ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 6.2 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในปี 1966 ยอดการขายรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นของฮอนด้า มอเตอร์ในสหรัฐตกลงฮวบฮาบ ซึ่งรวมทั้งรถรุ่นซูเปอร์คับที่ได้รับความนิยมอย่างไม่มีใครทาบนั้นด้วยยอดขายของอเมริกันฮอนด้าซึ่งเคยได้โดยเฉลี่ยเดือนละกว่า 20,000 คันนั้นคาดกันว่าจะตกลงเหลือ 8,000 คันในเดือนกันยายน และ 2,000 คันในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้ขาดเงินทุนอย่างรุนแรงถึง 44 ล้านดอลลาร์ เงินจำนวนนี้เท่ากับ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของเงินตราต่างประเทศสำรองทั้งหมดของญี่ปุ่นซึ่งในเวลานั้นมีทั้งสิ้น 1.8 พันล้านดอลลาร์ อเมริกันฮอนด้าไม่สามารถยืมเงินดอลลาร์จากธนาคารญี่ปุ่นในสหรัฐได้เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นห้ามการยืมเงินดอลลาร์ในต่างประเทศทั้งนี้ก็เพื่อจะรวบรวมเงินตราต่างประเทศไว้และจะได้ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเผชิญกับปัญหาจักรยานยนต์จำนวนมากค้างสต็อค อเมริกันฮอนด้าก็ไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี

ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ในสหรัฐโทษยอดขายตกต่ำลงเพราะสงครามเวียตนาม ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหนุ่ม ๆ หลายคนต้องไปยังย่านเอเชียอาคเนย์ แต่ขณะที่ฟูจิซาวะสำรวจเมืองลอสแองเจลีสจากห้องพักที่โรงแรม เขาก็เห็นชุมชนที่ร่ำรวยรวยอยู่ ดังนั้นจึงไม่เชื่ออย่างที่ผู้ขายเหล่านั้นว่า

จักรยานยนต์รุ่นซูเปอร์คับได้รับความสำเร็จทันใจในสหรัฐ ฮอนด้า มอเตอร์ขายรถรุ่นนี้ต่อไปโดยเพียงแต่เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ แต่รูปแบบรถไม่เปลี่ยนแปลง การดื้อรั้นของโฟล์คสวาเก้นไม่ยอมเปลี่ยนแปลรูปแบบของรุ่น “เต่าทอง” จึงเป็นตัวอย่างอันดีแก่ฮอนด้า มอเตอร์ บัดนี้ฟูจิซาวะรู้ว่ายุทธวิธีนี้ผิดพลาดไปหมด เขาสังเกตเห็นการขาดการพยายามพัฒนารถรุ่นใหม่ขึ้นมาก็เพราะว่ารุ่นซูเปอร์คับได้รับความนิยมมายาวนานมาก และบรรยากาศการทอดทิ้งไม่สนใจก็เกิดขึ้นในโรงงานเช่นกันเพราะการผลิตแต่รถรุ่นเดียวปีแล้วปีเล่าทำให้ไม่มีการท้าทายเกิดขึ้น “พวกฝ่ายขายต้องลืมทฤษฎีเบื้องต้นไปแน่ ๆ ว่าพาหนะก็คือแฟชั่นนั่นเอง” ฟูจิซาวะคิด

เมื่อกลับไปถึงโตเกียว เขาก็ดำเนินการที่ตรงข้ามกับสิ่งที่สามัญสำนึกจะบอก แผนการของฟูจิซาวะก็คือไม่พยายามดำเนินการอย่างรุนแรงที่จะลดจำนวนรถค้างสต็อคจนกว่าบริษัทจะสามารถเริ่มต้นส่งรถที่ออกแบบใหม่หมดได้เต็มที่ การส่งจักรยานยนต์ทุกรุ่นไปยังสหรัฐ รวมทั้งรุ่นซูเปอร์คับ จึงหยุดไปและอเมริกันกับฮอนด้าก็ดำเนินนโยบายลดราคาลงภายในกรอบที่สามารถทำได้ตามกฏหมายต่อต้านการทุ่มสินค้าสู่ตลาดเมื่อมีการสั่งซื้อเข้ามา ฟูจิซาวะรู้ว่าในฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนั้น จักรยานยนต์ขายไม่ออกนั้นจะล้าสมัย ดังนั้นการลดราคารถที่ค้างสต็อคอยู่ลงไปอีกก็ทำได้ตามกฏหมาย ถึงเวลานั้นรถรุ่นใหม่ ๆ จะได้รับการแนะนำสู่ตลาดเพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย แล้วจะเป็นผลให้ยอดรถค้างสต็อคลดลงไปมากทีเดียวในเดือนสิงหาคม

เขาหาเงินกู้จากธนาคารมิตซูบิชิและธนาคารแห่งโตเกียวมาหนุนเรื่องรถค้างสต็อค ธนาคารแห่งโตเกียวได้เงินตราต่างประเทศที่จำเป็นมา แล้วทั้งสองธนาคารร่วมกันจัดหาเงิน 47 ล้านดอลลาร์มาอุดหนุนทั้งรถค้างสต็อคในสหรัฐและการขาดเงินทุนในยุโรป ฟูจิซาวะบอกกับธนาคารทั้งสองว่า “เราจะใช้หนี้ทั้งหมดในเดือนสิงหาคมปีหน้าแต่เราจะไม่พยายามผ่อนชำระหนี้ก่อนเวลานั้น” เหตุผลก็เพื่อให้แน่ใจว่าอเมริกันมอเตอร์จะไม่ต้องถูกบังคับให้ขายรถค้างสต็อคไปโดยขาดทุนมากมาย

ฟูจิซาวะมีสัญชาตญาณเกือบจะเหมือนสัตว์สำหรับการเปลี่ยนแปลงอันละเอียดอ่อนในสภาพของสังคม เมื่อเขาคิดถึงการไปสหรัฐเมื่อเร็ว ๆ นี้ของเขา เขาก็เกือบจะสามารถรู้สึกถึงจังหวะกีตาร์ไฟฟ้าที่เร็ว แล้วเขาจึงไปยังศูนย์การวิจัยและพัฒนาและบอกให้พัฒนารถรุ่นใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากของที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะใช้โครงรถอันเดิมและเครื่องยนต์อย่างเดิม “รีบทำเร็ว ๆ เพราะผมต้องการส่งมันไปอเมริกาในปลายปีนี้” เขาสั่ง แล้วเขาก็ตรงไปยังคารุอิซาวะสถานที่ตากอากาศหน้าร้อนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของโตเกียว นี่เป็นกลยุทธทางจิตวิทยาสำหรับคนทั้งในและนอกบริษัท เพราะทุกคนถือว่าการไปตากอากาศเช่นนั้นแสดงถึงความมั่นอกมั่นใจของฟูจิซาวะในการแก้ปัญหา

ที่อเมริกันฮอนด้า รถรุ่นซูเปอร์คับได้รับการทาสีฉูดฉาดเพื่อให้ดึงดูดใจเหมือนกับดนตรีร็อค และที่ศูนย์การวิจัยและพัฒนานักออกแบบชาวญี่ปุ่นกำลังสร้างจักรยานยนต์ที่มีลักษณะซู่ซ่าฟู่ฟ่า จักรยานยนต์ “หน้าตาต่างออกไป” นี้ได้รับการผลิตและส่งไปยังสหรัฐเป็นจำนวนมากก่อนถึงสิ้นปี–เป็นมาตรการอุดช่องโหว่อันหนึ่งในขณะที่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างขนานใหญ่กำลังดำเนินอยู่การพลิกแพลงอย่างผิดปกติของฟูจิซาวะได้ผลและยอดขายในสหรัฐเพิ่มขึ้นในราวฤดูใบไม้ผลิปี 1967 ถึงเดือนกรกฎาคม บริษัทก็สามารถชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดจากธนาคารมิตซูบิชิและธนาคารแห่งโตเกียวได้

เมื่อสามปีก่อน ฮอนด้า มอเตอร์ประกาศว่าจะเข้าร่วมการแข่งรถฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์ นับตั้งแต่ได้ชัยชนะในการแข่งขันจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน ศูนย์การวิจัยและพัฒนาก็ต้องการพัฒนารถแข่ง เมื่อแผนการนี้ได้รับความเห็นชอบ ฮอนด้า มอเตอร์ก็พร้อมที่จะผลิตรถสี่ล้อจำนวนจำกัด รถแบบหนึ่งก็คือ รถบรรทุก ที-360 ที่เครื่องยนต์มีกำลัง 30 แรงม้าและมีความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถที-360 มีสมรรถภาพเหมือนรถสปอร์ต จึงกลายเป็นรถบรรทุกคันแรกในรุ่นนี้ที่สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้ความเร็วสูงได้ รถอีกรุ่นของฮอนด้า มอเตอร์คือ รถสปอร์ต เอส-500 โดยที่เครื่องยนต์มีขนาด 500 ซีซี. จึงสามารถมีกำลัง 44 แรงม้า เมื่อเครื่องยนต์เร่งถึง 8,000 รอบต่อนาทีและวิ่งได้เร็วถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นสถิติที่ดีกว่ารถขนาดหนึ่งลิตรในสมัยนั้นด้วย รถสปอร์ตคันต่อไปของบริษัทคือเอส-600 มีกำลัง 57 แรงม้าและได้รับการปรับปรุงการเร่งความเร็วและความคล่องตัว รุ่นนี้ได้รับการเน้นที่การส่งออก และได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ

รถยนต์และรถบรรทุกเหล่านี้ได้รับการสร้างมาให้มีรอบจัด มีแรงม้าสูง และมีการสันดาปที่ดี–อันเป็นเทคโนโลยีในโลกที่บริษัททำได้สำเร็จในการแข่งขันจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน ในเมื่อการแนะนำยานเหล่านี้จะต้องรีบเร่งขึ้นเนื่องจาก “ระบบสามกลุ่ม” ฮอนด้า มอเตอร์จึงอยู่ในฐานะที่จะเสนอรถสปอร์ตจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเพราะยังไม่พร้อมที่จะผลิตรถยนต์โดยสารเป็นจำนวนมาก ๆ จึงทำให้บริษัทต้องพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์โดยสารผ่านการแข่งขันรถฟอร์มูลาวัน

โครงการฟอร์มูลาวัน เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในปี 1963 เมื่อรูปวาดเครื่องยนต์ชุดแรกเสร็จสิ้นเรียบร้อยในฤดูร้อนปีนั้นเครื่องยนต์ต้นแบบก็ได้รับการทดสอบ และจนกระทั่งถึงปลายปี การทดสอบเครื่องยนต์นี้ทำกับตัวถังรถที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ ๆ แม้แต่ระหว่างการออกแบบบรรดาวิศวกรก็ตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะให้รถแล่นได้เร็วที่สุดถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถแข่งต้นแบบคันแรกจึงได้ชื่อว่า อาร์เอ-270 รถคันนี้มีไว้เพื่อการทดสอบแต่เพียงอย่างเดียว พวกวิศวกรก็ทำงานกับรถรุ่น อาร์เอ-271 ซึ่งตั้งใจจะนำออกแข่งในการแข่งขันรถรุ่นฟอร์มูลาวัน

การได้รับชัยชนะในการแข่งขันรถรุ่นฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์เคยเป็นและยังเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สามารถจะแสวงหาได้ในการแข่งรถยนต์ กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้นระบุว่า รถแข่งรุ่นนี้จะมีเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี. จนกระทั่งปี 1965 แต่ในปีต่อมาจึงยินยอมให้มีขนาดเครื่องยนต์ถึง 3,000 ซีซี. นี่ก็หมายความว่าฮอนด้า มอเตอร์มีเวลาเหลืออีกเพียงสองปีที่จะเข้าแข่งขันด้วยรถขนาดเครื่องเล็ก ดังนั้นทางบริษัทจึงตัดสินใจเริ่มโครงการแข่งรถด้วยการเข้าร่วมการแข่งรถโมนาโค กรังด์ปรีซ์ อันเป็นการแข่งขันสนามแรกของฤดูการแข่งขันในปี 1964 ในเดือนพฤษภาคมปีนั้น

เนื่องจากหมายกำหนดการแน่นอย่างนี้ ฮอนด้า มอเตอร์จึงเลือกพัฒนาเครื่องยนต์แต่เพียงอย่างเดียวสำหรับรถรุ่นอาร์เอ-271 และขอให้บริษัทโลตัสแห่งอังกฤษช่วยสร้างตัวถังให้ บริษัทคิดว่าโดยการทำเช่นนั้น โลตัสจะเข้ามาช่วยในด้านที่ฮอนด้า มอเตอร์ขาดประสบการณ์ เช่นในการเลือกนักขับรถ ปัญหาร้ายแรงปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาสามเดือนก่อนการแข่งขันโมนาโค กรังด์ปรีซ์เมื่อโลตัสประกาศว่าไม่สามารถผลิตตัวถังฟอร์มูลาวันให้ได้ ในเวลาเดียวกันนั้น บริษัทจากัวร์แห่งอังกฤษก็เข้าคุมกิจการแผนกรถแข่งของบริษัทไคลแมกซ์ เพราะว่าโลตัสได้รับเงินช่วยเหลือจากจากัวร์ จึงถูกบังคับให้ตัดความสัมพันธ์กับฮอนด้า มอเตอร์และไปร่วมมือกับไคลแมกซ์ ฮอนด้า มอเตอร์โกรธมากที่ถูก “ฉีกสัญญา” แต่ก็ไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องทำทุกอย่างเอง

ในเวลาเดียวกันนั้น ทางบริษัทก็เผชิญกับปัญหายากลำบากในการคัดเลือกนักขับรถ โยชิโอะ นากามูระ ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมฟอร์มูลาวันของฮอนด้า มอเตอร์ กล่าวว่า “ตั้งแต่เริ่มแรก เราไม่เคยคิดจะจ้างนักขับรถชาวญี่ปุ่นและเพราะพวกนี้ขาดประสบการณ์และความชำนาญ เราะพิจารณานักขี่มอเตอร์ไซค์บางคนที่แข่งที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนแต่เราสังเกตเห็นช่องว่างใหญ่โตระหว่าง “การขี่” จักรยานยนต์และ “การขับ” รถแข่ง เราหาใครที่เหมาะสมไม่ได้ในหมู่นักขับกรังด์ปรีซ์ในตอนนั้น เราต้องเลือกนักขับหน้าใหม่”

นักขับหนุ่มชาวอเมริกันชื่่อรอนนี บัคแฮมได้รับเลือกแม้ว่าเขาจะพิสูจน์แล้วว่าไม่มีใครปราบเขาได้ในการแข่งรถที่เขตเวสท์โคสท์ของสหรัฐ แต่เขาก็ไม่มีประสบการณ์ในการขับฟอร์มูลาวัน ในเดือนกรกฎาคม รถอาร์เอ-271 คันแรกก็ถูกส่งขึ้นเครื่องบินไปยังยุโรป เครื่องยนต์รถแข่งทุกคันต้องได้รับการปรับเครื่องเพื่อว่าจะได้แล่นได้เต็มความสามารถในการแข่งขันจริง กระบวนการนี้เรียกกันว่า “การพัฒนา” รถแข่ง นักขับรถทดสอบรถคันนั้นเป็นเวลาหลายครั้ง ชี้ให้รู้ถึงจุดบกพร่องและพัฒนาเครื่องยนต์โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสมาชิกร่วมทีม นี่ก็เปรียบได้กับนักกีฬากับโค้ชและนี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้เครื่องยนต์สมบูรณ์ขึ้น

ตอนที่ 6.1 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในปี 1966 ยอดการขายรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นของฮอนด้า มอเตอร์ในสหรัฐตกลงฮวบฮาบ ซึ่งรวมทั้งรถรุ่นซูเปอร์คับที่ได้รับความนิยมอย่างไม่มีใครทาบนั้นด้วยยอดขายของอเมริกันฮอนด้าซึ่งเคยได้โดยเฉลี่ยเดือนละกว่า 20,000 คันนั้นคาดกันว่าจะตกลงเหลือ 8,000 คันในเดือนกันยายน และ 2,000 คันในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะทำให้ขาดเงินทุนอย่างรุนแรงถึง 44 ล้านดอลลาร์ เงินจำนวนนี้เท่ากับ 2.4 เปอร์เซ็นต์ของเงินตราต่างประเทศสำรองทั้งหมดของญี่ปุ่นซึ่งในเวลานั้นมีทั้งสิ้น 1.8 พันล้านดอลลาร์ อเมริกันฮอนด้าไม่สามารถยืมเงินดอลลาร์จากธนาคารญี่ปุ่นในสหรัฐได้เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นห้ามการยืมเงินดอลลาร์ในต่างประเทศทั้งนี้ก็เพื่อจะรวบรวมเงินตราต่างประเทศไว้และจะได้ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเผชิญกับปัญหาจักรยานยนต์จำนวนมากค้างสต็อค อเมริกันฮอนด้าก็ไม่รู้ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี

ผู้จำหน่ายรถจักรยานยนต์ในสหรัฐโทษยอดขายตกต่ำลงเพราะสงครามเวียตนาม ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหนุ่ม ๆ หลายคนต้องไปยังย่านเอเชียอาคเนย์ แต่ขณะที่ฟูจิซาวะสำรวจเมืองลอสแองเจลีสจากห้องพักที่โรงแรม เขาก็เห็นชุมชนที่ร่ำรวยรวยอยู่ ดังนั้นจึงไม่เชื่ออย่างที่ผู้ขายเหล่านั้นว่า

จักรยานยนต์รุ่นซูเปอร์คับได้รับความสำเร็จทันใจในสหรัฐ ฮอนด้า มอเตอร์ขายรถรุ่นนี้ต่อไปโดยเพียงแต่เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ แต่รูปแบบรถไม่เปลี่ยนแปลง การดื้อรั้นของโฟล์คสวาเก้นไม่ยอมเปลี่ยนแปลรูปแบบของรุ่น "เต่าทอง" จึงเป็นตัวอย่างอันดีแก่ฮอนด้า มอเตอร์ บัดนี้ฟูจิซาวะรู้ว่ายุทธวิธีนี้ผิดพลาดไปหมด เขาสังเกตเห็นการขาดการพยายามพัฒนารถรุ่นใหม่ขึ้นมาก็เพราะว่ารุ่นซูเปอร์คับได้รับความนิยมมายาวนานมาก และบรรยากาศการทอดทิ้งไม่สนใจก็เกิดขึ้นในโรงงานเช่นกันเพราะการผลิตแต่รถรุ่นเดียวปีแล้วปีเล่าทำให้ไม่มีการท้าทายเกิดขึ้น "พวกฝ่ายขายต้องลืมทฤษฎีเบื้องต้นไปแน่ ๆ ว่าพาหนะก็คือแฟชั่นนั่นเอง" ฟูจิซาวะคิด

เมื่อกลับไปถึงโตเกียว เขาก็ดำเนินการที่ตรงข้ามกับสิ่งที่สามัญสำนึกจะบอก แผนการของฟูจิซาวะก็คือไม่พยายามดำเนินการอย่างรุนแรงที่จะลดจำนวนรถค้างสต็อคจนกว่าบริษัทจะสามารถเริ่มต้นส่งรถที่ออกแบบใหม่หมดได้เต็มที่ การส่งจักรยานยนต์ทุกรุ่นไปยังสหรัฐ รวมทั้งรุ่นซูเปอร์คับ จึงหยุดไปและอเมริกันกับฮอนด้าก็ดำเนินนโยบายลดราคาลงภายในกรอบที่สามารถทำได้ตามกฏหมายต่อต้านการทุ่มสินค้าสู่ตลาดเมื่อมีการสั่งซื้อเข้ามา ฟูจิซาวะรู้ว่าในฤดูใบไม้ผลิที่จะถึงนั้น จักรยานยนต์ขายไม่ออกนั้นจะล้าสมัย ดังนั้นการลดราคารถที่ค้างสต็อคอยู่ลงไปอีกก็ทำได้ตามกฏหมาย ถึงเวลานั้นรถรุ่นใหม่ ๆ จะได้รับการแนะนำสู่ตลาดเพื่อช่วยเพิ่มยอดขาย แล้วจะเป็นผลให้ยอดรถค้างสต็อคลดลงไปมากทีเดียวในเดือนสิงหาคม

เขาหาเงินกู้จากธนาคารมิตซูบิชิและธนาคารแห่งโตเกียวมาหนุนเรื่องรถค้างสต็อค ธนาคารแห่งโตเกียวได้เงินตราต่างประเทศที่จำเป็นมา แล้วทั้งสองธนาคารร่วมกันจัดหาเงิน 47 ล้านดอลลาร์มาอุดหนุนทั้งรถค้างสต็อคในสหรัฐและการขาดเงินทุนในยุโรป ฟูจิซาวะบอกกับธนาคารทั้งสองว่า "เราจะใช้หนี้ทั้งหมดในเดือนสิงหาคมปีหน้าแต่เราจะไม่พยายามผ่อนชำระหนี้ก่อนเวลานั้น" เหตุผลก็เพื่อให้แน่ใจว่าอเมริกันมอเตอร์จะไม่ต้องถูกบังคับให้ขายรถค้างสต็อคไปโดยขาดทุนมากมาย

ฟูจิซาวะมีสัญชาตญาณเกือบจะเหมือนสัตว์สำหรับการเปลี่ยนแปลงอันละเอียดอ่อนในสภาพของสังคม เมื่อเขาคิดถึงการไปสหรัฐเมื่อเร็ว ๆ นี้ของเขา เขาก็เกือบจะสามารถรู้สึกถึงจังหวะกีตาร์ไฟฟ้าที่เร็ว แล้วเขาจึงไปยังศูนย์การวิจัยและพัฒนาและบอกให้พัฒนารถรุ่นใหม่ที่มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างไปจากของที่มีอยู่ถึงแม้ว่าจะใช้โครงรถอันเดิมและเครื่องยนต์อย่างเดิม "รีบทำเร็ว ๆ เพราะผมต้องการส่งมันไปอเมริกาในปลายปีนี้" เขาสั่ง แล้วเขาก็ตรงไปยังคารุอิซาวะสถานที่ตากอากาศหน้าร้อนซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของโตเกียว นี่เป็นกลยุทธทางจิตวิทยาสำหรับคนทั้งในและนอกบริษัท เพราะทุกคนถือว่าการไปตากอากาศเช่นนั้นแสดงถึงความมั่นอกมั่นใจของฟูจิซาวะในการแก้ปัญหา

ที่อเมริกันฮอนด้า รถรุ่นซูเปอร์คับได้รับการทาสีฉูดฉาดเพื่อให้ดึงดูดใจเหมือนกับดนตรีร็อค และที่ศูนย์การวิจัยและพัฒนานักออกแบบชาวญี่ปุ่นกำลังสร้างจักรยานยนต์ที่มีลักษณะซู่ซ่าฟู่ฟ่า จักรยานยนต์ "หน้าตาต่างออกไป" นี้ได้รับการผลิตและส่งไปยังสหรัฐเป็นจำนวนมากก่อนถึงสิ้นปี--เป็นมาตรการอุดช่องโหว่อันหนึ่งในขณะที่การเปลี่ยนแปลงรูปร่างขนานใหญ่กำลังดำเนินอยู่การพลิกแพลงอย่างผิดปกติของฟูจิซาวะได้ผลและยอดขายในสหรัฐเพิ่มขึ้นในราวฤดูใบไม้ผลิปี 1967 ถึงเดือนกรกฎาคม บริษัทก็สามารถชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดจากธนาคารมิตซูบิชิและธนาคารแห่งโตเกียวได้

เมื่อสามปีก่อน ฮอนด้า มอเตอร์ประกาศว่าจะเข้าร่วมการแข่งรถฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์ นับตั้งแต่ได้ชัยชนะในการแข่งขันจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน ศูนย์การวิจัยและพัฒนาก็ต้องการพัฒนารถแข่ง เมื่อแผนการนี้ได้รับความเห็นชอบ ฮอนด้า มอเตอร์ก็พร้อมที่จะผลิตรถสี่ล้อจำนวนจำกัด รถแบบหนึ่งก็คือ รถบรรทุก ที-360 ที่เครื่องยนต์มีกำลัง 30 แรงม้าและมีความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถที-360 มีสมรรถภาพเหมือนรถสปอร์ต จึงกลายเป็นรถบรรทุกคันแรกในรุ่นนี้ที่สามารถขนส่งสินค้าโดยใช้ความเร็วสูงได้ รถอีกรุ่นของฮอนด้า มอเตอร์คือ รถสปอร์ต เอส-500 โดยที่เครื่องยนต์มีขนาด 500 ซีซี. จึงสามารถมีกำลัง 44 แรงม้า เมื่อเครื่องยนต์เร่งถึง 8,000 รอบต่อนาทีและวิ่งได้เร็วถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นสถิติที่ดีกว่ารถขนาดหนึ่งลิตรในสมัยนั้นด้วย รถสปอร์ตคันต่อไปของบริษัทคือเอส-600 มีกำลัง 57 แรงม้าและได้รับการปรับปรุงการเร่งความเร็วและความคล่องตัว รุ่นนี้ได้รับการเน้นที่การส่งออก และได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ

รถยนต์และรถบรรทุกเหล่านี้ได้รับการสร้างมาให้มีรอบจัด มีแรงม้าสูง และมีการสันดาปที่ดี--อันเป็นเทคโนโลยีในโลกที่บริษัททำได้สำเร็จในการแข่งขันจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน ในเมื่อการแนะนำยานเหล่านี้จะต้องรีบเร่งขึ้นเนื่องจาก "ระบบสามกลุ่ม" ฮอนด้า มอเตอร์จึงอยู่ในฐานะที่จะเสนอรถสปอร์ตจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเพราะยังไม่พร้อมที่จะผลิตรถยนต์โดยสารเป็นจำนวนมาก ๆ จึงทำให้บริษัทต้องพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์โดยสารผ่านการแข่งขันรถฟอร์มูลาวัน

โครงการฟอร์มูลาวัน เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในปี 1963 เมื่อรูปวาดเครื่องยนต์ชุดแรกเสร็จสิ้นเรียบร้อยในฤดูร้อนปีนั้นเครื่องยนต์ต้นแบบก็ได้รับการทดสอบ และจนกระทั่งถึงปลายปี การทดสอบเครื่องยนต์นี้ทำกับตัวถังรถที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ ๆ แม้แต่ระหว่างการออกแบบบรรดาวิศวกรก็ตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะให้รถแล่นได้เร็วที่สุดถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถแข่งต้นแบบคันแรกจึงได้ชื่อว่า อาร์เอ-270 รถคันนี้มีไว้เพื่อการทดสอบแต่เพียงอย่างเดียว พวกวิศวกรก็ทำงานกับรถรุ่น อาร์เอ-271 ซึ่งตั้งใจจะนำออกแข่งในการแข่งขันรถรุ่นฟอร์มูลาวัน

การได้รับชัยชนะในการแข่งขันรถรุ่นฟอร์มูลาวันกรังด์ปรีซ์เคยเป็นและยังเป็นเกียรติอันยิ่งใหญ่ที่สามารถจะแสวงหาได้ในการแข่งรถยนต์ กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ในสมัยนั้นระบุว่า รถแข่งรุ่นนี้จะมีเครื่องยนต์ไม่เกิน 1,500 ซีซี. จนกระทั่งปี 1965 แต่ในปีต่อมาจึงยินยอมให้มีขนาดเครื่องยนต์ถึง 3,000 ซีซี. นี่ก็หมายความว่าฮอนด้า มอเตอร์มีเวลาเหลืออีกเพียงสองปีที่จะเข้าแข่งขันด้วยรถขนาดเครื่องเล็ก ดังนั้นทางบริษัทจึงตัดสินใจเริ่มโครงการแข่งรถด้วยการเข้าร่วมการแข่งรถโมนาโค กรังด์ปรีซ์ อันเป็นการแข่งขันสนามแรกของฤดูการแข่งขันในปี 1964 ในเดือนพฤษภาคมปีนั้น

เนื่องจากหมายกำหนดการแน่นอย่างนี้ ฮอนด้า มอเตอร์จึงเลือกพัฒนาเครื่องยนต์แต่เพียงอย่างเดียวสำหรับรถรุ่นอาร์เอ-271 และขอให้บริษัทโลตัสแห่งอังกฤษช่วยสร้างตัวถังให้ บริษัทคิดว่าโดยการทำเช่นนั้น โลตัสจะเข้ามาช่วยในด้านที่ฮอนด้า มอเตอร์ขาดประสบการณ์ เช่นในการเลือกนักขับรถ ปัญหาร้ายแรงปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นในเวลาสามเดือนก่อนการแข่งขันโมนาโค กรังด์ปรีซ์เมื่อโลตัสประกาศว่าไม่สามารถผลิตตัวถังฟอร์มูลาวันให้ได้ ในเวลาเดียวกันนั้น บริษัทจากัวร์แห่งอังกฤษก็เข้าคุมกิจการแผนกรถแข่งของบริษัทไคลแมกซ์ เพราะว่าโลตัสได้รับเงินช่วยเหลือจากจากัวร์ จึงถูกบังคับให้ตัดความสัมพันธ์กับฮอนด้า มอเตอร์และไปร่วมมือกับไคลแมกซ์ ฮอนด้า มอเตอร์โกรธมากที่ถูก "ฉีกสัญญา" แต่ก็ไม่มีทางเลือกนอกจากจะต้องทำทุกอย่างเอง

ในเวลาเดียวกันนั้น ทางบริษัทก็เผชิญกับปัญหายากลำบากในการคัดเลือกนักขับรถ โยชิโอะ นากามูระ ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมฟอร์มูลาวันของฮอนด้า มอเตอร์ กล่าวว่า "ตั้งแต่เริ่มแรก เราไม่เคยคิดจะจ้างนักขับรถชาวญี่ปุ่นและเพราะพวกนี้ขาดประสบการณ์และความชำนาญ เราะพิจารณานักขี่มอเตอร์ไซค์บางคนที่แข่งที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมนแต่เราสังเกตเห็นช่องว่างใหญ่โตระหว่าง "การขี่" จักรยานยนต์และ "การขับ" รถแข่ง เราหาใครที่เหมาะสมไม่ได้ในหมู่นักขับกรังด์ปรีซ์ในตอนนั้น เราต้องเลือกนักขับหน้าใหม่"

นักขับหนุ่มชาวอเมริกันชื่่อรอนนี บัคแฮมได้รับเลือกแม้ว่าเขาจะพิสูจน์แล้วว่าไม่มีใครปราบเขาได้ในการแข่งรถที่เขตเวสท์โคสท์ของสหรัฐ แต่เขาก็ไม่มีประสบการณ์ในการขับฟอร์มูลาวัน ในเดือนกรกฎาคม รถอาร์เอ-271 คันแรกก็ถูกส่งขึ้นเครื่องบินไปยังยุโรป เครื่องยนต์รถแข่งทุกคันต้องได้รับการปรับเครื่องเพื่อว่าจะได้แล่นได้เต็มความสามารถในการแข่งขันจริง กระบวนการนี้เรียกกันว่า "การพัฒนา" รถแข่ง นักขับรถทดสอบรถคันนั้นเป็นเวลาหลายครั้ง ชี้ให้รู้ถึงจุดบกพร่องและพัฒนาเครื่องยนต์โดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสมาชิกร่วมทีม นี่ก็เปรียบได้กับนักกีฬากับโค้ชและนี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการทำให้เครื่องยนต์สมบูรณ์ขึ้น

ตอนที่ 6.1 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!