ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 7 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในปี 1968 ปริมาณการผลิตของญี่ปุ่นมากกว่าของเยอรมันตะวันตก แล้วก็กลายเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตมากเป็นที่สองในบรรดาประเทศทุนนิยม จะเป็นรองก็แต่สหรัฐเท่านั้น รายได้ของประชาชาติยังห่างจากของประเทศที่พัฒนาแล้วทางยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ แต่ญี่ปุ่นกำลังใกล้เป้าหมายที่ตนยึดถือตั้งแต่ยุคเมอิจิ เรสโตเรชัน ซึ่งก็คือต้องตามตะวันตกให้ทัน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกหลายประเทศ จึงทำให้รายได้ประชาชนดีขึ้นมากแม้ว่าสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นที่พักอาศัยและงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะยังล้าหลังอยู่อย่างเห็นกันชัดแจ้ง

หลังจากได้ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงในเรื่องราคาอัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างกิจกรรมทางพาณิชย์ และการผลิตถ่านหินและเหล็กในยุโรปและอเมริกาตั้งแต่คริสตวรรษที่ 18 แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อนิโคไล ดี.คอนดราทีฟฟ์ ผู้อำนวยการของ Conjuncture Institute ก็ได้ข้อสรุปในความเรื่อง “คลื่นลูกยาวในชีวิตทางเศรษฐกิจ” ของเขาว่า มีการขึ้นลงทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลายาวนานทุก ๆ 50 ปี ในเศรษฐกิจทุนนิยม ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “คลื่นลูกยาวของคอนดราทีฟ”

การขึ้นลงทางเศรษฐกิจนี้หรือ “การเคลื่อนไหวของคลื่น” โดยปกติจะเห็นได้ชัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดต่อกันเป็นเวลา 20 ปีหรือกว่านั้น แล้วตามด้วยการหดตัวทางเศรษฐกิจอีก 20 ปีเศษ ระหว่างช่วงที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตมีความมั่งคั่ง ราคาและอัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นด้วย จนกระทั่งถึงปลายวงจรนี้ การขาดแคลนสินค้าหลักอย่างมากจะเกิดขึ้น จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก

ในทางสังคมแล้ว ประชาชนจะขยันขันแข็งมากในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว เป็นการเพิ่มพลังให้กับการเคลื่อนไหวเพื่อการปลดปล่อย และช่วงถึงปลายยุคนี้ ความขัดแย้งทางสังคมจะเห็นชัดขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้การปฏิวัติและสงคราม กรณีเช่นนี้จะเปลี่ยนไปในทางตรงข้ามระหว่างเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวแม้ว่าตอนเกือบจะปลายช่วงนี้ บางครั้งวิกฤตการณ์ต่าง ๆ จะไปถึงขั้นวิกฤติที่สงครามเองก็อาจจะเกิดขึ้นได้

ในเรื่องการเคลื่อนไหวของคลื่นระยะยาวนี้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โจเซฟ ชัมพีเตอร์ก็มีทฤษฎีของการคิดค้นใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยี-คือเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มใช้สิ่งใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยี ยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เริ่มต้น

การเคลื่อนไหวของคลื่นอันแรกของ “คลื่นยาวของคอนดราทีฟ” เริ่มขึ้นตอนปลายทศวรรษ 1780 และการเคลื่อนไหวอันที่สองเริ่มขึ้นราว ๆ กลางคริสตศตวรรษที่ 19 เมื่อการเคลื่อนไหวอันที่สามเริ่มขึ้นตอนต้นทศวรรษ 1890 ญี่ปุ่นก็ผ่านพ้นยุคของความสับสนยุ่งเหยิงอันเกิดจากยุคการฟื้นฟูสมัยเมอิจิ รัฐธรรมนูญของจักรภพญี่ปุ่น (ที่เรียกกันว่า รัฐธรรมนูญเมอิจิ) ได้รับการประกาศใช้ในปี 1889 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีขึ้นในปี 1980 จึงเป็นการผนึกแน่นซึ่งโครงสร้างทางการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะก้าวกระโดดไปในเวลาที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคการขยายตัวครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ

การเคลื่อนไหวของคลื่นยาวอันที่สามเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจหดตัวประมาณ 1920 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือหลังจากที่ขยายตัวเต็มที่ทางเศรษฐกิจเริ่มหดตัวพอดี ระหว่างช่วงนี้ ความยุ่งยากครั้งใหญ่ ๆ แสดงออกทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของการเคลื่อนไหวของคลื่นอันที่สี่เริ่มต้นทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพิชิตความวุ่นวายหายนะจากการถูกยึดครองประเทศได้แล้วญี่ปุ่นก็ดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี เพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเบาที่เคยเป็นแกนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศมาก่อน และญี่ปุ่นยังแสวงหาทางเพิ่มเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นทั้งหมดด้วย ความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเนื่องมาจากหลายปัจจัย

ปัจจัยแรกก็คือการลงทุนอย่างมากในอุปกรณ์การผลิตของอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี ตอนหลังสงคราม กองกำลังยึดครองญี่ปุ่นเล่นงานสมาชิกของไซบัตซึและมีคนหนุ่มและยังไม่ค่อยมีประสบการณ์วัย 40 และ 50 เศษมาแทนที่ แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น “นักบริหารชั้นสาม” พวกนี้ก็เป็นผู้จัดการที่ “บ้าระห่ำ” และเข้าต่อสู้เพื่อการขยายอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตโดยการหมุนเงินจากคนนอกและยืมเงินจากธนาคาร

ที่กระทำไปอย่างนี้ก็เพื่อชดเชยกับการขาดทุนของบริษัทยุคก่อนสงครามที่แต่ละตระกูลเป็นเจ้าของ ในสังคมเช่นญี่ปุ่น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ “นักบริหารชั้นสาม” ที่จะแสดงความสามารถก็โดยผ่านทางการขยายในปริมาณของอุปกรณ์เครื่องมือการผลิต

ในแง่นี้ พวกนี้จึงแตกต่างอย่างมากจากรุ่นก่อนซึ่งมักจะเลือกเส้นทางอย่างระมัดระวังในการสร้างทรัพย์สินของบริษัท

พวกนักบริหารรุ่นใหม่พวกนี้เริ่มนำเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดเข้ามา ดังนั้นอุปกรณ์การผลิตของพวกนี้จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยในขณะที่ตนเองคงทำงานต่อไปเพื่อการขยายงานบริษัททั้งหมด และเพราะว่าญี่ปุ่นยังไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงพอ พวกนี้จึงรีบเสาะแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกาเหนือ

ดังนั้นบริษัทเอกชนจึงทำหน้าที่เป็น “หัวรถจักร” ที่ลากเอาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไปสู่เส้นทางของความเจริญและความมั่งคั่งครั้งใหม่ ก็มาในรูปของการลงทุนและการใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้น ระหว่างปี 1955 และ 1961 อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมเหล็กและไฟฟ้าที่ระดมทุนอย่างหนักก็เริ่มโครงการใหญ่โตที่จะขยายอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเจริญรวดเร็วทางเศรษฐกิจ

ตอนนี้ บริษัทเอกชนก็แข็งแกร่งพอเพราะมีการลงทุนในกิจการมากขึ้น งานอันดับต่อไป คือต้องเพิ่มพลังการแข่งขันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีในตลาดโลกให้สำเร็จ

-รถยนต์ได้รับความนิยมในกลุ่มหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก

ดังนั้นการใช้จ่ายในการลงทุนจึงเพิ่มขึ้่นอย่างมากมายระหว่างปี 1965 และ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ และเคมี

ระหว่างยุครุ่งโรจน์นี้ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับบริษัทเอกชนมีกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการผลิตของชาติต่อปี ซึ่งตรงกันข้ามการใช้จ่ายโดยบุคคลที่โดยปกติก็ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่านั้น นักทฤษฎีฝ่ายซ้ายโต้ว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเช่นนั้นมากเกินไปและไม่ปลอดภัย และมาตรฐานการครองชีพของชนชั้นคนทำงานจะต้องรับเคราะห์ไป และภาวะเศรษฐกิจปั่นป่วนอันเกิดจากการผลิตมากเกินไปจะไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นยังไม่ได้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรงดังเช่นช่วงก่อนสงครามโลก เหตุผลหลักเหตุผลหนึ่งคือการควบคุมของรัฐบาลด้านระบบการคลังและการเงิน โดยระบบนี้รัฐบาลจะเพิ่มเงินใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจดีขึ้น

-ตู้เย็นยุคแรก ๆ

ผลที่ได้ก็คือ การก่อรูปเงินทุนในประเทศทั้งหมด (ซึ่งได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของเอกชนในการจัดหาอุปกรณ์วเครื่องมือและการเก็บสินค้าและการใช้จ่ายในการสร้างที่พักอาศัยสำหรับประชาชน) คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ผิดปกติมาก สำหรับปริมาณการผลิตในประเทศ ตัวอย่างเช่นในปี 1963 สัดส่วนถึง 36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับของสหรัฐที่เพียง 18 เปอร์เซ็นต์ ของอังกฤษเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ของเยอรมันตะวันตก 27 เปอร์เซ็นต์ และของฝรั่งเศส 25 เปอร์เซ็นต์

สำหรับปี 1973 สำหรับญี่ปุ่น 40 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐ 19 เปอร์เซ็นต์ อังกฤษ 21 เปอร์เซ็นต์ เยอรมันตะวันตก 28 เปอร์เซ็นต์และฝรั่งเศส 26 เปอร์เซ็นต์ ในเมื่่อญี่ปุ่นยังล้าหลังประเทศที่ก้าวหน้าแล้วในยุโรปและอเมริกาเหนือในเรื่องโครงการทันสมัย ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญต่อการสะสมเงินทุนเพื่อที่จะพยายาม “ตามประเทศทางตะวันตกให้ทัน”

ญี่ปุ่นสามารถสู้กับเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดจากการผลิตออกมามากเกินไปได้ เพราะการสะสมเงินทุนไว้เพื่อสร้างงานใหม่ ๆ ในประเทศ เพื่อเพิ่มรายได้ของเอกชนและเพื่อขยายอย่างรวดเร็วตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสำหรับสินค้าผู้บริโภคที่คงทนในตอนต้นนั้นก็เป็นไปในรูปของการทำให้เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเป็นที่นิยมของประชาชนซึ่งจะช่วยให้แม่บ้านไม่ต้องทำงานบ้านมากอย่างจนเกินไป

-โทรทัศน์ขาว-ดำพัฒนามาเป็นโทรทัศน์สี

ในเมื่อมีเวลาว่างมากขึ้น แม่บ้านก็เริ่มต้องการโทรทัศน์ขาวดำ การขายโทรทัศน์ขาวดำเพิ่มมากขึ้นเริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950

การกระจายสินค้าผู้บริโภคที่คงทนก็ขยายไปถึงสิ่งที่ราคาแพงขึ้น เช่น รถยนต์กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวในขณะที่หลายครอบครัวซื้อโทรทัศน์สีและเครื่องปรับอากาศ

การแพร่หลายของโทรทัศน์สีช่วงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตเจริญรวดเร็วมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดัชนีผลผลิตในปี 1970 สูงถึง 4,200 เมื่อเทียบกับของปี 1946 ซึ่งสูงเพียง 100 ซึ่งในปี 1970 นั้นการผลิตในญี่ปุ่นตกต่ำที่สุด แล้วดัชนีนี้พุ่งขึ้นถึง 6,500 ในปี 1980 การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 2 ล้านตันในปี 1945 เป็น 111.4 พันล้านตันในปี 1980 ซึ่งเทียบได้กับของสหรัฐทีเดียว

ตอนที่ 6.4 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในปี 1968 ปริมาณการผลิตของญี่ปุ่นมากกว่าของเยอรมันตะวันตก แล้วก็กลายเป็นประเทศที่มีปริมาณการผลิตมากเป็นที่สองในบรรดาประเทศทุนนิยม จะเป็นรองก็แต่สหรัฐเท่านั้น รายได้ของประชาชาติยังห่างจากของประเทศที่พัฒนาแล้วทางยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ แต่ญี่ปุ่นกำลังใกล้เป้าหมายที่ตนยึดถือตั้งแต่ยุคเมอิจิ เรสโตเรชัน ซึ่งก็คือต้องตามตะวันตกให้ทัน

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วกว่าเศรษฐกิจของประเทศตะวันตกหลายประเทศ จึงทำให้รายได้ประชาชนดีขึ้นมากแม้ว่าสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นที่พักอาศัยและงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ จะยังล้าหลังอยู่อย่างเห็นกันชัดแจ้ง

หลังจากได้ศึกษาถึงความเปลี่ยนแปลงในเรื่องราคาอัตราดอกเบี้ย ค่าจ้างกิจกรรมทางพาณิชย์ และการผลิตถ่านหินและเหล็กในยุโรปและอเมริกาตั้งแต่คริสตวรรษที่ 18 แล้ว นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อนิโคไล ดี.คอนดราทีฟฟ์ ผู้อำนวยการของ Conjuncture Institute ก็ได้ข้อสรุปในความเรื่อง "คลื่นลูกยาวในชีวิตทางเศรษฐกิจ" ของเขาว่า มีการขึ้นลงทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลายาวนานทุก ๆ 50 ปี ในเศรษฐกิจทุนนิยม ทฤษฎีนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า "คลื่นลูกยาวของคอนดราทีฟ"

การขึ้นลงทางเศรษฐกิจนี้หรือ "การเคลื่อนไหวของคลื่น" โดยปกติจะเห็นได้ชัดการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดต่อกันเป็นเวลา 20 ปีหรือกว่านั้น แล้วตามด้วยการหดตัวทางเศรษฐกิจอีก 20 ปีเศษ ระหว่างช่วงที่เศรษฐกิจเจริญเติบโตมีความมั่งคั่ง ราคาและอัตราดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นด้วย จนกระทั่งถึงปลายวงจรนี้ การขาดแคลนสินค้าหลักอย่างมากจะเกิดขึ้น จึงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นมาก

ในทางสังคมแล้ว ประชาชนจะขยันขันแข็งมากในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว เป็นการเพิ่มพลังให้กับการเคลื่อนไหวเพื่อการปลดปล่อย และช่วงถึงปลายยุคนี้ ความขัดแย้งทางสังคมจะเห็นชัดขึ้น เป็นการเพิ่มโอกาสให้การปฏิวัติและสงคราม กรณีเช่นนี้จะเปลี่ยนไปในทางตรงข้ามระหว่างเวลาที่เศรษฐกิจหดตัวแม้ว่าตอนเกือบจะปลายช่วงนี้ บางครั้งวิกฤตการณ์ต่าง ๆ จะไปถึงขั้นวิกฤติที่สงครามเองก็อาจจะเกิดขึ้นได้

ในเรื่องการเคลื่อนไหวของคลื่นระยะยาวนี้ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ โจเซฟ ชัมพีเตอร์ก็มีทฤษฎีของการคิดค้นใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยี-คือเมื่ออุตสาหกรรมเริ่มใช้สิ่งใหม่ ๆ ทางเทคโนโลยี ยุคของการขยายตัวทางเศรษฐกิจก็เริ่มต้น

การเคลื่อนไหวของคลื่นอันแรกของ "คลื่นยาวของคอนดราทีฟ" เริ่มขึ้นตอนปลายทศวรรษ 1780 และการเคลื่อนไหวอันที่สองเริ่มขึ้นราว ๆ กลางคริสตศตวรรษที่ 19 เมื่อการเคลื่อนไหวอันที่สามเริ่มขึ้นตอนต้นทศวรรษ 1890 ญี่ปุ่นก็ผ่านพ้นยุคของความสับสนยุ่งเหยิงอันเกิดจากยุคการฟื้นฟูสมัยเมอิจิ รัฐธรรมนูญของจักรภพญี่ปุ่น (ที่เรียกกันว่า รัฐธรรมนูญเมอิจิ) ได้รับการประกาศใช้ในปี 1889 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีขึ้นในปี 1980 จึงเป็นการผนึกแน่นซึ่งโครงสร้างทางการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นก็พร้อมที่จะก้าวกระโดดไปในเวลาที่โลกกำลังเข้าสู่ยุคการขยายตัวครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ

การเคลื่อนไหวของคลื่นยาวอันที่สามเข้าสู่ช่วงเศรษฐกิจหดตัวประมาณ 1920 หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือหลังจากที่ขยายตัวเต็มที่ทางเศรษฐกิจเริ่มหดตัวพอดี ระหว่างช่วงนี้ ความยุ่งยากครั้งใหญ่ ๆ แสดงออกทางการเมืองโลกและเศรษฐกิจโลก อันเกิดจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของการเคลื่อนไหวของคลื่นอันที่สี่เริ่มต้นทันทีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพิชิตความวุ่นวายหายนะจากการถูกยึดครองประเทศได้แล้วญี่ปุ่นก็ดำเนินการส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี เพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเบาที่เคยเป็นแกนของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศมาก่อน และญี่ปุ่นยังแสวงหาทางเพิ่มเงินทุนสำหรับอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นทั้งหมดด้วย ความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเนื่องมาจากหลายปัจจัย

ปัจจัยแรกก็คือการลงทุนอย่างมากในอุปกรณ์การผลิตของอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมี ตอนหลังสงคราม กองกำลังยึดครองญี่ปุ่นเล่นงานสมาชิกของไซบัตซึและมีคนหนุ่มและยังไม่ค่อยมีประสบการณ์วัย 40 และ 50 เศษมาแทนที่ แม้ว่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น "นักบริหารชั้นสาม" พวกนี้ก็เป็นผู้จัดการที่ "บ้าระห่ำ" และเข้าต่อสู้เพื่อการขยายอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตโดยการหมุนเงินจากคนนอกและยืมเงินจากธนาคาร

ที่กระทำไปอย่างนี้ก็เพื่อชดเชยกับการขาดทุนของบริษัทยุคก่อนสงครามที่แต่ละตระกูลเป็นเจ้าของ ในสังคมเช่นญี่ปุ่น สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ "นักบริหารชั้นสาม" ที่จะแสดงความสามารถก็โดยผ่านทางการขยายในปริมาณของอุปกรณ์เครื่องมือการผลิต

ในแง่นี้ พวกนี้จึงแตกต่างอย่างมากจากรุ่นก่อนซึ่งมักจะเลือกเส้นทางอย่างระมัดระวังในการสร้างทรัพย์สินของบริษัท

พวกนักบริหารรุ่นใหม่พวกนี้เริ่มนำเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดเข้ามา ดังนั้นอุปกรณ์การผลิตของพวกนี้จึงได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยในขณะที่ตนเองคงทำงานต่อไปเพื่อการขยายงานบริษัททั้งหมด และเพราะว่าญี่ปุ่นยังไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียงพอ พวกนี้จึงรีบเสาะแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากประเทศที่ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมในยุโรปและอเมริกาเหนือ

ดังนั้นบริษัทเอกชนจึงทำหน้าที่เป็น "หัวรถจักร" ที่ลากเอาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นไปสู่เส้นทางของความเจริญและความมั่งคั่งครั้งใหม่ ก็มาในรูปของการลงทุนและการใช้จ่ายก็เพิ่มมากขึ้น ระหว่างปี 1955 และ 1961 อุตสาหกรรมใหญ่ ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมเหล็กและไฟฟ้าที่ระดมทุนอย่างหนักก็เริ่มโครงการใหญ่โตที่จะขยายอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งนำไปสู่การเจริญรวดเร็วทางเศรษฐกิจ

ตอนนี้ บริษัทเอกชนก็แข็งแกร่งพอเพราะมีการลงทุนในกิจการมากขึ้น งานอันดับต่อไป คือต้องเพิ่มพลังการแข่งขันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมเคมีในตลาดโลกให้สำเร็จ

-รถยนต์ได้รับความนิยมในกลุ่มหนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นเป็นอันดับแรก

ดังนั้นการใช้จ่ายในการลงทุนจึงเพิ่มขึ้่นอย่างมากมายระหว่างปี 1965 และ 1970 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเหล็ก รถยนต์ และเคมี

ระหว่างยุครุ่งโรจน์นี้ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสำหรับบริษัทเอกชนมีกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณการผลิตของชาติต่อปี ซึ่งตรงกันข้ามการใช้จ่ายโดยบุคคลที่โดยปกติก็ประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่านั้น นักทฤษฎีฝ่ายซ้ายโต้ว่า ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเช่นนั้นมากเกินไปและไม่ปลอดภัย และมาตรฐานการครองชีพของชนชั้นคนทำงานจะต้องรับเคราะห์ไป และภาวะเศรษฐกิจปั่นป่วนอันเกิดจากการผลิตมากเกินไปจะไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้

อย่างไรก็ตาม จนกระทั่งปัจจุบันนี้ญี่ปุ่นยังไม่ได้เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรงดังเช่นช่วงก่อนสงครามโลก เหตุผลหลักเหตุผลหนึ่งคือการควบคุมของรัฐบาลด้านระบบการคลังและการเงิน โดยระบบนี้รัฐบาลจะเพิ่มเงินใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัวเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจดีขึ้น

-ตู้เย็นยุคแรก ๆ

ผลที่ได้ก็คือ การก่อรูปเงินทุนในประเทศทั้งหมด (ซึ่งได้แก่ การใช้จ่ายของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของเอกชนในการจัดหาอุปกรณ์วเครื่องมือและการเก็บสินค้าและการใช้จ่ายในการสร้างที่พักอาศัยสำหรับประชาชน) คิดเป็นสัดส่วนใหญ่ผิดปกติมาก สำหรับปริมาณการผลิตในประเทศ ตัวอย่างเช่นในปี 1963 สัดส่วนถึง 36 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับของสหรัฐที่เพียง 18 เปอร์เซ็นต์ ของอังกฤษเพียง 17 เปอร์เซ็นต์ ของเยอรมันตะวันตก 27 เปอร์เซ็นต์ และของฝรั่งเศส 25 เปอร์เซ็นต์

สำหรับปี 1973 สำหรับญี่ปุ่น 40 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐ 19 เปอร์เซ็นต์ อังกฤษ 21 เปอร์เซ็นต์ เยอรมันตะวันตก 28 เปอร์เซ็นต์และฝรั่งเศส 26 เปอร์เซ็นต์ ในเมื่่อญี่ปุ่นยังล้าหลังประเทศที่ก้าวหน้าแล้วในยุโรปและอเมริกาเหนือในเรื่องโครงการทันสมัย ญี่ปุ่นจึงให้ความสำคัญต่อการสะสมเงินทุนเพื่อที่จะพยายาม "ตามประเทศทางตะวันตกให้ทัน"

ญี่ปุ่นสามารถสู้กับเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งเกิดจากการผลิตออกมามากเกินไปได้ เพราะการสะสมเงินทุนไว้เพื่อสร้างงานใหม่ ๆ ในประเทศ เพื่อเพิ่มรายได้ของเอกชนและเพื่อขยายอย่างรวดเร็วตลาดในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสำหรับสินค้าผู้บริโภคที่คงทนในตอนต้นนั้นก็เป็นไปในรูปของการทำให้เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเป็นที่นิยมของประชาชนซึ่งจะช่วยให้แม่บ้านไม่ต้องทำงานบ้านมากอย่างจนเกินไป

-โทรทัศน์ขาว-ดำพัฒนามาเป็นโทรทัศน์สี

ในเมื่อมีเวลาว่างมากขึ้น แม่บ้านก็เริ่มต้องการโทรทัศน์ขาวดำ การขายโทรทัศน์ขาวดำเพิ่มมากขึ้นเริ่มตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1950

การกระจายสินค้าผู้บริโภคที่คงทนก็ขยายไปถึงสิ่งที่ราคาแพงขึ้น เช่น รถยนต์กลายเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่คนหนุ่มสาวในขณะที่หลายครอบครัวซื้อโทรทัศน์สีและเครื่องปรับอากาศ

การแพร่หลายของโทรทัศน์สีช่วงสร้างพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้ในประเทศญี่ปุ่น อุตสาหกรรมเหมืองแร่และการผลิตเจริญรวดเร็วมากหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดัชนีผลผลิตในปี 1970 สูงถึง 4,200 เมื่อเทียบกับของปี 1946 ซึ่งสูงเพียง 100 ซึ่งในปี 1970 นั้นการผลิตในญี่ปุ่นตกต่ำที่สุด แล้วดัชนีนี้พุ่งขึ้นถึง 6,500 ในปี 1980 การผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 2 ล้านตันในปี 1945 เป็น 111.4 พันล้านตันในปี 1980 ซึ่งเทียบได้กับของสหรัฐทีเดียว

ตอนที่ 6.4 รถยนต์ นักแข่งรถและการวิจัย

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!