จากผักสู่รถยนต์: เทรนด์การบริโภคอย่างมีจริยธรรม กำลังมาแรงในเอเชีย


การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาวะขาดแคลนน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาสำคัญระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม ที่หลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิกกำลังเผชิญอยู่ และส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

ในขณะที่ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่ตนเองมีต่อสังคมยิ่งขึ้นเมื่อเลือกซื้อสินค้า สิ่งที่พวกเขามองหาจากแบรนด์ต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นไปด้วย สำหรับฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ความต้องการสินค้าที่ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมนั้น สอดคล้องกับความมุ่งมั่นในการผสานความยั่งยืนในทุกแง่มุมธุรกิจของบริษัท

เมื่อไม่นานมานี้ ฟอร์ดได้ชี้ถึงแนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (Sustainability Blues) ในฐานะเทรนด์ผู้บริโภคที่โดดเด่นในเอเชีย แปซิฟิก โดยในรายงานแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของฟอร์ด (Ford Trend Report 2016) พบว่า 80% ของผู้ใหญ่ในประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ความนิยมของเทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสังคม ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียมากที่สุด คือกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะมีความตระหนักทางสังคมมากที่สุด และเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีความเชื่อเช่นเดียวกัน

ผลการสำรวจระดับโลกล่าสุดของนีลเส็น (Nielsen) เผยว่า ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตขึ้นมากกว่า 4% ทั่วโลก ในขณะที่แบรนด์ที่ไม่แสดงว่าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตน้อยกว่า 1 % นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังกล่าวว่า พวกเขายินดีที่จะจ่ายมากกว่าเพื่อแบรนด์ที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ซึ่งเกือบ 3 ใน 4 ของกลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขาพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพิ่มขึ้นจากประมาณ 50% จากเมื่อปีที่แล้ว

“ผู้บริโภคอายุน้อยใส่ใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสถานที่และกระบวนการผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผักหรือรถยนต์ก็ตาม” เชอรีล คอนเนลลี่ ผู้จัดการฝ่ายเทรนด์และอนาคตผู้บริโภคระดับโลก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “พวกเขาตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ตนเองมีต่อประเด็นทางสังคม และพร้อมจะจ่ายเพื่อความเชื่อของตน เราจึงต้องตามความต้องการของผู้บริโภคให้ทันเพื่อคงความแข็งแกร่งในการแข่งขันของเราไว้”

ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นระยะเวลานานแล้วที่ฟอร์ดได้เข้าสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อการเป็นบริษัทสีเขียวในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจของเรา

ในระดับโลก ฟอร์ดได้ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต 25% ระหว่างปี 2553 ถึง 2558 นอกจากนี้ บริษัทยังกำลังมองหาวิธีการใหม่ๆ ในการลดการใช้น้ำ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายลดการใช้น้ำดีเป็นศูนย์ในโรงงานผลิตของฟอร์ด

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาวะขาดแคลนน้ำ และทรัพยากรธรรมชาติที่ลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของปัญหาสำคัญระยะยาวด้านสิ่งแวดล้อม ที่หลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิกกำลังเผชิญอยู่ และส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มมองหาผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น

ในขณะที่ผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงผลกระทบที่ตนเองมีต่อสังคมยิ่งขึ้นเมื่อเลือกซื้อสินค้า สิ่งที่พวกเขามองหาจากแบรนด์ต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นไปด้วย สำหรับฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ความต้องการสินค้าที่ผลิตอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมนั้น สอดคล้องกับความมุ่งมั่นในการผสานความยั่งยืนในทุกแง่มุมธุรกิจของบริษัท

เมื่อไม่นานมานี้ ฟอร์ดได้ชี้ถึงแนวทางการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน (Sustainability Blues) ในฐานะเทรนด์ผู้บริโภคที่โดดเด่นในเอเชีย แปซิฟิก โดยในรายงานแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคของฟอร์ด (Ford Trend Report 2016) พบว่า 80% ของผู้ใหญ่ในประเทศจีน มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ความนิยมของเทรนด์ผู้บริโภคที่ใส่ใจในสังคม ผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่เชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียมากที่สุด คือกลุ่มที่มีแนวโน้มที่จะมีความตระหนักทางสังคมมากที่สุด และเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ที่มีความเชื่อเช่นเดียวกัน

ผลการสำรวจระดับโลกล่าสุดของนีลเส็น (Nielsen) เผยว่า ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตขึ้นมากกว่า 4% ทั่วโลก ในขณะที่แบรนด์ที่ไม่แสดงว่าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนเติบโตน้อยกว่า 1 % นอกจากนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังกล่าวว่า พวกเขายินดีที่จะจ่ายมากกว่าเพื่อแบรนด์ที่มีความยั่งยืน โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มมิลเลนเนียม ซึ่งเกือบ 3 ใน 4 ของกลุ่มนี้กล่าวว่า พวกเขาพร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า เพิ่มขึ้นจากประมาณ 50% จากเมื่อปีที่แล้ว

“ผู้บริโภคอายุน้อยใส่ใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสถานที่และกระบวนการผลิตสินค้า ไม่ว่าจะเป็นผักหรือรถยนต์ก็ตาม” เชอรีล คอนเนลลี่ ผู้จัดการฝ่ายเทรนด์และอนาคตผู้บริโภคระดับโลก ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว “พวกเขาตระหนักถึงความรับผิดชอบที่ตนเองมีต่อประเด็นทางสังคม และพร้อมจะจ่ายเพื่อความเชื่อของตน เราจึงต้องตามความต้องการของผู้บริโภคให้ทันเพื่อคงความแข็งแกร่งในการแข่งขันของเราไว้”

ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เป็นระยะเวลานานแล้วที่ฟอร์ดได้เข้าสู่กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ ยังคงเดินหน้าต่อไปเพื่อการเป็นบริษัทสีเขียวในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจของเรา

ในระดับโลก ฟอร์ดได้ลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต 25% ระหว่างปี 2553 ถึง 2558 นอกจากนี้ บริษัทยังกำลังมองหาวิธีการใหม่ๆ ในการลดการใช้น้ำ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายลดการใช้น้ำดีเป็นศูนย์ในโรงงานผลิตของฟอร์ด

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!