ก. อุตสาหกรรม จับมือภาครัฐและเอกชนรวม 14 หน่วยงาน ผลักดันอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยสู่ประเทศไทย 4.0 ตามมติ ครม.


กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับลูกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในแนวทางประชารัฐ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 14 หน่วยงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นอุตสาหกรรมที่รองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเป็นบรรทัดฐานของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมในอนาคต ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยมีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ขาดดุลการค้าถึง 132,000 ล้านบาท ทั้งนี้หากส่งเสริมการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยไม่ส่งเสริมการผลิตจะยิ่งทำให้เกิดการขาดดุลเพิ่มมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในฐานะอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ งได้วาง Roadmap การพัฒนาอุตสาหกรรมในแนวประชารัฐ โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ

1. การกระตุ้นอุปสงค์ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศ นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์ 12,000 ล้านบาทในปีแรก และมีการขยายการลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาทใน 5 ปี,

2. การสนับสนุนอุปทาน โดยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง System Integrator (SI) ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ ติดตั้งระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติในอนาคต,

3. การพัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน โดยจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนชั้นนำจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายภายใน 5 ปี ต้องพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูงให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 200 ราย และฝึกอบรมบุคลากรไม่น้อยกว่า 25,000 คน

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “รวมพลังความร่วมมือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ประเทศไทย 4.0” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนและก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการผลิต การส่งออก และใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนภายใน 10 ปี ดังนั้น ทั้ง 14 หน่วยงานจึงเห็นชอบร่วมกันในการผลักดันการดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสนับสนุนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตภายในประเทศ สนับสนุน System Integrator (SI) และต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง 14 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สุพรัม โพรดักส์ จำกัด บริษัท เควี อีเลคทรอนิกส์ จำกัด และบริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) รับลูกอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ หนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในแนวทางประชารัฐ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 14 หน่วยงาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รวอ.) เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเป็นอุตสาหกรรมที่รองรับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเป็นบรรทัดฐานของกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมในอนาคต ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากในปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยมีความต้องการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศยังมีไม่เพียงพอ ทำให้ขาดดุลการค้าถึง 132,000 ล้านบาท ทั้งนี้หากส่งเสริมการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยไม่ส่งเสริมการผลิตจะยิ่งทำให้เกิดการขาดดุลเพิ่มมากขึ้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในฐานะอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมเป้าหมายอื่นๆ งได้วาง Roadmap การพัฒนาอุตสาหกรรมในแนวประชารัฐ โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วนหลัก คือ

1. การกระตุ้นอุปสงค์ โดยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมการผลิตและบริการภายในประเทศ นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยคาดว่าจะทำให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์ 12,000 ล้านบาทในปีแรก และมีการขยายการลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาทใน 5 ปี,

2. การสนับสนุนอุปทาน โดยเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง System Integrator (SI) ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ ติดตั้งระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติในอนาคต,

3. การพัฒนาบุคลากรและยกระดับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ไปสู่การผลิตหุ่นยนต์ประเภทอื่นๆ ที่มีความซับซ้อน โดยจัดตั้ง Center of Robotic Excellence (CoRE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือของ 8 หน่วยงานนำร่อง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานเอกชนชั้นนำจากต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายภายใน 5 ปี ต้องพัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบอย่างน้อย 150 ผลิตภัณฑ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ชั้นสูงให้แก่ผู้ประกอบการจำนวน 200 ราย และฝึกอบรมบุคลากรไม่น้อยกว่า 25,000 คน

นายศิริรุจ จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ผศอ.) กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “รวมพลังความร่วมมือการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติสู่ประเทศไทย 4.0” ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตนและก้าวขึ้นเป็นผู้นำด้านการผลิต การส่งออก และใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอาเซียนภายใน 10 ปี ดังนั้น ทั้ง 14 หน่วยงานจึงเห็นชอบร่วมกันในการผลักดันการดำเนินการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยสนับสนุนการใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตภายในประเทศ สนับสนุน System Integrator (SI) และต่อยอดงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่าง 14 หน่วยงาน ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในประเทศไทย (CoRE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด บริษัท สุพรัม โพรดักส์ จำกัด บริษัท เควี อีเลคทรอนิกส์ จำกัด และบริษัท ยาวาต้า (ประเทศไทย) จำกัด

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!