ชาวเวียตนาม ‘ประท้วงเงียบ’ ต่อต้านสินค้านำเข้าจากจีนคุณภาพต่ำ


ทุกครั้งที่ Ha Tran ชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้ ออกไปซื้ออาหาร เสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เธอจะมองออกว่าสินค้าชิ้นใดมาจากจีน ประเทศยักษ์ใหญ่เพื่อนบ้าน เธอจะหลีกเลี่ยงไม่ซื้อสินค้าชิ้นนั้น โดยบอกว่าเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพและจีนไม่เป็นเพื่อนกับเวียตนาม

Ha อายุ 24 ทำงานในบริษัทออกแบบในนครโฮจิมินห์ซิตี้ เมืองหลักทางเศรษฐกิจของเวียตนาม ชาวเวียตนามนิยมซื้อสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นหรือจากชาติตะวันตก

เธอกล่าวว่าจีนส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำหลายประเภทมายังเวียตนาม แต่คนเวียตนามรู้ดีว่าจีนไม่ส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำเหล่านี้ไปขายในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเเย่มาก ดังนั้นคนเวียตนามจึงพยายามหลีกเลี่ยงสินค้าจากจีนเหล่านี้

Ha บอกว่าเคยซื้อสินค้านำเข้าจากจีนไปใช้ เเต่พบว่าสินค้าใช้ได้ไม่นานเพราะเสียง่าย เเละเธอยังกล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับเวียตนาม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวเวียตนามไม่นิยมซื้อสินค้านำเข้าจากจีน

ทัศนคติของชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้คนนี้ไม่ได้เเตกต่างจากชาวเวียตนามคนอื่นๆ ผู้บริโภคทั่วเวียดนามโดยทั่วไปหลีกเลี่ยงบริโภคสินค้าที่ผลิตในจีน เพื่อประท้วงสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศที่มีความขัดเเย้งกับเวียตนามมาตลอด ตั้งเเต่ความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเลจีนใต้

ความขัดเเย้งนี้ทำให้สองชาติสู้รบกับทางเรือในปี ค.ศ. 1974 กับปี ค.ศ. 1988 นอกจากนี้ สองชาติยังสู้รบกันทางชายเเดนอีกด้วยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970

เวียตนามมองว่าจีนถือไพ่เหนือกว่าอย่างขาดความยุติธรรมในความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเล โดยจีนมีกองทัพที่มีเเสนยานุภาพสูงกว่าในการควบคุมหมู่เกาะพาราเซลที่อยู่ในความขัดเเย้ง

บริษัท Boston Consulting Group ชี้ว่าผู้บริโภคในเวียตนามมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และพยากรณ์ว่าจะมีกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดเกือบ 93 ล้านคนจะกลายเป็นคนชนชั้นกลางหรือสูง ภายในปี ค.ศ. 2020

และการเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้เวียตนามมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 ด้วยการสร้างงานเพิ่มขึ้น

Oscar Mussons เจ้าหน้าที่อาวุโสเเห่งบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Dezan Shira & Associates ในนครโฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวว่า หากผู้บริโภคชาวเวียตนามรู้ว่ามีสินค้าชนิดหนึ่งที่ผลิตในจีนและในประเทศอื่น เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เเต่ขายในราคาเดียวกัน พวกเขาจะไม่ซื้อสินค้าจีน และชาวเวียตนามมองจีนว่าเป็นศัครู

Mussons กล่าวว่า สาเหตุยังเกิดจากการพิพาทกับจีนต่อกรรมสิทธิ์หมู่เกาะพาราเซล เขากล่าวว่าสำหรับคนเวียตนามเเล้ว พวกเขายอมรับข้ออ้างของจีนไม่ได้ แม้ว่ารัฐบาลเวียตนามอาจจะไม่พยายามป่าวประกาศเรื่องนี้ก็ตาม

เจ้าหน้าที่เวียตนามได้พยายามกลบเกลื่อนความขัดเเย้งทางการเมืองกับจีนตั้งเเต่เกิดเหตุจลาจลต่อต้านชาวจีนในเวียตนามในปี ค.ศ. 2014 ที่ทำให้คนจีนเสียชีวิตมากกว่า 20 คน และเสี่ยงที่จะทำให้นักลงทุนต่างชาติหวาดกลัวไม่กล้าลงทุนในเวียตนาม

แต่เวียตนามยังถือว่าจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของตน สื่อมวลชนเวียตนามรายงานว่าตัวเลขการส่งออกเเละนำเข้าระหว่างสองชาติอยู่ที่ 25,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสเเรกของปีนี้ ขณะที่บรรดาผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในเวียตนามยังต้องพึ่งจีนด้านวัตถุดิบอีกด้วย

Jason Moy แห่งบริษัท Boston Consulting Group ในสิงคโปร์ กล่าวว่า คนเวียตนามโดยทั่วไปมองว่าสินค้าจีนต่ำคุณภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อเท็จจริง และส่วนหนึ่งเกิดจากข้อมูลที่ได้รับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เขากล่าวว่าผู้บริโภคที่รายได้น้อยเเละด้อยการศึกษามักจะหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีผลให้พวกเขาซื้อสินค้าจีนก็ต่อเมื่อเป็นข้อเลือกสุดท้าย หรือหากไม่มีทางเลือก

Moy กล่าวว่า ผู้บริโภคในเวียตนามที่มีรายได้มากกว่า นิยมซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นเพราะมีคุณภาพสูง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อาทิ รถสกู๊ตเตอร์เครื่องยนต์ และสินค้าอิเลคทรอนิคส์

Le Hong Hiep นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา สถาบันยูซุฟ อีชัค (ISEAS Yusof Ishak Institute) ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การค้าขายรองเท้า ของเล่นและสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันตามเเนวชายเเดน เป็นสาเหตุหลักให้มีสินค้าคุณภาพต่ำราคาถูกทะลักเข้ามาจากจีนสู่เวียตนาม เพราะผู้บริโภครายได้น้อยซื้อสินค้าเหล่านี้เพราะราคาถูก ซึ่งสินค้าจีนที่บรรทุกข้ามมาทางชายเเดน ในบางครั้งทำให้เจ้าของธุรกิจค้าปลีกชาวเวียตนามสูญเสียธุรกิจ

Le นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ สถาบันยูซุฟ อีชัค ในสิงคโปร์กล่าวว่า ผู้บริโภครู้ดีถึงมาตรฐานที่ต่ำและคุณภาพที่เเย่ของสินค้าที่ผลิตในจีนซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค มีขนาดเล็กและนำเข้าจากจีนผ่านชายเเดน โดยไม่ผ่านช่องทางที่ถูกต้องของทางการ ซึ่งมีกฏระเบียบและการตรวจสอบที่เข้มงวดมากกว่าเพื่อรับประกันคุณภาพสินค้า

ทุกครั้งที่ Ha Tran ชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้ ออกไปซื้ออาหาร เสื้อผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เธอจะมองออกว่าสินค้าชิ้นใดมาจากจีน ประเทศยักษ์ใหญ่เพื่อนบ้าน เธอจะหลีกเลี่ยงไม่ซื้อสินค้าชิ้นนั้น โดยบอกว่าเป็นสินค้าไม่มีคุณภาพและจีนไม่เป็นเพื่อนกับเวียตนาม Ha อายุ 24 ทำงานในบริษัทออกแบบในนครโฮจิมินห์ซิตี้ เมืองหลักทางเศรษฐกิจของเวียตนาม ชาวเวียตนามนิยมซื้อสินค้าที่มาจากญี่ปุ่นหรือจากชาติตะวันตก เธอกล่าวว่าจีนส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำหลายประเภทมายังเวียตนาม แต่คนเวียตนามรู้ดีว่าจีนไม่ส่งออกสินค้าคุณภาพต่ำเหล่านี้ไปขายในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งถือว่าเเย่มาก ดังนั้นคนเวียตนามจึงพยายามหลีกเลี่ยงสินค้าจากจีนเหล่านี้ Ha บอกว่าเคยซื้อสินค้านำเข้าจากจีนไปใช้ เเต่พบว่าสินค้าใช้ได้ไม่นานเพราะเสียง่าย เเละเธอยังกล่าวอีกด้วยว่าความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างจีนกับเวียตนาม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ชาวเวียตนามไม่นิยมซื้อสินค้านำเข้าจากจีน ทัศนคติของชาวนครโฮจิมินห์ซิตี้คนนี้ไม่ได้เเตกต่างจากชาวเวียตนามคนอื่นๆ ผู้บริโภคทั่วเวียดนามโดยทั่วไปหลีกเลี่ยงบริโภคสินค้าที่ผลิตในจีน เพื่อประท้วงสินค้าคุณภาพต่ำจากประเทศที่มีความขัดเเย้งกับเวียตนามมาตลอด ตั้งเเต่ความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเลจีนใต้ ความขัดเเย้งนี้ทำให้สองชาติสู้รบกับทางเรือในปี ค.ศ. 1974 กับปี ค.ศ. 1988 นอกจากนี้ สองชาติยังสู้รบกันทางชายเเดนอีกด้วยในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1970 เวียตนามมองว่าจีนถือไพ่เหนือกว่าอย่างขาดความยุติธรรมในความขัดเเย้งทางดินแดนในทะเล โดยจีนมีกองทัพที่มีเเสนยานุภาพสูงกว่าในการควบคุมหมู่เกาะพาราเซลที่อยู่ในความขัดเเย้ง บริษัท Boston Consulting Group ชี้ว่าผู้บริโภคในเวียตนามมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และพยากรณ์ว่าจะมีกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมดเกือบ 93 ล้านคนจะกลายเป็นคนชนชั้นกลางหรือสูง ภายในปี ค.ศ. 2020 และการเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อส่งออก จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้เวียตนามมีรายได้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งเเต่ปี ค.ศ. 2012 ด้วยการสร้างงานเพิ่มขึ้น Oscar Mussons เจ้าหน้าที่อาวุโสเเห่งบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ Dezan Shira & Associates ในนครโฮจิมินห์ซิตี้ กล่าวว่า หากผู้บริโภคชาวเวียตนามรู้ว่ามีสินค้าชนิดหนึ่งที่ผลิตในจีนและในประเทศอื่น เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น หรือที่อื่นๆ เเต่ขายในราคาเดียวกัน พวกเขาจะไม่ซื้อสินค้าจีน และชาวเวียตนามมองจีนว่าเป็นศัครู Mussons กล่าวว่า สาเหตุยังเกิดจากการพิพาทกับจีนต่อกรรมสิทธิ์หมู่เกาะพาราเซล เขากล่าวว่าสำหรับคนเวียตนามเเล้ว พวกเขายอมรับข้ออ้างของจีนไม่ได้ แม้ว่ารัฐบาลเวียตนามอาจจะไม่พยายามป่าวประกาศเรื่องนี้ก็ตาม เจ้าหน้าที่เวียตนามได้พยายามกลบเกลื่อนความขัดเเย้งทางการเมืองกับจีนตั้งเเต่เกิดเหตุจลาจลต่อต้านชาวจีนในเวียตนามในปี ค.ศ. 2014 ที่ทำให้คนจีนเสียชีวิตมากกว่า 20 คน และเสี่ยงที่จะทำให้นักลงทุนต่างชาติหวาดกลัวไม่กล้าลงทุนในเวียตนาม แต่เวียตนามยังถือว่าจีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของตน สื่อมวลชนเวียตนามรายงานว่าตัวเลขการส่งออกเเละนำเข้าระหว่างสองชาติอยู่ที่ 25,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในช่วงไตรมาสเเรกของปีนี้ ขณะที่บรรดาผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในเวียตนามยังต้องพึ่งจีนด้านวัตถุดิบอีกด้วย Jason Moy แห่งบริษัท Boston Consulting Group ในสิงคโปร์ กล่าวว่า คนเวียตนามโดยทั่วไปมองว่าสินค้าจีนต่ำคุณภาพ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อเท็จจริง และส่วนหนึ่งเกิดจากข้อมูลที่ได้รับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เขากล่าวว่าผู้บริโภคที่รายได้น้อยเเละด้อยการศึกษามักจะหลงเชื่อข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีผลให้พวกเขาซื้อสินค้าจีนก็ต่อเมื่อเป็นข้อเลือกสุดท้าย หรือหากไม่มีทางเลือก Moy กล่าวว่า ผู้บริโภคในเวียตนามที่มีรายได้มากกว่า นิยมซื้อสินค้าจากญี่ปุ่นเพราะมีคุณภาพสูง โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อาทิ รถสกู๊ตเตอร์เครื่องยนต์ และสินค้าอิเลคทรอนิคส์ Le Hong Hiep นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษา สถาบันยูซุฟ อีชัค (ISEAS Yusof Ishak Institute) ในสิงคโปร์ กล่าวว่า การค้าขายรองเท้า ของเล่นและสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวันตามเเนวชายเเดน เป็นสาเหตุหลักให้มีสินค้าคุณภาพต่ำราคาถูกทะลักเข้ามาจากจีนสู่เวียตนาม เพราะผู้บริโภครายได้น้อยซื้อสินค้าเหล่านี้เพราะราคาถูก ซึ่งสินค้าจีนที่บรรทุกข้ามมาทางชายเเดน ในบางครั้งทำให้เจ้าของธุรกิจค้าปลีกชาวเวียตนามสูญเสียธุรกิจ Le นักวิจัยทุนเเห่งศูนย์ศึกษาเอเชียอาคเนย์ สถาบันยูซุฟ อีชัค ในสิงคโปร์กล่าวว่า ผู้บริโภครู้ดีถึงมาตรฐานที่ต่ำและคุณภาพที่เเย่ของสินค้าที่ผลิตในจีนซึ่งน่าจะเป็นเพราะว่าสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าอุปโภคบริโภค มีขนาดเล็กและนำเข้าจากจีนผ่านชายเเดน โดยไม่ผ่านช่องทางที่ถูกต้องของทางการ ซึ่งมีกฏระเบียบและการตรวจสอบที่เข้มงวดมากกว่าเพื่อรับประกันคุณภาพสินค้า

etetewtgae

Top Rated

error: Content is protected !!