ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 7.3 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ก่อนหน้าที่จะเกษียณตั้งนานฮอนด้าเคยพูดว่า

“เมื่อไม่ว่าผู้ก่อตั้งจะเก่งแค่ไหนก็ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าลูกชายจะเก่งเท่าตัวผู้ก่อตั้งเอง ตำแหน่งประธานบริษัทจะต้องเป็นของผู้ที่มีคุณสมบัติเด่นที่สุดในการเป็นผู้นำ”

ในปี 1969 หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ รายงานว่าบริษัทโตโยต้าและบริษัทนิสสันแอบเรียกรถโดยสารจำนวนประมาณ 27,000 คันที่ขายในสหรัฐกลับโรงงาน

ข่าวนี้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นการนำความสนใจของสาธารณชนสู่ปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่องเป็นครั้งแรก

หลายสัปดาห์ต่อมา ก็มีรายงานในที่ประชุมคณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นว่ารถยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์ถูกสงสัยว่าจะมีข้อบกพร่อง นักวิจารณ์บางคนอ้างว่าระบบการบังคับรถ (ระบบพวงมาลัย) ของรถเอ็น-360 และรถอื่น ๆ ของฮอนด้า มอเตอร์บกพร่องและนักวิจารณ์บางคนถึงกับอ้างว่าอุบัติเหตุบางรายเกิดขึ้นเพราะข้อบกพร่องนี้ของรถเอ็น-360 ในการตอบโต้ข้อกล่าวหาเช่นนั้นเป็นการทดสอบครั้งยิ่งใหญ่ของความเป็นผู้นำชนิดกลุ่มของบริษัทฮอนด้า มอเตอร์

ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นประกาศชื่อรถที่มีข้อบกพร่องทุกคันในเดือนมิถุนายน 1969 จากนั้นก็มีการตั้งระบบการเรียกรถยนต์คืนในญี่ปุ่น (มีขึ้นในเดือนกันยายน) โดยระบบนี้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องประกาศชื่อรุ่นรถและบอกถึงข้อบกพร่องและต้องเรียกรถกลับคืนทันที ระบบคล้ายคลึงกันมีใช้อยู่ในสหรัฐแล้ว ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากผู้บริโภค

ในเดือนเมษายน 1970 สหภาพผู้ใช้รถยนต์แห่งญี่ปุ่นได้รับการก่อตั้ง สหภาพนี้เรียกร้องเงินค่าชดเชยจากผู้ผลิตรถยนต์ โดยอ้างว่าอุบัติเหตุบางรายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของตนนั้นเนื่องมาจากข้อบกพร่องของรถเอง

ข้อกล่าวหาต่าง ๆ นี้มีผลสะท้อนร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่น

ฮอนด้า มอเตอร์ถูกโจมตีหนักโดยสหภาพนี้ ในเดือนมิถุนายน 1970 สหภาพเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงิน 80 ล้านเยน (ประมาณ 222,000 ดอลล่าร์) ให้แก่ครอบครัวของชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตไปขณะขับรถเอ็น-360 ในจังหวัดนาระ

คำพิพากษาของศาลแขวงกรุงโตเกียวมีว่า “เมื่อพิจารณาถึงการสูญเสียความไว้วางใจและยอดขายตกต่ำอันเกิดจากการโจมตีและการวิพากษ์วิจารณ์รถยนต์เอ็น-360 แล้ว และเพื่อจะลดความเสียหายที่เกิดแก่บริษัทให้น้อยที่สุด ฮอนด้า มอเตอร์ในเดือนสิงหาคม 1971 จึงยอมตามการเรียกร้องโดยยินยอมจ่ายเงินให้ในรูปของเงินชดเชย” สหภาพยังเรียกร้องเงินอีกก้อนใหญ่เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับรถเอ็น-360

ปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่องใหญ่โตมากจนรัฐสภาญี่ปุ่นนำขึ้นพิจารณาในเดือนกันยายน 1970 และตัวแทนผู้ผลิตรถยนต์ถูกเรียกตัวไปให้ปากคำ ประชาชนทั่วไปก็เริ่มมีทีท่าไม่ดีกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของรถยนต์ ทุกคดีที่สหภาพผู้ใช้รถยนต์กล่าวหาว่าอุบัติเหตุเกิดจากรถยนต์ที่บกพร่อง บัดนี้จะต้องได้รับการตัดสินแล้วว่า ผุ้ผลิตรถยนต์จะไม่ถูกลงโทษเพราะผู้กล่าวหาขาดหลักฐาน หรือไม่ก็ศาลไม่รับคำเรียกร้องของสหภาพในการให้มีการตรวจสอบบางคดีใหม๋

ในเดือนพฤศจิกายน 1971 สำนักงานอัยการกรุงโตเกียวได้จับกุมและฟ้องนายฮารุโอะ อาเบะ ที่ปรีกษาสหภาพผู้ใฃ้รถยนต์และนายฟูมิโอะ มัตซึดะ ผู้อำนวยการสหภาพในข้อหาพยายามแบล็คเมล์ฮอนด้า มอเตอร์เป็นเงิน 1.6 พันล้านเยน (ประมาณ 5 ล้านดอลล่าร์) ในข้อกล่าวหามีความว่า ทั้งสองกรรโชกทรัพย์หรือพยายามกรรโชกทรัพย์เกือบ 2 พันล้านเยนจากบริษัทต่าง ๆ เช่นโตโยต้าเซลส์ นิสสันและฮีโน มอเตอร์ รวมทั้งสิ้น 80 ล้านเยน ที่ทั้งสองรับไปแล้วและกำลังพยายามเรียกเงินอีก 1.6 พันล้านเยนจากฮอนด้า มอเตอร์

คำพิพากษามีมาในวันที่ 12 สิงหาคม 1977 ผู้พิพากษาทาโระ โอกุเบะ แห่งศาลแขวงกรุงโตเกียวนั้นเกือบจะเห็นพ้องทุกอย่างตามข้อกล่าวหาของอัยการ และตัดสินลงโทษจำคุกอาเบะ 3 ปี และมัตซึดะ 2 ปี คำพิพากษาเปิดเผยว่านับตั้งแต่แรกเริ่มเลย สหภาพผู้ใช้รถยนต์ได้รับเงินจากผู้ขายรถยนต์ที่หันเหจากฮอนด้า มอเตอร์ไปหาผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นยังชี้ให้เห็นด้วยว่าสหภาพตกอยู่ในสถานการณ์ยุ่งยากทางการเงินอย่างร้ายแรงเพราะหนังสือที่สหภาพจัดพิมพ์ขายไม่ดี ด้วยเหตุนี้ ทางสหภาพจึงพยายามหาเงินก้อนใหญ่ ในรูปเงินค่าชดเชยจากผู้ผลิตรถยนต์

ในวันที่ 28 มิถุนายน 1982 ผู้พิพากษามาซะโอะ นิอิเซกิแห่งศาลสูงโตเกียวลดโทษของสองผู้ต้องหาลง โดยตัดสินจำคุกอาเบะ 2 ปี และมัตซึดะ 18 เดือน และให้รอลงอาญาทั้งสองเป็นเวลา 4 ปี ผู้พิพากษายังติดสินด้วยว่าทั้งสองไม่มีความผิดในข้อกล่าวหากรรโชกทรัพย์ 80 ล้านเยนจากฮอนด้า มอเตอร์ ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า แม้ว่าทั้งสองจะทำอะไรผิดไปจากการดำเนินงานปกติของขบวนการผู้บริโภคโดยการเจรจาเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน ทั้งสองก็ได้ประโยชน์ใหญ่หลวงโดยทำให้สาธารณชนสนใจปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่อง

แนวความคิดเรื่อง “รถยนต์มีข้อบกพร่อง” นั้นขัด ๆ กับระบบกฏหมายของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบกฏหมายนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยโดยอิทธิพลของกฏหมายอเมริกันและอังกฤษและมีแนวโน้มจะให้การปกป้องอย่างแข็งแกร่งแก่สิทธิของแต่ละบุคคล แต่ยังมีเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับประเทศทางตะวันตกอยู่ ซึ่งทางตะวันตกเมื่อมีปัญหาเรื่องสิทธิของบุคคลเกิดขึ้นก็จะแก้ไขโดยการดูสัญญา ส่วนในญี่ปุ่นนั้นผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญแก่ความกลมกลืนทางสังคมภายในมากกว่าเอกสารทางกฏหมายที่ผูกมัด

ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีข้อขัดแย้งในเรื่องสัญญาน้อยกว่าและมีทนายความน้อยกว่าในประเทศทางตะวันตก บริษัทหลายแห่งให้การศึกษาผู้เชี่ยวชาญกฏหมายของตนเป็นการภายใน พูดง่าย ๆ คือในสหรัฐมีทนายความ 1 คนต่อประชาชน 500 คน ส่วนในญี่ปุ่น ทนายความ 1 คนต่อประชาชน 10,000 คน

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ก่อนหน้าที่จะเกษียณตั้งนานฮอนด้าเคยพูดว่า

"เมื่อไม่ว่าผู้ก่อตั้งจะเก่งแค่ไหนก็ไม่มีอะไรมารับประกันได้ว่าลูกชายจะเก่งเท่าตัวผู้ก่อตั้งเอง ตำแหน่งประธานบริษัทจะต้องเป็นของผู้ที่มีคุณสมบัติเด่นที่สุดในการเป็นผู้นำ"

ในปี 1969 หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ รายงานว่าบริษัทโตโยต้าและบริษัทนิสสันแอบเรียกรถโดยสารจำนวนประมาณ 27,000 คันที่ขายในสหรัฐกลับโรงงาน

ข่าวนี้ปรากฏในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม เป็นการนำความสนใจของสาธารณชนสู่ปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่องเป็นครั้งแรก

หลายสัปดาห์ต่อมา ก็มีรายงานในที่ประชุมคณะกรรมาธิการของรัฐสภาญี่ปุ่นว่ารถยนต์ของฮอนด้า มอเตอร์ถูกสงสัยว่าจะมีข้อบกพร่อง นักวิจารณ์บางคนอ้างว่าระบบการบังคับรถ (ระบบพวงมาลัย) ของรถเอ็น-360 และรถอื่น ๆ ของฮอนด้า มอเตอร์บกพร่องและนักวิจารณ์บางคนถึงกับอ้างว่าอุบัติเหตุบางรายเกิดขึ้นเพราะข้อบกพร่องนี้ของรถเอ็น-360 ในการตอบโต้ข้อกล่าวหาเช่นนั้นเป็นการทดสอบครั้งยิ่งใหญ่ของความเป็นผู้นำชนิดกลุ่มของบริษัทฮอนด้า มอเตอร์

ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นประกาศชื่อรถที่มีข้อบกพร่องทุกคันในเดือนมิถุนายน 1969 จากนั้นก็มีการตั้งระบบการเรียกรถยนต์คืนในญี่ปุ่น (มีขึ้นในเดือนกันยายน) โดยระบบนี้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องประกาศชื่อรุ่นรถและบอกถึงข้อบกพร่องและต้องเรียกรถกลับคืนทันที ระบบคล้ายคลึงกันมีใช้อยู่ในสหรัฐแล้ว ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งจากผู้บริโภค

ในเดือนเมษายน 1970 สหภาพผู้ใช้รถยนต์แห่งญี่ปุ่นได้รับการก่อตั้ง สหภาพนี้เรียกร้องเงินค่าชดเชยจากผู้ผลิตรถยนต์ โดยอ้างว่าอุบัติเหตุบางรายที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของตนนั้นเนื่องมาจากข้อบกพร่องของรถเอง

ข้อกล่าวหาต่าง ๆ นี้มีผลสะท้อนร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่น

ฮอนด้า มอเตอร์ถูกโจมตีหนักโดยสหภาพนี้ ในเดือนมิถุนายน 1970 สหภาพเรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงิน 80 ล้านเยน (ประมาณ 222,000 ดอลล่าร์) ให้แก่ครอบครัวของชายคนหนึ่งที่เสียชีวิตไปขณะขับรถเอ็น-360 ในจังหวัดนาระ

คำพิพากษาของศาลแขวงกรุงโตเกียวมีว่า "เมื่อพิจารณาถึงการสูญเสียความไว้วางใจและยอดขายตกต่ำอันเกิดจากการโจมตีและการวิพากษ์วิจารณ์รถยนต์เอ็น-360 แล้ว และเพื่อจะลดความเสียหายที่เกิดแก่บริษัทให้น้อยที่สุด ฮอนด้า มอเตอร์ในเดือนสิงหาคม 1971 จึงยอมตามการเรียกร้องโดยยินยอมจ่ายเงินให้ในรูปของเงินชดเชย" สหภาพยังเรียกร้องเงินอีกก้อนใหญ่เกี่ยวกับอุบัติเหตุรายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับรถเอ็น-360

ปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่องใหญ่โตมากจนรัฐสภาญี่ปุ่นนำขึ้นพิจารณาในเดือนกันยายน 1970 และตัวแทนผู้ผลิตรถยนต์ถูกเรียกตัวไปให้ปากคำ ประชาชนทั่วไปก็เริ่มมีทีท่าไม่ดีกับข้อบกพร่องต่าง ๆ ของรถยนต์ ทุกคดีที่สหภาพผู้ใช้รถยนต์กล่าวหาว่าอุบัติเหตุเกิดจากรถยนต์ที่บกพร่อง บัดนี้จะต้องได้รับการตัดสินแล้วว่า ผุ้ผลิตรถยนต์จะไม่ถูกลงโทษเพราะผู้กล่าวหาขาดหลักฐาน หรือไม่ก็ศาลไม่รับคำเรียกร้องของสหภาพในการให้มีการตรวจสอบบางคดีใหม๋

ในเดือนพฤศจิกายน 1971 สำนักงานอัยการกรุงโตเกียวได้จับกุมและฟ้องนายฮารุโอะ อาเบะ ที่ปรีกษาสหภาพผู้ใฃ้รถยนต์และนายฟูมิโอะ มัตซึดะ ผู้อำนวยการสหภาพในข้อหาพยายามแบล็คเมล์ฮอนด้า มอเตอร์เป็นเงิน 1.6 พันล้านเยน (ประมาณ 5 ล้านดอลล่าร์) ในข้อกล่าวหามีความว่า ทั้งสองกรรโชกทรัพย์หรือพยายามกรรโชกทรัพย์เกือบ 2 พันล้านเยนจากบริษัทต่าง ๆ เช่นโตโยต้าเซลส์ นิสสันและฮีโน มอเตอร์ รวมทั้งสิ้น 80 ล้านเยน ที่ทั้งสองรับไปแล้วและกำลังพยายามเรียกเงินอีก 1.6 พันล้านเยนจากฮอนด้า มอเตอร์

คำพิพากษามีมาในวันที่ 12 สิงหาคม 1977 ผู้พิพากษาทาโระ โอกุเบะ แห่งศาลแขวงกรุงโตเกียวนั้นเกือบจะเห็นพ้องทุกอย่างตามข้อกล่าวหาของอัยการ และตัดสินลงโทษจำคุกอาเบะ 3 ปี และมัตซึดะ 2 ปี คำพิพากษาเปิดเผยว่านับตั้งแต่แรกเริ่มเลย สหภาพผู้ใช้รถยนต์ได้รับเงินจากผู้ขายรถยนต์ที่หันเหจากฮอนด้า มอเตอร์ไปหาผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นยังชี้ให้เห็นด้วยว่าสหภาพตกอยู่ในสถานการณ์ยุ่งยากทางการเงินอย่างร้ายแรงเพราะหนังสือที่สหภาพจัดพิมพ์ขายไม่ดี ด้วยเหตุนี้ ทางสหภาพจึงพยายามหาเงินก้อนใหญ่ ในรูปเงินค่าชดเชยจากผู้ผลิตรถยนต์

ในวันที่ 28 มิถุนายน 1982 ผู้พิพากษามาซะโอะ นิอิเซกิแห่งศาลสูงโตเกียวลดโทษของสองผู้ต้องหาลง โดยตัดสินจำคุกอาเบะ 2 ปี และมัตซึดะ 18 เดือน และให้รอลงอาญาทั้งสองเป็นเวลา 4 ปี ผู้พิพากษายังติดสินด้วยว่าทั้งสองไม่มีความผิดในข้อกล่าวหากรรโชกทรัพย์ 80 ล้านเยนจากฮอนด้า มอเตอร์ ผู้พิพากษาให้เหตุผลว่า แม้ว่าทั้งสองจะทำอะไรผิดไปจากการดำเนินงานปกติของขบวนการผู้บริโภคโดยการเจรจาเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน ทั้งสองก็ได้ประโยชน์ใหญ่หลวงโดยทำให้สาธารณชนสนใจปัญหารถยนต์มีข้อบกพร่อง

แนวความคิดเรื่อง "รถยนต์มีข้อบกพร่อง" นั้นขัด ๆ กับระบบกฏหมายของญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบกฏหมายนี้ได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยโดยอิทธิพลของกฏหมายอเมริกันและอังกฤษและมีแนวโน้มจะให้การปกป้องอย่างแข็งแกร่งแก่สิทธิของแต่ละบุคคล แต่ยังมีเรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรมกับประเทศทางตะวันตกอยู่ ซึ่งทางตะวันตกเมื่อมีปัญหาเรื่องสิทธิของบุคคลเกิดขึ้นก็จะแก้ไขโดยการดูสัญญา ส่วนในญี่ปุ่นนั้นผู้คนมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญแก่ความกลมกลืนทางสังคมภายในมากกว่าเอกสารทางกฏหมายที่ผูกมัด

ด้วยเหตุผลนี้ จึงมีข้อขัดแย้งในเรื่องสัญญาน้อยกว่าและมีทนายความน้อยกว่าในประเทศทางตะวันตก บริษัทหลายแห่งให้การศึกษาผู้เชี่ยวชาญกฏหมายของตนเป็นการภายใน พูดง่าย ๆ คือในสหรัฐมีทนายความ 1 คนต่อประชาชน 500 คน ส่วนในญี่ปุ่น ทนายความ 1 คนต่อประชาชน 10,000 คน

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!