ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 6.3 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ฮอนด้า มอเตอร์พัฒนารถอาร์เอ-272 ขึ้นมาสำหรับการแข่งปี 1965 โดยจะเข้าแข่งในการแข่งขันครั้งที่สองของปีคือที่โมนาโค กรังด์ปรีซ์ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงมากมายทีเดียวโดยผ่านการแนะนำของกินเธอร์และบัคแฮม ปัญหาทางเครื่องยนต์ก็ยังทำให้ไม่สามารถได้รับชัยชนะ โซอิชิโร ฮอนด้าจึงเดินทางไปดูการแข่งขันยู.เอส. กรังด์ปรีซ์ที่วัทคินส์เกล็นในวันที่ 3 ตุลาคมด้วยตัวเอง แม้ว่าจะชอบการแข่งรถมานานแล้วโดยมีประสบการณ์เป็นนักขับรถแข่งด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้ดูรถยนต์ของบริษัทแข่งกรังด์ปรีซ์ แล้วก็เป็นครั้งสุดท้ายด้วย

กินเธอร์สามารถนำรถเข้าสู่เส้นชัยได้แต่ถูกผู้ชนะทิ้งห่างสองรอบและมาเป็นที่เจ็ด ทีมของฮอนด้า มอเตอร์ไม่ประสบความสำเร็จและฮอนด้าพูดถึงครั้งนั้นว่า “ผมแทบจะดูการแข่งขันไม่ได้เพราะรู้สึกเหมือนกับว่าระบบทั้งหมดของผมมันตีลังกากันหมดขณะที่ผมดูรถแข่งของเรา”

ในเมื่อเหลือการแข่งขันอีกนัดเดียวในฤดูการแข่งขันปีนั้น คือการแข่งขันเม็กซิกัน กรังด์ปรีซ์ บรรยากาศของคนขึ้แพ้ มีอยู่รอบกายทีมนี้ ทุกคนกลัวว่าจะได้ชื่อว่า “ถึงฮอนด้า มอเตอร์จะมีเครื่องยนต์ทรงพลังก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เก่งแต่เรื่องจักรยานยนต์ แต่เรื่องรถแข่งไม่เอาไหนเลย” นากามูระจึงตัดสินใจครั้งสำคัญและขอไปทางสำนักงานใหญ่ที่โตเกียวว่าจะควบคุมเรื่องการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ที่เม็กซิโกเองทั้งหมด ทางสำนักงานใหญ่อนุญาต และหลังจากที่ไปถึงเมืองเม็กซิโก ซิตี้ เขาก็จัดแจงโครงสร้างของทีมใหม่หมด นากามูระคิดว่าในเมืองเม็กซิโก ซิตี้ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2,400 เมตร และมีอากาศบาง กุญแจสู่ชัยชนะนั้นอยู่ที่การเผาไหม้ในเครื่องยนต์อย่างถูกต้อง และอัตราส่วนระหว่างอากาศและน้ำมัน

จุดประสงค์ในการจัดรูปร่างทีมใหม่ก็คือเพื่อให้แน่ใจว่าทฤษฎีนี้ได้ผลโดยที่ไม่สนใจเรื่องความอาวุโสในทีม เขาจึงวางนโยบายเข้มงวดในการ “ให้คนที่เหมาะสมอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม”

เม็กซิกัน กรังด์ปรีซ์เริ่มต้นในวันที่ 4 ตุลาคม รถทุกคันจะต้องแล่นรอบสนามยาว 5 กิโลเมตร 65 รอบ ในการทดสอบเอง นักแข่งรถสองคนของทีมฮอนด้าทำเวลาได้ดีมาก กินเธอร์มีทางจะได้ชัยชนะ เขาจึงเรียกร้องให้บัคแฮมและรถแข่งกับเขา ซึ่งปรากฏว่าในเวลาต่อมาว่ารถแข่งของบัคแฮมดูเหมือนจะไปได้เร็วกว่าในการซ้อมอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันเที่ยวสุดท้าย กินเธอร์นำตั้งแต่เริ่มต้น ขณะที่กำลังผ่านโค้งสุดท้าย รถของเขาเริ่มลอย และมีรถอีกคันขวางอยู่

ในการพยายามควบคุมรถโดยไม่ลดความเร็วลงนั้น เขาก็แล่นผ่านเส้นชัยนำหน้ารถคันที่สอง 2.89 วินาที นี่เป็นชัยชนะในการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เป็นครั้งแรกสำหรับฮอนด้า มอเตอร์ บัคแฮมมาเป็นที่ 5 ขณะกลับไปยังคอกของฮอนด้า มอเตอร์ กินเธอร์กอดนากามูระและพูดว่า “เราทำสำเร็จ” บรรดาแฟน ๆ ชาวเม็กซิกันมาห้อมล้อมขณะที่เขาเดินไปขึ้นแป้นผู้ชนะเลิศ และพากันเปล่งเสียงร้องเป็นภาษาสเปนด้วยความดีใจ กับชัยชนะของเขาซึ่งแปลว่า ข้ามา ข้าเห็น ข้าพิชิต เป็นข้อความเดียวกับที่จูเลียส ซีซาร์ส่งไปยังกรุงโรมหลังจากชัยชนะครั้งใหญ่ ๆ

ปีเดียวกันนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ก็เข้าแข่งรถรุ่นฟอร์มูลาทูด้วยรถขนาด 1,000 ซีซี. 4 สูบ นักขับรถที่ทำสัญญาว่าจ้างมาคือ แจ็ค แบรบแฮม ชาวอังกฤษที่เกิดในออสเตรเลียซึ่งเคยเป็นแชมป์โลกและได้รับการยกย่องว่าเป้นนักแข่งรถรุ่นฟอร์มูลาวันมือยอด เขายังแสดงแทนพระเอกในภาพยนต์เกี่ยวกับการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ อย่างไรก็ตามในการแข่งรถฟอร์มูลาทูนั้นเขากับเพื่อนปราชัยหมด

นี่จึงเป็นความผิดหวังอย่างใหญ่หลวงสำหรับทาดะชิ คุเมะ ผู้ออกแบบเครื่องยนต์ฟอร์มูลาวันและฟอร์มูลาทูและเป็นหัวหน้าทีมฟอร์มูลาทู ในช่วงนี้ คิโยชิ คาวะชิมะไปหาเขาที่โรงแรม “ผมรู้สึกอยากผูกคอตาย” คุเมะพิมพำ “ต้นสนอยู่นั่นไง ไปสิ” คาวะชิมะแหย่ แล้วก็เล่าให้คุเมะฟังถึงความยากลำบากที่เขาผจญมาในการแข่งรถจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน “ในตอนเริ่มแรก ผมเองก็ทุเรศที่ไม่สามารถเอาชัยชนะได้ที่ไอส์เอิลอ็อฟแมน เคนจิโร ทะนะกะ นักขับรถของเราได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาล พวกนักขับรถแข่งชาวต่างประเทศอดอาหารประท้วงว่ารถของเราอันตรายเกินไป ผมรู้สึกเหมือนอยากจะผูกคอตายเมื่อผมไปเยี่ยมเคนจิโรที่โรงพยาบาลและผมก็เห็นต้นสนด้วยนะ” คาวะชิมะ พูดพร้อมกับหัวเราะและคาวะชิมะก็ให้กำลังใจโดยพูดว่า “มันสำคัญมากในการตัดสินใจที่สนามแข่งขันโดยไม่รีรอขอความเห็นจากทางสำนักงานใหญ่ นั่นแหละที่ผมทำไป”

การแข่งขันฟอร์มูลาทูทำให้ได้รับชัยชนะ 11 ครั้งรวดในปีต่อมา การแข่งขันรถฟอร์มูลาทู ไม่ได้รับการประโคมข่าวมากมายเหมือนรถฟอร์มูลาวัน ซึ่งนักแข่งมือเยี่ยมของโลกประลองความเร็วกัน แต่การที่ได้ชัยชนะเป็นชุดในการแข่งรถฟอร์มูลาทู ก็สำคัญมากสำหรับฝ่ายบริหารของฮอนด้า มอเตอร์ เครื่องขนาด 1,000 ซีซี. 4 สูบใช้น้ำระบายความร้อนซึ่งแผนกวิจัยและพัฒนาของฮอนด้าพัฒนาขึ้นมาเพื่อการแข่งรถให้กำลังสูงมากถึง 160 แรงม้า และทนทานต่อสภาพการแข่งขันที่เลวร้ายที่สุดได้ เทคโนโลยีที่ได้จากการแข่งนี้สามารถนำไปใช้กับรถโดยสารขนาดเล็กได้ทันที

HONDA MOTOR-ตอนที่ 6.2 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ฮอนด้า มอเตอร์พัฒนารถอาร์เอ-272 ขึ้นมาสำหรับการแข่งปี 1965 โดยจะเข้าแข่งในการแข่งขันครั้งที่สองของปีคือที่โมนาโค กรังด์ปรีซ์ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงมากมายทีเดียวโดยผ่านการแนะนำของกินเธอร์และบัคแฮม ปัญหาทางเครื่องยนต์ก็ยังทำให้ไม่สามารถได้รับชัยชนะ โซอิชิโร ฮอนด้าจึงเดินทางไปดูการแข่งขันยู.เอส. กรังด์ปรีซ์ที่วัทคินส์เกล็นในวันที่ 3 ตุลาคมด้วยตัวเอง แม้ว่าจะชอบการแข่งรถมานานแล้วโดยมีประสบการณ์เป็นนักขับรถแข่งด้วย นี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้ดูรถยนต์ของบริษัทแข่งกรังด์ปรีซ์ แล้วก็เป็นครั้งสุดท้ายด้วย

กินเธอร์สามารถนำรถเข้าสู่เส้นชัยได้แต่ถูกผู้ชนะทิ้งห่างสองรอบและมาเป็นที่เจ็ด ทีมของฮอนด้า มอเตอร์ไม่ประสบความสำเร็จและฮอนด้าพูดถึงครั้งนั้นว่า "ผมแทบจะดูการแข่งขันไม่ได้เพราะรู้สึกเหมือนกับว่าระบบทั้งหมดของผมมันตีลังกากันหมดขณะที่ผมดูรถแข่งของเรา"

ในเมื่อเหลือการแข่งขันอีกนัดเดียวในฤดูการแข่งขันปีนั้น คือการแข่งขันเม็กซิกัน กรังด์ปรีซ์ บรรยากาศของคนขึ้แพ้ มีอยู่รอบกายทีมนี้ ทุกคนกลัวว่าจะได้ชื่อว่า "ถึงฮอนด้า มอเตอร์จะมีเครื่องยนต์ทรงพลังก็ไม่สามารถเอาชนะได้ เก่งแต่เรื่องจักรยานยนต์ แต่เรื่องรถแข่งไม่เอาไหนเลย" นากามูระจึงตัดสินใจครั้งสำคัญและขอไปทางสำนักงานใหญ่ที่โตเกียวว่าจะควบคุมเรื่องการแข่งขันกรังด์ปรีซ์ที่เม็กซิโกเองทั้งหมด ทางสำนักงานใหญ่อนุญาต และหลังจากที่ไปถึงเมืองเม็กซิโก ซิตี้ เขาก็จัดแจงโครงสร้างของทีมใหม่หมด นากามูระคิดว่าในเมืองเม็กซิโก ซิตี้ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2,400 เมตร และมีอากาศบาง กุญแจสู่ชัยชนะนั้นอยู่ที่การเผาไหม้ในเครื่องยนต์อย่างถูกต้อง และอัตราส่วนระหว่างอากาศและน้ำมัน

จุดประสงค์ในการจัดรูปร่างทีมใหม่ก็คือเพื่อให้แน่ใจว่าทฤษฎีนี้ได้ผลโดยที่ไม่สนใจเรื่องความอาวุโสในทีม เขาจึงวางนโยบายเข้มงวดในการ "ให้คนที่เหมาะสมอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม"

เม็กซิกัน กรังด์ปรีซ์เริ่มต้นในวันที่ 4 ตุลาคม รถทุกคันจะต้องแล่นรอบสนามยาว 5 กิโลเมตร 65 รอบ ในการทดสอบเอง นักแข่งรถสองคนของทีมฮอนด้าทำเวลาได้ดีมาก กินเธอร์มีทางจะได้ชัยชนะ เขาจึงเรียกร้องให้บัคแฮมและรถแข่งกับเขา ซึ่งปรากฏว่าในเวลาต่อมาว่ารถแข่งของบัคแฮมดูเหมือนจะไปได้เร็วกว่าในการซ้อมอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันเที่ยวสุดท้าย กินเธอร์นำตั้งแต่เริ่มต้น ขณะที่กำลังผ่านโค้งสุดท้าย รถของเขาเริ่มลอย และมีรถอีกคันขวางอยู่

ในการพยายามควบคุมรถโดยไม่ลดความเร็วลงนั้น เขาก็แล่นผ่านเส้นชัยนำหน้ารถคันที่สอง 2.89 วินาที นี่เป็นชัยชนะในการแข่งขันกรังด์ปรีซ์เป็นครั้งแรกสำหรับฮอนด้า มอเตอร์ บัคแฮมมาเป็นที่ 5 ขณะกลับไปยังคอกของฮอนด้า มอเตอร์ กินเธอร์กอดนากามูระและพูดว่า "เราทำสำเร็จ" บรรดาแฟน ๆ ชาวเม็กซิกันมาห้อมล้อมขณะที่เขาเดินไปขึ้นแป้นผู้ชนะเลิศ และพากันเปล่งเสียงร้องเป็นภาษาสเปนด้วยความดีใจ กับชัยชนะของเขาซึ่งแปลว่า ข้ามา ข้าเห็น ข้าพิชิต เป็นข้อความเดียวกับที่จูเลียส ซีซาร์ส่งไปยังกรุงโรมหลังจากชัยชนะครั้งใหญ่ ๆ

ปีเดียวกันนั้น ฮอนด้า มอเตอร์ก็เข้าแข่งรถรุ่นฟอร์มูลาทูด้วยรถขนาด 1,000 ซีซี. 4 สูบ นักขับรถที่ทำสัญญาว่าจ้างมาคือ แจ็ค แบรบแฮม ชาวอังกฤษที่เกิดในออสเตรเลียซึ่งเคยเป็นแชมป์โลกและได้รับการยกย่องว่าเป้นนักแข่งรถรุ่นฟอร์มูลาวันมือยอด เขายังแสดงแทนพระเอกในภาพยนต์เกี่ยวกับการแข่งรถกรังด์ปรีซ์ อย่างไรก็ตามในการแข่งรถฟอร์มูลาทูนั้นเขากับเพื่อนปราชัยหมด

นี่จึงเป็นความผิดหวังอย่างใหญ่หลวงสำหรับทาดะชิ คุเมะ ผู้ออกแบบเครื่องยนต์ฟอร์มูลาวันและฟอร์มูลาทูและเป็นหัวหน้าทีมฟอร์มูลาทู ในช่วงนี้ คิโยชิ คาวะชิมะไปหาเขาที่โรงแรม "ผมรู้สึกอยากผูกคอตาย" คุเมะพิมพำ "ต้นสนอยู่นั่นไง ไปสิ" คาวะชิมะแหย่ แล้วก็เล่าให้คุเมะฟังถึงความยากลำบากที่เขาผจญมาในการแข่งรถจักรยานยนต์ที่เกาะไอส์เอิลอ็อฟแมน "ในตอนเริ่มแรก ผมเองก็ทุเรศที่ไม่สามารถเอาชัยชนะได้ที่ไอส์เอิลอ็อฟแมน เคนจิโร ทะนะกะ นักขับรถของเราได้รับบาดเจ็บต้องเข้าโรงพยาบาล พวกนักขับรถแข่งชาวต่างประเทศอดอาหารประท้วงว่ารถของเราอันตรายเกินไป ผมรู้สึกเหมือนอยากจะผูกคอตายเมื่อผมไปเยี่ยมเคนจิโรที่โรงพยาบาลและผมก็เห็นต้นสนด้วยนะ" คาวะชิมะ พูดพร้อมกับหัวเราะและคาวะชิมะก็ให้กำลังใจโดยพูดว่า "มันสำคัญมากในการตัดสินใจที่สนามแข่งขันโดยไม่รีรอขอความเห็นจากทางสำนักงานใหญ่ นั่นแหละที่ผมทำไป"

การแข่งขันฟอร์มูลาทูทำให้ได้รับชัยชนะ 11 ครั้งรวดในปีต่อมา การแข่งขันรถฟอร์มูลาทู ไม่ได้รับการประโคมข่าวมากมายเหมือนรถฟอร์มูลาวัน ซึ่งนักแข่งมือเยี่ยมของโลกประลองความเร็วกัน แต่การที่ได้ชัยชนะเป็นชุดในการแข่งรถฟอร์มูลาทู ก็สำคัญมากสำหรับฝ่ายบริหารของฮอนด้า มอเตอร์ เครื่องขนาด 1,000 ซีซี. 4 สูบใช้น้ำระบายความร้อนซึ่งแผนกวิจัยและพัฒนาของฮอนด้าพัฒนาขึ้นมาเพื่อการแข่งรถให้กำลังสูงมากถึง 160 แรงม้า และทนทานต่อสภาพการแข่งขันที่เลวร้ายที่สุดได้ เทคโนโลยีที่ได้จากการแข่งนี้สามารถนำไปใช้กับรถโดยสารขนาดเล็กได้ทันที

HONDA MOTOR-ตอนที่ 6.2 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!