FINLAND-ประเทศที่มีการขยายอำนาจทางเศรษฐกิจก้าวหน้าและกว้างไกล (ตอนที่ 3)


By : C. Methas – Managing Editor

ภูมิอากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือโดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก

เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว

ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศที่มีขยายอำนาจทางเศรษฐกิจได้กว้างไกลที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา ก่อนหน้านี้อยู่ในความควบคุมที่ไม่ไปกระทบกับรัสเซีย

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฟินแลนด์มีเศรษฐกิจที่เป็นอุตสาหกรรมและเป็นตลาดเสรีมีผลผลิตต่อประชากรสูงไม่ต่างจากเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอื่น ๆ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่การผลิตไม้ โลหะ วิศวกรรม โทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศของฟินแลนด์มีส่วนมากกว่า 1ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากป่าไม้และแร่ธาตุบางอย่างแล้ว ฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน รวมถึงส่วนประกอบของสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่าง

ในปีพ.ศ. 2534 ฟินแลนด์ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จากความร้อนแรงเกินควรของเศรษฐกิจ ตลาดต่างประเทศที่ซบเซา และการสิ้นสุดลงของการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนกับอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องด้วยก่อนปี 2534 การค้าขายมากกว่าหนึ่งในห้าของฟินแลนด์เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียต และการค้าขายนั้นสิ้นสุดลงในช่วงสองปี

ในปี 2535 และ 2536 ฟินแลนด์ลดค่าเงินมาร์คคาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดในปี 2536 จากนั้นก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจนถึงปี 2538 ตั้งแต่นั้นมา ฟินแลนด์ก็อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้การทำเกษตรกรรมถูกจำกัดอยู่เพียงการผลิตเพื่อเพียงพอต่อการบริโภคเท่านั้น การทำป่าไม้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งออก จึงเป็นอาชีพอันดับสองของประชากรในเขตชนบท ฟินแลนด์เป็นหนึ่งใน 11 ประเทศที่ร่วมใช้ระบบเงินยูโรในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 สกุลเงินมาร์คคาฟินแลนด์ได้ถูกนำออกจากระบบและทดแทนโดยเงินยูโรในต้นปี 2545

ฟินแลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่มีขีดการแข่งขันสูงที่สุดในโลกสามปีติดต่อกันในปี 2546-2548 โดยเวิลด์อิโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความสนใจไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในเทคโนโลยีสารสนเทศ[13] กล่าวได้ว่าบริษัทโนเกียของฟินแลนด์เป็นส่วนประกอบสำคัญในสาขาสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ นั่นคือภาคโทรคมนาคม

ทางด้านการขยายตัวด้านการคมนาคม ประเทศฟินแลนด์มีถนนสาธารณะทั้งหมดของประเทศมีความยาว 78,189 กิโลเมตร ทางรถไฟทั้งประเทศมีความยาว 5,741 กิโลเมตรโดยในเฮลซิงกิมีระบบรถไฟในเมือง และในปัจจุบันกำลังมีโครงการสร้างไลท์เรลในเมืองตัมเปเร และตุรกุ ฟินแลนด์มีสนามบิน 148 แห่งโดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

ระบบรถไฟในฟินแลนด์ให้บริการโดยรัฐวิสาหกิจ “เวแอร” (VR) โดยให้บริการรถไฟเชื่อมต่อเมืองต่างๆทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่จะเริ่มต้นหรือสิ้นสุดทางที่สถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ มีบริการรถไฟความเร็วสูงเพนโดลีโน เชื่อมต่อเมืองหลักของประเทศ โดยเฉพาะตัมเปเรและตุรกุ ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา เป็นประตูสู่เมืองหลัก ๆ ของโลกหลายแห่ง โดยมีเที่ยวบินตรงไปยังกรุงเทพฯ ปักกิ่ง เดลี กวางเจา นาโกย่า นิวยอร์ก โอซะกะ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และโตเกียว

By : C. Methas - Managing Editor

ภูมิอากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือโดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก

เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว

ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศที่มีขยายอำนาจทางเศรษฐกิจได้กว้างไกลที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา ก่อนหน้านี้อยู่ในความควบคุมที่ไม่ไปกระทบกับรัสเซีย

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ฟินแลนด์มีเศรษฐกิจที่เป็นอุตสาหกรรมและเป็นตลาดเสรีมีผลผลิตต่อประชากรสูงไม่ต่างจากเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอื่น ๆ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่การผลิตไม้ โลหะ วิศวกรรม โทรคมนาคมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศของฟินแลนด์มีส่วนมากกว่า 1ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ นอกจากป่าไม้และแร่ธาตุบางอย่างแล้ว ฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน รวมถึงส่วนประกอบของสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่าง

ในปีพ.ศ. 2534 ฟินแลนด์ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จากความร้อนแรงเกินควรของเศรษฐกิจ ตลาดต่างประเทศที่ซบเซา และการสิ้นสุดลงของการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนกับอดีตสหภาพโซเวียต เนื่องด้วยก่อนปี 2534 การค้าขายมากกว่าหนึ่งในห้าของฟินแลนด์เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียต และการค้าขายนั้นสิ้นสุดลงในช่วงสองปี

ในปี 2535 และ 2536 ฟินแลนด์ลดค่าเงินมาร์คคาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดในปี 2536 จากนั้นก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจนถึงปี 2538 ตั้งแต่นั้นมา ฟินแลนด์ก็อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา

เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้การทำเกษตรกรรมถูกจำกัดอยู่เพียงการผลิตเพื่อเพียงพอต่อการบริโภคเท่านั้น การทำป่าไม้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งออก จึงเป็นอาชีพอันดับสองของประชากรในเขตชนบท ฟินแลนด์เป็นหนึ่งใน 11 ประเทศที่ร่วมใช้ระบบเงินยูโรในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 สกุลเงินมาร์คคาฟินแลนด์ได้ถูกนำออกจากระบบและทดแทนโดยเงินยูโรในต้นปี 2545

ฟินแลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่มีขีดการแข่งขันสูงที่สุดในโลกสามปีติดต่อกันในปี 2546-2548 โดยเวิลด์อิโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความสนใจไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในเทคโนโลยีสารสนเทศ[13] กล่าวได้ว่าบริษัทโนเกียของฟินแลนด์เป็นส่วนประกอบสำคัญในสาขาสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ นั่นคือภาคโทรคมนาคม

ทางด้านการขยายตัวด้านการคมนาคม ประเทศฟินแลนด์มีถนนสาธารณะทั้งหมดของประเทศมีความยาว 78,189 กิโลเมตร ทางรถไฟทั้งประเทศมีความยาว 5,741 กิโลเมตรโดยในเฮลซิงกิมีระบบรถไฟในเมือง และในปัจจุบันกำลังมีโครงการสร้างไลท์เรลในเมืองตัมเปเร และตุรกุ ฟินแลนด์มีสนามบิน 148 แห่งโดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

ระบบรถไฟในฟินแลนด์ให้บริการโดยรัฐวิสาหกิจ "เวแอร" (VR) โดยให้บริการรถไฟเชื่อมต่อเมืองต่างๆทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่จะเริ่มต้นหรือสิ้นสุดทางที่สถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ มีบริการรถไฟความเร็วสูงเพนโดลีโน เชื่อมต่อเมืองหลักของประเทศ โดยเฉพาะตัมเปเรและตุรกุ ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา เป็นประตูสู่เมืองหลัก ๆ ของโลกหลายแห่ง โดยมีเที่ยวบินตรงไปยังกรุงเทพฯ ปักกิ่ง เดลี กวางเจา นาโกย่า นิวยอร์ก โอซะกะ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และโตเกียว

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!