ความสำเร็จของการบริหารงาน HONDA MOTOR-ตอนที่ 7.4 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์


The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง…และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ “บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด” เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ “ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก” (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในญี่ปุ่นนั้น บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ถ้าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำที่ผิดกฏหมาย ยกเว้นแต่ในกรณีผิดสัญญา โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเป็นผลของการกระทำโดยเจตนาหรือเป็นความผิดของจำเลยเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้หลักของพันธกรรมที่เข้มงวด ซึ่งเกิดในสหรัฐ ก็เข้ามาสู่ระบบกฏหมายของญี่ปุ่น

ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับหลักการนี้ก็คือพันธกรรมทางผลิตภัณฑ์ ในญี่ปุ่นซึ่งมีการผลิตสินค้าที่ทนทานขึ้นเป็นจำนวนมากมายมหาศาล จึงยากที่ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าที่มีข้อบกพร่องจะพิสูจน์ว่าผู้ผลิตเป็นผู้ผิด

โดยหลักของพันธกรรมที่เข้มงวดแล้วผู้บริโภคเป็นอิสระจากหน้าที่นี้ และถ้าสินค้าเป็นที่ยอมรับกันว่ามีข้อบกพร่อง ก็ถือว่าผู้ผลิตกระทำความผิด วิธีการคิดแบบนี้มีลู่ทางที่จะแข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในประเทศทางตะวันตกและญี่ปุ่นเอง

ราล์ฟ เนเดอร์ ที่โจมตีรถยนต์มีข้อบกพร่องในสหรัฐเป็นคนแรกและกลายเป็นต้นเหตุของระบบการเรียกรถยนต์กลับ ในเดือนมกราคม 1971 เนเดอร์ไปยังญี่ปุ่นเพื่อปรึกษากับโซอิจิโร ฮอนด้า

ไม่มีผู้นำคนใดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นสนใจจะพบกับเนเดอร์เพราะรู้สึกว่าเนเดอร์ไม่ได้ทำงานเพื่อผลดีของอุตสาหกรรมรถยนต์ เนเดอร์และฮอนด้าคุยกันถึงเรื่องความปลอดภัยของจักรยานยนต์และความแตกต่างในรายละเอียดต่าง ๆ ระหว่างรถยนต์ส่งออกกับรถยนต์ใช้ในประเทศ ว่ากันว่าเนเดอร์ประทับใจมากกับวิธีการคิดของฮอนด้า

แม้ว่าสหภาพผู้ใช้รถยนต์แห่งญี่ปุ่นจะแพ้คดีในศาลในการเล่นงานฮอนด้า มอเตอร์ สหภาพก็สำเร็จในการก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ฮอนด้า มอเตอร์ รถเอ็น-360 และรถอื่น ๆ เคยขายดีและเป็นสินค้าหลักของบริษัท โดยมียอดขายทั้งสิ้นเกิน 1 ล้านคันในเดือนกันยายน 1970 คือหลังจากที่รถปรากฏโฉมได้ 44 เดือน

หลังจากที่ข้อกล่าวหาของสหภาพเป็นที่รู้กันทั่วไปยอดขายก็เริ่มตกต่ำลงมาก ในเดือนมิถุนายนปีถัดมา บริษัทก็นำรถขนาดจิ๋วชื่อ ไลฟ์ ออกสู่ตลาด โดยสร้างภาพพจน์ใหม่ทั้งหมดให้แก่รถนี้ และรถนี้ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

อย่างไรก็ตาม รถรุ่นใหม่นี้ก็ไม่สามารถขายได้เท่ากับยอดขายที่ลดลงของรถรุ่นเอ็น-360 บริษัทขาดทุนก้อนใหญ่จากรถเอ็น-360 แล้วยังการขาดทุนจากรถรุ่นฮอนด้า 1300 ตอนนี้ก็ต้องพึ่งพากำไรจากการขายจักรยานยนต์

เรื่องรถมีข้อบกพร้องเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามของฮอนด้า มอเตอร์ หลังจากวิกฤตการณ์ฝ่ายบริหารในปี 1954 และวิกฤตการณ์อเมริกันฮอนด้าในปี 1966 ฟูจิซาวะพูดถึงเรื่องนี้ว่า “ผมคิดว่าบริษัทคงจะถูกบังคับให้ล้มละลายโดยแรงผลักดันภายนอก วิกฤตการณ์สองครั้งแรกนั้นมาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใน และเราสามารถแก้ไขสถานการณ์เหล่านั้นได้โดยความพยายามของเราเองเพราะเป็นผู้ทำผิด แต่คราวนี้ เราทำอะไรไม่ได้สัอย่างเพราะต้นเหตุของวิกฤตการณ์ไม่ได้อยู่ในบริษัทของเรา เราไม่มีทางเลือกนอกจากรอดู แต่ยังมีอะไรอย่างอื่นและนั่นก็คือการเป็นผู้นำชนิดเป็นกลุ่มทำหน้าที่ได้ดีทั้งฮอนด้าและผมไม่ได้พูดอะไรเลยกับกรรมการอำนวยการอาวุโส 4 คนเกี่ยวกับการจัดการกับวิกฤตการณ์นี้ของคนทั้ง 4 เพราะเราคิดว่าทั้ง 4 ต้องได้รับการฝึกอบรมและให้มีประสบการณ์เพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถดำเนินงานบริษัทได้ในอนาคต ทั้ง 4 ทำงานได้ดีมากจริง ๆ และที่เราชื่นชอบที่สุดก็คือทั้ง 4 บัดนี้เติบโตเต็มที่แล้ว”

ตอนที่ 7.3 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์

The Man, The Management, The Machines.

เทตซึโอะ ซากิยะ เขียน

ธนิต ธรรมสุคติ แปล จากต้นฉบับ Updated paperback Edition 1987

สงวนลิขสิทธิ์

โซอิจิโร ฮอนด้า

ปูชนียบุคคลที่โลกยานยนต์ต้องจารึก

อัจฉริยบุคคลผู้ก่อตั้ง...และวางรากฐานความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ให้กับ "บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด" เป็นชาวญี่ปุ่นคนแรกที่ได้รับเกียรติยศอันสูงส่ง ให้เป็นสมาชิกทำเนียบ "ปูชนียบุคคลยานยนต์โลก" (AUTOMOTIVE HALL OF FAME) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2532

ในญี่ปุ่นนั้น บุคคลใดบุคคลหนึ่งสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ถ้าความเสียหายนั้นเกิดจากการกระทำที่ผิดกฏหมาย ยกเว้นแต่ในกรณีผิดสัญญา โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายนั้นเป็นผลของการกระทำโดยเจตนาหรือเป็นความผิดของจำเลยเอง

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้หลักของพันธกรรมที่เข้มงวด ซึ่งเกิดในสหรัฐ ก็เข้ามาสู่ระบบกฏหมายของญี่ปุ่น

ตัวอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับหลักการนี้ก็คือพันธกรรมทางผลิตภัณฑ์ ในญี่ปุ่นซึ่งมีการผลิตสินค้าที่ทนทานขึ้นเป็นจำนวนมากมายมหาศาล จึงยากที่ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนจากสินค้าที่มีข้อบกพร่องจะพิสูจน์ว่าผู้ผลิตเป็นผู้ผิด

โดยหลักของพันธกรรมที่เข้มงวดแล้วผู้บริโภคเป็นอิสระจากหน้าที่นี้ และถ้าสินค้าเป็นที่ยอมรับกันว่ามีข้อบกพร่อง ก็ถือว่าผู้ผลิตกระทำความผิด วิธีการคิดแบบนี้มีลู่ทางที่จะแข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในประเทศทางตะวันตกและญี่ปุ่นเอง

ราล์ฟ เนเดอร์ ที่โจมตีรถยนต์มีข้อบกพร่องในสหรัฐเป็นคนแรกและกลายเป็นต้นเหตุของระบบการเรียกรถยนต์กลับ ในเดือนมกราคม 1971 เนเดอร์ไปยังญี่ปุ่นเพื่อปรึกษากับโซอิจิโร ฮอนด้า

ไม่มีผู้นำคนใดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ในญี่ปุ่นสนใจจะพบกับเนเดอร์เพราะรู้สึกว่าเนเดอร์ไม่ได้ทำงานเพื่อผลดีของอุตสาหกรรมรถยนต์ เนเดอร์และฮอนด้าคุยกันถึงเรื่องความปลอดภัยของจักรยานยนต์และความแตกต่างในรายละเอียดต่าง ๆ ระหว่างรถยนต์ส่งออกกับรถยนต์ใช้ในประเทศ ว่ากันว่าเนเดอร์ประทับใจมากกับวิธีการคิดของฮอนด้า

แม้ว่าสหภาพผู้ใช้รถยนต์แห่งญี่ปุ่นจะแพ้คดีในศาลในการเล่นงานฮอนด้า มอเตอร์ สหภาพก็สำเร็จในการก่อให้เกิดความเสียหายให้แก่ฮอนด้า มอเตอร์ รถเอ็น-360 และรถอื่น ๆ เคยขายดีและเป็นสินค้าหลักของบริษัท โดยมียอดขายทั้งสิ้นเกิน 1 ล้านคันในเดือนกันยายน 1970 คือหลังจากที่รถปรากฏโฉมได้ 44 เดือน

หลังจากที่ข้อกล่าวหาของสหภาพเป็นที่รู้กันทั่วไปยอดขายก็เริ่มตกต่ำลงมาก ในเดือนมิถุนายนปีถัดมา บริษัทก็นำรถขนาดจิ๋วชื่อ ไลฟ์ ออกสู่ตลาด โดยสร้างภาพพจน์ใหม่ทั้งหมดให้แก่รถนี้ และรถนี้ใช้เครื่องยนต์ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ

อย่างไรก็ตาม รถรุ่นใหม่นี้ก็ไม่สามารถขายได้เท่ากับยอดขายที่ลดลงของรถรุ่นเอ็น-360 บริษัทขาดทุนก้อนใหญ่จากรถเอ็น-360 แล้วยังการขาดทุนจากรถรุ่นฮอนด้า 1300 ตอนนี้ก็ต้องพึ่งพากำไรจากการขายจักรยานยนต์

เรื่องรถมีข้อบกพร้องเป็นวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ครั้งที่สามของฮอนด้า มอเตอร์ หลังจากวิกฤตการณ์ฝ่ายบริหารในปี 1954 และวิกฤตการณ์อเมริกันฮอนด้าในปี 1966 ฟูจิซาวะพูดถึงเรื่องนี้ว่า "ผมคิดว่าบริษัทคงจะถูกบังคับให้ล้มละลายโดยแรงผลักดันภายนอก วิกฤตการณ์สองครั้งแรกนั้นมาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายใน และเราสามารถแก้ไขสถานการณ์เหล่านั้นได้โดยความพยายามของเราเองเพราะเป็นผู้ทำผิด แต่คราวนี้ เราทำอะไรไม่ได้สัอย่างเพราะต้นเหตุของวิกฤตการณ์ไม่ได้อยู่ในบริษัทของเรา เราไม่มีทางเลือกนอกจากรอดู แต่ยังมีอะไรอย่างอื่นและนั่นก็คือการเป็นผู้นำชนิดเป็นกลุ่มทำหน้าที่ได้ดีทั้งฮอนด้าและผมไม่ได้พูดอะไรเลยกับกรรมการอำนวยการอาวุโส 4 คนเกี่ยวกับการจัดการกับวิกฤตการณ์นี้ของคนทั้ง 4 เพราะเราคิดว่าทั้ง 4 ต้องได้รับการฝึกอบรมและให้มีประสบการณ์เพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าสามารถดำเนินงานบริษัทได้ในอนาคต ทั้ง 4 ทำงานได้ดีมากจริง ๆ และที่เราชื่นชอบที่สุดก็คือทั้ง 4 บัดนี้เติบโตเต็มที่แล้ว"

ตอนที่ 7.3 ขัดแย้งใหญ่โตเรื่องเครื่องยนต์

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!