การประชุม APDT เปิดงานแล้วอย่างเป็นทางการ 30 ประเทศร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ เพิ่มประสิทธิภาพการเจาะสำรวจปิโตรเลียม


การประชุมและนิทรรศการ “IADC/SPE Asia Pacific Drilling Technology หรือ APDT ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมของเอเชียแปซิฟิค ภายใต้แนวคิด “Reshaping for a Smart and Sustainable Future” เริ่มขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นเจ้าภาพจัดงาน

คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานจากอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่า 1,000 คน จากกว่า 30 ประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเจาะสำรวจปิโตรเลียม

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. ในฐานะประธานการจัดการประชุม APDT เปิดเผยว่า จากการที่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้เผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับความ ผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) ในปัจจุบัน ส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซฯ ต้องปรับตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยการแสวงหากระบวนการใหม่ๆ เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างเครื่องมือและระบบต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

“การประชุม APDT ที่ประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่สำคัญที่ทำให้บุคลากรในอุตสาหกรรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ มุมมองใหม่ ๆ รวมทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียม เนื่องจากการเจาะสำรวจแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นขั้นตอนที่สำคัญของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะพิสูจน์ว่ามีแหล่งน้ำมันหรือก๊าซฯ หรือไม่ และเป็นขั้นตอนที่ใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการเจาะสำรวจโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จึงเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมปิโตรเลียมให้ความสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงานของแต่ละบริษัทบรรลุเป้าหมาย” นายสมพร กล่าว

ปตท.สผ. ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเจาะสำรวจในอ่าวไทยและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีทั้งการออกแบบหลุมให้มีขนาดเล็กกว่าหลุมแบบมาตรฐานโดยทั่วไป ทำให้เจาะได้เร็วด้วยต้นทุนที่ลดลง แต่คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยเรียกหลุมผลิตแบบนี้ว่า Slimhole monobore completion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายเป็นมาตรฐานในอ่าวไทย นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีที่ช่วยให้เจาะสำรวจได้ระยะไกลขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นพบปิโตรเลียมให้มากขึ้น รวมถึงยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ในการเจาะสำรวจมีความแข็งแกร่งทนทานมากขึ้น เนื่องจากในอ่าวไทยมีคุณลักษณะเฉพาะคือมีความร้อนใต้พื้นดินสูง จึงต้องใช้อุปกรณ์การเจาะสำรวจที่มีความทนความร้อนมากกว่าอุปกรณ์ปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสำเร็จในการเจาะสำรวจปิโตรเลียม

การประชุม APDT ครั้งที่ 12 นี้ มีการนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการเจาะสำรวจมากกว่า 90 หัวข้อ จาก 22 ประเทศ มีการอภิปรายด้านการขยายความร่วมมือทางธุรกิจ อนาคตของแท่นเจาะน้ำมัน และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเข้าสู่ยุคดิจิตอล โดย ปตท.สผ. ได้ส่งบทความทางวิชาการนำเสนอในงาน 8 หัวข้อ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการเจาะในโครงการซอติก้า และการเพิ่มประสิทธิและลดต้นทุนการเจาะในโครงการเอส 1 เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการจากเกือบ 30 บริษัท โดย ปตท.สผ. ร่วมแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด “ความภาคภูมิใจของประเทศไทย” (Pride of Thailand) นำเสนอความสำคัญของแหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์ แหล่งบงกช และแหล่งอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลักของประเทศไทย รวมทั้ง ได้นำเทคโนโลยีที่ ปตท.สผ. คิดค้นขึ้น โดยร่วมกับสถาบันต่างๆ ในการพัฒนา เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย (Autonomous Underwater Vehicles หรือ AUV) ที่สามารถปฏิบัติภารกิจตรวจสอบอุปกรณ์การผลิตใต้ทะเล ทั้งโครงสร้างของฐานผลิตปิโตรเลียมและท่อส่งก๊าซธรรมชาติใต้ท้องทะเลลึก และหุ่นยนต์ตรวจสอบภายในท่อ (In-pipe Inspection Robot) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับตรวจสอบภายในท่อปิโตรเลียม และ “โดรน MPIO” (Multipurpose Plant Inspection Octocopter) ที่ติดตั้งกล้องซูม 30 เท่า ทำให้สามารถตรวจสอบอุปกรณ์บนที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประชุมและนิทรรศการ “IADC/SPE Asia Pacific Drilling Technology หรือ APDT ครั้งที่ 12 ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมของเอเชียแปซิฟิค ภายใต้แนวคิด “Reshaping for a Smart and Sustainable Future” เริ่มขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นเจ้าภาพจัดงาน

คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานจากอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกว่า 1,000 คน จากกว่า 30 ประเทศ มาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองใหม่ๆ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเจาะสำรวจปิโตรเลียม

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. ในฐานะประธานการจัดการประชุม APDT เปิดเผยว่า จากการที่อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติได้เผชิญกับความท้าทายเกี่ยวกับความ ผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล (Digitalization) ในปัจจุบัน ส่งผลให้อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซฯ ต้องปรับตัวเพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยการแสวงหากระบวนการใหม่ๆ เทคโนโลยีล้ำสมัย สร้างเครื่องมือและระบบต่างๆ เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

“การประชุม APDT ที่ประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นเวทีที่สำคัญที่ทำให้บุคลากรในอุตสาหกรรมมีโอกาสแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ มุมมองใหม่ ๆ รวมทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเจาะสำรวจปิโตรเลียม เนื่องจากการเจาะสำรวจแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นขั้นตอนที่สำคัญของธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะพิสูจน์ว่ามีแหล่งน้ำมันหรือก๊าซฯ หรือไม่ และเป็นขั้นตอนที่ใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพการเจาะสำรวจโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย จึงเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมปิโตรเลียมให้ความสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินงานของแต่ละบริษัทบรรลุเป้าหมาย” นายสมพร กล่าว

ปตท.สผ. ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเจาะสำรวจในอ่าวไทยและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งมีทั้งการออกแบบหลุมให้มีขนาดเล็กกว่าหลุมแบบมาตรฐานโดยทั่วไป ทำให้เจาะได้เร็วด้วยต้นทุนที่ลดลง แต่คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการผลิตก๊าซธรรมชาติ โดยเรียกหลุมผลิตแบบนี้ว่า Slimhole monobore completion ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร่หลายเป็นมาตรฐานในอ่าวไทย นอกจากนี้ยังมี เทคโนโลยีที่ช่วยให้เจาะสำรวจได้ระยะไกลขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการค้นพบปิโตรเลียมให้มากขึ้น รวมถึงยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้อุปกรณ์ในการเจาะสำรวจมีความแข็งแกร่งทนทานมากขึ้น เนื่องจากในอ่าวไทยมีคุณลักษณะเฉพาะคือมีความร้อนใต้พื้นดินสูง จึงต้องใช้อุปกรณ์การเจาะสำรวจที่มีความทนความร้อนมากกว่าอุปกรณ์ปกติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสำเร็จในการเจาะสำรวจปิโตรเลียม

การประชุม APDT ครั้งที่ 12 นี้ มีการนำเสนอบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการเจาะสำรวจมากกว่า 90 หัวข้อ จาก 22 ประเทศ มีการอภิปรายด้านการขยายความร่วมมือทางธุรกิจ อนาคตของแท่นเจาะน้ำมัน และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังเข้าสู่ยุคดิจิตอล โดย ปตท.สผ. ได้ส่งบทความทางวิชาการนำเสนอในงาน 8 หัวข้อ เช่น งานวิจัยที่เกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการเจาะในโครงการซอติก้า และการเพิ่มประสิทธิและลดต้นทุนการเจาะในโครงการเอส 1 เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการจากเกือบ 30 บริษัท โดย ปตท.สผ. ร่วมแสดงนิทรรศการภายใต้แนวคิด “ความภาคภูมิใจของประเทศไทย” (Pride of Thailand) นำเสนอความสำคัญของแหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์ แหล่งบงกช และแหล่งอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติหลักของประเทศไทย รวมทั้ง ได้นำเทคโนโลยีที่ ปตท.สผ. คิดค้นขึ้น โดยร่วมกับสถาบันต่างๆ ในการพัฒนา เช่น หุ่นยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติไร้สาย (Autonomous Underwater Vehicles หรือ AUV) ที่สามารถปฏิบัติภารกิจตรวจสอบอุปกรณ์การผลิตใต้ทะเล ทั้งโครงสร้างของฐานผลิตปิโตรเลียมและท่อส่งก๊าซธรรมชาติใต้ท้องทะเลลึก และหุ่นยนต์ตรวจสอบภายในท่อ (In-pipe Inspection Robot) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ใช้สำหรับตรวจสอบภายในท่อปิโตรเลียม และ “โดรน MPIO” (Multipurpose Plant Inspection Octocopter) ที่ติดตั้งกล้องซูม 30 เท่า ทำให้สามารถตรวจสอบอุปกรณ์บนที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!