กระแสวิจารณ์หนักหลังทดลองถอดที่นั่งรถไฟใต้ดิน ชี้ผลักภาระให้ผู้โดยสาร


บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม (BEM) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เจอกระแสวิจารณ์หนักหลังทดลองถอดที่นั่งในตู้โดยสาร หวังเพิ่มพื้นที่ว่างเพื่อรองรับผู้โดยสารมากขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วน เมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.) โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

รายงานระบุว่าการถอดที่นั่งนั้นเกิดขึ้นกับตู้โดยสารตอนกลางของรถไฟขบวนหนึ่ง โดยเก้าอี้ที่นั่งที่ถูกถอดออกยกแผงคิดเป็นจำนวน 14 ที่นั่ง ส่วนที่นั่งสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุนั้นยังคงมีอยู่ในตู้โดยสารตอนหน้าและตอนหลังของขบวนรถ

กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าวมองว่าบีอีเอ็มควรเพิ่มขบวนรถไฟมากกว่าผลักภาระให้ผู้โดยสารที่ต้องมายืน พวกเขาสำทับว่าบีอีเอ็มใช้วิธีนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ด้านนักสิทธิมนุษยชนแนะติดตั้งที่นั่งเหมือนเดิมและระงับการรื้อถอนเพิ่มเติม มิเช่นนั้นจะดำเนินมาตรการทางกฎหมาย

ทว่าผู้โดยสารอีกส่วนหนึ่งก็เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว มองว่าช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้โดยสารขึ้นขบวนรถได้มากขึ้น และทำให้การขนส่งผู้โดยสารเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยข้อมูลจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่าการถอดที่นั่งช่วยเพิ่มผู้โดยสารจาก 885 คน เป็น 950 คนต่อเที่ยว

ทั้งนี้ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ดำเนินงานมามากกว่า 13 ปีแล้ว มีรถไฟอยู่ทั้งหมด 19 ขบวน รองรับผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันราว 300,000 คน โดยปัจจุบันบีอีเอ็มวางแผนจัดซื้อรถไฟอีก 16 ขบวน ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2019

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม (BEM) ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน เจอกระแสวิจารณ์หนักหลังทดลองถอดที่นั่งในตู้โดยสาร หวังเพิ่มพื้นที่ว่างเพื่อรองรับผู้โดยสารมากขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วน เมื่อวันจันทร์ (20 พ.ย.) โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

รายงานระบุว่าการถอดที่นั่งนั้นเกิดขึ้นกับตู้โดยสารตอนกลางของรถไฟขบวนหนึ่ง โดยเก้าอี้ที่นั่งที่ถูกถอดออกยกแผงคิดเป็นจำนวน 14 ที่นั่ง ส่วนที่นั่งสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุนั้นยังคงมีอยู่ในตู้โดยสารตอนหน้าและตอนหลังของขบวนรถ

กลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าวมองว่าบีอีเอ็มควรเพิ่มขบวนรถไฟมากกว่าผลักภาระให้ผู้โดยสารที่ต้องมายืน พวกเขาสำทับว่าบีอีเอ็มใช้วิธีนี้ก็เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ด้านนักสิทธิมนุษยชนแนะติดตั้งที่นั่งเหมือนเดิมและระงับการรื้อถอนเพิ่มเติม มิเช่นนั้นจะดำเนินมาตรการทางกฎหมาย

ทว่าผู้โดยสารอีกส่วนหนึ่งก็เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว มองว่าช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้โดยสารขึ้นขบวนรถได้มากขึ้น และทำให้การขนส่งผู้โดยสารเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยข้อมูลจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่าการถอดที่นั่งช่วยเพิ่มผู้โดยสารจาก 885 คน เป็น 950 คนต่อเที่ยว

ทั้งนี้ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ดำเนินงานมามากกว่า 13 ปีแล้ว มีรถไฟอยู่ทั้งหมด 19 ขบวน รองรับผู้โดยสารเฉลี่ยรายวันราว 300,000 คน โดยปัจจุบันบีอีเอ็มวางแผนจัดซื้อรถไฟอีก 16 ขบวน ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการในปี 2019

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!