั่วโมง รัศมีการเดินทางไม่จำกัดระยะทาง
ขนาด 104,000 ตัน ระวางขับน้ำ 97,500 ตัน

ระบบเซ็นเซอร์, กระบวนการปฏิบัติการและอาวุธประจำการ ประกอบด้วย SPS-48E 3-D Air Search Radar, SPS-49(V)5 2-D Air Search Radar, Mk 23 Target Acquisition Radar, 2 × SPN-46 Air Traffic Control Radars, SPN-43B Air Traffic Control Radar, SPN-44 Landing Aid Radar, 3 × Mk 91 NSSM Guidance Systems, 3 × Mk 95 Radars

ระบบอิเล็กทรอนิคส์และล่อเป้า SLQ-32A(V)4 Countermeasures Suite, SLQ-25A Nixie Torpedo Countermeasures

เครื่องบินประจำการ เครื่องบินขับไล่ 90 ลำประจำการถาวรและเฮลิคอปเตอร์ อาวุธประจำการ 2 × Mk 57 Mod 3 Sea Sparrow, 2 × RIM-116 Rolling Airframe Missile, 2 × Phalanx CIWS

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2560 เข้ารับการเติมเชื้อเพลิงและโอเวอร์ฮอลใหม่ที่ Newport News Shipyard กลับคืนสู่ท้องมหาสมุทรอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2561

By : C. Methas - Managing Editor

หลังจากการเดินทางรอบโลกเป็นเวลา 295 วันและระยะทาง 64,000 ไมล์ทะเล เรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ USS Abraham Lincoln (CVN 72) วันที่ 20 มกราคม 2020 ได้เดินกลับสู่บ้านเกิดที่ซาน ดิเอโกเพื่อทำการบำรุงรักษา, ยกระดับยุโธปกรณ์และเติมเชื้อเพลิงโดยเรือลำนี้เดินทางเป็นเวลายาวนานมากที่สุดตั้งแต่ช่วงก่อนสงครามเย็นเป็นเวลารวม 295 วัน

“จะไม่มีวันสิ้นสูญ” คำขวัญประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) เป็นเรือลำที่ 5 ของเรือระดับชั้นนิมิตซ์ในกองทัพเรือสหรัฐฯ ฐานบินลอยน้ำรุ่นนี้มีฝูงบินรบ แบบ F/A 18 C/E/F จำนวน 4 ฝูงบินด้วยกันและฝูงบินอื่น ๆ อีกจำนวน 6 ฝูง มีศักยภาพสามารถปฏิบัติการรบได้ทุกภูมิภาคทั่วโลก ราคาประมาณ 4.5 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ

USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) กำลังพล 5,500 นาย (ลูกเรือ 3,200 นาย เจ้าหน้าที่กองบิน 2,400 นาย) ลิฟท์ยกเครื่องบิน 4 ตัว, เครื่องดีดส่งเครื่องบิน 4 ตัว

เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2527 เข้าประจำการ 11 พฤศจิกายน 2532 ออกเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติคมาประจำการในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อเดือนกันยายน 2533 และ 28 พฤษภาคม 2534 ได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามอ่าวเปอร์เซีย Desert Shield/Desert Storm

ในระหว่างการเดินทางได้เข้าร่วมปฏิบัติการช่วยเหลืออพยพคนจากเหตุการณ์ภูเขาไฟปินาตุโบในฟิลิปปินด์ระเบิด ปฏิบัติการ Fiery Vigil เป็นปฏิบัติการอพยพทหารประจำการและครอบครัวในช่วงเวลาสันติที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดย USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) เป็นเรือบัญชาการกองเรือ 23 ลำ ช่วยอพยพคนราว 45,000 คนจากฐานทัพเรืออ่าวซูบิค

หลังจากปฏิบัติการ Desert Storm กองบิน CVW-11 บินลาดตระเวนและสนับสนุนปฏิบัติการทางอากาศเหนือน่านฟ้าคูเวตและอิรักและได้กลับมาปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการ Souther Watch ของสหประชาชาติที่กำหนดเขตห้ามบินทางใต้อิรัก

ต่อมาได้รับคำสั่งให้เข้าปฏิบัติการแถบชายฝั่งโซมาเลีย เพื่อสนับสนุนกำลังรบภาคพื้นดินของสหรัฐฯ ส่งเครื่องบินลาดตระเวนเหนือเมืองโมกาดิซู ก่อนเดินทางกลับไปยังอู่เรือในวอชิงตันเพื่อทำการปรับปรุงเป็นเวลา 1 ปี และได้กลับร่วมปฏิบัติการที่สงครามอ่าวฯ อีกครั้ง

หลังจากได้เดินทางไปฮาวายเพื่อร่วมการฝึก Inter-deployment เป็นเวลา 9 เดือน ก่อนร่วมฝึก RIMPAC 2000 เป็นการฝึกระหว่างประเทศนอกชายฝั่งฮาวายและกลับไปปรับปรุงเรืออีกครั้ง ต่อมาได้เข้าร่วมปฏิบัติการ Enduring Freedom จนกระทั่งปฏิบัติการ Operation Eraq Freedom เพื่อโจมตีทางอากาศปลดปล่อยอิรัก ก่อนจะกลับมายังเพิร์ล ฮาร์เบอร์ได้มีโอกาสต้อนรับประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ที่ได้เดินทางมาแสดงความยินดี

USS ABRAHAM LINCOLN (CVN-72) ติดตั้งเครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์ Westinghouse A4 W เตาปฏิกรณ์ปรมาณูจำนวน 2 เครื่องจ่ายพลังงาน เครื่องไอน้ำเทอร์ไบ 4 เครื่อง รวมแรงม้าสูงสุด 260,000 แรงม้า สมรรถนะการทำความเร็วสูงสุดเกินกว่า 30 น๊อตหรือ 56+ กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือ 35+ ไมล์ต่อชั่วโมง รัศมีการเดินทางไม่จำกัดระยะทาง ขนาด 104,000 ตัน ระวางขับน้ำ 97,500 ตัน

ระบบเซ็นเซอร์, กระบวนการปฏิบัติการและอาวุธประจำการ ประกอบด้วย SPS-48E 3-D Air Search Radar, SPS-49(V)5 2-D Air Search Radar, Mk 23 Target Acquisition Radar, 2 × SPN-46 Air Traffic Control Radars, SPN-43B Air Traffic Control Radar, SPN-44 Landing Aid Radar, 3 × Mk 91 NSSM Guidance Systems, 3 × Mk 95 Radars

ระบบอิเล็กทรอนิคส์และล่อเป้า SLQ-32A(V)4 Countermeasures Suite, SLQ-25A Nixie Torpedo Countermeasures

เครื่องบินประจำการ เครื่องบินขับไล่ 90 ลำประจำการถาวรและเฮลิคอปเตอร์ อาวุธประจำการ 2 × Mk 57 Mod 3 Sea Sparrow, 2 × RIM-116 Rolling Airframe Missile, 2 × Phalanx CIWS

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปี พ.ศ. 2560 เข้ารับการเติมเชื้อเพลิงและโอเวอร์ฮอลใหม่ที่ Newport News Shipyard กลับคืนสู่ท้องมหาสมุทรอีกครั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2561

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!