จีนตั้งเป้าเป็นผู้นำโลกด้านอวกาศ ภายในปี 2045


จีนได้ตั้งเป้าหมายจะก้าวมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศของโลก ภายในปี 2045 โดยใช้แผนการที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท ไชน่าแอโร่สเปซ ซายแอนด์อินดัสเทรียล จำกัด (CAST) ผู้วางแผนและดำเนินโครงการอวกาศรายใหญ่ของจีน โดยแผนดังกล่าวมีดังนี้

-ปี 2020: ผลิตจรวดขนส่งลองมาร์ช-8 สำเร็จ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งดาวเทียมสู่วงโคจรต่ำ-ปานกลาง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเชิงพาณิชย์ของประเทศได้

-ปี 2025: สามารถปฏิบัติการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อยสำเร็จ (Suborbital spaceflight) ที่ระดับความสูงระหว่าง 20-100 กิโลเมตร ซึ่งว่ากันว่าเป็นระดับที่สูงสุดที่เครื่องบินสามารถบินไปได้และเป็นระดับต่ำที่สุดที่มีดาวเทียมโคจรอยู่ ซึ่งจีนยังมีแผนจะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการการบินนี้ได้อีกด้วย

-ปี 2030 เปิดตัวจรวดขนส่งวัตถุที่มีน้ำหนักมากถึง 100 ตันสำเร็จ ซึ่งถือว่าบรรทุกของหนักได้มากกว่าจรวดที่ใช้ในปัจจุบันถึง 5 เท่า โดยจรวดขนส่งนี้จะถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจพามนุษย์ไปสำรวจบนดวงจันทร์และขนชิ้นส่วนดาวอังคารกลับมายังโลก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะช่วยให้จีนก้าวสู่การเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำของโลกที่มีความสามารถด้านการขนส่งในอวกาศเลยทีเดียว

-ปี 2035 พัฒนาจรวดขนส่งที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยจรวดขนส่งนี้จะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ขั้นสูง ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการขนส่งในอวกาศ
-ปี 2040 สร้างกระสวยอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งจะช่วยให้จีนสามารถสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำเหมืองแร่บนดาวเคราะห์น้อย รวมถึงสร้างสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศได้

-ปี 2045 จีนจะกลายเป็นประเทศชั้นนำของโลกในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีอวกาศ จากนั้นจีนก็จะสามารถดำเนินการสำรวจอวกาศร่วมกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ได้ในหลายภารกิจ

นายลู่หวี่ วิศวกรอาวุโสด้านจรวดจากบริษัท CAST ได้คาดการณ์ว่าในปี 2045 จีนจะสามารถดำเนินการสำรวจบนดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหางในระบบสุริยะได้ ขณะที่การสำรวจอวกาศก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

จีนได้ตั้งเป้าหมายจะก้าวมาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอวกาศของโลก ภายในปี 2045 โดยใช้แผนการที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท ไชน่าแอโร่สเปซ ซายแอนด์อินดัสเทรียล จำกัด (CAST) ผู้วางแผนและดำเนินโครงการอวกาศรายใหญ่ของจีน โดยแผนดังกล่าวมีดังนี้

-ปี 2020: ผลิตจรวดขนส่งลองมาร์ช-8 สำเร็จ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการขนส่งดาวเทียมสู่วงโคจรต่ำ-ปานกลาง และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการเชิงพาณิชย์ของประเทศได้

-ปี 2025: สามารถปฏิบัติการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อยสำเร็จ (Suborbital spaceflight) ที่ระดับความสูงระหว่าง 20-100 กิโลเมตร ซึ่งว่ากันว่าเป็นระดับที่สูงสุดที่เครื่องบินสามารถบินไปได้และเป็นระดับต่ำที่สุดที่มีดาวเทียมโคจรอยู่ ซึ่งจีนยังมีแผนจะเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการการบินนี้ได้อีกด้วย

-ปี 2030 เปิดตัวจรวดขนส่งวัตถุที่มีน้ำหนักมากถึง 100 ตันสำเร็จ ซึ่งถือว่าบรรทุกของหนักได้มากกว่าจรวดที่ใช้ในปัจจุบันถึง 5 เท่า โดยจรวดขนส่งนี้จะถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจพามนุษย์ไปสำรวจบนดวงจันทร์และขนชิ้นส่วนดาวอังคารกลับมายังโลก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะช่วยให้จีนก้าวสู่การเป็นหนึ่งในประเทศชั้นนำของโลกที่มีความสามารถด้านการขนส่งในอวกาศเลยทีเดียว

-ปี 2035 พัฒนาจรวดขนส่งที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยจรวดขนส่งนี้จะได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ขั้นสูง ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการขนส่งในอวกาศ -ปี 2040 สร้างกระสวยอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งจะช่วยให้จีนสามารถสำรวจทรัพยากรในพื้นที่ขนาดใหญ่ ทำเหมืองแร่บนดาวเคราะห์น้อย รวมถึงสร้างสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศได้

-ปี 2045 จีนจะกลายเป็นประเทศชั้นนำของโลกในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีอวกาศ จากนั้นจีนก็จะสามารถดำเนินการสำรวจอวกาศร่วมกันระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ได้ในหลายภารกิจ

นายลู่หวี่ วิศวกรอาวุโสด้านจรวดจากบริษัท CAST ได้คาดการณ์ว่าในปี 2045 จีนจะสามารถดำเนินการสำรวจบนดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย และดาวหางในระบบสุริยะได้ ขณะที่การสำรวจอวกาศก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!