ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 5.1 พบกับคนที่ดีที่สุด…พิมพ์เขียวสำหรับทศวรรษ 1980 (เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน – ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987)


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เผชิญหน้าบริษัทอยู่ก็คือ จะเพิ่มความเร็วของเครื่องยนต์อย่างไรโดยไม่เป็นการทำลายตัวเครื่องยนต์เอง ฮอนด้าเพิ่มความเร็วเครื่องยนต์รุ่นดรีมไทพ์อี ให้มีความเร็วถึง 7,000 รอบต่อนาที แต่มันน่าทึ่่งที่จักรยานยนต์ที่แข่งกันที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนมีความเร็วถึงกว่า 10,000 รอบต่อนาที ในช่วงนั้นเอง ลูกค้าบางคนก็ร้องมาว่าพอจักรยานยนต์รุ่น สปอร์ต คันเร่งความเร็วสูงสุด ตัวฟลายวิลจะร้าว ข้อร้องเรียนนี้ได้รับการทดสอบที่โรงงานและปรากฏว่าเศษแตกร้าวของฟลายวิลทำให้ห้องเครื่องเสียหาย ฟูจิซาวะที่คุมแผนกขายใจหายวาบเพราะกลัวว่าลูกค้าจะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบี้ การทดสอบครั้งต่อมาโดยผู้ผลิตส่วนประกอบรายหนึ่งก็แสดงว่าฟลายวีลจะร้าวเมื่อความเร็ว 7,500 รอบต่อนาทีและจะแตกเป็นชิ้น ๆ เมื่อความเร็ว 8,000 รอบต่อนาที

วันหนึ่งฮอนด้าตรวจดูฟลายวีลอย่างละเอียดก็เห็นทันทีถึงต้นเหตุแห่งปัญหาเพราะเขารู้เรื่องการหล่อแบบดีเนื่องจากออกแบบมาบกพร่อง ฟลายวีลจึงใหญ่เกินไป จะต้องมีการขัดลมผิวหน้ามันออกเล็กน้อย เขาให้เหตุผลว่าไข่อยู่เป็นก้อนเดียวกันได้เพราะมีเปลือกไข่แข็งปิดคลุมอยู่ แต่ถ้าทำให้เปลือกไข่ร้าวแล้วเริ่มแกว่างเหวี่ยงไข่ไปมา ทั้งไข่แดงและไข่ขาวจะหลุดออกจากเปลือกไข่ ก็เช่นเดียวกัน ผิวหน้าของฟลายวีลถูกทำให้แข็งขึ้นโดยการใช้ความร้อนเพื่อทำให้เป็น “เปลือกไข่” แต่ถ้าเปลือกไข่นี้ถูกขูดวัตถุที่อยู่ภายในจะแตกเป็นชิ้น ๆ เมื่อมีการหมุนอย่างเร็วจะทำให้ฟลายวีลแตกเป็นชิ้น ๆ บริษัทฮอนด้า มอเตอร์จีงรีบผลิตฟลายวีลใหม่แล้วส่งให้ผู้จัดจำหน่ายไปเปลี่ยนฟลายวีลเก่า ฟูจิซาวะโล่งอกไปเมื่อฟลายวีลอันใหม่นี้ทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุ และโครงการแข่งรถจักรยานยนต์ของฮอนด้าก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย

พิมพ์เขียวสำหรับเครื่องยนต์ที่จะใช้ในการแข่งรถชิงถ้วยทัวริสท์โทรฟีนั้นออกแบบโดยวิศวกรหนุ่มสองคนชื่อ ทาดาชิ คุเมะ และ คิมิโอะ ชิมมุระ ฮอนด้ายอมรับความคิดที่ยืดหยุ่นของคนรุ่นใหม่ที่เป็นอิสระจากวิธีการคิดแบบเก่า ๆ แต่การมอบหมายงานที่สำคัญเช่นนั้นให้แก่คนหนุ่มก็เป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับรถแข่งจะเป็นการตัดสินอนาคตของบริษัท ในบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ซึ่งถือเรื่องอาวุโสอย่างเคร่งครัดนั้น โครงการใหญ่ ๆ มักจะเป็นงานของวิศวกรอาวุโส แต่ฮอนด้ามักจะไม่สนใจการปฏิบัติแบบนี้ ทั้งคุเมะและชิมมุระจำวันนั้นได้ดี “เราได้รับคำสั่งให้เริ่มออกแบบเครื่องยนต์สำหรับรถแข่งทันทีที่เราเข้าร่วมงานกับบริษัท ไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่านี้ และเราสองคนก็ตื่นเต้นมากเลย ถ้าเราไปอยู่บริษัทอื่น เราจะไม่มีวันได้รับมอบหมายงานสำคัญท้าทายอย่างนี้” เมื่อพิมพ์เขียวเสร็จเรียบร้อย เครื่องยนต์ได้รับการประกอบโดยฮอนด้าและหัวหน้าแผนกออกแบบชื่อ คิโยชิ คาวะชิมะ

เครื่องยนต์รถแข่งเครื่องแรกพบกับปัญหาหลายอย่างเมื่อใช้ความเร็วสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อนเหล็กที่ต่อกับลูกสูบและช้าฟท์ เมื่อเดินเครื่องด้วยความเร็วสูงเหล็กท่อนนี้จะถูกกดดันมาก และวิศวกรรหนุ่มทั้งสองคิดว่าจำเป็นต้องทำให้เหล็กท่อนนี้หนักและแข็งขึ้น แต่เหล็กท่อนนี้ก็ยังอ่อนยวบไม่ว่าจะทำให้ใหญ่และแข็งแรงขนาดไหน ฮอนด้าจึงถามว่า “ทำไมถึงต้องทำมันเทอะทะนักทำให้มันเล็กลงแล้วก็เบาขึ้นสิ” เขาบอกทั้งสองให้ลดขนาดน้ำหนัก และจำนวนลูกปืนในตลับลงด้วย วิศวกรเกรงว่าท่อนเหล็กที่บอบบางและลูกปืนที่เบาจะแตกเมื่อใช้ความเร็วสูง แต่ปรากฏว่าคำแนะนำของฮอนด้าถูกต้อง คงจะได้รับความดลใจโดยคำคมแต่โบราณของญี่ปุ่นที่ว่า “ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถยืนต้านลมแรง แต่ต้นไผ่ที่เพรียวและยืดหยุ่นได้นั้นต้านลมไหว” ความสำเร็จทางเทคนิคครั้งสำคัญจึงเกิดขึ้น

หลังการคิดค้นนี้ ฮอนด้าก็ให้วิศวกรรคนหนึ่งบรรยายการเคลื่อนไหวของโซ่ “มันเคลื่อนไปเป็นรอบ ๆ” นั่นคือคำตอบ เลยทำให้ฮอนด้าตะโกนใส่ว่า .”ไอ้โง่ โซ่น่ะเคลื่อนไหวตอบโต้กันต่างหากวะ พอด้านซ้ายเลื่อนขึ้นไป ด้านขวาจะเคลื่อนลงมา” ฮอนด้าคิดว่าการลดน้ำหนักลงนั้นสำคัญสำหรับสิ่งที่เคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ จึงพยายามผลิตโซ่จักรยานยนต์ให้ทั้งบางและเบา โซ่ที่ผลิตในญี่ปุ่นในเวลานั้นไม่สามารถใช้กับรถแข่งได้เพราะว่าโซ๋จะขาดเมื่อมีความเร็วสูง และมีทางที่เศษโซ่จะเป็นอันตรายต่อคนขี่จักรยานยนต์ด้วน นี่เองทำให้ฮอนด้าหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น ครั้งแรกก็คิดหาทางเอง ต่อมาก็โดยความช่วยเหลือของคุมะกิจิ อะระยะ ประธานบริษัทดะอิโดะซึ่งเป็นเพื่อนสนิท อะระยะใช้ความคิดของฮอนด้าแต่การนำไปปฏิบัตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จริงแล้ว อะระยะเกือบจะยอมแพ้อยู่แล้ว “เป็นไปไม่ได้แน่นอน” ความดึงดันของฮอนด้าก็ปรากฏผลออกมาว่าโซ่จักรยานยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นสามารถทนทานสภาพทารุณของการแข่งขันรถได้แม้ว่าจะไม่ทันเวลาที่บริษัทเข้าแข่งขันถ้วยทัวริสท์โทรฟีในครั้งแรกได้ก็ตาม

“เกือบสองปีหลังจากที่เราประกาศว่าจะเข้าแข่งที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน เมื่อส่วนประกอบและกลไกของเครื่องยนต์ได้รับการปรับปรุงเรียบร้อย เราก็สามารถผลิตเครื่องยนต์ที่ทรงพลังพอที่จะแข่งกับจักรยานยนต์ต่างประเทศได้ วิศวกรหนุ่มทำงานได้ดีเยี่ยม” ฮอนด้ากล่าว “แต่นั่นอย่างเดียวไม่เพียงพอทำให้เราเอาชนะการแข่งขันทัวริสท์ โทรฟีได้ คนขี่ก็สำคัญเท่ากับเครื่องยนต์ ถึงแม้เราจะมีจักรยานยนต์ที่ดีระดับเดียวกับคู่แข่ง เราก็ยังเอาชนะไม่ได้ถ้าไม่มีนักขี่ระดับยอด เราต้องพัฒนาเครื่องยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่สามารถเอาชนะการแข่งขันได้โดยไม่ต้องมีนักขี่ที่เก่งกาจนัก”

ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา มีการศึกษาว่าพลังงานที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ใหม่นั้นได้รับการใช้ไปอย่างเต็มที่หรือไม่ การวิเคราะห์ไอเสียบอกให้รู้ว่ามีการปล่อยไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ถูกเผาไหม้และคาร์บอนโมน็อกไซด์จำนวนมากออกมา ฮอนด้าเชื่ออย่างมั่นคงว่าต้องมีวิธีการเพิ่มพลังมากขึ้นได้จากการวิจัยเรื่องการสันดาปนี้

“ในสมัยโน้นไม่มีการศึกษาเรื่องการสันดาป แม้แต่ในห้องทดลองในมหาวิทยาลัยหรือ “สามยักษ์ใหญ๋” ในวงการรถยนต์ของสหรัฐฯ ฮอนด้าว่า “นั่นก็เพราะว่าไม่มีใครมีปัญหาเรื่องการสันดาป เพราะถือเอาว่าเป็นผลตามธรรมชาติของการเผาไหม้ของสารผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง โดยการวิจัยของเราเรื่องการสันดาปเราจึงกำจัดจุดบอดนี้ได้”

งานวิจัยที่ห้องปฏบัติการเริ่มด้วยการผลิตเครื่องมือวัดความละเอียด ทุกขั้นตอนของกระบวนการสันดาปจะได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการที่เปลวไฟและกำลังเกิดขึ้นหลังจากการจุดไหม้ของสารผสมอากาศและเชื้อเพิลที่เกิดจากหัวเทียน เมื่อการศึกษาดำเนินไป ก็พบว่าแรงเหวี่ยงเข้าของห้องหัวสูบมีอิทธิพลต่อการสันดาปมากกว่าปัจจัยอื่นใด จึงดัดแปลงปรับปรุงเครื่องยนต์ให้ถูกต้องตามนั้น

หลังจากตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนแล้ว ฮอนด้า มอเตอร์ก็เริ่มเข้าแข่งขันในญี่ปุ่น ในการแข่งขันทดสอบความทนทานสำบุกสำบันของมอเตอร์ไซค์ครั้งแรก (ที่รู้จักกันในชื่อว่า เมาท์ อะซะมะ เรศ) ในเดือนพฤศจิกายน 1955 ทีมของฮอนด้า มอเตอร์ชนะทั้งในรุ่น 350 ซีซี. และ 500 ซีซี. แต่แพ้รุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี. ในการแข่งขันครั้งที่สองในเดือนตุลาคม 1957 ฮอนด้า มอเตอร์ก็ปราชัยในรุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี.อีก แต่ได้ที่หนึ่งในรุ่น 350 ซีซี. ฮอนด้ายอมรับว่า “เราไม่ควรจะเลียนแบบเทคโนโลยีของต่างประเทศแม้ว่าผู้ผลิตบางรายเลียนแบบมาแล้วยังได้ชัยชนะ เราต้องชนะการแข่งขันที่ไอส์เอิลอ็อฟแมนโดยใช้เทคโนโลยีของเราเอง ไม่ว่ามันจะยากเย็นเข็ญใจขนาดไหน ในการพัฒนาเทคโนโลยีของเราก็ตาม”

ความทะเยอทะยานอันยาวนานของฮอนด้า มอเตอร์ที่จะร่วมแข่งขันทัวริสท์โทรฟีนั้นก็เป็นจริงในเดือนมิถุนายน 1959 ผลสุดท้ายของเวลาหลายปีที่วิจัยมา เครื่องยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์จึงมีพลังเหนือกว่าของต่างประเทศ ที่ฮอนด้าเองเห็นที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนในครั้งแรกที่เขาไปที่นั่นถึงสองเท่า รุ่นนี้มีชื่อว่า “อาร์ซึ-142” เป็นเครื่องสองสูบ ขนาด 125 ซีซี. จะมีกำลัง 16 แรงม้าที่ความเร็ว 14,000 รอบต่อนาที นักขี่ชาวญี่ปุ่นเข้าแข่งขันในรุ่น 125 ซีซี. ที่มีการต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ผลปรากฏว่าฮอนด้า มอเตอร์มาเป็นอันดับ 6, 7 และ 8 จึงได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททีม

ในปี 1960 จักรยานยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์เข้าแข่งขันในสองประเภทและมาเป็นที่ 4, 5 และ 6 ในรุ่น 250 ซีซี. และได้ที่ 6 ถึง 10 ในรุ่น 125 ซีซี. ในที่สุดก็ได้ชัยชนะในปี 1961 เมื่อฮอนด้า มอเตอร์ได้ที่ 1 ถึง 5 ทั้งในรุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี.

หนังสือพิมพ์เดลีมิร์เรอร์ ของอังกฤษรายงานว่า เครื่องยนต์ได้รับการผลิตมาเหมือนกับ “นาฬิกาชั้นดี” และฮอนด้าก็ปิติใจมาก “ด้วยการชนะที่ไอส์เอิลอ็อฟแมนเท่านั้นที่เราสามารถเปิดทางไปสู่การเป็นบริษัทระดับโลกและขายสินค้าของเราไปทั่วโลก” การแข่งรถนี้ไม่เพียงแต่เป็นการปรับปรุงเทคโนโลยี เครื่องยนต์จักรยานยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานเทคโนโลย่ของอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ญี่ปุ่นทั้งหมดไปด้วย

จักรยานยนต์ที่ชนะการแข่งนั้นขี่โดยชาวต่างชาติ ฮอนด้ากล่าวว่า “ในการแข่งขันที่ไอส์เอลอ็อฟแมนนั้นเราช่วยเงินให้คนขี่ต่างชาติคนละ 5 หรือ 6 ล้านเยน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากทีเดียวในสมัยนั้น เมื่อเราเข้าแข่งรถกรังด์ปรีซ์ฟอร์มูล่า วัน เราจ้างนักขับรถแข่งมากกว่านั้น 10 เท่า พวกนักขี่และนักขับชาวต่างชาติอยากจะชนะมากจนเรียกร้องอะไรหลายอย่าง เช่นบอกเราว่ารถแกว่งหรือห้ามล้อไม่ดีพอและการเรียกร้องอย่างนั้นช่วยยกมาตรฐานเทคโนโลยีของเรา นักขี่ชาวญี่ปุ่นไม่อย่างนั้น พวกนี้ไม่บอกอะไรเราเลย บางคนก็ทำความเสียหายให้กับรถของเราด้วยซ้ำไป แน่นอน ปัจจุบันนี้มีนักขี่และนักขับชาวญี่ปุ่นฝีมือดีหลายคน ญี่ปุ่นเคยเป็นประเทศด้วยพัฒนาทางเครื่องยนต์มาแล้ว ในหลายประเทศ ผู้คนเคยชินกับการขี่รถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตั้งแต่เป็นเด็กทารกมา ชาวญี่ปุ่นไม่คุ้นเคยกับความเร็วขนาดนั้นตอนที่ยังเป็นเด็กอยู่”

ถึงปลายปี 1956 ฮอนด้าและฟูจิซาวะก็ออกเดินทาง “ไปซื้อของ” ที่ประเทศเยอรมันตะวันตก นี่เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มมีความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกจากทั้งความหวังและการเสียดสีว่า “จิมมุ บูม” ตามชื่อของจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามที่ชาวญี่ปุ่นหลายคนเริ่มออกพ้นความยากจนและเริ่มมีความรู้สึกฟุ่มเฟือยขึ้นมาบ้าง แม้ว่าคนนับถือศาสนาคริสต์จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ฉลองวันก่อนคริสต์มาสด้วยการออกจับจ่ายซื้อของและจัดงานเลี้ยง รัฐบาลเองก็เอาด้วยโดยประกาศใน “หนังสือปกขาวทางเศรษฐกิจ” ว่า “ยุคหลังสงครามผ่านพ้นไปแล้ว”

ตอนที่ 5 พบกับคนที่ดีที่สุด…

 

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เผชิญหน้าบริษัทอยู่ก็คือ จะเพิ่มความเร็วของเครื่องยนต์อย่างไรโดยไม่เป็นการทำลายตัวเครื่องยนต์เอง ฮอนด้าเพิ่มความเร็วเครื่องยนต์รุ่นดรีมไทพ์อี ให้มีความเร็วถึง 7,000 รอบต่อนาที แต่มันน่าทึ่่งที่จักรยานยนต์ที่แข่งกันที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนมีความเร็วถึงกว่า 10,000 รอบต่อนาที ในช่วงนั้นเอง ลูกค้าบางคนก็ร้องมาว่าพอจักรยานยนต์รุ่น สปอร์ต คันเร่งความเร็วสูงสุด ตัวฟลายวิลจะร้าว ข้อร้องเรียนนี้ได้รับการทดสอบที่โรงงานและปรากฏว่าเศษแตกร้าวของฟลายวิลทำให้ห้องเครื่องเสียหาย ฟูจิซาวะที่คุมแผนกขายใจหายวาบเพราะกลัวว่าลูกค้าจะได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบี้ การทดสอบครั้งต่อมาโดยผู้ผลิตส่วนประกอบรายหนึ่งก็แสดงว่าฟลายวีลจะร้าวเมื่อความเร็ว 7,500 รอบต่อนาทีและจะแตกเป็นชิ้น ๆ เมื่อความเร็ว 8,000 รอบต่อนาที

วันหนึ่งฮอนด้าตรวจดูฟลายวีลอย่างละเอียดก็เห็นทันทีถึงต้นเหตุแห่งปัญหาเพราะเขารู้เรื่องการหล่อแบบดีเนื่องจากออกแบบมาบกพร่อง ฟลายวีลจึงใหญ่เกินไป จะต้องมีการขัดลมผิวหน้ามันออกเล็กน้อย เขาให้เหตุผลว่าไข่อยู่เป็นก้อนเดียวกันได้เพราะมีเปลือกไข่แข็งปิดคลุมอยู่ แต่ถ้าทำให้เปลือกไข่ร้าวแล้วเริ่มแกว่างเหวี่ยงไข่ไปมา ทั้งไข่แดงและไข่ขาวจะหลุดออกจากเปลือกไข่ ก็เช่นเดียวกัน ผิวหน้าของฟลายวีลถูกทำให้แข็งขึ้นโดยการใช้ความร้อนเพื่อทำให้เป็น "เปลือกไข่" แต่ถ้าเปลือกไข่นี้ถูกขูดวัตถุที่อยู่ภายในจะแตกเป็นชิ้น ๆ เมื่อมีการหมุนอย่างเร็วจะทำให้ฟลายวีลแตกเป็นชิ้น ๆ บริษัทฮอนด้า มอเตอร์จีงรีบผลิตฟลายวีลใหม่แล้วส่งให้ผู้จัดจำหน่ายไปเปลี่ยนฟลายวีลเก่า ฟูจิซาวะโล่งอกไปเมื่อฟลายวีลอันใหม่นี้ทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุ และโครงการแข่งรถจักรยานยนต์ของฮอนด้าก็ได้รับประโยชน์ไปด้วย

พิมพ์เขียวสำหรับเครื่องยนต์ที่จะใช้ในการแข่งรถชิงถ้วยทัวริสท์โทรฟีนั้นออกแบบโดยวิศวกรหนุ่มสองคนชื่อ ทาดาชิ คุเมะ และ คิมิโอะ ชิมมุระ ฮอนด้ายอมรับความคิดที่ยืดหยุ่นของคนรุ่นใหม่ที่เป็นอิสระจากวิธีการคิดแบบเก่า ๆ แต่การมอบหมายงานที่สำคัญเช่นนั้นให้แก่คนหนุ่มก็เป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง ความสำเร็จหรือล้มเหลวในการพัฒนาเครื่องยนต์สำหรับรถแข่งจะเป็นการตัดสินอนาคตของบริษัท ในบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ซึ่งถือเรื่องอาวุโสอย่างเคร่งครัดนั้น โครงการใหญ่ ๆ มักจะเป็นงานของวิศวกรอาวุโส แต่ฮอนด้ามักจะไม่สนใจการปฏิบัติแบบนี้ ทั้งคุเมะและชิมมุระจำวันนั้นได้ดี "เราได้รับคำสั่งให้เริ่มออกแบบเครื่องยนต์สำหรับรถแข่งทันทีที่เราเข้าร่วมงานกับบริษัท ไม่มีอะไรน่าสนใจไปกว่านี้ และเราสองคนก็ตื่นเต้นมากเลย ถ้าเราไปอยู่บริษัทอื่น เราจะไม่มีวันได้รับมอบหมายงานสำคัญท้าทายอย่างนี้" เมื่อพิมพ์เขียวเสร็จเรียบร้อย เครื่องยนต์ได้รับการประกอบโดยฮอนด้าและหัวหน้าแผนกออกแบบชื่อ คิโยชิ คาวะชิมะ

เครื่องยนต์รถแข่งเครื่องแรกพบกับปัญหาหลายอย่างเมื่อใช้ความเร็วสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่อนเหล็กที่ต่อกับลูกสูบและช้าฟท์ เมื่อเดินเครื่องด้วยความเร็วสูงเหล็กท่อนนี้จะถูกกดดันมาก และวิศวกรรหนุ่มทั้งสองคิดว่าจำเป็นต้องทำให้เหล็กท่อนนี้หนักและแข็งขึ้น แต่เหล็กท่อนนี้ก็ยังอ่อนยวบไม่ว่าจะทำให้ใหญ่และแข็งแรงขนาดไหน ฮอนด้าจึงถามว่า "ทำไมถึงต้องทำมันเทอะทะนักทำให้มันเล็กลงแล้วก็เบาขึ้นสิ" เขาบอกทั้งสองให้ลดขนาดน้ำหนัก และจำนวนลูกปืนในตลับลงด้วย วิศวกรเกรงว่าท่อนเหล็กที่บอบบางและลูกปืนที่เบาจะแตกเมื่อใช้ความเร็วสูง แต่ปรากฏว่าคำแนะนำของฮอนด้าถูกต้อง คงจะได้รับความดลใจโดยคำคมแต่โบราณของญี่ปุ่นที่ว่า "ต้นไม้ใหญ่ไม่สามารถยืนต้านลมแรง แต่ต้นไผ่ที่เพรียวและยืดหยุ่นได้นั้นต้านลมไหว" ความสำเร็จทางเทคนิคครั้งสำคัญจึงเกิดขึ้น

หลังการคิดค้นนี้ ฮอนด้าก็ให้วิศวกรรคนหนึ่งบรรยายการเคลื่อนไหวของโซ่ "มันเคลื่อนไปเป็นรอบ ๆ" นั่นคือคำตอบ เลยทำให้ฮอนด้าตะโกนใส่ว่า ."ไอ้โง่ โซ่น่ะเคลื่อนไหวตอบโต้กันต่างหากวะ พอด้านซ้ายเลื่อนขึ้นไป ด้านขวาจะเคลื่อนลงมา" ฮอนด้าคิดว่าการลดน้ำหนักลงนั้นสำคัญสำหรับสิ่งที่เคลื่อนไหวในลักษณะเช่นนี้ จึงพยายามผลิตโซ่จักรยานยนต์ให้ทั้งบางและเบา โซ่ที่ผลิตในญี่ปุ่นในเวลานั้นไม่สามารถใช้กับรถแข่งได้เพราะว่าโซ๋จะขาดเมื่อมีความเร็วสูง และมีทางที่เศษโซ่จะเป็นอันตรายต่อคนขี่จักรยานยนต์ด้วน นี่เองทำให้ฮอนด้าหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้น ครั้งแรกก็คิดหาทางเอง ต่อมาก็โดยความช่วยเหลือของคุมะกิจิ อะระยะ ประธานบริษัทดะอิโดะซึ่งเป็นเพื่อนสนิท อะระยะใช้ความคิดของฮอนด้าแต่การนำไปปฏิบัตินั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จริงแล้ว อะระยะเกือบจะยอมแพ้อยู่แล้ว "เป็นไปไม่ได้แน่นอน" ความดึงดันของฮอนด้าก็ปรากฏผลออกมาว่าโซ่จักรยานยนต์ที่ผลิตในญี่ปุ่นสามารถทนทานสภาพทารุณของการแข่งขันรถได้แม้ว่าจะไม่ทันเวลาที่บริษัทเข้าแข่งขันถ้วยทัวริสท์โทรฟีในครั้งแรกได้ก็ตาม

"เกือบสองปีหลังจากที่เราประกาศว่าจะเข้าแข่งที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน เมื่อส่วนประกอบและกลไกของเครื่องยนต์ได้รับการปรับปรุงเรียบร้อย เราก็สามารถผลิตเครื่องยนต์ที่ทรงพลังพอที่จะแข่งกับจักรยานยนต์ต่างประเทศได้ วิศวกรหนุ่มทำงานได้ดีเยี่ยม" ฮอนด้ากล่าว "แต่นั่นอย่างเดียวไม่เพียงพอทำให้เราเอาชนะการแข่งขันทัวริสท์ โทรฟีได้ คนขี่ก็สำคัญเท่ากับเครื่องยนต์ ถึงแม้เราจะมีจักรยานยนต์ที่ดีระดับเดียวกับคู่แข่ง เราก็ยังเอาชนะไม่ได้ถ้าไม่มีนักขี่ระดับยอด เราต้องพัฒนาเครื่องยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่สามารถเอาชนะการแข่งขันได้โดยไม่ต้องมีนักขี่ที่เก่งกาจนัก"

ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนา มีการศึกษาว่าพลังงานที่เกิดจากการสันดาปของเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ใหม่นั้นได้รับการใช้ไปอย่างเต็มที่หรือไม่ การวิเคราะห์ไอเสียบอกให้รู้ว่ามีการปล่อยไฮโดรคาร์บอนที่ไม่ถูกเผาไหม้และคาร์บอนโมน็อกไซด์จำนวนมากออกมา ฮอนด้าเชื่ออย่างมั่นคงว่าต้องมีวิธีการเพิ่มพลังมากขึ้นได้จากการวิจัยเรื่องการสันดาปนี้

"ในสมัยโน้นไม่มีการศึกษาเรื่องการสันดาป แม้แต่ในห้องทดลองในมหาวิทยาลัยหรือ "สามยักษ์ใหญ๋" ในวงการรถยนต์ของสหรัฐฯ ฮอนด้าว่า "นั่นก็เพราะว่าไม่มีใครมีปัญหาเรื่องการสันดาป เพราะถือเอาว่าเป็นผลตามธรรมชาติของการเผาไหม้ของสารผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิง โดยการวิจัยของเราเรื่องการสันดาปเราจึงกำจัดจุดบอดนี้ได้"

งานวิจัยที่ห้องปฏบัติการเริ่มด้วยการผลิตเครื่องมือวัดความละเอียด ทุกขั้นตอนของกระบวนการสันดาปจะได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการที่เปลวไฟและกำลังเกิดขึ้นหลังจากการจุดไหม้ของสารผสมอากาศและเชื้อเพิลที่เกิดจากหัวเทียน เมื่อการศึกษาดำเนินไป ก็พบว่าแรงเหวี่ยงเข้าของห้องหัวสูบมีอิทธิพลต่อการสันดาปมากกว่าปัจจัยอื่นใด จึงดัดแปลงปรับปรุงเครื่องยนต์ให้ถูกต้องตามนั้น

หลังจากตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนแล้ว ฮอนด้า มอเตอร์ก็เริ่มเข้าแข่งขันในญี่ปุ่น ในการแข่งขันทดสอบความทนทานสำบุกสำบันของมอเตอร์ไซค์ครั้งแรก (ที่รู้จักกันในชื่อว่า เมาท์ อะซะมะ เรศ) ในเดือนพฤศจิกายน 1955 ทีมของฮอนด้า มอเตอร์ชนะทั้งในรุ่น 350 ซีซี. และ 500 ซีซี. แต่แพ้รุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี. ในการแข่งขันครั้งที่สองในเดือนตุลาคม 1957 ฮอนด้า มอเตอร์ก็ปราชัยในรุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี.อีก แต่ได้ที่หนึ่งในรุ่น 350 ซีซี. ฮอนด้ายอมรับว่า "เราไม่ควรจะเลียนแบบเทคโนโลยีของต่างประเทศแม้ว่าผู้ผลิตบางรายเลียนแบบมาแล้วยังได้ชัยชนะ เราต้องชนะการแข่งขันที่ไอส์เอิลอ็อฟแมนโดยใช้เทคโนโลยีของเราเอง ไม่ว่ามันจะยากเย็นเข็ญใจขนาดไหน ในการพัฒนาเทคโนโลยีของเราก็ตาม"

ความทะเยอทะยานอันยาวนานของฮอนด้า มอเตอร์ที่จะร่วมแข่งขันทัวริสท์โทรฟีนั้นก็เป็นจริงในเดือนมิถุนายน 1959 ผลสุดท้ายของเวลาหลายปีที่วิจัยมา เครื่องยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์จึงมีพลังเหนือกว่าของต่างประเทศ ที่ฮอนด้าเองเห็นที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนในครั้งแรกที่เขาไปที่นั่นถึงสองเท่า รุ่นนี้มีชื่อว่า "อาร์ซึ-142" เป็นเครื่องสองสูบ ขนาด 125 ซีซี. จะมีกำลัง 16 แรงม้าที่ความเร็ว 14,000 รอบต่อนาที นักขี่ชาวญี่ปุ่นเข้าแข่งขันในรุ่น 125 ซีซี. ที่มีการต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง ผลปรากฏว่าฮอนด้า มอเตอร์มาเป็นอันดับ 6, 7 และ 8 จึงได้รับรางวัลชนะเลิศประเภททีม

ในปี 1960 จักรยานยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์เข้าแข่งขันในสองประเภทและมาเป็นที่ 4, 5 และ 6 ในรุ่น 250 ซีซี. และได้ที่ 6 ถึง 10 ในรุ่น 125 ซีซี. ในที่สุดก็ได้ชัยชนะในปี 1961 เมื่อฮอนด้า มอเตอร์ได้ที่ 1 ถึง 5 ทั้งในรุ่น 125 ซีซี. และ 250 ซีซี.

หนังสือพิมพ์เดลีมิร์เรอร์ ของอังกฤษรายงานว่า เครื่องยนต์ได้รับการผลิตมาเหมือนกับ "นาฬิกาชั้นดี" และฮอนด้าก็ปิติใจมาก "ด้วยการชนะที่ไอส์เอิลอ็อฟแมนเท่านั้นที่เราสามารถเปิดทางไปสู่การเป็นบริษัทระดับโลกและขายสินค้าของเราไปทั่วโลก" การแข่งรถนี้ไม่เพียงแต่เป็นการปรับปรุงเทคโนโลยี เครื่องยนต์จักรยานยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานเทคโนโลย่ของอุตสาหกรรมจักรยานยนต์ญี่ปุ่นทั้งหมดไปด้วย

จักรยานยนต์ที่ชนะการแข่งนั้นขี่โดยชาวต่างชาติ ฮอนด้ากล่าวว่า "ในการแข่งขันที่ไอส์เอลอ็อฟแมนนั้นเราช่วยเงินให้คนขี่ต่างชาติคนละ 5 หรือ 6 ล้านเยน ซึ่งเป็นเงินจำนวนมากทีเดียวในสมัยนั้น เมื่อเราเข้าแข่งรถกรังด์ปรีซ์ฟอร์มูล่า วัน เราจ้างนักขับรถแข่งมากกว่านั้น 10 เท่า พวกนักขี่และนักขับชาวต่างชาติอยากจะชนะมากจนเรียกร้องอะไรหลายอย่าง เช่นบอกเราว่ารถแกว่งหรือห้ามล้อไม่ดีพอและการเรียกร้องอย่างนั้นช่วยยกมาตรฐานเทคโนโลยีของเรา นักขี่ชาวญี่ปุ่นไม่อย่างนั้น พวกนี้ไม่บอกอะไรเราเลย บางคนก็ทำความเสียหายให้กับรถของเราด้วยซ้ำไป แน่นอน ปัจจุบันนี้มีนักขี่และนักขับชาวญี่ปุ่นฝีมือดีหลายคน ญี่ปุ่นเคยเป็นประเทศด้วยพัฒนาทางเครื่องยนต์มาแล้ว ในหลายประเทศ ผู้คนเคยชินกับการขี่รถด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตั้งแต่เป็นเด็กทารกมา ชาวญี่ปุ่นไม่คุ้นเคยกับความเร็วขนาดนั้นตอนที่ยังเป็นเด็กอยู่"

ถึงปลายปี 1956 ฮอนด้าและฟูจิซาวะก็ออกเดินทาง "ไปซื้อของ" ที่ประเทศเยอรมันตะวันตก นี่เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเริ่มมีความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจซึ่งชาวญี่ปุ่นเรียกจากทั้งความหวังและการเสียดสีว่า "จิมมุ บูม" ตามชื่อของจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การสิ้นสุดสงครามที่ชาวญี่ปุ่นหลายคนเริ่มออกพ้นความยากจนและเริ่มมีความรู้สึกฟุ่มเฟือยขึ้นมาบ้าง แม้ว่าคนนับถือศาสนาคริสต์จะเป็นชนกลุ่มน้อย แต่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ก็ฉลองวันก่อนคริสต์มาสด้วยการออกจับจ่ายซื้อของและจัดงานเลี้ยง รัฐบาลเองก็เอาด้วยโดยประกาศใน "หนังสือปกขาวทางเศรษฐกิจ" ว่า "ยุคหลังสงครามผ่านพ้นไปแล้ว"

ตอนที่ 5 พบกับคนที่ดีที่สุด…  

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!